พบผลลัพธ์ทั้งหมด 491 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5464/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันการเช่าซื้อ แม้ไม่ได้ระบุชื่อครบถ้วน แต่หากผู้ค้ำประกันยอมรับ ก็มีผลผูกพัน
สัญญาค้ำประกันระบุชื่อจำเลยที่2เป็นผู้ค้ำประกันมีข้อความครบถ้วนแสดงว่าเป็นการค้ำประกันการเช่าซื้อโดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมแม้จะมิได้เติมชื่อบริษัทโจทก์และจำเลยที่1ลงในช่องว่างที่เว้นไว้แต่สัญญาค้ำประกันดังกล่าวเป็นแบบพิมพ์อยู่ในกระดาษแผ่นเดียวกับสัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์ผู้ให้เช่าซื้อและจำเลยที่1ผู้เช่าซื้อเพียงแต่อยู่ด้านหลังของสัญญาเช่าซื้อและจำเลยที่2ก็เบิกความยอมรับว่าได้ลงชื่อในสัญญาค้ำประกันดังกล่าวแสดงว่าจำเลยที่2ตกลงเจ้าค้ำประกันหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อที่จำเลยที่1ทำไว้ต่อโจทก์โจทก์จึงมีฐานะเป็นคู่สัญญาและเจ้าหนี้ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่2ให้รับผิดตามสัญญาค้ำประกันดังกล่าวได้ ฟ้องโจทก์ได้บรรยายเกี่ยวกับตัวจำเลยที่2ว่าจำเลยที่2ได้ทำสัญญาค้ำประกันการเช่าซื้อที่จำเลยที่1ทำไว้ต่อโจทก์โดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมตามสัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกันท้ายฟ้องต่อมาจำเลยที่1ผิดสัญญาเช่าซื้อต้องรับผิดชำระค่าเสียหายจำเลยที่2จึงต้องรับผิดร่วมกับจำเลย 1ด้วยคำฟ้องโจทก์จึงแจ้งชัดพอที่จำเลยที่2จะเข้าใจและต่อสู้คดีได้แม้สัญญาค้ำประกันท้ายฟ้องจะมิได้ระบุชื่อโจทก์และจำเลยที่1ก็หาทำให้เป็นคำฟ้องที่เคลือบคลุมไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5464/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันการเช่าซื้อ แม้ไม่ได้ระบุชื่อคู่สัญญาครบถ้วน ศาลยังถือเป็นหลักฐานผูกพันได้ หากมีเจตนาเข้าค้ำประกันชัดเจน
สัญญาค้ำประกันระบุชื่อจำเลยที่2เป็นผู้ค้ำประกันมีข้อความครบถ้วนแสดงว่าเป็นการค้ำประกันการเช่าซื้อโดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมแม้จะมิได้เติมชื่อบริษัทโจทก์และจำเลยที่1ลงในช่องว่างที่เว้นไว้ แต่สัญญาค้ำประกันดังกล่าวเป็นแบบพิมพ์อยู่ในกระดาษแผ่นเดียวกับสัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์ผู้เช่าซื้อและจำเลยที่1ผู้เช่าซื้อเพียงแต่อยู่ด้านหลังของสัญญาเช่าซื้อและจำเลยที่2ก็เบิกความยอมรับว่าได้ลงชื่อในสัญญาค้ำประกันดังกล่าวแสดงว่าจำเลยที่2ตกลงเข้าค้ำประกันหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อที่จำเลยที่1ทำไว้ต่อโจทก์โจทก์จึงมีฐานะเป็นคู่สัญญาและเจ้าหนี้ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่2ให้รับผิดตามสัญญาค้ำประกันดังกล่าวได้ ฟ้องโจทก์ได้บรรยายเกี่ยวกับตัวจำเลยที่2ว่าจำเลยที่2ได้ทำสัญญาค้ำประกันการเช่าซื้อที่จำเลยที่1ทำไว้ต่อโจทก์โดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมตามสัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกันท้ายฟ้องต่อมาจำเลยที่1ผิดสัญญาเช่าซื้อต้องรับผิดชำระค่าเสียหายจำเลยที่2จึงต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่1ด้วยคำฟ้องโจทก์จึงแจ้งชัดพอที่จำเลยที่2จะเข้าใจและต่อสู้คดีได้แม้สัญญาค้ำประกันท้ายฟ้องจะมิได้ระบุชื่อโจทก์และจำเลยที่1ก็หาทำให้เป็นคำฟ้องที่เคลือบคลุมไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3453/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสัญญาขายลดเช็คและสัญญาค้ำประกัน: กำหนด 10 ปีนับจากวันเช็คถูกปฏิเสธ
