พบผลลัพธ์ทั้งหมด 257 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1549/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งข้อหาและการบันทึกการจับกุมไม่จำเป็นต้องควบคู่กันไป การสอบสวนไม่ชอบด้วยกฎหมายเฉพาะกรณีแจ้งข้อหาไม่ถูกต้องเท่านั้น
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 83 บัญญัติแต่เพียงให้ เจ้าพนักงานแจ้งแก่ผู้ที่จะถูกจับว่าเขาจะต้องถูกจับเท่านั้น มิได้กำหนดให้มีการแจ้งข้อหาหรือการบันทึกการจับกุมแต่ประการใด
การแจ้งข้อหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา134 กำหนดให้กระทำเฉพาะเมื่อผู้ต้องหามาอยู่ต่อหน้าพนักงานสอบสวนและ ไม่จำต้องแจ้งข้อหาทุกกระทง ดังนั้นการที่พนักงานสอบสวนเติมคำว่า บุกรุกลงในบันทึกการจับกุมที่ผู้จับทำขึ้น จึงหาทำให้การสอบสวนเป็นการ สอบสวนที่ไม่ ชอบด้วยกฎหมายไม่
การแจ้งข้อหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา134 กำหนดให้กระทำเฉพาะเมื่อผู้ต้องหามาอยู่ต่อหน้าพนักงานสอบสวนและ ไม่จำต้องแจ้งข้อหาทุกกระทง ดังนั้นการที่พนักงานสอบสวนเติมคำว่า บุกรุกลงในบันทึกการจับกุมที่ผู้จับทำขึ้น จึงหาทำให้การสอบสวนเป็นการ สอบสวนที่ไม่ ชอบด้วยกฎหมายไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 55/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสั่งพักงานเกิน 7 วัน ไม่ถือเป็นการเลิกจ้างหากไม่มีเจตนาจะไม่จ้าง หรือกลั่นแกล้ง
จำเลยสั่งพักงานโจทก์ โดยไม่มีเจตนาที่จะไม่จ้างหรือกลั่นแกล้งแต่เพื่อสอบสวนกรณีทุจริต แล้วสั่งให้โจทก์เข้าทำงานต่อไปไม่ถือเป็นการเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ
คำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลแรงงานกลาง ซึ่งโจทก์ มิได้คัดค้านไว้โจทก์อุทธรณ์ไม่ได้
คำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลแรงงานกลาง ซึ่งโจทก์ มิได้คัดค้านไว้โจทก์อุทธรณ์ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2582/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจลงโทษทางวินัยของนายจ้าง: การไล่ออกที่ไม่ต้องสอบสวน และการไม่ผูกพันตามความเห็นคณะกรรมการสอบสวน
ข้อบังคับของจำเลยข้อ 19 กำหนดว่า การลงโทษไล่ออกนั้นจะกระทำได้เมื่อพนักงานกระทำความผิดวินัยอย่างร้ายแรงตามที่ระบุไว้ในข้อนี้ โดยใน (4) ได้ระบุการกระทำความผิดฐานขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชาไว้ด้วยข้อ 20 กำหนดว่าการลงโทษไล่ออกนั้นถ้ามิใช่เป็นกรณีความผิดปรากฏชัดแจ้งให้ผู้อำนวยการแต่งตั้งกรรมการอย่างน้อย 3 นายเพื่อทำการสอบสวนก่อนและข้อ 21 กำหนดว่า การลงโทษปลดออกนั้นจะกระทำได้เมื่อพนักงานกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงแต่ยังไม่ถึงกับจะต้องไล่ออกหรือมีเหตุอันควรลดหย่อนในกรณีนี้ให้นำความในข้อ 19 และ 20 มาใช้บังคับโดยอนุโลมดังนี้ ความผิดฐานขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชา อาจจะถูกลงโทษอย่างหนึ่งอย่างใดได้ แล้วแต่ความร้ายแรงของการกระทำหาใช่จะต้องลงโทษไล่ออกหรือปลดออกเท่านั้นไม่หากผู้มีอำนาจสั่งลงโทษอย่างอื่นซึ่งมิใช่โทษไล่ออกหรือปลดออกแล้วก็ไม่ต้องทำการสอบสวนก่อน ฉะนั้น การที่ผู้อำนวยการของจำเลยสั่งให้โจทก์ออกจากงานแม้มิได้มีการสอบสวนก่อนก็เป็นการชอบแล้ว
ผู้อำนวยการของจำเลยมีคำสั่งให้โจทก์ออกจากงาน โดยมิได้ทำการสอบสวนก่อนต่อมาจำเลยได้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนตามที่โจทก์ร้องเรียน ว่าถูกสั่งให้ออกโดยไม่เป็นธรรมคณะกรรมการสอบสวนแล้วเห็นว่าความผิดของโจทก์ควรลงโทษเพียงลดขั้นเงินเดือน 1 ขั้น ดังนี้เมื่อตามระเบียบของจำเลยไม่มีกำหนดได้ว่าจำเลยต้องปฏิบัติตามความเห็นของคณะกรรมการสอบสวนแล้ว จำเลยก็หาต้องปฏิบัติตามความเห็นของคณะกรรมการดังกล่าวไม่
