คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ลูกหนี้

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 829 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5419/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับสภาพหนี้ต้องเป็นลูกหนี้เท่านั้น สัญญาที่บุคคลภายนอกรับแทนลูกหนี้ไม่มีผลบังคับ
การรับสภาพหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14 วรรคหนึ่งผู้ที่จะรับสภาพหนี้ได้มีเฉพาะตัวลูกหนี้เท่านั้น การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกทำสัญญารับใช้หนี้แทน ซ. ลูกหนี้ของโจทก์แต่ไม่มีผลบังคับเพราะ น. คู่สัญญาผู้กระทำการแทนโจทก์กระทำการโดยปราศจากอำนาจ แม้ฟังว่าเป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้แสดงเจตนาฝ่ายเดียวผูกพันตนเข้ารับชำระหนี้แก่โจทก์แทนลูกหนี้ของโจทก์อันเป็นนิติกรรมฝ่ายเดียว ก็ไม่มีลักษณะของลูกหนี้รับสภาพหนี้ต่อเจ้าหนี้ตามบทกฎหมายดังกล่าว ไม่มีผลบังคับตามกฎหมาย จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ผู้ค้ำประกันตามสัญญารับใช้หนี้ของจำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5419/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับสภาพหนี้ต้องทำโดยลูกหนี้เอง สัญญาที่ตัวแทนไม่มีอำนาจทำแทน ไม่มีผลผูกพัน
ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/14(1) ผู้ที่จะรับสภาพหนี้ได้มีเฉพาะตัวลูกหนี้เท่านั้น การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้ทำสัญญารับใช้หนี้แทน ซ. ลูกหนี้ของโจทก์ตามเอกสารหมาย จ.4 ขึ้นแต่ไม่มีผลบังคับเพราะ น. คู่สัญญาผู้กระทำการแทนโจทก์กระทำการโดยปราศจากอำนาจ แม้ฟังได้ว่าเป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้แสดงเจตนาเพียงฝ่ายเดียวผูกพันตนเข้ารับชำระหนี้แก่โจทก์แทนลูกหนี้ของโจทก์ อันเป็นนิติกรรมฝ่ายเดียว ก็ไม่มีลักษณะของลูกหนี้รับสภาพหนี้ต่อเจ้าหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14(1) ไม่มีผลบังคับตามกฎหมายจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1จึงไม่ต้องรับผิดด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 523/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายทอดตลาดต่ำกว่าราคาประเมิน: ศาลต้องไต่สวนเหตุผลเพื่อคุ้มครองสิทธิลูกหนี้
จำเลยทั้งสามยื่นคำร้องคัดค้านการขายทอดตลาดที่ดินพิพาทสรุปได้ว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดต่ำกว่าราคาประเมินของสำนักงานกลางประเมินราคาทรัพย์สินโดยราคาที่ขายได้ต่ำกว่าราคาตามท้องตลาดถึง30เปอร์เซ็นต์เป็นการขายทอดตลาดที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่เป็นธรรมดังนั้นคำร้องของจำเลยทั้งสามเท่ากับอ้างเหตุว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา513คือไม่ขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยทั้งสามให้ได้ราคาสูงสุดนั่นเองซึ่งเจ้าพนักงานบังคับคดีต้องดำเนินตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา308วรรคหนึ่งและหากได้ความว่าประเมินราคาทรัพย์ต่ำกว่าราคาแท้จริงในท้องตลาดมากโดยไม่ตรวจสอบราคาอันถูกต้องแท้จริงเสียก่อนย่อมส่อพฤติการณ์ว่าไม่สุจริตอยู่ในตัวเป็นการที่เจ้าพนักงานบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา296วรรคสองโดยที่จำเลยทั้งสามไม่ต้องระบุบทกฎหมายดังกล่าวมาในคำร้องด้วยศาลชั้นต้นชอบที่จะไต่สวนคำร้องให้สิ้นกระแสความไม่ควรด่วนสั่งงดการไต่สวนเสียเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4838-4839/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้สิทธิชำระหนี้แทนลูกหนี้ต้องไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าหนี้ และคดีนี้ไม่ใช่คดีมีทุนทรัพย์
การจะใช้สิทธิชำระหนี้แทนลูกหนี้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 230 ได้นั้นจะต้องเป็นการชำระหนี้แทนโดยไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าหนี้ด้วย เมื่อปรากฏว่า ขณะโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ยื่นฟ้องจำเลย บริษัท ส. เป็นหนี้จำเลยตามคำพิพากษาตามยอมอยู่เป็นเงินประมาณ 18,852,600 บาท ทั้งการจำนองรายนี้เป็นการจำนองที่ดินแปลงใหญ่เพียงแปลงเดียว คือที่ดินโฉนดเลขที่ 109377 ภายหลังที่ดินแปลงดังกล่าวได้แบ่งแยกเป็นแปลงย่อย ๆ โดยถือว่าที่ดินแปลงย่อยที่แบ่งแยกออกไปยังคงจำนองด้วยตามสัญญาเดิม หาใช่เป็นการจำนองที่ดินหลายแปลงอันจะแบ่งภาระการจำนองได้ไม่ โจทก์ที่ 1 และที่ 2 จึงไม่อาจใช้สิทธิตามบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้นบังคับจำเลยให้ยอมรับการชำระหนี้บางส่วนแทนบริษัท ส. แล้วให้จำเลยไปจดทะเบียนโอนสิทธิจำนองให้แก่โจทก์ที่ 1 และที่ 2 โดยให้โจทก์ที่ 1 และที่ 2 สวมสิทธิเจ้าหนี้จำนองแทนจำเลยตามฟ้องเพราะอาจเป็นการเสียหายแก่จำเลยได้