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่1รับผิดตามสัญญาขายลดเช็คมิได้ฟ้องบังคับให้ใช้เงินตามเช็คและให้จำเลยที่2รับผิดตามสัญญาค้ำประกันสัญญาขายลดเช็คต้องนำอายุความสัญญาขายลดเช็คและสัญญาค้ำประกันมาใช้บังคับซึ่งกฎหมายมิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะจึงอยู่ในอายุความทั่วไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/30มีกำหนด10ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 29/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกัน: เงื่อนไขการบอกเลิกและการรับผิดชอบของผู้ค้ำประกันเมื่อมีเหตุเกิดขึ้นก่อนบอกเลิก
แม้การค้ำประกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่2จะเป็นการค้ำประกันเพื่อกิจการเนื่องกันไปหลายคราวไม่มีจำกัดเวลาเป็นคุณแก่เจ้าหนี้ซึ่งผู้ค้ำประกันอาจเลิกเสียเพื่อคราวอันเป็นอนาคตได้โดยบอกกล่าวความประสงค์นั้นแก่เจ้าหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา699วรรคหนึ่งก็ตามแต่ตามสัญญาค้ำประกันมีเงื่อนไขว่าผู้ค้ำประกันจะไม่บอกเลิกสัญญานี้จนกว่าจะมีบุคคลหรือทรัพย์สินมาประกันให้เป็นที่พอใจของโจทก์จำเลยที่2ทำหนังสือบอกเลิกการค้ำประกันไปยังโจทก์โดยไม่มีบุคคลหรือทรัพย์สินมาประกันให้เป็นที่พอใจของโจทก์เงื่อนไขข้อตกลงยังไม่เสร็จสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่2ทำไว้ต่อโจทก์จึงไม่ระงับสิ้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2715/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันมีผลผูกพัน แม้ทำหลังสัญญากู้ และหนี้เป็นหนี้สมบูรณ์
การค้ำประกันหรือการที่บุคคลภายนอกซึ่งเรียกว่าผู้ค้ำประกันยอมผูกพันตนต่อเจ้าหนี้ เพื่อชำระหนี้ในเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้นั้น สามารถทำได้ทั้งเพื่อการชำระหนี้ที่เกิดขึ้นหรือมีอยู่ก่อนแล้วและหนี้ในอนาคต โดยไม่ต้องคำนึงว่าผู้ค้ำประกันได้รู้เห็นด้วยหรือไม่ในขณะที่ลูกหนี้ได้ก่อหนี้นั้นขึ้น ถ้าหนี้นั้นเป็นหนี้อันสมบูรณ์ผู้ค้ำประกันย่อมต้องผูกพันต่อเจ้าหนี้
จำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาค้ำประกันไว้จริง แม้จะไม่ได้ทำพร้อมกันกับสัญญากู้ก็มีผลใช้บังคับได้ เพราะไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติว่าการทำสัญญาค้ำประกันจะต้องทำพร้อมกับสัญญากู้ยืมเงิน เมื่อหนี้เงินกู้ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ซึ่งมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันมีการกู้ยืมเงินและรับเงินกันไปแล้วจริงจึงเป็นหนี้อันสมบูรณ์
จำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาค้ำประกันไว้จริง แม้จะไม่ได้ทำพร้อมกันกับสัญญากู้ก็มีผลใช้บังคับได้ เพราะไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติว่าการทำสัญญาค้ำประกันจะต้องทำพร้อมกับสัญญากู้ยืมเงิน เมื่อหนี้เงินกู้ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ซึ่งมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันมีการกู้ยืมเงินและรับเงินกันไปแล้วจริงจึงเป็นหนี้อันสมบูรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2330/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การค้ำประกันการทำงาน - ลูกหนี้ร่วม - การตีความสัญญาค้ำประกันตามกฎหมาย
