พบผลลัพธ์ทั้งหมด 224 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2370/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับช่วงสิทธิจากผู้รับชำระหนี้ร่วม และอายุความของสิทธิเรียกร้อง
โจทก์เอาประกันภัยค้ำจุนรถยนต์คันเกิดเหตุไว้แก่จำเลย ลูกจ้างของโจทก์ขับรถยนต์ดังกล่าวโดยประมาทไปชนรถยนต์ของ ร. เสียหาย ร. จึงฟ้องเรียกค่าเสียหายจากโจทก์และจำเลย คดีถึงที่สุดโดยศาลพิพากษาให้โจทก์และจำเลยร่วมกันใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ ร. โจทก์และจำเลยไม่ชำระ ร. จะบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินของโจทก์ โจทก์จึงชำระหนี้ตามคำพิพากษาทั้งหมดให้แก่ ร. ไป ดังนี้ โจทก์ย่อมเข้าสู่ฐานะเป็นผู้รับช่วงสิทธิของ ร. ด้วยอำนาจกฎหมายมีสิทธิฟ้องเรียกร้องเงินที่โจทก์ได้ชำระให้แก่ ร. ไปแล้วคืนจากจำเลยผู้เป็นลูกหนี้ร่วมได้
สิทธิเรียกร้องของโจทก์ดังกล่าวข้างต้นไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้ จึงต้องถือว่ามีอายุความสิบปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
สิทธิเรียกร้องของโจทก์ดังกล่าวข้างต้นไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้ จึงต้องถือว่ามีอายุความสิบปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2370/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับช่วงสิทธิเรียกร้องจากผู้รับประโยชน์เมื่อชำระหนี้แทนลูกหนี้ร่วม และอายุความสิบปี
โจทก์เอาประกันภัยค้ำจุนรถยนต์คันเกิดเหตุไว้แก่จำเลย ลูกจ้างของโจทก์ขับรถยนต์ดังกล่าวโดยประมาทไปชนรถยนต์ของ ร. เสียหายร. จึงฟ้องเรียกค่าเสียหายจากโจทก์และจำเลย คดีถึงที่สุดโดยศาลพิพากษาให้โจทก์และจำเลยร่วมกันใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ ร. โจทก์และจำเลยไม่ชำระ ร. จะบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินของโจทก์ โจทก์จึงชำระหนี้ตามคำพิพากษาทั้งหมดให้แก่ ร. ไป ดังนี้ โจทก์ย่อมเข้าสู่ฐานะเป็นผู้รับช่วงสิทธิของ ร. ด้วยอำนาจกฎหมายมีสิทธิฟ้องเรียกร้องเงินที่โจทก์ได้ชำระให้แก่ ร. ไปแล้วคืนจากจำเลยผู้เป็นลูกหนี้ร่วมได้
สิทธิเรียกร้องของโจทก์ดังกล่าวข้างต้นไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้ จึงต้องถือว่ามีอายุความสิบปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
สิทธิเรียกร้องของโจทก์ดังกล่าวข้างต้นไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้ จึงต้องถือว่ามีอายุความสิบปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1055/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงการบังคับคดี: โจทก์ต้องบังคับทรัพย์จำเลยที่ 1-2 ก่อน แม้ศาลพิพากษาให้จำเลยที่ 3 เป็นลูกหนี้ร่วม
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระเงินตามเช็คจำเลยที่ 1 ที่ 2 ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาเดิมจำเลยที่ 3 ให้การต่อสู้คดี แต่ระหว่างพิจารณาจำเลยที่ 3 แถลงสละข้อต่อสู้ทั้งหมด รับว่าฟ้องโจทก์เป็นความจริง ขอให้โจทก์บังคับคดีแก่จำเลยที่ 1 ที่2 ก่อน หากไม่มีทรัพย์หรือมีไม่พอก็ให้บังคับคดีแก่จำเลยที่ 3 โจทก์แถลงไม่ขัดข้อง ดังนี้ จึงเท่ากับเป็นการตกลงในเรื่องการบังคับคดีไว้ล่วงหน้าก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแม้ศาลชั้นต้นจะพิพากษาให้จำเลยที่ 3 รับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมแต่ถ้าจะต้องมีการบังคับคดี โจทก์ก็ผูกพันที่จะต้องบังคับเอาแก่จำเลยที่1 ที่ 2 ก่อนตามข้อตกลง และชอบที่ศาลชั้นต้นจะทำการไต่สวนให้ปรากฏเสียก่อนว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 มีทรัพย์สินที่โจทก์สามารถจะบังคับเอาชำระหนี้ได้หรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 372/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกหนี้ร่วมประกันตัว จำเลยหลบหนี ศาลปรับ โจทก์ชำระแทน มีสิทธิเรียกร้องจากลูกหนี้ร่วม
โจทก์ จำเลยที่ 1 ที่ 2 ร่วมกันประกันตัวจำเลยในคดีอาญาแล้วผิดสัญญาถูกศาลสั่งปรับ ศาลได้บังคับคดีเอาที่ดินที่โจทก์นำมาประกันขายทอดตลาด ถือได้ว่าโจทก์ได้ชำระค่าปรับในนามของโจทก์กับจำเลยทั้งสองซึ่งต้องรับผิดคนละส่วนเท่าๆ กันตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 296 จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดชดใช้เงินให้โจทก์ เฉพาะส่วนของจำเลยที่ 1 หนึ่งในสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 875/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำนำหุ้นเป็นประกันหนี้ ผู้จำนำต้องรับผิดร่วมกับลูกหนี้ตามมูลค่าหุ้น หากขายได้เงินน้อยกว่าก็ต้องชดใช้ส่วนต่าง
จำเลยที่ 1 กู้เงินโจทก์ จำเลยที่ 1, ที่ 4, ที่ 5, ที่ 6 และที่ 7 ได้จำนำหุ้นซึ่งจำเลยแต่ละคนเป็นผู้ถือเพื่อเป็นการประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 สัญญาจำนำระบุว่าผู้จำนำยอมรับผิดต่อผู้รับจำนำในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1 และถ้าขายทรัพย์สินที่จำนำได้เงินสุทธิต่ำกว่าต้นเงินจำนำและดอกเบี้ยที่ค้างชำระผู้จำนำยอมชดใช้เงินที่ยังขาดอีกจนครบนั้น ต้องแปลว่าจำเลยที่ 4 ถึงที่ 7 ยอมรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 เต็มมูลค่าหุ้นที่จำเลยแต่ละคนนำมาจำนำ หากภายหลังขายได้เงินสุทธิน้อยกว่ามูลค่าหุ้นแล้ว ผู้จำนำยอมรับผิดในส่วนที่ยังขาดอยู่นั้น
ปัญหาว่าการขายทอดตลาดหุ้นที่จำนำและโอนหุ้นไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะไม่ได้รับอนุญาตให้ทำการขายทอดตลาดเป็นความผิดต่อพระราชบัญญัติควบคุมการขายทอดตลาดและค้าของเก่าพ.ศ.2474 ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58 พ.ศ.2515 และพระราชบัญญัติโรงรับจำนำนั้น จำเลยมิได้ต่อสู้เป็นประเด็นไว้ในคำให้การ จึงมิใช่ข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ปัญหาว่าการขายทอดตลาดหุ้นที่จำนำและโอนหุ้นไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะไม่ได้รับอนุญาตให้ทำการขายทอดตลาดเป็นความผิดต่อพระราชบัญญัติควบคุมการขายทอดตลาดและค้าของเก่าพ.ศ.2474 ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58 พ.ศ.2515 และพระราชบัญญัติโรงรับจำนำนั้น จำเลยมิได้ต่อสู้เป็นประเด็นไว้ในคำให้การ จึงมิใช่ข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 690/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลอุทธรณ์วินิจฉัยถึงลูกหนี้ร่วม แม้มีการอุทธรณ์เฉพาะบางฝ่าย คดีหนี้ร่วมที่ไม่อาจแบ่งแยกได้
