คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สัญญาประนีประนอม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 506 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 392/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องไม่ซ้ำ: สัญญาประนีประนอมยอมความเป็นเหตุฟ้องขับไล่ได้ แม้มีข้อพิพาทเรื่องการครอบครองก่อนหน้า
ปัญหาว่าฟ้องของโจทก์เป็นฟ้องซ้ำหรือไม่ แม้คู่ความมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาในชั้นฎีกา แต่ก็เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัยเอง คดีก่อนโจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 บุกรุกที่ดินตาม น.ส.3 ของโจทก์และได้ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ในชั้นพนักงานสอบสวนว่าจะไม่เกี่ยวข้องกับที่ดินของโจทก์ แต่ต่อมาจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาขอให้ขับไล่และใช้ค่าเสียหาย ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นว่าโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ภายหลังเวลา 1 ปี นับแต่ถูกแย่งการครอบครอง ไม่มีอำนาจฟ้อง พิพากษายกฟ้อง คดีถึงที่สุด ทั้งนี้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยถึงสิทธิและหน้าที่ของโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตามสัญญาประนีประนอมยอมความแต่อย่างใด ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 โดยยืนยันว่าจำเลยที่ 1 ได้ตกลงยอมความไว้กับโจทก์แล้วไม่ปฏิบัติตามยอมโดยไม่ยอมออกไปจากที่ดินของโจทก์ขอให้ขับไล่ออกไป ดังนี้ ประเด็นตามฟ้องในคดีหลังจึงมีว่าข้อตกลงยอมความกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 นั้นเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความที่ให้สิทธิโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยที่ 1ออกจากที่ดินของโจทก์ได้หรือไม่ จึงเห็นได้ว่าประเด็นที่ศาลยกขึ้นวินิจฉัยเป็นเหตุยกฟ้องในคดีก่อนกับที่โจทก์กล่าวอ้างเป็นประเด็นให้วินิจฉัยในคดีหลังนี้แตกต่างกัน ฟ้องของโจทก์ในคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ ฟ้องของโจทก์เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 เป็นการขอให้บังคับตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 นั้น เป็นการขอบังคับผู้อาศัยให้ออกไปจากที่ดินของโจทก์ซึ่งจำเลยที่ 2 เข้ามาอาศัยอยู่ ฟ้องของโจทก์ทั้งที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 และที่ 2จึงมิใช่กรณีถูกแย่งการครอบครองแล้วฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครองไม่อยู่ในบังคับของบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1375 วรรคสอง ที่บังคับให้ฟ้องภายใน 1 ปี นับแต่ถูกแย่งการครอบครอง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3806/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลาภมิควรได้จากสัญญาประนีประนอมยอมความ: การชำระหนี้ที่ซ้ำซ้อนและการเรียกร้องเงินคืน