จำเลยทั้งสองต่างยอมตนเข้าเป็นผู้ค้ำประกันการทำงานของด. ต่อโจทก์ซึ่งเป็นหนี้รายเดียวกันแต่ค้ำประกันต่างวาระและสัญญาคนละฉบับกันก็ต้องอยู่ในบังคับแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา682วรรคสองจำเลยทั้งสองจะต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกันโจทก์จะอ้างว่าคู่กรณีมีเจตนาต้องการให้จำเลยทั้งสองแยกรับผิดเป็นคนละจำนวนกันซึ่งให้มีผลบังคับเป็นอย่างอื่นจากบทบัญญัติของกฎหมายไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1336/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสัญญาค้ำประกันประกันผู้ต้องหา: ใช้ อายุความ 10 ปี
โจทก์ทำสัญญาประกันผู้ต้องหาไว้ต่อศาลอาญา จำเลยทำสัญญาค้ำประกันไว้ต่อโจทก์ว่า หากมีความเสียหายเกิดขึ้นจากสัญญาประกันผู้ต้องหา จำเลยยินยอมรับผิดต่อโจทก์ สัญญาดังกล่าวนี้เป็นสัญญาอย่างหนึ่งซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้เป็นอย่างอื่น ต้องนำอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 เดิม (มาตรา 193/30 ที่แก้ไขใหม่) มาใช้บังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1336/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสัญญาค้ำประกัน: ศาลฎีกาวินิจฉัยอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เมื่อไม่มีกฎหมายเฉพาะ
โจทก์ทำสัญญาประกันผู้ต้องหาไว้ต่อศาลอาญาจำเลยทำสัญญาค้ำประกันไว้ต่อโจทก์ว่าหากมีความเสียหายเกิดขึ้นจากสัญญาประกันผู้ต้องหาจำเลยยินยอมรับผิดต่อโจทก์สัญญาดังกล่าวนี้เป็นสัญญาอย่างหนึ่งซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้เป็นอย่างอื่นต้องนำอายุความ10ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา164เดิม(มาตรา193/30ที่แก้ไขใหม่)มาใช้บังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 939/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญาค้ำประกันและสัญญาใช้สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากการผิดสัญญา รวมถึงการคิดอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
แม้สัญญารับทุนจะใช้แบบตามที่กระทรวงการคลังกำหนดให้ใช้กับข้าราชการผู้รับทุน โดยที่จำเลยที่ 1 มิได้เป็นข้าราชการหรือได้ลาออกจากการเป็นลูกจ้างชั่วคราวแล้วก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 1 สมัครใจทำสัญญาที่มีข้อความตามแบบดังกล่าว อันเป็นการมุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1เพื่อจะก่อให้เกิดสิทธิตามข้อความในสัญญาซึ่งชอบด้วยกฎหมาย และไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนแล้ว สัญญาดังกล่าวย่อมผูกพันจำเลยที่ 1 จึงผูกพันจำเลยที่ 2 ที่ได้ทำสัญญาค้ำประกันไว้ด้วย ศูนย์เอกสารทางหลวงเอเชียอยู่ในสังกัดของโจทก์ น.เป็นข้าราชการของโจทก์ได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการศูนย์ดังกล่าว น.