พบผลลัพธ์ทั้งหมด 147 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5092/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทรัพย์สินที่ได้จากการกระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติด: สันนิษฐานว่าเป็นทรัพย์สินที่ได้จากการกระทำผิดและตกเป็นของแผ่นดิน
พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 เป็นกฎหมายที่กำหนดทั้งความผิดเกี่ยวกับการฟอกเงินซึ่งมีโทษทางอาญาและมาตรการทางแพ่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน โดยความผิดอาญาและโทษทางอาญามุ่งบังคับแก่ตัวบุคคล ส่วนมาตรการทางแพ่งมุ่งบังคับแก่ตัวทรัพย์สินซึ่งเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่จะป้องปรามไม่ให้มีการกระทำความผิดมูลฐานเพราะถึงอย่างไรทรัพย์สินที่ได้มาหรือเกี่ยวกับการกระทำความผิดก็ไม่เป็นของผู้กระทำความผิด ผู้เกี่ยวข้องหรือผู้ใด เพื่อตัดวงจรการกระทำความผิดมิให้นำทรัพย์สินนั้นไปใช้สนับสนุนการก่ออาชญากรรมต่อไป ดังนั้น หากปรากฏว่ามีการกระทำความผิดมูลฐาน ไม่ว่าจะจับตัวผู้กระทำความผิดได้หรือไม่ หรือผู้กระทำความผิดถูกลงโทษหรือไม่ แต่มีทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดเกิดขึ้น และแม้เจ้าของหรือผู้รับโอนทรัพย์ไม่ได้ร่วมกระทำความผิดและไม่ได้ถูกฟ้อง ก็ดำเนินมาตรการทางแพ่งแก่ตัวทรัพย์สินนั้นได้
ผู้คัดค้านเป็นบุตรของ ร. ซึ่งสมรสใหม่กับ ม. เมื่อฟังได้ว่า ม. ที่หลบหนีไปมีเฮโรอีน 24 หลอด ซุกซ่อนไว้ที่บ้านอันเป็นการมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จึงฟังได้ว่ามีการกระทำความผิดมูลฐานตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 3 (1) แล้ว และต้องถือว่า ร. ภริยาของ ม. ซึ่งพักอาศัยอยู่ในบ้านเดียวกัน เป็นผู้เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับ ม. การที่ผู้คัดค้านซึ่งพักอาศัยอยู่ที่อื่นฝากเงินสดจำนวนมากไว้กับ ร. แสดงให้เห็นว่ายังคงไปมาหาสู่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับ ร. และ ม. อย่างใกล้ชิด จึงให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าทรัพย์สินที่ผู้คัดค้านเป็นเจ้าของและผู้ครอบครองในคดีนี้เป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดหรือได้รับโอนมาโดยไม่สุจริตตามมาตรา 51 วรรคสาม
ผู้คัดค้านเป็นบุตรของ ร. ซึ่งสมรสใหม่กับ ม. เมื่อฟังได้ว่า ม. ที่หลบหนีไปมีเฮโรอีน 24 หลอด ซุกซ่อนไว้ที่บ้านอันเป็นการมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จึงฟังได้ว่ามีการกระทำความผิดมูลฐานตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 3 (1) แล้ว และต้องถือว่า ร. ภริยาของ ม. ซึ่งพักอาศัยอยู่ในบ้านเดียวกัน เป็นผู้เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับ ม. การที่ผู้คัดค้านซึ่งพักอาศัยอยู่ที่อื่นฝากเงินสดจำนวนมากไว้กับ ร. แสดงให้เห็นว่ายังคงไปมาหาสู่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับ ร. และ ม. อย่างใกล้ชิด จึงให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าทรัพย์สินที่ผู้คัดค้านเป็นเจ้าของและผู้ครอบครองในคดีนี้เป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดหรือได้รับโอนมาโดยไม่สุจริตตามมาตรา 51 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9813-9817/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสันนิษฐานทรัพย์สินจากความผิดฟอกเงิน และภาระการพิสูจน์ของจำเลย
ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าผู้คัดค้านที่ 1 กระทำการฉ้อโกงประชาชนอันเป็นความผิดมูลฐานมาตั้งแต่ปี 2525 จนกระทั่งถูกจับกุมในปี 2548 ส่วนผู้คัดค้านที่ 2 เป็นมารดา ผู้คัดค้านที่ 6 เป็นภริยา และผู้คัดค้านอื่นเป็นญาติพี่น้องจึงเป็นผู้ซึ่งเกี่ยวข้องหรือเคยเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้คัดค้านที่ 1 ผู้กระทำกระทำความผิดมูลฐาน กรณีต้องด้วยบทบัญญัติ มาตรา 51 วรรคสาม แห่ง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 ที่ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าบรรดาทรัพย์สินตามบัญชีทรัพย์ เป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดหรือได้รับโอนมาโดยไม่สุจริต ภาระการพิสูจน์จึงตกแก่ฝ่ายผู้คัดค้านที่จะต้องนำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าวว่าตนเป็นเจ้าของที่แท้จริงและทรัพย์สินนั้นไม่ใช่ทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดหรือได้รับโอนมาโดยสุจริต
พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 เป็นกฎหมายที่กำหนดความผิดเกี่ยวกับการฟอกเงิน มีทั้งโทษทางอาญาและมาตรการทางแพ่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน หากศาลเชื่อว่าทรัพย์สินตามคำร้องเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับความผิดมูลฐาน โดยมิต้องคำนึงว่าทรัพย์สินนั้นผู้เป็นเจ้าของหรือผู้รับโอนทรัพย์สินจะได้มาก่อนพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน มีผลใช้บังคับหรือไม่ก็ตาม เพราะมาตรการดังกล่าวมิใช่โทษทางอาญา จึงมีผลใช้บังคับย้อนหลังได้
พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 เป็นกฎหมายที่กำหนดความผิดเกี่ยวกับการฟอกเงิน มีทั้งโทษทางอาญาและมาตรการทางแพ่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน หากศาลเชื่อว่าทรัพย์สินตามคำร้องเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับความผิดมูลฐาน โดยมิต้องคำนึงว่าทรัพย์สินนั้นผู้เป็นเจ้าของหรือผู้รับโอนทรัพย์สินจะได้มาก่อนพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน มีผลใช้บังคับหรือไม่ก็ตาม เพราะมาตรการดังกล่าวมิใช่โทษทางอาญา จึงมีผลใช้บังคับย้อนหลังได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8748/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟอกเงินจากค้ายาเสพติด: สันนิษฐานว่าทรัพย์สินเกี่ยวข้องกับการกระทำผิดและต้องพิสูจน์ความสุจริต
แม้ว่าคดีหมายเลขแดงที่ 10521/2542 ของศาลอาญา ซึ่งผู้ร้องฟ้องผู้คัดค้านที่ 1 เมื่อวันที่ 16 เมษายน 2541 ว่าผู้คัดค้านที่ 1 กับพวกอีก 1 คน ร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนจำนวน 50,000 เม็ด ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ศาลฎีกามีคำพิพากษายกฟ้องผู้คัดค้านที่ 1 ในข้อหามีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และคดีหมายเลขดำที่ ย.5547/2546 คดีหมายเลขแดงที่ ย.3553/2548 ของศาลอาญา ซึ่งผู้ร้องฟ้องผู้คัดค้านที่ 1 ว่าสมคบกันเพื่อกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษและร่วมกันฟอกเงิน ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษายืนให้ยกฟ้องและคดีถึงที่สุดแล้วก็ตาม แต่พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 เป็นกฎหมายที่กำหนดความผิดเกี่ยวกับการฟอกเงิน ซึ่งมีทั้งโทษทางอาญาและมาตรการทางแพ่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน หากศาลเชื่อว่าทรัพย์สินตามคำร้องเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดมูลฐาน โดยมาตรการทางแพ่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินดังกล่าว มิใช่ความรับผิดทางแพ่งตามความหมายของคำว่า "การพิพากษาคดีส่วนแพ่ง" ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเพียงแต่ในการพิจารณาและพิพากษาคดีร้องขอให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินต้องดำเนินกระบวนพิจารณาไปตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 59 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว คือให้นำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลมเท่านั้น ทั้งนี้โดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าผู้คัดค้านหรือจำเลยในคดีอาญาจะได้กระทำความผิดดังที่ผู้คัดค้านกล่าวอ้างในฎีกาหรือศาลได้พิพากษาลงโทษจำเลยในคดีอาญาหรือไม่ คดีร้องขอให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 จึงมิใช่คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาตามความหมายของ ป.วิ.อ. มาตรา 46
เมื่อปรากฏว่าคดีที่ ว. กับพวกถูกฟ้องข้อหามียาเสพติดให้โทษไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ศาลอาญาธนบุรีมีคำพิพากษาลงโทษ ว. โดยให้ประหารชีวิต ตามคำพิพากษาคดีหมายเลขแดงที่ 8870/2546 ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกฟ้องโจทก์สำหรับ ว. แต่ต่อมาศาลฎีกาพิพากษาแก้ ให้ลงโทษ ว. โดยให้ประหารชีวิต ตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 20063/2555 ข้อเท็จจริงรับฟังได้ตามคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวว่า ว. กับพวกร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนจำนวน 500,000 เม็ด น้ำหนัก 46,284.590 กรัม คำนวณเป็นน้ำหนักสารบริสุทธ์ได้ 10,685.239 กรัม และร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนลักษณะเป็นผงสีส้มจำนวน 1 ซอง น้ำหนัก 2.280 กรัม คำนวณเป็นน้ำหนักสารบริสุทธิ์ได้ 0.739 กรัม ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต ว. จึงเป็นผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดอันเป็นความผิดมูลฐานตามมาตรา 3 (1) แห่ง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 เมื่อพิจารณาประกอบกับพฤติการณ์การปิดบังซ่อนเร้นทรัพย์สินของผู้คัดค้านที่ 1 ซึ่งนำเงินไปฝากไว้ที่ธนาคารในนามของผู้คัดค้านที่ 2 ถึงที่ 5 หรือการนำทองคำแท่งไปฝังไว้ในสนามหญ้าหน้าบ้าน อันเป็นการผิดปกติวิสัยของบุคคลทั่วไป ข้อเท็จจริงน่าเชื่อว่า ผู้คัดค้านที่ 1 มีพฤติการณ์เกี่ยวข้องกับยาเสพติดให้โทษ โดยเป็นผู้จำหน่ายเมทแอมเฟตามีน มาตั้งแต่ปี 2541 ถึง 2546 และผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้ซึ่งเกี่ยวข้องหรือเคยเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด อันเป็นความผิดมูลฐานตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 ส่วนผู้คัดค้านที่ 2 ที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 เป็นผู้ซึ่งเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้คัดค้านที่ 1 ผู้กระทำความผิดมูลฐาน
ผู้ร้องยื่นคำร้องว่า เมื่อปี 2541 ผู้คัดค้านที่ 1 ถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมข้อหามียาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ขณะถูกคุมขังระหว่างพิจารณาคดีในเรือนจำกลางคลองเปรม ผู้คัดค้านที่ 1 และ ว. ถูกคุมขังอยู่ด้วยกัน จึงมีความสนิทสนมและมีพฤติการณ์ค้าเมทแอมเฟตามีนร่วมกัน ต่อมา ว. พ้นโทษออกมาก่อน แต่ก็ยังมีการติดต่อซื้อขายเมทแอมเฟตามีนเรื่อยมา จนกระทั่งวันที่ 14 เมษายน 2546 เจ้าพนักงานตำรวจจับกุมผู้คัดค้านที่ 1 โดยกล่าวหาว่าสมคบโดยตกลงกันตั้งแต่สองคนขึ้นไปกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด มียาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และฟอกเงิน