ในระหว่างที่โจทก์เป็นผู้จัดการร้านสหกรณ์จำเลย เงินของจำเลยมิได้ขาดบัญชีไป เพียงแต่โจทก์รับเงินมาแล้วนำเข้าฝากธนาคารในบัญชีของจำเลยโดยมิได้นำมาลงบัญชีสมุด เงินสดรับ เป็นเหตุให้ผู้ตรวจสอบบัญชีเห็นว่าเงินขาดบัญชีไป จำเลยจึงได้ให้โจทก์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความและรับสภาพหนี้ยอมรับผิดชดใช้เงินที่ขาดบัญชี ซึ่งต่อมาจำเลยได้ฟ้องเรียกเงินดังกล่าวจากโจทก์ศาลฎีกาพิพากษาถึงที่สุดให้โจทก์รับผิดชดใช้เงินนั้น และโจทก์ได้ชดใช้เงินให้แก่จำเลยแล้วทั้งที่ปรากฏว่าเงินจำนวนนี้ยังอยู่ในบัญชีเงินฝากธนาคารของจำเลย เงินดังกล่าวแม้จะตก เป็นของธนาคารแต่จำเลยในฐานะเจ้าของบัญชีก็มีสิทธิเรียกร้องให้ธนาคารใช้เงินนั้นให้แก่จำเลยเมื่อใดก็ได้ เมื่อจำเลยได้รับเงินจำนวนเดียวกันกับเงินที่ฝากธนาคารไปจากโจทก์ตามคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วเงินที่จำเลยมีสิทธิเรียกร้องจากธนาคารจึงปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และเป็นการให้โจทก์เสียเปรียบ โจทก์มีสิทธิฟ้องเรียกเงินจำนวนดังกล่าวคืนจากจำเลยในฐานลาภมิควรได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3394/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเช่าเป็นทรัพย์มรดก เงินจากการขายต้องนำมาแบ่งตามสัญญาประนีประนอม
โจทก์จำเลยรับกันว่า สิทธิการเช่าตึกแถวจำนวน 3 ห้อง เป็นทรัพย์มรดกโจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความตกลงแบ่งทรัพย์มรดกดังกล่าว แม้กรรมสิทธิ์ในตึกแถวเป็นของวัดมิใช่ของโจทก์จำเลย ต่อมาเมื่อมีการโอนขายสิทธิการเช่าตึกแถวนั้นให้แก่บุคคลภายนอกได้รับเงินค่าตอบแทน เงินนั้นเป็นทรัพย์มรดกที่จะต้องนำมาแบ่งตามสัญญาประนีประนอมยอมความต่อไป.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3252/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนกระบวนพิจารณาหลังมีคำพิพากษา และผลผูกพันสัญญาประนีประนอมยอมความ จำเลยต้องดำเนินการก่อนมีคำพิพากษา
ที่จำเลยอ้างว่าไม่เคยได้รับหมายเรียกและสำเนาฟ้อง ไม่ได้แต่งทนายความ สัญญาประนีประนอมยอมความที่ทนายความทำแทนจำเลยไม่ผูกพันจำเลย คำพิพากษาตามยอมไม่อาจบังคับจำเลยได้ ขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นดังกล่าวซึ่งเป็นเวลาหลังจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมแล้วและมิใช่จำเลยแพ้คดีเพราะขาดนัดพิจารณาจำเลยจึงไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้น และ ขอให้ดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ หากจำเลยได้รับความเสียหายอย่างไรก็ย่อมมีสิทธิฟ้องบุคคลที่เกี่ยวข้อง ขอให้ศาลพิพากษาว่าสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมในคดีนี้ไม่ผูกพันตนได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3251/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพัน การผิดสัญญาและการชดใช้ค่าเสียหายจากการอุทธรณ์คดีแพ่ง
โจทก์จำเลยแถลงในคดีอาญาที่โจทก์ฟ้องจำเลยข้อหาโกงเจ้าหนี้และเบิกความเท็จ และศาลจดไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาว่า โจทก์ยอมรับว่าจำเลยเป็นเจ้าหนี้ จ.จำนวน100,000 บาท และโจทก์ยอมถอนฟ้องคดีอาญาดังกล่าวแลกกับการที่จำเลยงดเว้นใช้สิทธิอุทธรณ์ในคดีแพ่งที่โจทก์ฟ้องจำเลยกับพวกเรื่องเพิกถอนการฉ้อฉล จำเลยตกลง โดยทนายโจทก์และจำเลยลงชื่อไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา ถือว่าข้อตกลงดังกล่าวเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความและมีผลผูกพันกัน เมื่อโจทก์ถอนฟ้องคดีอาญาแล้ว จำเลยกลับยื่นอุทธรณ์ในคดีแพ่งดังกล่าว จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา
จำเลยยื่นอุทธรณ์คดีแพ่งฝ่าฝืนข้อตกลงตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ทำให้โจทก์ต้องเสียค่าใช้จ่ายและค่าทนายความชั้นอุทธรณ์ ค่าเสียหายดังกล่าวเป็นค่าเสียหายโดยตรงจากการที่จำเลยผิดสัญญา จำเลยต้องรับผิดค่าเสียหายจำนวนดังกล่าวต่อโจทก์ ส่วนค่าใช้จ่ายและค่าทนายความชั้นฎีกา แม้ขณะโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยจะยังไม่ได้ยื่นฎีกาในคดีแพ่งดังกล่าว แต่ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาปรากฏว่าจำเลยได้ยื่นฎีกาและโจทก์ได้แก้ฎีกาในคดีแพ่งดังกล่าวแล้ว ศาลฎีกาก็พิพากษาให้จำเลยรับผิดค่าใช้จ่ายของโจทก์ในชั้นฎีกาได้ เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์จ่ายเงินจำนวนนี้เมื่อใด จึงให้จำเลยรับผิดชำระดอกเบี้ยสำหรับค่าใช้จ่ายชั้นฎีกานับแต่วันอ่านคำพิพากษาฎีกาคดีนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3251/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพันตามกฎหมาย การผิดสัญญาทำให้เกิดความเสียหายและต้องรับผิดชดใช้
ข้อตกลงตามรายงานกระบวนพิจารณาในคดีอาญาที่ทนายโจทก์กับจำเลยได้ลงชื่อไว้มีใจความว่า โจทก์ยอมรับว่า จำเลยเป็นเจ้าหนี้ จ.เป็นจำนวน 100,000 บาท และโจทก์ยอมถอนฟ้องคดีอาญาแลกกับการที่จำเลย งดเว้นการใช้สิทธิอุทธรณ์คดีแพ่งอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งทั้งโจทก์และจำเลยต่างเกี่ยวข้องอยู่ในคดีต่าง ๆ นั้น ถือได้ว่าเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ ซึ่งมีวัตถุประสงค์จะระงับข้อพิพาทที่มีอยู่แล้วให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน ย่อมก่อให้เกิดความผูกพันใช้ บังคับได้ และหาขัดต่อกฎหมายหรือความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือขัดต่อสิทธิในการยื่นอุทธรณ์ฎีกาในทางแพ่งของจำเลยไม่ เพราะเป็นความสมัครใจเองที่ยอมสละสิทธิอุทธรณ์ในคดีแพ่งนั้น การที่โจทก์ต้องเสียค่าใช้จ่ายและค่าทนายความไป ในการต่อสู้คดีกับจำเลย เพราะจำเลยไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงในรายงานกระบวนพิจารณาดังกล่าวเป็นค่าเสียหายโดยตรงจากการที่จำเลยผิดสัญญา.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2320/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงหลังทำสัญญาประนีประนอมยอมความ มีผลเป็นสัญญา โจทก์ฟ้องให้จำเลยปฏิบัติตามได้
ข้อตกลงที่ศาลจดไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาภายหลังโจทก์จำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความ และศาลพิพากษาคดีไปตามยอมแล้วนั้น เป็นข้อตกลงที่โจทก์จำเลยตกลงกันว่าจะปฏิบัติต่อกันย่อมเป็นสัญญาอย่างหนึ่ง ภายหลังจำเลยไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงนั้นถือได้ว่าจำเลยผิดสัญญา โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องให้จำเลยปฏิบัติตามข้อตกลงนั้นได้ ไม่จำเป็นต้องพิจารณาว่าโจทก์จำเลยตกลงกันเวลาใดและที่ใด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1815/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแปลงหนี้จากเจ้าหนี้มีประกันเป็นหนี้ไม่มีประกัน ส่งผลต่อข้อกำหนดการฟ้องคดีล้มละลาย