ทำสัญญากับจำเลยที่ 1 ตามที่ได้รับมอบหมายจากโจทก์ถือได้ว่าเป็นตัวแทนของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง องค์การสหประชาชาติเป็นผู้ออกค่าเดินทางระหว่างประเทศรัฐบาลอังกฤษภายใต้แผนโคลัมโบออกค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ระหว่างการฝึกอบรม ณ ประเทศอังกฤษ และต่อมารัฐบาลอังกฤษยินยอมขยายเวลาให้จำเลยที่ 1 ศึกษาขั้นปริญญาโททางบรรณารักษศาสตร์อีก 1 ปีด้วยทุนภายใต้แผนโคลัมโบ ผ่านกรมวิเทศสหการ จึงถือได้ว่าเป็นทุนที่รัฐบาลต่างประเทศและองค์การระหว่างประเทศมอบให้รัฐบาลไทยและรัฐบาลไทยตกลงรับทุนนั้น โจทก์เป็นกรมในรัฐบาลไทยที่จะได้รับประโยชน์จากทุนดังกล่าว และได้ให้ตัวแทนทำสัญญากับจำเลยทั้งสองจึงถือได้ว่าเป็นทุนของโจทก์ แม้ทุนที่จำเลยที่ 1 ได้รับไปฝึกอบรมกับทุนศึกษาต่อขั้นปริญญาโท จะเป็นวิชาบรรณารักษศาสตร์เช่นเดียวกันก็ตาม แต่การศึกษาต่อขั้นปริญญาโทแตกต่างจากการฝึกอบรม มิใช่เรื่องที่ต่อเนื่องจากการฝึกอบรม ถือไม่ได้ว่าการศึกษาต่อขั้นปริญญาโทอยู่ภายในขอบของสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 ทำไว้แก่โจทก์ ดังนี้ แม้สัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 ทำไว้แก่โจทก์จะมิได้กำหนดอายุของสัญญาไว้ก็ดี แต่เมื่อจำเลยที่ 2 มิได้ตกลงค้ำประกันจำเลยที่ 1ต่อโจทก์ใหม่ในการที่จำเลยที่ 1 ได้รับทุนไปศึกษาต่อขั้นปริญญาโทจำเลยที่ 2 จึงหาต้องรับผิดในการที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญารับทุนไปศึกษาต่อขั้นปริญญาโทไม่ คงรับผิดเพียงเฉพาะการไปฝึกอบรมของจำเลยที่ 1 ก่อนศึกษาต่อขั้นปริญญาโท ตามสัญญารับทุนถ้าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาจะต้องชดใช้ทุนและค่าเดินทางให้แก่โจทก์ตามส่วนเฉลี่ยที่ทำงานชดใช้ทุนคืนไม่ครบและเบี้ยปรับอีก 1 เท่า ตลอดทั้งดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปีของจำนวนที่ต้องชดใช้คืนภายในกำหนดตามสัญญาด้วย เงินที่จะต้องชดใช้คืนทั้ง 3 ประเภทและดอกเบี้ยดังกล่าวมานี้เป็นเบี้ยปรับที่ลูกหนี้สัญญาแก่เจ้าหนี้ว่าจะชดใช้ให้เมื่อตนไม่ชำระหนี้ หรือไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควร เมื่อลูกหนี้ผิดนัดก็ให้เจ้าหนี้ริบและเรียกเอาเบี้ยปรับได้ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 379 แต่แม้เมื่อลูกหนี้ผิดนัดก่อให้เกิดสิทธิแก่เจ้าหนี้ที่จะเรียกเอาเบี้ยปรับได้ก็ตาม ลูกหนี้จะต้องชำระเบี้ยปรับก็ต่อเมื่อเจ้าหนี้เรียกเอาเบี้ยปรับนั้นก่อนดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 380 วรรคแรก,381 วรรคแรก เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ทำงานชดใช้ทุนคืนให้ถูกต้องตามสัญญา แม้โจทก์จะมีหนังสือถึงจำเลยที่ 1 ให้ชดใช้เงินทุนคืนและเบี้ยปรับอีก 1 เท่าเป็นเงินจำนวนหนึ่งต่ำกว่าเงินทุนและเบี้ยปรับที่จำเลยที่ 1 ต้องชดใช้คืนตามจำนวนที่ถูกต้องเพราะการคำนวณผิดพลาด ทั้งมิได้ทวงถามค่าเดินทางและเบี้ยปรับ 1 เท่าด้วยก็ตามก็ต้องถือว่าเบี้ยปรับในส่วนของเงินทุนนี้โจทก์ได้ทวงถามให้ชดใช้ทั้งหมดตามจำนวนที่ถูกต้องแล้ว หาใช่เพียงเรียกให้ชดใช้ตามจำนวนที่ผิดพลาดดังกล่าวไม่ สำหรับเบี้ยปรับในส่วนของค่าเดินทางแม้โจทก์จะมิได้ทวงถามให้จำเลยที่ 1 ชำระด้วย แต่การฟ้องเรียกเอาเบี้ยปรับในส่วนนี้ก็คือการทวงถามหรือการเรียกเอาเบี้ยปรับนั่นเองจำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดชำระเบี้ยปรับในส่วนของเงินทุนจำนวนที่ถูกต้องพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันที่ครบกำหนดตามหนังสือทวงถามเป็นต้นไป และเบี้ยปรับในส่วนของค่าเดินทางพร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ สำหรับความรับผิดของจำเลยที่ 2 