คดีนี้มีข้อพิพาทเพียงว่าจำเลยจะต้องยอมให้โจทก์ทั้งสองชำระหนี้แทนลูกหนี้จำนองในจำนวนเงินสำนวนละ 700,000 บาท ได้หรือไม่เท่านั้น จึงไม่ใช่เป็นคดีมีทุนทรัพย์ เพราะแม้หากจำเลยจะต้องยอมให้โจทก์ทั้งสองชำระหนี้แทนลูกหนี้ตามที่ขอที่ดินพิพาทก็ยังเป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัท ส. อยู่ ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เสียเกินมาแก่โจทก์ทั้งสองและจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3795/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกร้องหนี้จากผู้ค้ำประกันหลังลูกหนี้ถึงแก่ความตาย
จำเลยทั้งสองเป็นผู้ค้ำประกันซึ่งรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมเท่านั้น หาใช่เป็นลูกหนี้ร่วมในการเป็นคู่สัญญาเช่าซื้อรถยนต์พิพาทไม่ ผู้ค้ำประกันจึงเพียงแต่ไม่อาจยกข้อต่อสู้ของผู้ค้ำประกันขึ้นต่อสู้เจ้าหนี้เท่านั้น แต่ผู้ค้ำประกันย่อมยกข้อต่อสู้ของลูกหนี้ขึ้นต่อสู้เจ้าหนี้ได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 694 ดังนี้เมื่อสิทธิเรียกร้องของโจทก์ต่อกองมรดกของ ส.ขาดอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 1754วรรคสาม แล้ว จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้ค้ำประกัน ส.ย่อมยกอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์ได้
คดีนี้เป็นเรื่องลูกหนี้ถึงแก่ความตาย โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้กองมรดกจะต้องฟ้องร้องภายกำหนด 1 ปี นับแต่ได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดกตาม ป.พ.พ.มาตรา 1754 วรรคสาม กรณีเช่นนี้หาใช่เป็นเรื่องโจทก์ใช้สิทธิเรียกค่าเสียหายอันเนื่องมาจากการเลิกสัญญาซึ่งกฎหมายมิได้บัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ 10 ปีไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3795/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีค้ำประกัน: ผู้ค้ำประกันสามารถยกอายุความของลูกหนี้ขึ้นต่อสู้เจ้าหนี้ได้ และมีระยะเวลาฟ้องร้องหลังลูกหนี้เสียชีวิต
ผู้ค้ำประกันซึ่งรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม มิใช่เป็นลูกหนี้ร่วมในสัญญาของลูกหนี้เพียงแต่ไม่อาจยกข้อต่อสู้ของผู้ค้ำประกันขึ้นต่อสู้เจ้าหนี้เท่านั้น แต่ผู้ค้ำประกันย่อมยกข้อต่อสู้ของลูกหนี้ขึ้นต่อสู้เจ้าหนี้ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 694เมื่อสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ต่อกองมรดกของลูกหนี้ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสาม แล้วผู้ค้ำประกันย่อมยกอายุความขึ้นต่อสู้เจ้าหนี้ได้
เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากลูกหนี้อันเนื่องมาจากการเลิกสัญญา แต่เมื่อลูกหนี้ถึงแก่ความตาย เจ้าหนี้จะต้องฟ้องร้องทายาทของลูกหนี้ภายใน 1 ปี นับแต่ได้รู้ถึงความตายของลูกหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3316/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องค่าจ้างไม่ทำให้ระยะอายุความเปลี่ยนแปลง ผู้รับโอนมีสิทธิใช้ระยะอายุความเดิม
การโอนสิทธิเรียกร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ2ลักษณะ1หมวด4นั้นเป็นการโอนสิทธิตามที่เป็นอยู่ตามสภาพเดิมให้แก่ผู้รับโอนเข้ามาเป็นเจ้าหนี้แทนมิได้มีการเปลี่ยนแปลงสิทธิแต่อย่างใดและโดยปกติลูกหนี้มีข้อต่อสู้เจ้าหนี้คนเดิมอย่างไรก็ยกขึ้นต่อสู้ผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องนั้นได้รวมทั้งข้อต่อสู้เรื่องอายุความด้วยดังนั้นอายุความที่ลูกหนี้จะยกขึ้นต่อสู้ผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องจึงต้องใช้อายุความเดียวกับที่ลูกหนี้สามารถยกขึ้นต่อสู้เจ้าหนี้คนเดิมได้เมื่อปรากฏว่าสิทธิเรียกร้องในคดีนี้เป็นค่าจ้างตามสัญญาจ้างทำของระหว่างจำเลยกับหจก.อ.ซึ่งเป็นผู้ประกอบการค้าเรียกเอาค่าการงานที่ได้ทำจึงมีอายุความ2ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/34(1)นับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องค่าจ้างแต่ละงวดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/12เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องจากหจก.อ.ฟ้องคดีเกิน2ปีคดีโจทก์จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2776/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การล้มละลาย: การยึดทรัพย์สินลูกหนี้ และข้อสันนิษฐานเรื่องหนี้สินล้นพ้นตัว