การฟ้องคดีล้มละลายในกรณีที่โจทก์เป็นเจ้าหนี้มีประกัน ปัญหาว่าโจทก์ต้องปฏิบัติตามมาตรา 10(2) แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 หรือไม่ เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะมิได้ยกเป็นประเด็นต่อสู้ไว้ เพิ่งมีประเด็นขึ้นในชั้นอุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยได้ โจทก์ออกเงินชำระหนี้ค่าซื้อหุ้นในฐานะเป็นตัวแทนของจำเลยเมื่อจำเลยไม่ชำระเงินค่าซื้อหุ้น โจทก์มีสิทธิยึดหน่วงใบหุ้นดังกล่าวที่อยู่ในความครอบครองของโจทก์ไว้ได้จนกว่าจะได้รับเงินที่ค้างชำระตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 819 ดังนี้โจทก์จึงเป็นเจ้าหนี้มีประกันเพราะเป็นผู้ทรงสิทธิยึดหน่วงเหนือใบหุ้นซึ่งเป็นทรัพย์ของจำเลยตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 6 แต่เมื่อโจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความโดยจำเลยยอมให้โจทก์มีสิทธิขายใบหุ้นที่โจทก์ยึดหน่วงไว้เพื่อชำระหนี้โจทก์ สัญญาดังกล่าวจึงเป็นการเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้เป็นการแปลงหนี้ใหม่ หนี้มีประกันเดิมจึงระงับสิ้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 349 เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยตามสัญญาประนีประนอมยอมความ โจทก์จึงไม่ต้องบอกกล่าวในฟ้องตามที่ระบุไว้ในมาตรา 10(2) แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 988/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพัน สิทธิในการอยู่อาศัยตามสัญญาสามารถโอนได้แม้หลังคู่สัญญาสิ้นชีวิต
เดิม จำเลยฟ้องขับไล่บิดาโจทก์ ให้รื้อถอนโรงเรือนในที่ดินจำเลย บิดาโจทก์กับจำเลยตกลง กันได้ โดย ทำสัญญาประนีประนอมยอมความให้บิดาโจทก์และบุตรพร้อมด้วย บริวารของบิดาโจทก์และผู้เช่าโรงเรือนจากบิดาโจทก์อาศัยในที่ดินได้ 30 ปี และจำเลยได้ จดทะเบียนภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์ว่า ที่ดินแปลงนี้อยู่บังคับภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์ โดยบิดาโจทก์เป็นผู้รับประโยชน์อาศัยปลูกโรงเรือนในที่ดินดังกล่าวมีกำหนด 30 ปี ดังนี้ ข้อตกลงตาม สัญญาประนีประนอมยอมความในศาลเป็นสัญญาอันหนึ่ง ซึ่ง มีเนื้อความชัดเจนว่า ให้บุตรจำเลยคือโจทก์ในคดีนี้อยู่ในที่พิพาทได้ เป็นเวลา 30 ปี ข้อตกลงเช่นนี้ ไม่ขัดต่อกฎหมายจึงใช้ บังคับได้ เมื่อโจทก์ได้ แสดงเจตนาถือ เอาประโยชน์แห่งสัญญาจำเลยก็ต้อง ปฏิบัติตาม สัญญานั้น การที่จำเลยไม่ ยินยอมให้โจทก์หรือบริวารโจทก์อยู่ในที่ดินโดย จำเลยได้ รื้อถอนโรงเรือนของโจทก์ออกไปเป็นการผิดสัญญา และละเมิดต่อ โจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5575/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดินยังไม่เปลี่ยนมือจนกว่าจะจดทะเบียน แม้มีสัญญาประนีประนอมยอมความ การโอนที่ดินจึงไม่เป็นยักยอก
จำเลยเป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดิน แม้ต่อมาศาลจะพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความให้จำเลยยกที่ดินให้ว.ครึ่งหนึ่งโดยใส่ชื่อว. เป็นเจ้าของรวมในโฉนด แต่เมื่อยังไม่มีการจดทะเบียนใส่ชื่อ ว.เป็นเจ้าของรวมว. ก็ยังไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดิน ที่ดินยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยเพียงผู้เดียว การที่จำเลยโอนที่ดินทั้งหมดให้ ถ. จึงไม่เป็นความผิดฐานยักยอก.
of 51