เฉพาะในการค้ำประกันจำเลยที่ 1 ไปฝึกอบรมนั้น ทางพิจารณาไม่ปรากฏชัดว่ารัฐบาลอังกฤษได้ออกทุนให้เฉพาะการฝึกอบรมเป็นเงินจำนวนเท่าใด คงได้ความว่าทุนที่ให้ทั้งการฝึกอบรมและการศึกษาต่อขั้นปริญญาโทรวมเป็นเงินจำนวนหนึ่งสำหรับการไปฝึกอบรมและศึกษาต่อนาน 2 ปี 45 วัน หรือเท่ากับ 775 วัน จำเลยที่ 1 จะต้องทำงานใช้ทุนอีก 424 วัน ตามคำของจำเลยที่ 2 ก็คงอ้างลอย ๆ มาว่า เท่าที่ทราบมาค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมของจำเลยที่ 1 เป็นเวลา 9 เดือน เป็นเงินจำนวนที่น้อยกว่าเท่านั้น ศาลฎีกากำหนดให้คิดเงินทุนในการฝึกอบรมโดยเฉลี่ยตามระยะเวลา โดยคำนวณจากเงินทุนในการฝึกอบรมและการศึกษาต่อขั้นปริญญาโท คูณด้วยระยะเวลาในการไปฝึกอบรม หารด้วยระยะเวลาในการไปฝึกอบรมและศึกษาต่อ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 196 วรรคสอง บัญญัติว่า "การเปลี่ยนเงินนี้ ให้คิดตามอัตราแลกเปลี่ยนเงิน ณ สถานที่และในเวลาที่ใช้เงิน" อัตราแลกเปลี่ยนเงินตามมาตรานี้จึงหมายถึงอัตราที่จะแลกเปลี่ยนกันได้โดยเสรี ซึ่งตามปกติจะคิดตามอัตราแลกเปลี่ยนเงินโดยเฉลี่ยที่ธนาคารพาณิชย์ที่ทำการขายเงินตราต่างประเทศในกรุงเทพมหานครเป็นเกณฑ์ และเพื่อความสะดวกแก่การบังคับคดี จึงให้คิดอัตราแลกเปลี่ยนของธนาคารพาณิชย์ในวันที่อ่านคำพิพากษาของศาลฎีกา ถ้าไม่มีอัตราการขายในวันนั้นก็ให้ถือเอาวันสุดท้ายที่มีอัตราการขายเช่นว่านั้นก่อนวันมีคำพิพากษา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 851/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชี, สัญญาค้ำประกัน, อายุความ, การคิดดอกเบี้ยทบต้น, ความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดโดยไม่ได้ตกลงกันว่าจะชำระหนี้เสร็จสิ้นเมื่อใด สิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้เบิกเงินเกินบัญชีจึงเกิดขึ้นเมื่อมีการหักทอนบัญชีกัน และเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 858,859 โจทก์หักทอนบัญชีครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2527 และฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2531 ยังไม่ถึง 10 ปี คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ ผู้ค้ำประกันย่อมต้องรับผิดตามสัญญาเพียงเท่าที่ตนยอมค้ำประกันเท่านั้น จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 ในวงเงิน 20,000 บาท ปรากฏตามบัญชีกระแสรายวันว่า จำเลยที่ 1กลับมาเป็นลูกหนี้โจทก์อีกครั้งในวันที่ 26 พฤษภาคม 2518 เป็นเงิน611.94 บาท โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นตั้งแต่วันนี้ วิธีคิดดอกเบี้ยทบต้นเพื่อให้ผู้ค้ำประกันรับผิดนั้นต้องดูรายการที่จำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้โจทก์เต็มตามวงเงินที่ค้ำประกันเป็นวันเริ่มต้นคิดดอกเบี้ยทบต้น จำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้โจทก์เต็มตามวงเงินค้ำประกันเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2518 เป็นเงิน 20,078.24บาท จึงให้ถือเอาวันที่ 29 กรกฎาคม 2518 เป็นวันเริ่มต้นคิดดอกเบี้ยทบต้นในต้นเงิน 20,000 บาท จนถึงวันที่ 30 สิงหาคม 2530ซึ่งเป็นวันครบกำหนดบอกกล่าวทวงถามให้ชำระหนี้อันเป็นวันที่บัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลง ต่อจากนั้นโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยตามปกติไม่ทบต้น