พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,244 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4975/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามในปัญหาข้อเท็จจริง: การโต้แย้งดุลพินิจรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์
คดีนี้ ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยข้อหาความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน แต่ละกระทงไม่เกิน 5 ปี ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืนโดยมิได้แก้บทลงโทษและกำหนดโทษ แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 จะพิพากษาแก้ให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้คืนธนบัตรที่ใช้ล่อซื้อของกลางแก่เจ้าของก็เป็นการแก้ไขเล็กน้อย จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยมิได้กระทำความผิดตามฟ้อง เป็นฎีกาโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 2 เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ซึ่งต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4902/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยประเด็นการเป็นเจ้าของรวมต้องพิจารณาเหตุผลที่อ้างร่วมด้วย แม้ศาลชั้นต้นมิได้ตั้งประเด็นไว้ ศาลอุทธรณ์ก็วินิจฉัยได้
ศาลชั้นต้นตั้งประเด็นข้อพิพาทไว้เพียงว่า โจทก์เป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาทหรือไม่ แต่ในการวินิจฉัยประเด็นดังกล่าว ก็ต้องพิจารณาคำฟ้องและคำให้การด้วยว่าที่โจทก์อ้างว่าเป็นเจ้าของรวมนั้นโจทก์อ้างโดยอาศัยเหตุอะไรและจำเลยยอมรับหรือไม่เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้ใส่ชื่อโจทก์เป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาทร่วมกับจำเลยโดยอ้างว่าเป็นทรัพย์สินที่โจทก์ทำมาหาได้ร่วมกันในระหว่างที่อยู่กินฉันสามีภริยากับจำเลย จำเลยให้การปฏิเสธ จึงต้องวินิจฉัยข้ออ้างของโจทก์เสียก่อนว่ารับฟังได้หรือไม่ หากรับฟังได้โจทก์ก็ย่อมมีสิทธิขอให้ใส่ชื่อโจทก์ในที่ดินพิพาทในฐานะเจ้าของรวม หากรับฟังไม่ได้โจทก์ก็ต้องแพ้คดี ประเด็นที่ว่าโจทก์ได้อยู่กินฉันสามีภริยากับจำเลยหรือเป็นภริยาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของจำเลยหรือไม่ จึงเกี่ยวกับประเด็นข้อพิพาทที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้และนำไปสู่การวินิจฉัยประเด็นเรื่องการเป็นเจ้าของรวมของโจทก์ แม้ศาลชั้นต้นจะมิได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทและมิได้วินิจฉัย ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ไม่ถือว่าเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4593/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขบทลงโทษและระยะเวลาฝึกอบรมในคดีเยาวชน ศาลอุทธรณ์แก้โทษเบาลง โจทก์ฎีกาแต่ถูกจำกัดสิทธิเนื่องจากเป็นปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยทั้งสองมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 340 วรรคหนึ่ง, 83 ลงโทษจำคุกคนละ 3 ปี ให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยทั้งสองไปฝึกและอบรมแทนมีกำหนดคนละ 1 ปี ศาลอุทธรณ์แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวพิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 309 วรรคแรก และมาตรา 391 เป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามมาตรา 309 วรรคแรก ส่วนจำเลยที่ 2 มีความผิดต่อ ป.อ. มาตรา 309 วรรคแรก ให้ส่งตัวจำเลยทั้งสองไปรับการฝึกและอบรมยังสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนมีกำหนดคนละ 1 เดือน กรณีเป็นการแก้เฉพาะบทลงโทษและแก้ไขระยะเวลาการฝึกและอบรมซึ่งไม่ใช่โทษตามกฎหมาย เนื่องจากการที่ศาลชั้นต้นเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยทั้งสองไปรับการฝึกและอบรมคนละ 1 ปี และศาลอุทธรณ์แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวให้ส่งตัวจำเลยทั้งสองไปรับการฝึกและอบรมยังสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนกลางมีกำหนดคนละ 1 เดือน มิใช่การลงโทษจำเลยทั้งสองตาม ป.อ. มาตรา 18 จึงเป็นการแก้ไขเล็กน้อยและต้องถือว่าศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสองไม่เกินคนละห้าปี ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 124 การที่โจทก์ฎีกาว่าพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบฟังได้ว่า การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นความผิดฐานปล้นทรัพย์ เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์แผนกคดีเยาวชนและครอบครัว อันเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามฎีกาตามบทกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4360/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามในข้อเท็จจริงเมื่อคดีมีทุนทรัพย์ไม่เกิน 200,000 บาท และการขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์
จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ยกคำร้อง เมื่อคดีมีทุนทรัพย์ไม่เกิน 200,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4088/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขโทษจำคุกโดยศาลอุทธรณ์เกินกว่าที่ศาลชั้นต้นวางโทษ ถือเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ มาตรา 4 , 55 , 78 ป.อ.มาตรา 288 , 80 , 83 เป็นความผิดหลายกรรมต่างกันให้เรียงกระทงลงโทษ ตาม ป.อ.มาตรา 91 ฐานร่วมกันมีลูกระเบิดอันเป็นเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนออกใบอนุญาตให้ไม่ได้ จำคุก 4 ปี ฐานร่วมกันใช้ลูกระเบิดอันเป็นเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนออกใบอนุญาตให้ไม่ได้และฐานร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่นเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ลงโทษฐานร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่น ซึ่งเป็นบทหนักที่สุดตาม ป.อ.