คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ลูกจ้าง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,226 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4469/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากประมาทเลินเล่อในการปฏิบัติหน้าที่ทางการแพทย์ ทำให้เกิดความเสียหายร้ายแรงแก่โรงพยาบาล
โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยเป็นเจ้าหน้าที่เทคนิคการแพทย์ (วิทยาศาสตร์การแพทย์) มีหน้าที่ในการตรวจผลเลือด ผลทางเคมี อุจจาระ และปัสสาวะ เพื่อส่งให้แพทย์วินิจฉัยและทำการรักษาโรคแก่ผู้ป่วยต่อไป หน้าที่ของโจทก์จึงเป็นหน้าที่อันสำคัญที่ช่วยให้แพทย์สามารถรักษาโรคแก่ผู้ป่วยได้อย่างถูกต้อง อันจะส่งผลโดยตรงต่อความปลอดภัยของผู้ป่วย โจทก์นำเลือดของผู้ป่วยโรคไตไปตรวจ แต่ผลการตรวจเลือดไม่สอดคล้องกับอาการของผู้ป่วย เมื่อแพทย์สั่งให้โจทก์ตรวจเลือดของผู้ป่วยรายนี้อีกครั้ง ผลการตรวจเลือดในครั้งที่สองซึ่งเป็นผลการตรวจที่ถูกต้อง ได้ผลเลือดที่มีค่าแตกต่างจากที่ตรวจในครั้งแรกมาก และในวันที่เป็นเวรของโจทก์ที่จะต้องเตรียมเลือดให้ผู้ป่วย โจทก์ไม่ไปปฏิบัติงานตามหน้าที่อ้างว่าสั่งให้พยาบาลปฏิบัติหน้าที่แทน นอกจากนี้เมื่อแพทย์สั่งให้โจทก์หาผลเลือดทางเคมี 2 ชนิด แต่โจทก์ตรวจหาให้เพียงชนิดเดียว ทำให้แพทย์วินิจฉัยโรคได้ไม่ครบถ้วน จึงต้องสั่งให้โจทก์ตรวจหาค่าที่ยังไม่ได้ตรวจอีกชนิดหนึ่ง การที่โจทก์ปฏิบัติหน้าที่ในลักษณะดังกล่าว จึงเป็นการประมาทเลินเล่อ ขาดความเอาใจใส่ และความรับผิดชอบในหน้าที่ ทำให้แพทย์วินิจฉัยโรคได้ไม่ครบถ้วน ล่าช้า ซึ่งอาจเป็นเหตุให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ และชีวิตของผู้ป่วย อันมีผลกระทบถึงชื่อเสียงของโรงพยาบาลจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างของโจทก์เป็นอย่างมาก จึงเป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง และยังถือว่าเป็นการกระทำประการอื่นอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยสุจริตอีกด้วย จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 119 (3) และไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ตาม ป.พ.พ. มาตรา 583
การพิจารณาว่าการเลิกจ้างจะเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมอันเป็นเหตุให้นายจ้างต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ลูกจ้างตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 49 หรือไม่นั้น จะต้องพิจารณาว่ามีเหตุอันสมควรที่นายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างหรือไม่ ซึ่งเหตุดังกล่าวอาจเกิดขึ้นจากการกระทำของลูกจ้างหรือเหตุอื่นก็ได้ เมื่อปรากฏว่าการกระทำของโจทก์เป็นเหตุให้จำเลยเสียชื่อเสียงในการประกอบกิจการโรงพยาบาลเอกชนเป็นอย่างมาก และเป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง จึงนับว่ามีเหตุสมควรที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ มิใช่เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4309/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยไม่ต้องรับผิดในผลละเมิดของลูกจ้างอีกคนหนึ่ง ศาลพิพากษานอกฟ้องหากฟ้องไม่ตรงประเด็น
จำเลยที่ 1 มิได้กระทำละเมิดตามที่โจทก์ฟ้อง แต่ ค. ลูกจ้างของจำเลยที่ 2 อีกคนหนึ่งเป็นผู้กระทำละเมิดในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ และเมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ให้ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในฐานะนายจ้างของจำเลยที่ 1 โดยมิได้ฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดในผลแห่งละเมิดของ ค. ดังนี้ เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ต้อง รับผิดต่อโจทก์เสียแล้ว ก็ไม่มีหนี้ที่จะให้จำเลยที่ 2 ในฐานะนายจ้างของจำเลยที่ 1 ร่วมรับผิดต่อโจทก์ได้อีกต่อไป การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 2 รับผิดต่อโจทก์ในผลแห่งละเมิดของ ค. จึงเป็นการพิพากษานอกฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3971/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของสหภาพแรงงาน: สิทธิของลูกจ้างต้องเป็นผู้ฟ้องเองหรือมอบอำนาจ