พร้อมทั้งยึดทรัพย์สินต่าง ๆ หลายรายการรวมทั้งทรัพย์สินตามคำร้องด้วย ซึ่งปรากฏหลักฐานเป็นที่เชื่อได้ว่าทรัพย์สินตามคำร้องเป็นทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ ดังนั้น ประเด็นว่าผู้คัดค้านที่ 1 ถึงที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 เป็นผู้ซึ่งเกี่ยวข้องหรือเคยเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด อันเป็นความผิดมูลฐานตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 หรือไม่ ย่อมเกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริงในการจับกุมผู้คัดค้านที่ 1 เมื่อวันที่ 14 เมษายน 2546 ด้วย การที่ศาลอุทธรณ์นำข้อเท็จจริงดังกล่าวมาพิจารณาวินิจฉัยด้วยจึงหาใช่เป็นการวินิจฉัยนอกคำร้องแต่อย่างใด
เมื่อผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้ซึ่งเกี่ยวข้องหรือเคยเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด อันเป็นความผิดมูลฐานตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 ส่วนผู้คัดค้านที่ 2 ที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 เป็นผู้ซึ่งเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้คัดค้านที่ 1 ผู้กระทำความผิดมูลฐาน กรณีต้องบังคับตามมาตรา 51 ที่แก้ไขใหม่ แห่ง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 กล่าวคือ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าบรรดาทรัพย์สินของผู้คัดค้านที่ 1 ถึงที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 ที่ถูกยึดไว้เป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดหรือได้รับโอนมาโดยไม่สุจริต ผู้คัดค้านที่ 1 ถึงที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 จึงมีภาระการพิสูจน์เพื่อหักล้างข้อสันนิษฐานนี้
เมื่อปรากฏว่าคดีที่ ว. กับพวกถูกฟ้องข้อหามียาเสพติดให้โทษไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ศาลอาญาธนบุรีมีคำพิพากษาลงโทษ ว. โดยให้ประหารชีวิต ตามคำพิพากษาคดีหมายเลขแดงที่ 8870/2546 ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกฟ้องโจทก์สำหรับ ว. แต่ต่อมาศาลฎีกาพิพากษาแก้ ให้ลงโทษ ว. โดยให้ประหารชีวิต ตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 20063/2555 ข้อเท็จจริงรับฟังได้ตามคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวว่า ว. กับพวกร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนจำนวน 500,000 เม็ด น้ำหนัก 46,284.590 กรัม คำนวณเป็นน้ำหนักสารบริสุทธ์ได้ 10,685.239 กรัม และร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนลักษณะเป็นผงสีส้มจำนวน 1 ซอง น้ำหนัก 2.280 กรัม คำนวณเป็นน้ำหนักสารบริสุทธิ์ได้ 0.739 กรัม ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต ว. จึงเป็นผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดอันเป็นความผิดมูลฐานตามมาตรา 3 (1) แห่ง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 เมื่อพิจารณาประกอบกับพฤติการณ์การปิดบังซ่อนเร้นทรัพย์สินของผู้คัดค้านที่ 1 ซึ่งนำเงินไปฝากไว้ที่ธนาคารในนามของผู้คัดค้านที่ 2 ถึงที่ 5 หรือการนำทองคำแท่งไปฝังไว้ในสนามหญ้าหน้าบ้าน อันเป็นการผิดปกติวิสัยของบุคคลทั่วไป ข้อเท็จจริงน่าเชื่อว่า ผู้คัดค้านที่ 1 มีพฤติการณ์เกี่ยวข้องกับยาเสพติดให้โทษ โดยเป็นผู้จำหน่ายเมทแอมเฟตามีน มาตั้งแต่ปี 2541 ถึง 2546 และผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้ซึ่งเกี่ยวข้องหรือเคยเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด อันเป็นความผิดมูลฐานตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 ส่วนผู้คัดค้านที่ 2 ที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 เป็นผู้ซึ่งเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้คัดค้านที่ 1 ผู้กระทำความผิดมูลฐาน