การที่จำเลยถูกยึดทรัพย์ตามหมายบังคับคดี และจำเลยไม่มีทรัพย์สินอย่างหนึ่งอย่างใดที่จะพึงยึดมาชำระหนี้ได้นั้นเข้าข้อสันนิษฐานว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวตามมาตรา 8(5) แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายฯ จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องนำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าวที่จำเลยนำสืบว่า ปัจจุบันห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ซึ่งจำเลยค้ำประกันหนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องคดีนี้ยังประกอบกิจการค้ามีทรัพย์สินมูลค่าประมาณ 40,000,000บาท มาเป็นเหตุผลประกอบพยานหลักฐานอื่นของจำเลยว่าจำเลยอยู่ในฐานะที่สามารถขวนขวายและมีเหตุที่ไม่ควรให้จำเลยล้มละลายก็ตาม แต่ที่จำเลยอยู่ในฐานะลูกหนี้ร่วมกับห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. นั้น โจทก์ก็มีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระหนี้ทั้งหมดแก่โจทก์โดยสิ้นเชิงโดยไม่ต้องคำนึงว่าหากลูกหนี้ร่วมคนอื่นชำระหนี้แก่โจทก์ด้วยจะสามารถชำระหนี้แก่โจทก์ทั้งหมดหรือไม่ เพราะการพิจารณาว่าลูกหนี้ร่วมคนใดมีหนี้สินล้นพ้นตัวไม่สามารถชำระหนี้ได้หรือไม่นั้น เป็นเรื่องเฉพาะตัวของลูกหนี้ร่วมแต่ละคน จึงต้องพิจารณาเฉพาะตัวลูกหนี้ร่วมผู้นั้นว่ามีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่เท่านั้น ไม่เกี่ยวกับลูกหนี้ร่วมคนอื่นดังนั้น แม้โจทก์จะไม่ใช้สิทธิบังคับเอาแก่ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ก็มิได้เป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่ประการใด จึงนำมาเป็นเหตุที่ไม่ควรให้จำเลยล้มละลายหาได้ไม่เมื่อจำเลยได้รับเงินเดือนจากบริษัท 3 แห่ง แห่งละ 6,000 บาท แต่เงินเดือนดังกล่าวก็นำมาเป็นค่าใช้จ่ายส่วนตัวของจำเลยเดือนละ 3,000 บาท ส่วนที่เหลือให้แก่ภริยาและบุตร จึงไม่มีเงินเดือนเหลือชำระหนี้ให้แก่โจทก์ได้ ศาลชอบที่จะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2756/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีเรียกร้องหนี้จากสัญญาค้ำประกัน: ผลกระทบจากการฟ้องคดีและผลการพิจารณาคดีต่อลูกหนี้
การที่เจ้าหนี้ได้ฟ้องห้างหุ้นส่วนจำกัด ช.กับลูกหนี้ที่ 2 เป็นคดีแพ่งต่อศาลชั้นต้น เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาถึงที่สุดให้ยกฟ้องสำหรับลูกหนี้ที่ 2 ต้องถือว่าอายุความในส่วนที่เกี่ยวกับลูกหนี้ที่ 2 ไม่เคยสะดุดหยุดลง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/17 วรรคหนึ่ง เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้เมื่อล่วงพ้นกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่เจ้าหนี้ได้ชำระหนี้แก่ ส. อันเป็นวันที่เจ้าหนี้อาจบังคับสิทธิเรียกร้องกับลูกหนี้ที่ 2 ได้เป็นต้นไป สิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้จึงขาดอายุความ จึงต้องห้ามมิให้ได้รับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 94(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2756/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีค้ำประกัน: ผลของการยกฟ้องลูกหนี้ต่อการสะดุดหยุดของอายุความ
การที่เจ้าหนี้ได้ฟ้องห้างหุ้นส่วนจำกัดช.กับลูกหนี้ที่2เป็นคดีแพ่งต่อศาลชั้นต้นเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาถึงที่สุดให้ยกฟ้องสำหรับลูกหนี้ที่2ต้องถือว่าอายุความในส่วนที่เกี่ยวกับลูกหนี้ที่2ไม่เคยสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/17วรรคหนึ่งเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้เมื่อล่วงพ้นกำหนด10ปีนับแต่วันที่เจ้าหนี้ได้ชำระหนี้แก่ส. อันเป็นวันที่เจ้าหนี้อาจบังคับสิทธิเรียกร้องกับลูกหนี้ที่2ได้เป็นต้นไปสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้จึงขาดอายุความจึงต้องห้ามมิให้ได้รับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา94(1)
of 83