ผู้อำนวยการของจำเลยมีคำสั่งให้โจทก์ออกจากงาน โดยมิได้ทำการสอบสวนก่อนต่อมาจำเลยได้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนตามที่โจทก์ร้องเรียน ว่าถูกสั่งให้ออกโดยไม่เป็นธรรมคณะกรรมการสอบสวนแล้วเห็นว่าความผิดของโจทก์ควรลงโทษเพียงลดขั้นเงินเดือน 1 ขั้น ดังนี้เมื่อตามระเบียบของจำเลยไม่มีกำหนดได้ว่าจำเลยต้องปฏิบัติตามความเห็นของคณะกรรมการสอบสวนแล้ว จำเลยก็หาต้องปฏิบัติตามความเห็นของคณะกรรมการดังกล่าวไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 456/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาล: คดีความผิดเกิดขึ้นในเขตหนึ่ง แต่มีการสอบสวนในอีกเขตหนึ่ง โจทก์มีอำนาจฟ้องที่ศาลในเขตสอบสวนได้
เมื่อความผิดเกิดขึ้นในเขตอำนาจของศาลจังหวัดปัตตานี แต่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานตำรวจจับจำเลยได้ในท้องที่จังหวัดสงขลา และพนักงานสอบสวนในท้องที่ดังกล่าวได้ทำการสอบสวนความผิดตามที่ถูกกล่าวหานี้แล้ว โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องที่ศาลจังหวัดสงขลาให้ชำระคดีนี้ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 22 (1) ซึ่งเป็นข้อยกเว้นของมาตรา 22 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 456/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาล: คดีความผิดเกิดขึ้นที่ปัตตานี แต่สอบสวนที่สงขลา โจทก์มีอำนาจฟ้องที่สงขลาได้
เมื่อความผิดเกิดขึ้นในเขตอำนาจศาลจังหวัดปัตตานี แต่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานตำรวจจับจำเลยได้ในท้องที่จังหวัดสงขลาและพนักงานสอบสวนในท้องที่ดังกล่าวได้ทำการสอบสวนความผิดตามที่ถูกกล่าวหานี้แล้ว โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องที่ศาลจังหวัดสงขลาให้ชำระคดีนี้ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 22(1) ซึ่งเป็นข้อยกเว้นของมาตรา 22 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2433/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แจ้งข้อหาและสอบสวนความผิดฐานจำหน่ายยาเสพติด แม้จำเลยรับสารภาพเฉพาะครอบครองเพื่อจำหน่าย ก็ถือว่าพนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อหาและสอบสวนฐานจำหน่ายแล้ว
ความผิดฐานมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายเฮโรอีน แม้จะเป็นความผิดสองกรรมต่างหากจากกัน ก็เป็นความผิดที่เกียวเนื่องในเรื่องยาเสพติดเหมือนกัน ในชั้นสอบสวน เมื่อพนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาให้จำเลยทราบว่ามีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำนห่าย จำเลยได้ให้การรับสารภาพว่ามีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายเฮโรอีน แสดงว่าจำเลยทราบข้อเท็จจริงแห่งความผิดของตนแล้ว จึงถือได้ว่าพนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อหาฐานจำหน่ายเฮโรอีนและสอบสวนความผิดฐานนี้ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2433/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แจ้งข้อหาครอบครองยาเสพฯ แล้วจำเลยรับสารภาพจำหน่าย ถือเป็นการแจ้งข้อหาและสอบสวนฐานจำหน่ายแล้ว
ความผิดฐานมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายเฮโรอีนแม้จะเป็นความผิดสองกรรมต่างหากจากกัน ก็เป็นความผิดที่เกี่ยวเนื่องในเรื่องยาเสพติดเหมือนกัน ในชั้นสอบสวนเมื่อพนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาให้จำเลยทราบว่ามีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำเลยได้ให้การรับสารภาพว่ามีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายเฮโรอีน แสดงว่าจำเลยทราบข้อเท็จจริงแห่งความผิดของตนแล้ว จึงถือได้ว่าพนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อหาฐานจำหน่ายเฮโรอีนและสอบสวนความผิดฐานนี้ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2345/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งข้อหา – การสอบสวนเพิ่มเติมพบความผิดอื่น – ถือว่าสอบสวนความผิดนั้นแล้ว
พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาให้จำเลยทราบเฉพาะข้อหาฐานมียาเสพติดให้โทษ (เฮโรอีน) มิได้แจ้งข้อหาฐานจำหน่ายเฮโรอีน แต่เมื่อสอบสวนจำเลยในข้อหามียาเสพติดให้โทษนั้นปรากฏว่า นอกจากจำเลยมียาเสพติดให้โทษแล้ว จำเลยยังทำการจำหน่ายยาเสพติดให้โทษอีกด้วย ดังนี้ เรียกได้ว่าได้มีการสอบสวนจำเลยในความผิดข้อหาฐานจำหน่ายยาเสพติดให้โทษ (เฮโรอีน) ตามความในมาตรา 120 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาด้วยแล้ว
การแจ้งข้อหาให้จำเลยทราบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 134 นั้น หาได้หมายความว่าพนักงานสอบสวนจะต้องแจ้งข้อหาทุกกระทงความผิดไม่ แม้เดิมตั้งข้อหาฐานหนึ่ง แต่เมื่อสอบสวนแล้วปรากฏว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานอื่นด้วย ก็เรียกว่าได้มีการสอบสวนในความผิดข้อหาดังกล่าวตามนัยแห่งมาตรา 120 แล้ว
การแจ้งข้อหาให้จำเลยทราบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 134 นั้น หาได้หมายความว่าพนักงานสอบสวนจะต้องแจ้งข้อหาทุกกระทงความผิดไม่ แม้เดิมตั้งข้อหาฐานหนึ่ง แต่เมื่อสอบสวนแล้วปรากฏว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานอื่นด้วย ก็เรียกว่าได้มีการสอบสวนในความผิดข้อหาดังกล่าวตามนัยแห่งมาตรา 120 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2345/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งข้อหาและการสอบสวนความผิดฐานมียาเสพติดและจำหน่ายยาเสพติด แม้แจ้งข้อหาเฉพาะฐานหนึ่ง แต่หากสอบสวนพบความผิดฐานอื่นก็ถือว่ามีการสอบสวนความผิดฐานนั้นด้วย
พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาให้จำเลยทราบเฉพาะข้อหาฐานมียาเสพติดให้โทษ (เฮโรอีน) มิได้แจ้งข้อหาฐานจำหน่ายเฮโรอีน แต่เมื่อสอบสวนจำเลยในข้อหามียาเสพติดให้โทษนั้นปรากฏว่า นอกจากจำเลยมียาเสพติดให้โทษแล้ว จำเลยยังทำการจำหน่ายยาเสพติดให้โทษอีกด้วย ดังนี้ เรียกได้ว่าได้มีการสอบสวนจำเลยในความผิดข้อหาฐานจำหน่ายยาเสพติดให้โทษ (เฮโรอีน) ตามความในมาตรา 120 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาด้วยแล้ว
การแจ้งข้อหาให้จำเลยทราบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 134 นั้น หาได้หมายความว่าพนักงานสอบสวนจะต้องแจ้งข้อหาทุกกระทงความผิดไม่ แม้เดิมตั้งข้อหาฐานหนึ่งแต่เมื่อสอบสวนแล้วปรากฏว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานอื่นด้วย ก็เรียกว่าได้มีการสอบสวนในความผิดข้อหาดังกล่าวตามนัยแห่งมาตรา 120 แล้ว
การแจ้งข้อหาให้จำเลยทราบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 134 นั้น หาได้หมายความว่าพนักงานสอบสวนจะต้องแจ้งข้อหาทุกกระทงความผิดไม่ แม้เดิมตั้งข้อหาฐานหนึ่งแต่เมื่อสอบสวนแล้วปรากฏว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานอื่นด้วย ก็เรียกว่าได้มีการสอบสวนในความผิดข้อหาดังกล่าวตามนัยแห่งมาตรา 120 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1554/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งข้อหาและการสอบสวนความผิดฐานฉ้อโกงทางการค้า จำเลยให้การรับสารภาพ
เจ้าหน้าที่ตำรวจผู้จับกุมจำเลยได้แจ้งข้อหาว่าจำเลยมีเครื่องชั่งผิดอัตราไว้ในความครอบครองเพื่อเอาเปรียบทางการค้า พนักงานสอบสวนได้สอบสวนจำเลยในวันเดียวกัน จำเลยให้การรับสารภาพ แม้บันทึกคำให้การของจำเลยจะไม่มีข้อความว่าได้แจ้งข้อหาในความผิดเกี่ยวกับการค้า แต่ก็ได้แจ้งข้อหาความผิดตามพระราชบัญญัติมาตราชั่ง ตวง วัด อันเป็นเรื่องประธานแล้วจึงถือได้ว่ามีการสอบสวนในความผิดเกี่ยวกับการค้าด้วยแล้ว