ผู้ร้องยื่นคำร้องว่า เมื่อปี 2541 ผู้คัดค้านที่ 1 ถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมข้อหามียาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ขณะถูกคุมขังระหว่างพิจารณาคดีในเรือนจำกลางคลองเปรม ผู้คัดค้านที่ 1 และ ว. ถูกคุมขังอยู่ด้วยกัน จึงมีความสนิทสนมและมีพฤติการณ์ค้าเมทแอมเฟตามีนร่วมกัน ต่อมา ว. พ้นโทษออกมาก่อน แต่ก็ยังมีการติดต่อซื้อขายเมทแอมเฟตามีนเรื่อยมา จนกระทั่งวันที่ 14 เมษายน 2546 เจ้าพนักงานตำรวจจับกุมผู้คัดค้านที่ 1 โดยกล่าวหาว่าสมคบโดยตกลงกันตั้งแต่สองคนขึ้นไปกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด มียาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และฟอกเงิน พร้อมทั้งยึดทรัพย์สินต่าง ๆ หลายรายการรวมทั้งทรัพย์สินตามคำร้องด้วย ซึ่งปรากฏหลักฐานเป็นที่เชื่อได้ว่าทรัพย์สินตามคำร้องเป็นทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ ดังนั้น ประเด็นว่าผู้คัดค้านที่ 1 ถึงที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 เป็นผู้ซึ่งเกี่ยวข้องหรือเคยเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด อันเป็นความผิดมูลฐานตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 หรือไม่ ย่อมเกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริงในการจับกุมผู้คัดค้านที่ 1 เมื่อวันที่ 14 เมษายน 2546 ด้วย การที่ศาลอุทธรณ์นำข้อเท็จจริงดังกล่าวมาพิจารณาวินิจฉัยด้วยจึงหาใช่เป็นการวินิจฉัยนอกคำร้องแต่อย่างใด
เมื่อผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้ซึ่งเกี่ยวข้องหรือเคยเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด อันเป็นความผิดมูลฐานตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 ส่วนผู้คัดค้านที่ 2 ที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 เป็นผู้ซึ่งเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้คัดค้านที่ 1 ผู้กระทำความผิดมูลฐาน กรณีต้องบังคับตามมาตรา 51 ที่แก้ไขใหม่ แห่ง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 กล่าวคือ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าบรรดาทรัพย์สินของผู้คัดค้านที่ 1 ถึงที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 ที่ถูกยึดไว้เป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดหรือได้รับโอนมาโดยไม่สุจริต ผู้คัดค้านที่ 1 ถึงที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 จึงมีภาระการพิสูจน์เพื่อหักล้างข้อสันนิษฐานนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8346/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฎีกา, เจ้าของทรัพย์สิน, การฟอกเงิน, สิทธิในการคัดค้าน, สันนิษฐานว่าเป็นทรัพย์สินผิดกฎหมาย
แม้ผู้คัดค้านที่ 3 เป็นพี่ชาย บิดา และสามีของผู้คัดค้านที่ 7 ที่ 8 และที่ 9 ก็ไม่มีกฎหมายบัญญัติให้มีอำนาจฎีกาคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แทนผู้คัดค้านที่ 7 ถึงที่ 9 ได้
เจ้าของที่แท้จริงในทรัพย์สินเท่านั้นที่มีอำนาจยื่นคำคัดค้านเพื่อขอคืนทรัพย์สิน ผู้ครอบครองทรัพย์สินแม้ต้องรับผิดชอบต่อเจ้าของทรัพย์สินก็ไม่อาจยื่นคำคัดค้านได้ เมื่อผู้คัดค้านที่ 5 เป็นเพียงผู้มีชื่อเป็นเจ้าของบัญชีเงินฝาก ส่วนเงินในบัญชีเงินฝากเป็นของผู้คัดค้านที่ 6 ผู้คัดค้านที่ 5 จึงไม่มีสิทธิยื่นคำคัดค้านเข้ามาในคดี
พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 ในส่วนมาตรการดำเนินคดีต่อทรัพย์สินที่ให้ยึดหรืออายัดและให้ตกเป็นของแผ่นดิน เป็นคนละส่วนกับการดำเนินคดีอาญาต่อบุคคล แต่เป็นมาตรการพิเศษที่มีลักษณะเฉพาะให้ดำเนินการทางแพ่งต่อทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด โดยมีเหตุผลมาจากหลักการคุ้มครองประโยชน์ของสังคมหรือประโยชน์สาธารณะ และหลักการติดตามและเรียกคืนทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำความผิดของรัฐ ทำให้สามารถดำเนินคดีทางแพ่งต่อทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำความผิดได้ โดยมิต้องคำนึงว่าทรัพย์สินนั้นผู้เป็นเจ้าของหรือผู้รับโอนทรัพย์สินจะได้มาก่อนพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับหรือไม่ เพราะมาตรการดังกล่าวมิใช่โทษทางอาญาหรือเป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา จึงใช้บังคับย้อนหลังได้ตามนัยคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 40 - 41/2546
ทรัพย์สินที่ผู้คัดค้านที่ 3 ได้มาระหว่างกระทำความผิดฐานฟอกเงิน ต้องบังคับตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 51 วรรคสอง ที่ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด ผู้คัดค้านที่ 3 จึงมีภาระการพิสูจน์เพื่อหักล้างข้อสันนิษฐานนี้
ผู้คัดค้านที่ 4 และที่ 6 ไม่เกี่ยวข้องหรือเคยเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้กระทำความผิดมูลฐาน จึงต้องบังคับตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 50 วรรคหนึ่ง (2) ผู้คัดค้านที่ 4 และที่ 6 ต้องแสดงให้เห็นว่าได้รับโอนเงินจากผู้คัดค้านที่ 3 โดยสุจริตและมีค่าตอบแทน
เจ้าของที่แท้จริงในทรัพย์สินเท่านั้นที่มีอำนาจยื่นคำคัดค้านเพื่อขอคืนทรัพย์สิน ผู้ครอบครองทรัพย์สินแม้ต้องรับผิดชอบต่อเจ้าของทรัพย์สินก็ไม่อาจยื่นคำคัดค้านได้ เมื่อผู้คัดค้านที่ 5 เป็นเพียงผู้มีชื่อเป็นเจ้าของบัญชีเงินฝาก ส่วนเงินในบัญชีเงินฝากเป็นของผู้คัดค้านที่ 6 ผู้คัดค้านที่ 5 จึงไม่มีสิทธิยื่นคำคัดค้านเข้ามาในคดี
พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 ในส่วนมาตรการดำเนินคดีต่อทรัพย์สินที่ให้ยึดหรืออายัดและให้ตกเป็นของแผ่นดิน เป็นคนละส่วนกับการดำเนินคดีอาญาต่อบุคคล แต่เป็นมาตรการพิเศษที่มีลักษณะเฉพาะให้ดำเนินการทางแพ่งต่อทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด โดยมีเหตุผลมาจากหลักการคุ้มครองประโยชน์ของสังคมหรือประโยชน์สาธารณะ และหลักการติดตามและเรียกคืนทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำความผิดของรัฐ ทำให้สามารถดำเนินคดีทางแพ่งต่อทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำความผิดได้ โดยมิต้องคำนึงว่าทรัพย์สินนั้นผู้เป็นเจ้าของหรือผู้รับโอนทรัพย์สินจะได้มาก่อนพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับหรือไม่ เพราะมาตรการดังกล่าวมิใช่โทษทางอาญาหรือเป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา จึงใช้บังคับย้อนหลังได้ตามนัยคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 40 - 41/2546
ทรัพย์สินที่ผู้คัดค้านที่ 3 ได้มาระหว่างกระทำความผิดฐานฟอกเงิน ต้องบังคับตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 51 วรรคสอง ที่ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด ผู้คัดค้านที่ 3 จึงมีภาระการพิสูจน์เพื่อหักล้างข้อสันนิษฐานนี้