สมาชิกของสหภาพแรงงานโจทก์แต่ละคนหากมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ที่จะได้รับหรือจ่ายค่าจ้างที่ยังขาดอยู่อีกร้อยละห้าสิบตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ และตามสัญญาจ้างแรงงานกับจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างของสมาชิกโจทก์สามารถบังคับจำเลยให้ปฏิบัติตามกฎหมายและสัญญาจ้างแรงงานได้โดยเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาล ซึ่งจะดำเนินคดีด้วยตนเองหรือจะแต่งตั้งผู้แทนหรือทนายความ หรือจะมอบอำนาจให้สหภาพแรงงานที่ตนเป็นสมาชิกดำเนินคดีแทนตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 36 ก็ได้ เมื่อสมาชิกโจทก์มิได้ฟ้องจำเลยและมิได้มอบอำนาจให้โจทก์ดำเนินคดีแทน แต่โจทก์ในฐานะสหภาพแรงงานฟ้องจำเลยโดยมิได้มีข้อโต้แย้งใด ๆ เกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมายแพ่งกับจำเลย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 8 และมาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3971/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีแรงงาน: สหภาพแรงงานฟ้องแทนลูกจ้างโดยไม่ได้รับมอบอำนาจเป็นโมฆะ
โจทก์ซึ่งเป็นสหภาพแรงงานฟ้องจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างว่าจำเลยสั่งให้สมาชิกของโจทก์หมุนเวียนหยุดงานเป็นช่วง ๆ โดยอ้างเหตุจำเป็นเนื่องจากประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ และจ่ายค่าจ้างให้สมาชิกของโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยระหว่างหยุดงานเพียงร้อยละห้าสิบของอัตราค่าจ้างปกติ การกระทำของจำเลยเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 75 เป็นการผิดสัญญาจ้างและเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างโดยสมาชิกของโจทก์และโจทก์มิได้ตกลงยินยอมด้วยขอให้บังคับจำเลยจ่ายค่าจ้างที่ยังขาดอยู่อีกร้อยละห้าสิบแก่สมาชิกของโจทก์ เป็นกรณีที่สมาชิกของโจทก์แต่ละคนมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ที่จะได้รับหรือจ่ายค่าจ้างที่ยังขาดอยู่อีกร้อยละห้าสิบตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541และตามสัญญาจ้างแรงงานกับจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างของสมาชิกของโจทก์โดยตรงซึ่งหากสมาชิกของโจทก์คนใดประสงค์จะฟ้องขอให้บังคับจำเลยปฏิบัติตามกฎหมายและสัญญาจ้างแรงงานสมาชิกของโจทก์คนนั้น ก็จะต้องเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 36
สมาชิกของโจทก์มิได้เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างและมิได้มอบอำนาจให้โจทก์ดำเนินคดีแทน แต่โจทก์ในฐานะสหภาพแรงงานเป็นผู้ฟ้องจำเลยโดยมิได้มีข้อโต้แย้งใด ๆ เกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมายแพ่งกับจำเลย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 8และมาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3750/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดจากรถบรรทุก: นายจ้างไม่ต้องรับผิดหากลูกจ้างก่อเหตุจากความโกรธส่วนตัว และผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิดหากนายจ้างไม่ต้องรับผิด
คดีนี้เป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา แม้ว่าในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตาม ป.วิ.อ.มาตรา 46 ก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ไม่ได้เป็นคู่ความในคดีอาญาดังกล่าว ดังนั้น ข้อเท็จจริงในคำพิพากษาของศาลคดีส่วนอาญาที่ฟังว่า จำเลยที่ 1 ขับรถบรรทุกโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายและได้รับอันตรายสาหัส มีผลผูกพันเฉพาะจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นคู่ความในคดีนั้น ไม่ผูกพันจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ซึ่งไม่ได้เป็นคู่ความในคดีอาญาดังกล่าวด้วย จึงเป็นกรณีที่ต้องฟังข้อเท็จจริงกันใหม่
