คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สภาพการจ้าง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 150 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9488/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างโดยไม่ได้รับความยินยอม และการจ่ายเงินรางวัลพนักงานดีเด่นเป็นสภาพการจ้าง
การที่จำเลยจ่ายเงินรางวัลพนักงานดีเด่นและหัวหน้าดีเด่นประจำเดือนแก่ลูกจ้างเป็นประจำตลอดมาทุกเดือน นับแต่ปี 2541 จนถึงวันที่ 16 สิงหาคม 2545 เงินรางวัลพนักงานดีเด่นและหัวหน้างานดีเด่น ประจำเดือนจึงเป็นประโยชน์อื่นของลูกจ้างอันเกี่ยวกับการจ้างงานหรือการทำงานและเป็นสภาพการจ้าง ตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 5 แม้ว่าเรื่องของการจ่ายเงินรางวัลพนักงานดีเด่นและหัวหน้าดีเด่นประจำเดือน เป็นสภาพการจ้างอื่นใดที่ไม่อยู่ในข้อเรียกร้องตามบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง แต่ก็เป็นสภาพการจ้างที่ปฏิบัติสืบกันมาจึงเป็นสภาพการจ้างที่บันทึกข้อตกลงดังกล่าวระบุให้ต้องคงไว้เช่นเดิม และยังเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างโดยปริยาย การยกเลิกรางวัลพนักงานดีเด่นและหัวหน้างานดีเด่นประจำเดือนเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างโดยไม่ได้รับความยินยอมจากลูกจ้างและเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้าง จึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13116-14666/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายบำเหน็จดำรงชีพของรัฐวิสาหกิจ จำเป็นต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์และคณะรัฐมนตรี
บำเหน็จดำรงชีพแตกต่างจากบำเหน็จตกทอดทั้งตัวผู้รับคือบำเหน็จดำรงชีพจ่ายให้ตัวผู้รับบำนาญเองแต่บำเหน็จตกทอดจ่ายให้ทายาทผู้มีสิทธิหลังจากผู้ได้รับบำนาญถึงแก่ความตายแล้ว และบำเหน็จดำรงชีพเป็นการเร่งระยะเวลาที่ต้องจ่ายเงินให้เร็วขึ้นจากที่ทยอยจ่ายตามอายุขัยของผู้ได้รับบำนาญมาเป็นการจ่ายตามคำขอของผู้รับบำนาญในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ ดังนั้นการที่จำเลยจะอนุโลมเอาการจ่ายบำเหน็จดำรงชีพมาใช้ในข้อบังคับของจำเลยฉบับที่ 4.9 ตามข้อ 17 วรรคสอง จึงมีการเปลี่ยนแปลงในหลักการของสภาพการจ้างที่เป็นตัวเงินเกิดขึ้น ทำให้ลักษณะการจ่ายเงินสงเคราะห์ตกทอดแก่ทายาทแตกต่างไปจากเดิมทั้งตัวผู้รับและกำหนดเวลาที่ได้รับ กับลักษณะการจ่ายเงินจากทยอยจ่ายตามอายุขัยของผู้ที่ได้รับเงินสงเคราะห์เป็นรายเดือนในอนาคตก็เปลี่ยนเป็นจ่ายตามความประสงค์ของผู้ที่ได้รับเงินสงเคราะห์เป็นรายเดือนที่ยังมีชีวิตอยู่ การจ่ายบำเหน็จดำรงชีพเป็นการเพิ่มภาระทางการเงินของจำเลยในปัจจุบันจำเลยไม่สามารถจ่ายบำเหน็จดำรงชีพได้โดยงบประมาณของจำเลยเองจนจำเลยต้องขอคณะรัฐมนตรีให้สนับสนุนเป็นเงินทุน 1,469 ล้านบาทเศษ และเป็นเงินทุนสนับสนุนรายปีจากรัฐบาลเมื่อจำเลยเห็นสมควรให้แก้ไขหลักการในสภาพการจ้างที่เกี่ยวกับการเงินโดยจ่ายบำเหน็จดำรงชีพตาม พ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ 21) พ.