ผู้คัดค้านที่ 4 และที่ 6 ไม่เกี่ยวข้องหรือเคยเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้กระทำความผิดมูลฐาน จึงต้องบังคับตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 50 วรรคหนึ่ง (2) ผู้คัดค้านที่ 4 และที่ 6 ต้องแสดงให้เห็นว่าได้รับโอนเงินจากผู้คัดค้านที่ 3 โดยสุจริตและมีค่าตอบแทน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8345/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์สินจากการฟอกเงิน: สันนิษฐานความผิดและภาระการพิสูจน์
พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 เป็นกฎหมายที่กำหนดทั้งความผิดเกี่ยวกับการฟอกเงินซึ่งมีโทษทางอาญาและมาตรการทางแพ่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินในกรณีที่พนักงานอัยการยื่นคำร้องต่อศาลและศาลเชื่อว่าทรัพย์สินตามคำร้องเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดมูลฐาน แม้ว่าการร้องขอดังกล่าวจะสืบเนื่องมาจากการกระทำความผิดอาญามูลฐาน กล่าวคือ ต้องเกิดการกระทำความผิดมูลฐานขึ้น แต่มาตรการทางแพ่งก็ไม่ผูกติดกับคดีอาญา แยกออกจากกันต่างหาก โดยความผิดและโทษทางอาญามุ่งบังคับแก่ตัวบุคคล ส่วนมาตรการทางแพ่งมุ่งบังคับแก่ตัวทรัพย์สินซึ่งเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่จะป้องปรามไม่ให้มีการกระทำความผิดมูลฐานเพราะถึงอย่างไรทรัพย์สินที่ได้มาหรือเกี่ยวกับการกระทำความผิดก็ไม่เป็นของผู้กระทำความผิด ผู้เกี่ยวข้องหรือผู้ใด เพื่อตัดวงจรการกระทำความผิดมิให้นำทรัพย์สินนั้นไปใช้สนับสนุนการก่ออาชญากรรมต่อไป ดังนั้น แม้เจ้าของหรือผู้รับโอนทรัพย์ไม่ได้ร่วมกระทำความผิด ไม่ได้ถูกฟ้องและได้ทรัพย์สินนั้นมาจากการกระทำซึ่งเป็นความผิดมูลฐาน (ซึ่งกฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิดอยู่ก่อนแล้ว) ก่อนพระราชบัญญัติดังกล่าวมีผลใช้บังคับก็ใช้มาตรการให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นของแผ่นดินได้ และมาตรการดังกล่าวก็มิใช่โทษทางอาญา จึงมีผลใช้บังคับย้อนหลังได้
มาตรา 32 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 ที่ใช้บังคับในขณะนั้น บัญญัติให้มีคณะกรรมการธุรกรรมประกอบด้วยเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินเป็นประธานกรรมการและผู้ซึ่งคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินแต่งตั้งจำนวน 4 คน เป็นกรรมการ และมาตรา 29 วรรคสอง ซึ่งมาตรา 33 บัญญัติให้นำมาใช้บังคับโดยอนุโลมกับการประชุมของคณะกรรมการธุรกรรมด้วย บัญญัติว่า ให้ประธานกรรมการเป็นประธานในที่ประชุม ในกรณีที่ประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองประธานกรรมการเป็นประธานในที่ประชุม หากรองประธานไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้กรรมการซึ่งมาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม ดังนั้น เมื่อองค์ประกอบของคณะกรรมการธุรกรรมตามมาตรา 32 วรรคหนึ่ง มีเพียงประธานกรรมการและกรรมการ หาได้มีรองประธานกรรมการด้วยไม่ ทั้งไม่มีบทบัญญัติว่าในกรณีที่ประธานกรรมการหมดวาระการดำรงตำแหน่ง ให้รองเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินรักษาราชการแทนเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินเป็นประธานที่ประชุมแทนแต่อย่างใด การที่พลตำรวจตรี พ. เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ซึ่งเป็นประธานกรรมการของคณะกรรมการธุรกรรมหมดวาระไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ และกรรมการซึ่งมาประชุมมีมติเลือก จ. กรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม จึงเป็นการปฏิบัติชอบด้วยมาตรา 29 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวที่ใช้บังคับในขณะนั้นแล้ว