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมให้ร่วมกันชำระหนี้ค่าบำเหน็จนายหน้าที่กระทำร่วมกันอันเป็นหนี้ที่ไม่อาจแบ่งแยกได้ แม้จะมีคู่ความเพียงบางฝ่ายเป็นผู้อุทธรณ์ก็ตาม แต่เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าโจทก์ไม่ได้เป็นนายหน้าและไม่มีค่าบำเหน็จต่อกัน และเห็นควรกลับคำพิพากษาหรือคำสั่งที่อุทธรณ์ ซึ่งจะทำให้คำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นมีผลเป็นที่สุดระหว่างคู่ความอื่นที่มิได้อุทธรณ์ด้วย ดังนี้ ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจที่จะวินิจฉัยชี้ขาดให้มีผลถึงคู่ความบางฝ่ายในคดีในศาลชั้นต้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 690/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลอุทธรณ์วินิจฉัยชี้ขาดถึงลูกหนี้ร่วมแม้มีเพียงบางฝ่ายอุทธรณ์ในคดีหนี้ที่ไม่อาจแบ่งแยกได้
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมให้ร่วมกันชำระหนี้ค่าบำเหน็จนายหน้าที่กระทำร่วมกันอันเป็นหนี้ที่ไม่อาจแบ่งแยกได้ แม้จะมีคู่ความเพียงบางฝ่ายเป็นผู้อุทธรณ์ก็ตามแต่เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าโจทก์ไม่ได้เป็นนายหน้าและไม่มีค่าบำเหน็จต่อกัน และเห็นควรกลับคำพิพากษาหรือคำสั่งที่อุทธรณ์ ซึ่งจะทำให้คำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นมีผลเป็นที่สุดระหว่างคู่ความอื่นที่มิได้อุทธรณ์ด้วย ดังนี้ ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจที่จะวินิจฉัยชี้ขาดให้มีผลถึงคู่ความบางฝ่ายในคดีในศาลชั้นต้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 627/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกหนี้ร่วม ความรับผิด ค่าเสียหายซ้ำซ้อน การวินิจฉัยข้อกฎหมายที่มิได้ยกขึ้นในชั้นอุทธรณ์
ปัญหาที่ว่าเมื่อโจทก์ไม่ติดใจเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1 หรือปลดหนี้ให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 2 แล้ว จำเลยที่ 2 ย่อมหลุดพ้นจากความรับผิด โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 นั้น มิใช่ปัญหาที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ค่าเสียหายที่ขาดรายได้ตามปกติ เป็นค่าเสียหายเกี่ยวกับตัวเงินที่โจทก์ต้องขาดไป เพราะไม่สามารถประกอบการงานได้ในระหว่างที่ต้องรักษาตัวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 443 ส่วนค่าเสียหายในการเจ็บป่วยก็คือค่าที่โจทก์ต้องเสียหายแก่ร่างกายหรืออนามัย เป็นค่าสินไหมทดแทนความเสียหายอย่างอื่นที่มิใช่เป็นตัวเงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 446 ไม่ใช่ค่าเสียหายอย่างเดียวกัน ศาลพิพากษาให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายทั้งสองอย่างนี้ให้แก่โจทก์ได้ไม่เป็นการซ้ำซ้อนกัน