ศ.2546 กรณีจึงอยู่ในบังคับของ พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2543 มาตรา 13 เมื่อไม่ปรากฏว่าคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์เสนอต่อคณะรัฐมนตรีกำหนดขอบเขตสภาพการจ้างเกี่ยวกับบำเหน็จดำรงชีพสำหรับจำเลยที่จำเลยอาจดำเนินการเองได้ตามมาตรา 13 (2) และไม่ปรากฏว่าจำเลยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์และคณะรัฐมนตรีให้ปรับปรุงสภาพการจ้างให้จ่ายบำเหน็จดำรงชีพตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 13 วรรคสามแล้ว ศาลฎีกาย่อมไม่อาจบังคับให้จำเลยดำเนินการจ่ายบำเหน็จดำรงชีพให้โจทก์ทั้งหนึ่งพันห้าร้อยห้าสิบเอ็ดได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5), 246 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10251/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงวิธีจ่ายค่าล่วงเวลาไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง และเหตุอันสมควรเลิกจ้างกรรมการลูกจ้าง
การที่ผู้ร้องเปลี่ยนแปลงวิธีจ่าย "ค่าล่วงเวลาและเบี้ยเลี้ยง" จากที่ให้บริษัทนำเที่ยวจ่ายให้พนักงานขับรถแทนตัวผู้ร้องมาเป็นผู้ร้องจ่ายให้พนักงานขับรถเองเป็นเพียงการเปลี่ยนจากตัวแทนคือบริษัทนำเที่ยวเป็นผู้จ่ายมาเป็นผู้ร้องจ่ายเองเท่านั้น ไม่ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงในเงื่อนไขการจ้างหรือการทำงาน กำหนดวันและเวลาทำงาน ค่าจ้าง สวัสดิการ การเลิกจ้าง หรือประโยชน์อื่นของนายจ้างหรือลูกจ้างอันเกี่ยวกับการจ้างหรือการทำงาน จึงไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง เมื่อผู้คัดค้านรับเงิน "ค่าล่วงเวลาและเบี้ยเลี้ยง" จากบริษัท จ. แทนผู้ร้องแล้วไม่นำส่งผู้ร้องแต่เก็บไว้เป็นของตน แม้ผู้ร้องออกประกาศเตือนให้พนักงานขับรถนำส่งเงินแก่ผู้ร้อง ผู้คัดค้านก็ยังเพิกเฉยไม่นำส่ง จึงเป็นกรณีผู้ร้องและผู้คัดค้านไม่อาจทำงานร่วมกันได้ต่อไป และไม่ใช่กรณีผู้ร้องกลั่นแกล้งผู้คัดค้าน จึงมีเหตุอันสมควรอนุญาตให้ผู้ร้องเลิกจ้างผู้คัดค้านในฐานะกรรมการลูกจ้างได้ตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 52
อนึ่ง ที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า ผู้ร้องมีสิทธิขอเลิกจ้างผู้คัดค้านในฐานะสมาชิกสหภาพแรงงานตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 123 และพิพากษาให้ผู้ร้องเลิกจ้างผู้คัดค้านในฐานะสมาชิกสหภาพแรงงานนั้น ตามมาตรา 123 แห่ง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 บัญญัติว่ากรณีที่ลูกจ้างซึ่งเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานกระทำการตาม (1) ถึง (5) นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างได้ ไม่มีบทบัญญัติให้ศาลแรงงานอนุญาตให้นายจ้างเลิกจ้างในกรณีนี้ ดังนั้นผู้ร้องจึงเลิกจ้างผู้คัดค้านได้โดยไม่ต้องได้รับอนุญาตจากศาลแรงงานก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 309/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตมาตรา 20 พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์: ข้อตกลงสภาพการจ้างที่เกิดจากการยื่นข้อเรียกร้องเท่านั้น
พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 20 ที่ห้ามนายจ้างทำสัญญาจ้างแรงงานกับลูกจ้างขัดหรือแย้งกับข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง หมายถึงเฉพาะข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่เกิดจากการยื่นข้อเรียกร้องเท่านั้น นายจ้างจึงทำสัญญาจ้างแรงงานกับลูกจ้างที่เข้าทำงานใหม่โดยตกลงจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างสัปดาห์ละ 1 ครั้ง แทนการจ่ายเดือนละ 1 ครั้ง ที่มิใช่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่เกิดจากการยื่นข้อเรียกร้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3036-3038/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับปรุงสภาพการจ้างของรัฐวิสาหกิจโดยคณะกรรมการกิจการสัมพันธ์ชอบด้วยกฎหมาย หากดำเนินการตามขั้นตอนและไม่กลั่นแกล้ง
พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ฯ หาได้บัญญัติให้การแก้ไขเพิ่มเติมข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างกระทำโดยนายจ้างหรือสหภาพแรงงานต้องยื่นข้อเรียกร้องตามมาตรา 25 วรรคสาม แต่เพียงประการเดียวไม่ แต่กฎหมายดังกล่าวยังได้บัญญัติถึงกระบวนแก้ไขเพิ่มเติมข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างไว้ในมาตรา 23 (5) อีกทางหนึ่งด้วย โดยคณะกรรมการกิจการสัมพันธ์มีอำนาจ "ปรึกษาหารือเพื่อพิจารณาปรับปรุงสภาพการจ้าง" ดังนั้น หากคณะกรรมการกิจการสัมพันธ์ปรับปรุงสภาพการจ้างใดโดยกระทำด้วยการปรึกษาหารือกันโดยชอบ กล่าวคือ มีการพิจารณาโดยถูกต้องตามขั้นตอนและมีเหตุผลเพียงพออีกทั้งไม่เป็นการกลั่นแกล้งบุคคลหนึ่งบุคคลใดแล้ว การปรับปรุงสภาพการจ้างตามกระบวนการนี้ย่อมมีผลใช้บังคับแก่ลูกจ้างทุกคนในรัฐวิสาหกิจรวมถึงฝ่ายบริหารด้วย ไม่ว่าการปรับปรุงสภาพการจ้างนั้นจะทำให้สภาพการจ้างต่ำกว่าเดิมหรือลดประโยชน์ของลูกจ้างก็ตาม เมื่อปรากฏว่าการแก้ไขข้อบังคับการเคหะแห่งชาติ ฉบับที่ 74 ว่าด้วยเงินช่วยเหลือการศึกษาของบุตร แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 1 ลงวันที่ 28 สิงหาคม 2546 ได้กระทำโดยมีการเสนอการปรับปรุงเป็นวาระการประชุมต่อคณะกรรมการกิจการสัมพันธ์ของจำเลย และคณะกรรมการกิจการสัมพันธ์ของจำเลยได้พิจารณาแล้วมีมติเห็นชอบให้แก้ไขข้อบังคับการเคหะแห่งชาติ ฉบับที่ 74 ว่าด้วยเงินช่วยเหลือการศึกษาของบุตร ลงวันที่ 5 มีนาคม 2540 โดยให้ใช้หลักเกณฑ์การเบิกจ่ายเงินค่าเล่าเรียนบุตรของผู้ปฏิบัติงานซึ่งหมายถึงพนักงานการเคหะแห่งชาติและลูกจ้างทุกประเภทที่ได้ประจำทำงานในการเคหะแห่งชาติมาแล้วเป็นเวลาติดต่อกันตั้งแต่หนึ่งปีขึ้นไป ให้มีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือการศึกษาของบุตรตามที่กระทรวงการคลังกำหนดแทนหลักเกณฑ์เดิมที่มีสิทธิได้รับตามที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด โดยคณะกรรมการกิจการสัมพันธ์ให้นำเสนอการแก้ไขข้อบังคับดังกล่าวต่อคณะกรรมการเคหะแห่งชาติต่อไป และต่อมาคณะกรรมการการเคหะแห่งชาติได้ประชุมแล้วให้ความเห็นชอบในการแก้ไขข้อบังคับการเคหะแห่งชาติ ฉบับที่ 74 ว่าด้วยเงินช่วยเหลือการศึกษาของบุตร แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2546 ดังนั้น เมื่อไม่ปรากฏว่าการปรับปรุงสภาพการจ้างดังกล่าวเป็นการปรับปรุงสภาพการจ้างที่เกี่ยวกับการเงินที่อยู่นอกเหนือจากที่กำหนดไว้ตาม พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ฯ มาตรา 13 (2) ที่จะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์และคณะรัฐมนตรีก่อนตามมาตรา 13 วรรคท้าย กระบวนการปรับปรุงสภาพการจ้างดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย ข้อบังคับการเคหะแห่งชาติ ฉบับที่ 74 ที่แก้ไขใหม่นี้จึงมีผลใช้บังคับแก่พนักงานของจำเลยทุกคนรวมทั้งโจทก์ทั้งสามด้วย โจทก์ทั้งสามจึงไม่อาจอ้างสิทธิขอรับเงินช่วยเหลือการศึกษาของบุตรตามฟ้องโดยอาศัยข้อบังคับการเคหะแห่งชาติว่าด้วยเงินช่วยเหลือการศึกษาของบุตร ลงวันที่ 5 มีนาคม 2540 ข้อ 5 อันเป็นข้อบังคับฉบับเดิมที่ถูกยกเลิกไปแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3036-3038/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับปรุงสภาพการจ้างของรัฐวิสาหกิจ: อำนาจคณะกรรมการกิจการสัมพันธ์และการปฏิบัติตามขั้นตอน
พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2543 หาได้บัญญัติให้การแก้ไขเพิ่มเติมข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างกระทำโดยนายจ้างหรือสหภาพแรงงานต้องยื่นข้อเรียกร้องตามมาตรา 25 วรรคสามแต่เพียงประการเดียวไม่ แต่กฎหมายยังได้บัญญัติถึงกระบวนแก้ไขเพิ่มเติมข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างไว้ในมาตรา 23 (5) อีกทางหนึ่งโดยบัญญัติให้คณะกรรมการกิจการสัมพันธ์มีอำนาจ ปรึกษาหารือเพื่อพิจารณาปรับปรุงสภาพการจ้าง ดังนั้น หากคณะกรรมการกิจการสัมพันธ์ปรับปรุงสภาพการจ้างใดโดยกระทำด้วยการปรึกษาหารือกันโดยชอบ คือมีการพิจารณาโดยถูกต้องตามขั้นตอนและมีเหตุผลเพียงพอ อีกทั้งไม่เป็นการกลั่นแกล้งบุคคลหนึ่งบุคคลใดแล้ว การปรับปรุงสภาพการจ้างตามกระบวนการนี้ย่อมมีผลใช้บังคับแก่ลูกจ้างทุกคนในรัฐวิสาหกิจรวมถึงฝ่ายบริหารด้วย
เมื่อไม่ปรากฏว่าการแก้ไขข้อบังคับการเคหะแห่งชาติ ฉบับที่ 74 ว่าด้วยเงินช่วยเหลือการศึกษาของบุตร เป็นการปรับปรุงสภาพการจ้างที่เกี่ยวกับการเงินที่อยู่นอกเหนือจากที่กำหนดไว้ตามพ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ฯ มาตรา 13 (2) ที่จะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์และคณะรัฐมนตรีก่อนตามมาตรา 13 วรรคท้าย ดังนี้การแก้ไขข้อบังคับดังกล่าวเมื่อคณะกรรมการการเคหะแห่งชาติได้ให้ความเห็นชอบแล้ว การปรับปรุงสภาพการจ้างดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย ข้อบังคับการเคหะแห่งชาติ ฉบับที่ 74 ที่แก้ไขใหม่นี้ จึงมีผลใช้บังคับแก่พนักงานของจำเลยทุกคนรวมทั้งโจทก์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2646/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชะลอการขึ้นเงินเดือนระหว่างสอบสวนวินัย ไม่ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง หากผลสอบเป็นปกติ โจทก์มีสิทธิได้รับเงินเดือนย้อนหลัง
การชะลอการขึ้นเงินเดือนเป็นคำสั่งทั่วไปที่จำเลยสามารถกระทำได้ ไม่ขัดต่อกฎหมายและมีเหตุอันสมควร เพราะระหว่างที่ยังสอบสวนไม่เสร็จหากเลื่อนขั้นเงินเดือนให้โจทก์แล้วต่อมาปรากฏว่าโจทก์ได้กระทำความผิดจริง จะทำให้จำเลยทั้งสองเสียหายยากที่จะเรียกร้องเงินคืนจากโจทก์ หากผลการสอบสวนปรากฏว่าโจทก์ไม่มีความผิดวินัย โจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับเงินเดือนย้อนหลัง ได้รับบำเหน็จความชอบตามสมควรแก่กรณี
ในระหว่างที่โจทก์ถูกตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยและจำเลยทั้งสองชะลอการเลื่อนขั้นเงินเดือนได้แก่โจทก์ อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาว่าโจทก์กระทำความผิดระเบียบหรือไม่ ไม่มีผลทำให้สภาพการจ้างของโจทก์เปลี่ยนแปลงไป เพราะโจทก์ยังคงเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 อยู่ ได้รับค่าจ้างตามปกติ คำสั่งชะลอการเลื่อนขึ้นเงินเดือนดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3057-3061/2561

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโยกย้ายพนักงานในระดับชั้นเดิมโดยไม่กระทบค่าจ้าง ไม่ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง
