พบผลลัพธ์ทั้งหมด 160 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 283/2472
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการยกเหตุไม่ครบองค์คณะในชั้นฎีกา การคัดค้านต้องกระทำตั้งแต่ศาลล่าง
จะคัดค้านว่าผู้พิพากษาศาลเดิมนั่งพิจารณาไม่ครบคณะนั้น ต้องได้ยกขึ้นคัดค้านมาตั้งแต่ชั้นศาลล่าง ศาลฎีกาจึงจะรับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 263/2472
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยพยานหลักฐานและการรับของโจร ศาลล่างพิจารณาหลักฐานครบถ้วน ไม่ถือว่าผิดวิธีพิจารณา
ปัญหากฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1066/2472
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลื่อนคดีและการยกฎีกาข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นสู่การพิจารณาในศาลล่าง
เลื่อนคดีอยู่ในดุลยพินิจของศาล พ.ร.บ.ฎีกาอุทธรณ์ ข้อกฎหมายที่ไม่ได้เถียงกันมาชั้นศาลล่างจะเถียงในชั้นฎีกาไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 549/2471
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอาศัยที่ดินโดยไม่จดทะเบียน: ปัญหาข้อกฎหมายที่ต้องยกขึ้นเถียงตั้งแต่ศาลล่าง
ปัญหากฎหมายที่ฎีกาขึ้นมา ต้องเถียงกันมาแต่ศาลล่าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6444/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าทดแทนและการยกเหตุข้อกฎหมายใหม่ในชั้นฎีกา ศาลไม่รับวินิจฉัยหากมิได้ยกขึ้นว่ากันในศาลล่าง
เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า สิทธิเรียกร้องค่าทดแทนของโจทก์ไม่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1529 จำเลยที่ 1 ไม่ได้อุทธรณ์ในประเด็นนี้ ปัญหาดังกล่าวจึงมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 7 ทั้งไม่ใช่ปัญหาอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 ประกอบมาตรา 247 ส่วนที่จำเลยที่ 1 อ้างในฎีกาว่า โจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ซึ่งแม้จะเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แต่จำเลยก็มิได้ยกปัญหานี้ขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 7 เป็นเหตุให้ไม่มีข้อเท็จจริงในสำนวนที่จะนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวนั้น ศาลฎีกาไม่เห็นสมควรจะยกปัญหานี้ขึ้นวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3052/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม: จำเลยอุทธรณ์ประเด็นใหม่ที่ไม่เคยยกขึ้นว่ากันในศาลล่าง แม้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยไปแล้ว
โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งสองรับผิดตามสัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกัน เมื่อจำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การ โจทก์ย่อมต้องนำสืบให้ได้ตามคำฟ้อง คดีจึงมีประเด็นตามที่โจทก์ตั้งสภาพแห่งข้อหามาในคำฟ้องว่าจำเลยทั้งสองต้องรับผิดตามสัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกันหรือไม่ เพียงใด ไม่มีประเด็นว่าสัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกันเป็นเอกสารปลอมหรือไม่ และสัญญาเช่าซื้อเป็นนิติกรรมอำพรางการกู้ยืมหรือไม่ ทั้งปัญหาว่าสัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกันเป็นเอกสารปลอมหรือไม่ และสัญญาเช่าซื้อเป็นนิติกรรมอำพรางการกู้ยืมหรือไม่ มิใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนที่จะนำข้อเท็จจริงนั้นไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายเรื่องอำนาจฟ้องได้
จำเลยที่ 1 ถามค้านพยานโจทก์ได้ความว่าเดิมรถยนต์ที่เช่าซื้อเป็นของจำเลยที่ 1 แต่จำเลยที่ 1 ประสงค์จะกู้ยืมเงินโจทก์ โดยจำเลยที่ 1 ตกลงโอนชื่อทางทะเบียนรถยนต์คันดังกล่าวให้แก่โจทก์ หลังจากนั้นโจทก์จึงจ่ายเงินให้จำเลยที่ 1 เพื่อให้เห็นว่าสัญญาเช่าซื้อเป็นนิติกรรมอำพรางการกู้ยืมเงิน เมื่อจำเลยทั้งสองไม่ได้ให้การต่อสู้เป็นประเด็นไว้ จึงไม่ใช่ข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 4 จะวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวให้ ก็ไม่ก่อให้เกิดสิทธิที่จำเลยที่ 1 จะฎีกาในปัญหาดังกล่าวได้ เช่นนี้ ฎีกาของจำเลยที่ 1 จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันโดยชอบในศาลล่างทั้งสองต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
จำเลยที่ 1 ถามค้านพยานโจทก์ได้ความว่าเดิมรถยนต์ที่เช่าซื้อเป็นของจำเลยที่ 1 แต่จำเลยที่ 1 ประสงค์จะกู้ยืมเงินโจทก์ โดยจำเลยที่ 1 ตกลงโอนชื่อทางทะเบียนรถยนต์คันดังกล่าวให้แก่โจทก์ หลังจากนั้นโจทก์จึงจ่ายเงินให้จำเลยที่ 1 เพื่อให้เห็นว่าสัญญาเช่าซื้อเป็นนิติกรรมอำพรางการกู้ยืมเงิน เมื่อจำเลยทั้งสองไม่ได้ให้การต่อสู้เป็นประเด็นไว้ จึงไม่ใช่ข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 4 จะวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวให้ ก็ไม่ก่อให้เกิดสิทธิที่จำเลยที่ 1 จะฎีกาในปัญหาดังกล่าวได้ เช่นนี้ ฎีกาของจำเลยที่ 1 จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันโดยชอบในศาลล่างทั้งสองต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6360/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาในคดีเยาวชน: หลักเกณฑ์การพิจารณาคำร้องขอให้ฎีกาเมื่อศาลล่างมีคำสั่งห้ามฎีกา