มาตรา 90 จำคุก 10 ปี รวมจำคุก 14 ปี จำเลยอุทธรณ์ฝ่ายเดียว ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตาม ป.อ.มาตรา 288 ประกอบด้วยมาตรา 80 , 83 พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ มาตรา 55 ประกอบด้วยมาตรา 78 วรรคหนึ่งและวรรคสาม ความผิดฐานร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่น ฐานร่วมกันมีวัตถุระเบิดและใช้วัตถุระเบิดเพื่อฆ่าผู้อื่นเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ มาตรา 78 วรรคสาม ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90 นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น เท่ากับศาลอุทธรณ์ภาค 7 ลงโทษจำคุกจำเลยกระทงเดียว 14 ปี เกินกว่าที่ศาลชั้นต้นวางโทษจำคุกในแต่ละกระทงโดยที่โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ อันเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลย ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ.มาตรา 212 ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225 ศาลฎีกาพิพากษาแก้ให้ลงโทษจำคุกจำเลย 10 ปี.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4088/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มโทษจำคุกเกินกว่าที่ศาลชั้นต้นกำหนดโดยศาลอุทธรณ์ โดยที่โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ ถือเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯมาตรา 4,55,78 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288,80,83 เป็นความผิดหลายกรรมต่างกันให้เรียงกระทงลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ฐานร่วมกันมีลูกระเบิดอันเป็นเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนออกใบอนุญาตให้ไม่ได้ จำคุก 4 ปี ฐานร่วมกันใช้ลูกระเบิดอันเป็นเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนออกใบอนุญาตให้ไม่ได้และฐานร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่นเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ลงโทษฐานร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่น ซึ่งเป็นบทหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุก 10 ปีรวมจำคุก 14 ปี จำเลยอุทธรณ์ฝ่ายเดียว ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ประกอบด้วยมาตรา 80,83 พระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ มาตรา 55 ประกอบด้วยมาตรา 78 วรรคหนึ่งและวรรคสามความผิดฐานร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่น ฐานร่วมกันมีวัตถุระเบิดและใช้วัตถุระเบิดเพื่อฆ่าผู้อื่นเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ มาตรา 78 วรรคสาม ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นเท่ากับศาลอุทธรณ์ภาค 7 ลงโทษจำคุกจำเลยกระทงเดียว 14 ปีเกินกว่าที่ศาลชั้นต้นวางโทษจำคุกในแต่ละกระทงโดยที่โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ อันเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลย ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 212 ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225 ศาลฎีกาพิพากษาแก้ให้ลงโทษจำคุกจำเลย 10 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4082-4083/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาเกี่ยวกับข้อจำกัดในการอุทธรณ์ฎีกาเมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยประเด็นที่ไม่ชอบ และประเด็นส่วนได้เสีย
โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความแบ่งทรัพย์สินกันต่อหน้าศาล แม้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ฮ. ทายาทผู้หนึ่งไม่ได้รับส่วนแบ่งเลย ในขณะที่ทายาทอื่นได้รับส่วนแบ่งกันทุกคนก็ตาม ก็เป็นเรื่องที่ ฮ. จะไปว่ากล่าวเอง โจทก์ไม่มีส่วนได้เสียจากการได้หรือไม่ได้รับมรดกของ ฮ. จึงไม่มีข้ออ้างเป็นเหตุแห่งส่วนได้เสียอันจะอุทธรณ์ฎีกาในปัญหานี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4070/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่อนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาซ้ำ เมื่อศาลชั้นต้นและอุทธรณ์เคยมีคำสั่งไม่อนุญาตแล้ว แม้จะอ้างเหตุยากจนกว่าเดิม
เดิมจำเลยได้เคยยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์แล้วครั้งหนึ่งศาลชั้นต้นเห็นว่าคดีของจำเลยไม่มีเหตุผลอันสมควรที่จะอุทธรณ์ให้ยกคำร้อง และศาลอุทธรณ์ได้มีคำสั่งยืนตามคำสั่งศาลชั้นต้น คำสั่งศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุด คดีจึงฟังได้เป็นข้อยุติว่าคดีของจำเลยไม่มีเหตุผลอันสมควรที่จะอุทธรณ์ การที่จำเลยยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์ครั้งใหม่ โดยอ้างเหตุว่ายากจนลงกว่าเดิมแม้จะฟังได้ตามข้ออ้างของจำเลย ศาลก็ไม่อาจอนุญาตให้จำเลยดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3514/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณาต้องห้ามตามกฎหมาย การฎีกาคำสั่งศาลอุทธรณ์ที่ยืนตามคำสั่งเดิมจึงไม่รับ
เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 และที่3 โดยเห็นว่าเป็นอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณาซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226(1) คำสั่งของศาลอุทธรณ์จึงเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 236 วรรคหนึ่ง ต้องห้ามฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3514/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณาต้องห้าม การฎีกาคำสั่งศาลอุทธรณ์ที่ยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้น
เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 และที่ 3 โดยเห็นว่าเป็นอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณาซึ่งต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(1) คำสั่งของศาลอุทธรณ์จึงเป็นที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 236 วรรคหนึ่ง ต้องห้ามฎีกา