ข้อตกลงร่วมระหว่างจำเลยกับสหภาพแรงงานผู้บังคับบัญชากำหนดให้จำเลยมีอำนาจบริหารที่จะแต่งตั้งโยกย้ายพนักงานทุกระดับชั้นได้ตามเหตุผลและความจำเป็นเพื่อให้การบริหารงานบุคคลของจำเลยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ แต่การแต่งตั้งโยกย้ายนั้นต้องไม่เป็นการลดสภาพการจ้างและค่าจ้างของพนักงานนั้น จำเลยในฐานะนายจ้างจึงมีอำนาจบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลด้วยการจัดให้ลูกจ้างเข้าทำงานรับผิดชอบตามตำแหน่งหน้าที่ในแต่ระดับชั้นที่เหมาะสมกับความรู้ความสามารถและประสบการณ์ของลูกจ้าง ทั้งนี้เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่กิจการของนายจ้าง
ก่อนย้ายโจทก์ทั้งห้าปฏิบัติงานอยู่ในระดับชั้นเจ้าหน้าที่ชั้นพิเศษซึ่งมิใช่ระดับชั้นเจ้าหน้าที่บริหาร เมื่อย้ายแล้วโจทก์ทั้งห้าก็ยังคงปฏิบัติงานอยู่ในระดับชั้นพิเศษเช่นเดิม โดยไม่ปรากฏว่ามีตำแหน่งใดในระดับชั้นเจ้าหน้าที่ชั้นพิเศษที่มีลักษณะงานด้อยกว่ากันอย่างชัดเจนแต่กลับปรากฏว่าแต่ละตำแหน่งมีความสำคัญพอ ๆ กัน ทั้งอัตราค่าจ้างที่โจทก์ทั้งห้าได้รับจากจำเลยก็ไม่ได้ลดลง คำสั่งโยกย้ายสับเปลี่ยนตำแหน่งในระดับชั้นเจ้าหน้าที่ชั้นพิเศษด้วยกันจึงไม่อาจถือว่าเป็นการเพิ่มหรือลดตำแหน่งที่มีผลให้สภาพการจ้างเดิมด้อยลง ประกอบกับคำสั่งโยกย้ายสับเปลี่ยนตำแหน่งโจทก์ทั้งห้าของจำเลยเป็นการใช้อำนาจบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลภายในองค์กรที่จะแต่งตั้งโยกย้ายเพื่อให้การบริหารงานบุคคลของจำเลยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพการที่จำเลยย้ายโจทก์ทั้งห้ายังอยู่ในระดับชั้นเจ้าหน้าที่ชั้นพิเศษเช่นเดิมและอัตราค่าจ้างไม่ได้ลดลง จำเลยจึงไม่ได้ผิดสัญญาจ้างหรือผิดข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง คำสั่งโยกย้ายสับเปลี่ยนตำแหน่งโจทก์ทั้งห้าของจำเลยจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7942-7988/2560

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจการจ่ายโบนัสเป็นดุลพินิจของนายจ้างตามข้อตกลงสภาพการจ้าง ศาลแรงงานไม่อาจกำหนดหลักเกณฑ์เองได้
เงินโบนัสเป็นเงินที่นายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้างนอกเหนือไปจากที่กฎหมายคุ้มครองแรงงานกำหนด นายจ้างจะจ่ายโบนัสให้แก่ลูกจ้างหรือไม่ และถ้าจ่ายจะจ่ายด้วยวิธีการและหลักเกณฑ์อย่างใดก็ต้องแล้วแต่นายจ้างจะกำหนด หรือตามสัญญาระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง หรือตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างแล้วแต่กรณี เพราะไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะ ศาลแรงงานภาค 5 จึงไม่อาจกำหนดหลักเกณฑ์การจ่ายโบนัสแทนจำเลยซึ่งเป็นนายจ้าง หรือนอกเหนือจากสัญญาระหว่างจำเลยกับโจทก์ทั้งเก้าสิบเจ็ด หรือนอกเหนือจากข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างได้ เมื่อข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างกำหนดเงื่อนไขการจ่ายโบนัสประจำปี 2556 ไว้เพียงให้จำเลยประเมินผลงานของลูกจ้างก่อนสิ้นปี 2 สัปดาห์ และให้จำเลยจ่ายตั้งแต่ 0 ถึง 3 เท่าของรายได้แสดงได้ว่าหลักเกณฑ์การจ่ายโบนัสดังกล่าวขึ้นอยู่กับผลการประเมินผลงานที่จำเลยได้จัดทำไว้ และเป็นอำนาจของจำเลยในการใช้ดุลพินิจพิจารณาจ่ายโบนัส โดยคำนึงถึงผลการปฏิบัติงานของลูกจ้าง เมื่อแบบประเมินผลการปฏิบัติงานของโจทก์แต่ละคนและหนังสือเตือนที่จำเลยใช้เป็นเหตุสำคัญในการไม่จ่ายโบนัสประจำปี 