ค่าเสียหายที่ขาดรายได้ตามปกติ เป็นค่าเสียหายเกี่ยวกับตัวเงินที่โจทก์ต้องขาดไป เพราะไม่สามารถประกอบการงานได้ในระหว่างที่ต้องรักษาตัวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 443 ส่วนค่าเสียหายในการเจ็บป่วยก็คือค่าที่โจทก์ต้องเสียหายแก่ร่างกายหรืออนามัย เป็นค่าสินไหมทดแทนความเสียหายอย่างอื่นที่มิใช่เป็นตัวเงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 446 ไม่ใช่ค่าเสียหายอย่างเดียวกัน ศาลพิพากษาให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายทั้งสองอย่างนี้ให้แก่โจทก์ได้ไม่เป็นการซ้ำซ้อนกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 627/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกหนี้ร่วม ความรับผิดในค่าเสียหาย และการไม่ซ้ำซ้อนของค่าเสียหายจากการบาดเจ็บและขาดรายได้
ปัญหาที่ว่าเมื่อโจทก์ไม่ติดใจเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1 หรือปลดหนี้ให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 2 แล้ว จำเลยที่ 2 ย่อมหลุดพ้นจากความรับผิด โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2นั้น มิใช่ปัญหาที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ค่าเสียหายที่ขาดรายได้ตามปกติ เป็นค่าเสียหายเกี่ยวกับตัวเงินที่โจทก์ต้องขาดไป เพราะไม่สามารถประกอบการงานได้ในระหว่างที่ต้องรักษาตัวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 443 ส่วนค่าเสียหายในการเจ็บป่วยก็คือค่าที่โจทก์ต้องเสียหายแก่ร่างกายหรืออนามัย เป็นค่าสินไหมทดแทนความเสียหายอย่างอื่นที่มิใช่เป็นตัวเงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 446 ไม่ใช่ค่าเสียหายอย่างเดียวกัน ศาลพิพากษาให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายทั้งสองอย่างนี้ให้แก่โจทก์ได้ไม่เป็นการซ้ำซ้อนกัน
ค่าเสียหายที่ขาดรายได้ตามปกติ เป็นค่าเสียหายเกี่ยวกับตัวเงินที่โจทก์ต้องขาดไป เพราะไม่สามารถประกอบการงานได้ในระหว่างที่ต้องรักษาตัวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 443 ส่วนค่าเสียหายในการเจ็บป่วยก็คือค่าที่โจทก์ต้องเสียหายแก่ร่างกายหรืออนามัย เป็นค่าสินไหมทดแทนความเสียหายอย่างอื่นที่มิใช่เป็นตัวเงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 446 ไม่ใช่ค่าเสียหายอย่างเดียวกัน ศาลพิพากษาให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายทั้งสองอย่างนี้ให้แก่โจทก์ได้ไม่เป็นการซ้ำซ้อนกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2772/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเรียกหนี้มูลหนี้เดียวกัน แม้ได้รับชำระหนี้บางส่วนจากลูกหนี้ร่วมแล้ว ก็ยังคงมีสิทธิเรียกร้องส่วนที่เหลือจากจำเลยได้
จำเลยเป็นหนี้ค่าซื้อของเชื่อโจทก์ ม.บุตรชายจำเลยได้ออกเช็คชำรหนี้ดังกล่าวบางส่วนจำเลยให้แก่โจทก์ แต่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค โจทก์ฟ้อง ม.เป็นจำเลยในคดีล้มละลายในมูลหนี้ตามเช็คและได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไว้ ต่อมาโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ ขอให้ชำระค่าซื้อของเชื่อนั้นทั้งหมดพร้อมดอกเบี้ย ปรากฏว่าโจทก์ได้รับชำระหนี้ในคดีล้มละลายมาแล้วบางส่วนหลังจากที่ยื่นฟ้องคดีนี้แล้ว ดังนี้ แม้โจทก์จะได้รับชำระหนี้จำนวนดังกล่าวมาแล้วก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น ไม่ได้รับชำระโดยครบถ้วน จึงไม่เป็นการตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องเรียกร้องในส่วนที่ยังไม่ได้รับขำระหนี้จากจำเลยซึ่งต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์อีก