การที่จำเลยที่ 1 ลูกจ้างของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ขับรถบรรทุกคันเกิดเหตุไปบรรทุกผักและผลไม้ในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้แวะรับประทานอาหารและดื่มสุราจนถูกทำร้ายร่างกาย ด้วยความโกรธแค้นเพราะเหตุส่วนตัวที่ถูกทำร้ายดังกล่าว จำเลยที่ 1 จึงขับรถบรรทุกพุ่งชนโจทก์ที่ 5 และผู้ตายกับพวกที่ทำร้ายตนจนเป็นเหตุให้มีคนตายและบาดเจ็บเช่นนี้ เป็นเหตุส่วนตัวที่เกิดขึ้นต่างหากไม่เกี่ยวข้องกับกิจการในทางการที่จ้างหรือกรอบแห่งการจ้างของจำเลยที่ 2 และที่ 3 นายจ้างที่มอบหมายให้จำเลยที่ 1 ลูกจ้างไปกระทำ จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในผลแห่งละเมิดที่จำเลยที่ 1 ก่อให้เกิดขึ้นต่อโจทก์ทั้งห้า ส่วนจำเลยที่ 4 ผู้รับประกันภัยรถบรรทุกคันเกิดเหตุไว้จากจำเลยที่ 3 ตามข้อตกลงในกรมธรรม์ประกันภัย ซึ่งจำเลยที่ 4 ตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามของจำเลยที่ 3 ผู้เอาประกันภัย เพื่อความวินาศภัยอันเกิดแก่บุคคลอีกคนหนึ่งและซึ่งจำเลยที่ 3 ผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบตาม ป.พ.พ.มาตรา 887 วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยที่ 3 ผู้เอาประกันภัยไม่ต้องรับผิดชอบในผลแห่งละเมิดของจำเลยที่ 1 ที่กระทำต่อโจทก์ทั้งห้า จำเลยที่ 4 ผู้รับประกันภัยค้ำจุน จึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ทั้งห้าด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3373/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นายจ้างฟ้องเรียกค่าเสียหายจากทายาทลูกจ้างได้ต่อเมื่อนายจ้างชดใช้ค่าเสียหายให้บุคคลภายนอกแล้ว
นายจ้างจะเรียกให้ลูกจ้างชดใช้ค่าสินไหมทดแทนที่ลูกจ้างก่อให้เกิดขึ้นแก่บุคคลภายนอกในระหว่างปฏิบัติหน้าที่ในทางการที่จ้างได้ นายจ้างจะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกไปแล้ว จึงจะมีสิทธิฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวคืนจากลูกจ้างได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 426 นายบุญธรรมผู้ตายเป็นลูกจ้างโจทก์ขับรถส่งสินค้าโดยประมาท ทำให้ทรัพย์สินบุคคลภายนอกเสียหาย ศาลพิพากษาให้โจทก์และผู้ตายใช้ค่าเสียหาย เมื่อโจทก์ยังไม่ได้ชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้แก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งเป็นผู้เสียหาย โจทก์จึงยังไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยทั้งสามในฐานะทายาทของผู้ตายชดใช้หนี้ดังกล่าวให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3373/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากลูกจ้าง/ทายาท: ต้องชำระหนี้ให้เจ้าหนี้ก่อน จึงมีสิทธิไล่เบี้ย
โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างของ บ.ผู้ตายจะเรียกให้ บ. ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนที่ บ. ก่อให้เกิดขึ้นแก่บุคคลภายนอกในระหว่างปฏิบัติหน้าที่ในทางการที่จ้างได้ โจทก์จะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกไปนั้น จึงจะมีสิทธิฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนที่โจทก์ชดใช้แก่บุคคลภายนอกไปแล้วคืนจากลูกจ้างได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 426 เมื่อโจทก์ยังไม่ได้ชำระหนี้ให้แก่บุคคลภายนอก โจทก์จึงยังไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยในฐานะทายาทของ บ. ชดใช้หนี้ดังกล่าวให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3214/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะพนักงานรัฐวิสาหกิจ: การพิจารณาจากลักษณะการทำงาน แม้สัญญาจะระบุเป็นผู้รับจ้าง
ขณะที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ จำเลยเป็นรัฐวิสาหกิจ จึงตกอยู่ในบังคับของ พ.ร.บ. พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534 ไม่ได้อยู่ในบังคับของ พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 โจทก์ฟ้องเรียกค่าชดเชยกรณีจำเลยเลิกจ้างโจทก์ โดยอ้างว่ามีสิทธิเรียกร้องตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ แต่เมื่อปรับบทกฎหมายตามข้อหาของโจทก์ดังกล่าวแล้ว พอถือได้ว่าโจทก์ฟ้องเรียกค่าชดเชยจากจำเลยตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2534

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3086/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างงาน ความรับผิดชอบค่าจ้าง และการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายในคดีแรงงาน
เจ้าของตึกที่ตั้งสำนักงานจำเลยได้ตัดน้ำ ตัดไฟ และปิดสำนักงาน ทำให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ตั้งแต่วันที่ 22 มิถุนายน 2543 เมื่อโจทก์ไม่ได้รับค่าจ้างจากจำเลยด้วยเหตุดังกล่าวจึงถือว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 118 วรรคสอง ตั้งแต่วันที่ 22มิถุนายน 2543 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไป มิใช่วันที่ 5 กรกฎาคม2543 ซึ่งเป็นวันที่ถึงกำหนดจ่ายค่าจ้าง
ศาลแรงงานกลางพิเคราะห์พยานหลักฐานแล้ววินิจฉัยว่าข้อเท็จจริงรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยตกลงจ่ายค่าใช้จ่ายให้แก่โจทก์ ดังนั้นที่โจทก์อุทธรณ์ว่าโจทก์ได้ขอให้ศาลมีคำสั่งเรียกสัญญาจ้างแรงงานจากจำเลย แต่จำเลยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งเช่นว่านั้น ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 123 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ถือว่าข้อเท็จจริงแห่งข้ออ้างที่โจทก์ผู้ขอจะต้องนำสืบโดยสัญญาจ้างแรงงานนั้นจำเลยได้ยอมรับแล้วทั้งโจทก์ก็มีพยานบุคคลอื่นมานำสืบด้วยว่าค่าใช้จ่ายเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาจ้างแรงงานนั้น เป็นกรณีที่โจทก์อ้างข้อกฎหมายปะปนมากับข้อเท็จจริงเพื่อที่จะให้ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงให้เป็นไปตามที่โจทก์อ้าง ซึ่งข้อเท็จจริงที่โจทก์อ้างก็ได้ความเพียงว่าค่าใช้จ่ายเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาจ้างเท่านั้น มิได้มีข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานกลางจะต้องวินิจฉัยต่อไปว่าเป็นค่าใช้จ่ายประเภทใด เพื่อกิจการใดและโจทก์จะเบิกจากจำเลยได้ในเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาอย่างไร อุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลาง เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
ศาลแรงงานกลางพิเคราะห์พยานหลักฐานแล้ววินิจฉัยว่าโจทก์เบิกความลอย ๆว่าโจทก์มีสิทธิได้ค่านายหน้าร้อยละ 15 ของค่าตอบแทนที่บริษัทลูกค้าที่โจทก์นำมาจ่ายให้จำเลยเป็นเงินเดือนละ 45,000 บาท เป็นเวลา 6 เดือน ไม่มีพยานบุคคลหรือพยานเอกสารอื่นสนับสนุน ข้อเท็จจริงรับฟังไม่ได้ว่าโจทก์มีสิทธิได้รับค่านายหน้า ดังนั้นที่โจทก์อุทธรณ์ว่า โจทก์ได้นำ จ. มาสืบยืนยันว่าจำเลยตกลงให้ค่านายหน้าแก่ลูกจ้างฝ่ายที่ปรึกษาผู้นำลูกค้ามาให้จำเลย การสืบพยานของโจทก์เท่าที่สืบได้ในเรื่องค่านายหน้าก็น่าจะสมบูรณ์แล้ว หาใช่เป็นการกล่าวอ้างลอย ๆ ไม่ ที่มิได้ปรากฏว่าเบิกค่านายหน้าก็เพราะจำเลยไม่มีเงินนั้น ก็เพื่อให้ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงดังที่โจทก์อุทธรณ์ เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลาง จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 54 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3034/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเรียกเงินประกันการทำงานของลูกจ้างภายใต้ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน: เงื่อนไขและข้อยกเว้น
พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 10 ไม่ได้ห้ามนายจ้างเรียกเงินประกันการทำงานอย่างเด็ดขาดในทุกกรณี บางกรณีนายจ้างก็ยังมีสิทธิเรียกเงินประกันการทำงานได้ ถ้าลักษณะหรือสภาพของงานที่ทำนั้นลูกจ้างต้องรับผิดเกี่ยวกับการเงินหรือทรัพย์สินของนายจ้าง ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่นายจ้างได้ ดังนั้น เมื่อได้ความว่า นางสาว อ. มีหน้าที่รับผิดชอบควบคุมทรัพย์สินภายในร้านสะดวกซื้อของโจทก์ จึงเข้าลักษณะงานที่โจทก์จะเรียกเงินประกันความเสียหายในการทำงานจากลูกจ้างได้ โจทก์ได้หักค่าจ้างของนางสาว อ. ไว้เป็นเงินประกันและได้นำเงินประกันดังกล่าวไปฝากไว้ที่บริษัท ก. จำกัด อันเป็นสถาบันการเงินในนามนางสาว อ. แม้โจทก์ไม่ได้แจ้งชื่อสถาบันการเงิน ชื่อบัญชี และเลขบัญชีให้นางสาว อ. ทราบซึ่งเป็นการไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมก็ไม่มีผลกระทบต่อการเรียกเงินประกันความเสียหายในการทำงานที่โจทก์ เรียกเก็บจากนางสาว อ. โดยชอบแล้ว โจทก์จึงมีสิทธินำเงินประกันดังกล่าวมาหักจากค่าเสียหายที่นางสาว อ. ก่อให้เกิดขึ้นแก่โจทก์ในการทำงานได้
of 223