2556 โจทก์แต่ละคนต่างมีวันลา วันขาดงาน วันมาทำงานสายและถูกจำเลยตักเตือนเป็นหนังสือซึ่งเป็นโทษทางวินัยตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานย่อมแสดงให้เห็นว่าโจทก์ดังกล่าวปฏิบัติงานไม่เต็มกำลังความสามารถหรือบกพร่องไม่สมดังที่จำเลยคาดหวังไว้ จำเลยย่อมมีอำนาจตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่จะใช้ดุลพินิจไม่จ่ายโบนัสประจำปี 2556 แก่โจทก์ดังกล่าวได้ การที่ศาลแรงงานภาค 5 เป็นผู้กำหนดหลักเกณฑ์การจ่ายโบนัสประจำปี 2556 และให้จำเลยจ่ายโบนัสแก่โจทก์แต่ละคนนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2629/2565

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขสภาพการจ้างของรัฐวิสาหกิจ: ชอบด้วยกฎหมายหากเป็นไปตามกระบวนการและไม่ขัดแย้งกับสิทธิลูกจ้าง
คณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีมีมติให้กำหนดขอบเขตสภาพการจ้างที่เกี่ยวกับการเงิน ตามมาตรา 13 (2) แห่ง พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543 แก่รัฐวิสาหกิจ 12 แห่ง ซึ่งรวมถึงจำเลยขณะเป็นบริษัท ท. โดยให้สามารถดำเนินการปรับปรุงสภาพการจ้างที่เกี่ยวกับการเงิน ในการกำหนดอัตราค่าจ้าง ค่าตอบแทนหรือสวัสดิการต่าง ๆ ของพนักงานได้เอง เมื่อคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจนั้นเห็นชอบแล้ว ถือว่าจำเลยมีอำนาจปรับปรุงระเบียบบริษัท ท. ว่าด้วยกองทุนสวัสดิการสงเคราะห์พนักงาน พ.ศ. 2546 ซึ่งเป็นสภาพการจ้างที่เกี่ยวกับการเงินในการกำหนดค่าตอบแทนหรือสวัสดิการต่าง ๆ ของพนักงานและอยู่ในขอบเขตที่คณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์เสนอขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้ว ไม่จำต้องขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์และคณะรัฐมนตรีแต่ละครั้งอีก
การที่จำเลยมอบให้คณะกรรมการกิจการสัมพันธ์ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ปรึกษาหารือเพื่อพิจารณาปรับปรุงสภาพการจ้างตาม พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543 มาตรา 23 (5) ร่วมกันพิจารณามีมติเห็นชอบให้แก้ไขระเบียบดังกล่าว แล้วจำเลยเสนอกระทรวงการคลังให้ความเห็นชอบในการใช้บังคับ จึงถูกต้องตามกระบวนการใน พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2545 ที่เห็นชอบการแปลงสภาพองค์การ ท. เป็นบริษัท ท. ตามที่ประธานคณะกรรมการนโยบายทุนรัฐวิสาหกิจเสนอ มีใจความ ให้ผู้ปฏิบัติงานขององค์การ ท. ที่โอนไปยังบริษัท ท. ณ วันที่มีการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทได้รับเงินเดือน ค่าจ้าง และสิทธิประโยชน์ไม่น้อยกว่าที่เคยได้รับอยู่เดิมเป็นมติที่สอดคล้องกับ พ.ร.บ.ทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542 มาตรา 25 วรรคสอง ที่ให้พนักงานตามวรรคหนึ่งได้รับเงินเดือน ค่าจ้าง และสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ไม่น้อยกว่าที่เคยได้รับอยู่เดิม กับให้ถือว่าเวลาการทำงานของพนักงานดังกล่าวในรัฐวิสาหกิจเดิมเป็นเวลาการทำงานในบริษัทโดยไม่ถือว่าการเปลี่ยนสภาพจากรัฐวิสาหกิจเดิมเป็นบริษัทนั้นเป็นการเลิกจ้าง มติคณะรัฐมนตรีและบทบัญญัติดังกล่าวเป็นกรณีที่ใช้ในช่วงเวลาเปลี่ยนสภาพจากรัฐวิสาหกิจในรูปองค์การของรัฐเป็นบริษัท