หลักเกณฑ์การฎีกาตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 180 (2) ประกอบมาตรา 183 ต้องแยกพิจารณาว่าเป็นการฎีกาเฉพาะส่วนเกี่ยวกับวิธีการสำหรับเด็กหรือฎีกาโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานว่าไม่ได้กระทำผิด หากฎีกาเฉพาะส่วนเกี่ยวกับวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนต้องห้ามฎีกาเว้นแต่กำหนดเวลาฝึกอบรมเกินกว่าสามปี หรือกำหนดเวลาฝึกอบรมเป็นขั้นต่ำขั้นสูงและขั้นสูงเกินกว่าสามปี หากฎีกาว่าไม่ได้กระทำความผิด ต้องพิจารณาตาม ป.วิ.อ. ซึ่งในกรณีศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นและยังคงกำหนดให้ส่งจำเลยไปฝึกอบรมซึ่งต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง จำเลยย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นเพื่อขอให้ผู้พิพากษาที่พิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาหรือทำความเห็นแย้งในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิเคราะห์ว่าข้อความที่ตัดสินเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลสูงสุดและอนุญาตให้ฎีกาได้ตามมาตรา 221 ซึ่งผู้พิพากษาที่พิจารณาคดีในศาลชั้นต้นมีหน้าที่พิจารณาเพียงว่าข้อความที่ตัดสินเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลสูงสุดหรือไม่เท่านั้น การที่ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าคดีไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงและยกคำร้อง จึงเป็นการสั่งคดีโดยผิดหลงและเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ ถือว่าไม่ได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่ง ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยยกคำสั่งของศาลชั้นต้น และมีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1) และ 247 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 และพ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 6
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4559/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจพนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาเพิ่มเติม และข้อจำกัดในการฎีกาข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นในศาลล่าง
ผู้เสียหายไปแจ้งความร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลย โดยเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นให้พนักงานสอบสวนฟัง พนักงานสอบสวนจะต้องเป็นผู้ที่คิดตั้งข้อหาขึ้นเพื่อดำเนินคดีแก่ผู้ต้องหาตามข้อเท็จจริงที่ได้ความจากการรับแจ้งความ ครั้งแรกพนักงานสอบสวนแจ้งข้อหากระทำอนาจารและทำร้ายร่างกาย แต่เมื่อพนักงานสอบสวนได้ดำเนินการสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐานต่อไปรวมทั้งสอบปากคำผู้เสียหายแล้ว เห็นว่าผู้ต้องหาได้กระทำความผิดในข้อหากรรโชกอีกในคราวเดียวกันด้วย พนักงานสอบสวนย่อมมีอำนาจแจ้งข้อหาเพิ่มเติมแก่ผู้ต้องหาได้
แม้จำเลยจะได้รับอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงก็ตาม แต่ปรากฏว่าเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง ก็เป็นข้อเท็จจริงที่ไม่อาจอนุญาตให้ฎีกาได้ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
แม้จำเลยจะได้รับอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงก็ตาม แต่ปรากฏว่าเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง ก็เป็นข้อเท็จจริงที่ไม่อาจอนุญาตให้ฎีกาได้ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5332/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปิดทางจำเป็น: ข้อจำกัดการฎีกาประเด็นใหม่ที่มิได้ยกขึ้นในศาลล่าง
ที่จำเลยฎีกาอ้างว่า ที่ดินของโจทก์เดิมเป็นที่ดินของบิดามารดาโจทก์ ต่อมามีการแบ่งแยกที่ดินออกเป็นที่ดินของโจทก์แปลงหนึ่ง เป็นของ น. แปลงหนึ่ง และเป็นของ ธ. อีกแปลงหนึ่ง โจทก์ชอบที่จะเปิดทางพิพาทผ่านที่ดินที่เคยรวมเป็นแปลงเดียวกันมาก่อนนั้น เมื่อโจทก์ฟ้องขอเปิดทางจำเป็นผ่านที่ดินของจำเลย อันเป็นการอ้างบทกฎหมายตาม ป.พ.พ. มาตรา 1349 จำเลยให้การแต่เพียงว่าโจทก์มีทางออกอื่นเพื่อไปสู่ทางสาธารณะ การฟ้องคดีโจทก์จึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต โดยจำเลยมิได้อ้างว่าที่ดินของโจทก์แบ่งแยกจากที่ดินแปลงอื่นอันทำให้ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะอันจะก่อให้เกิดประเด็นตาม ป.พ.พ. มาตรา 1350 ฎีกาของจำเลยข้อนี้ถือว่าเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 8 ทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1270/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม: การยกเหตุใหม่ในฎีกาที่ไม่เคยกล่าวอ้างในชั้นศาลล่าง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเป็นคนร้ายฆ่าผู้ตาย จำเลยให้การปฏิเสธและนำสืบปฏิเสธอ้างฐานที่อยู่ ศาลชั้นต้นฟังว่าจำเลยเป็นคนร้ายฆ่าผู้ตาย พิพากษาลงโทษจำเลยฐานฆ่าผู้อื่น จำเลยอุทธรณ์อ้างว่าจำเลยมิใช่คนร้าย ศาลอุทธรณ์ฟังตามศาลชั้นต้นว่า จำเลยเป็นคนร้ายฆ่าผู้ตายเช่นกัน แต่จำเลยฎีกากลับอ้างข้อเท็จจริงขึ้นมาใหม่ว่า จำเลยได้ฆ่าผู้ตายจริงเพราะจำเลยถูกผู้ตายข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม จึงกระทำความผิดไปโดยบันดาลโทสะตาม ป.อ. มาตรา 72 ซึ่งเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้จำเลยฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15