ในขณะที่จำเลยแปลงสภาพจากองค์การของรัฐเป็นบริษัทเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2545 จำเลยได้ให้พนักงานได้รับสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ที่เคยได้รับอยู่เดิมและยังไม่มีการปรับปรุงแก้ไขออกเป็นระเบียบจำเลย ว่าด้วย กองทุนสวัสดิการสงเคราะห์พนักงาน พ.ศ. 2546 ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2548 กรณีไม่อาจอ้าง พ.ร.บ.ทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542 และมติคณะรัฐมนตรีมาปรับหรือบังคับให้ระเบียบดังกล่าวตกไป
พ.ร.บ.ทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542 มิได้เป็นบทบัญญัติที่ห้ามมิให้มีการแก้ไขสภาพการจ้าง เพราะการแก้ไขสภาพการจ้างของลูกจ้างในรัฐวิสาหกิจต้องดำเนินการตาม พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543 ซึ่งมีคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์กำกับดูแลในขั้นตอนต่าง ๆ เพื่อให้ฝ่ายบริหารกับพนักงานและลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจมีสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบในขอบเขตที่เหมาะสมและสอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาและส่งเสริมเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและสังคมตลอดจนความมั่นคงของประเทศ
สภาพการจ้างตามระเบียบจำเลย ว่าด้วย กองทุนสวัสดิการสงเคราะห์พนักงาน พ.ศ. 2546 ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2548 นอกจากเป็นสภาพการจ้างเกี่ยวกับการเงินที่อยู่ในขอบเขตที่กำหนดตาม พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543 มาตรา 13 (2) ที่จำเลยมีอำนาจที่จะแก้ไขปรับปรุงได้เอง ไม่ใช่สภาพการจ้างที่เกิดจากการยื่นข้อเรียกร้อง เจรจาตกลงเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่มีข้อห้ามตาม พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543 มาตรา 29 วรรคสอง ที่ห้ามมิให้นายจ้างทำสัญญาจ้างแรงงานกับลูกจ้างซึ่งเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน ขัดหรือแย้งกับข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง เว้นแต่สัญญาจ้างแรงงานนั้นจะเป็นคุณแก่ลูกจ้างยิ่งกว่าแล้ว หลักของการแก้ไขปรับปรุงเพื่อให้เกิดสภาพการจ้างใหม่ แม้ข้อตกลงหรือข้อยุติไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้าง เป็นการลดประโยชน์ที่ลูกจ้างมีสิทธิที่ได้รับอยู่เดิมลงบ้าง แต่อยู่ในขอบเขตที่เหมาะสม สอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาและส่งเสริมเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ตามเหตุผลในหมายเหตุท้าย พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543 ย่อมใช้บังคับได้
จำเลยออกระเบียบแก้ไขหลักเกณฑ์การคำนวณบำเหน็จ เพราะจำเลยปรับขึ้นเงินเดือนให้พนักงานเป็นกรณีพิเศษ ส่งผลกระทบต่อฐานะการเงินของจำเลยที่ต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนสวัสดิการสงเคราะห์พนักงานมากขึ้น ฝ่ายพนักงานลูกจ้างหรือโจทก์ได้รับประโยชน์เพิ่มขึ้นจากการปรับขึ้นเงินเดือนเป็นกรณีพิเศษแล้ว หากจะต้องลดประโยชน์จากการเปลี่ยนหลักเกณฑ์การคำนวณบำเหน็จไปบ้าง เพื่อเสถียรภาพเศรษฐกิจโดยรวมขององค์กร ย่อมถือได้ว่าอยู่ในขอบเขตที่เหมาะสม ระเบียบจำเลย ว่าด้วย กองทุนสวัสดิการสงเคราะห์พนักงาน พ.ศ. 2546 ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2548 จึงชอบด้วยกฎหมายและมีผลใช้บังคับแก่พนักงานของจำเลยทุกคนรวมทั้งโจทก์ด้วย
of 15