การประชุมของคณะกรรมการธุรกรรมและมติที่ประชุมครั้งที่ 32/2548 รวมทั้งคำสั่งคณะกรรมการธุรกรรมที่ให้ยึดและอายัดทรัพย์สินของผู้คัดค้านทั้งสามซึ่งออกตามมติดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ในคำคัดค้านเพิ่มเติมของผู้คัดค้านทั้งสามปรากฏข้อต่อสู้เพียงว่า คำร้องของผู้ร้องไม่ปรากฏหลักฐานเป็นที่เชื่อได้ว่าทรัพย์สินใดเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด และผู้คัดค้านที่ 3 มิได้รับโอนทรัพย์สินใดมาจากจำเลยในคดีอาญา ผู้คัดค้านทั้งสามเป็นเจ้าของที่แท้จริง ซึ่งได้มาโดยสุจริต มิได้ต่อสู้เลยว่าในการยึดหรืออายัดทรัพย์สินของผู้คัดค้านทั้งสามไว้ชั่วคราวตามที่คณะกรรมการธุรกรรมมีมติและคำสั่งไม่มีการพิจารณาว่าทรัพย์สินใดเกี่ยวกับการกระทำความผิดอย่างไร และไม่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าอาจมีการโอน จำหน่าย ยักย้าย ปกปิดหรือซ่อนเร้นทรัพย์สินนั้น คณะกรรมการธุรกรรมจึงไม่มีอำนาจยึดหรืออายัดทรัพย์สินไว้ชั่วคราว และผู้ร้องไม่มีอำนาจยื่นคำร้องขอคดีนี้ ที่ผู้คัดค้านทั้งสามนำสืบจึงเป็นการนำสืบนอกประเด็นในคำคัดค้าน และการที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 85, 142 วรรคหนึ่ง, 185 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 59 ศาลฎีกาจึงไม่วินิจฉัยให้ ส่วนข้อต่อสู้ตามคำคัดค้านเพิ่มเติมข้างต้น ผู้ร้องได้บรรยายมาในคำร้องแล้วว่า กรณีมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าทรัพย์สินซึ่งเป็นเงินฝากในบัญชีเงินฝากของธนาคารต่าง ๆ ของผู้คัดค้านทั้งสามเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด จึงเป็นประเด็นข้อพิพาทที่ศาลจะได้วินิจฉัยในปัญหาประการต่อไปว่า ทรัพย์สินของผู้คัดค้านทั้งสามที่ถูกคณะกรรมการธุรกรรมหรือศาลสั่งยึดหรืออายัดไว้ชั่วคราว เป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดมูลฐานหรือไม่
เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้กระทำความผิดมูลฐาน ผู้คัดค้านที่ 2 เป็นภริยา ส่วนผู้คัดค้านที่ 3 เป็นบุตร ดังนั้น ผู้คัดค้านที่ 2 และที่ 3 จึงเป็นผู้ซึ่งเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้กระทำความผิดมูลฐาน กรณีต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 51 วรรคสอง (เดิม) แห่ง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 ที่ใช้บังคับในขณะยื่นคำร้อง ที่ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า บรรดาทรัพย์สินตามคำร้อง ซึ่งประกอบด้วยทรัพย์สินของผู้คัดค้านที่ 2 ในลำดับที่ 3 ถึงที่ 7 และที่ 16 ถึงที่ 18 ทรัพย์สินที่ผู้คัดค้านที่ 2 และที่ 3 เป็นเจ้าของรวม ในลำดับที่ 2 ที่ 8 และที่ 19 และทรัพย์สินของผู้คัดค้านที่ 3 ในลำดับที่ 9 ถึงที่ 14 ที่ 20 ถึงที่ 26 ที่ 28 และที่ 29 พร้อมดอกผล เป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด ภาระการพิสูจน์จึงตกแก่ผู้คัดค้านที่ 2 และที่ 3 ที่จะต้องนำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าวว่า ตนเป็นเจ้าของที่แท้จริงและทรัพย์สินนั้นไม่ใช่ทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด ตามมาตรา 50 วรรคหนึ่ง (1) (2)
มาตรา 32 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 ที่ใช้บังคับในขณะนั้น บัญญัติให้มีคณะกรรมการธุรกรรมประกอบด้วยเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินเป็นประธานกรรมการและผู้ซึ่งคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินแต่งตั้งจำนวน 4 คน เป็นกรรมการ และมาตรา 29 วรรคสอง ซึ่งมาตรา 33 บัญญัติให้นำมาใช้บังคับโดยอนุโลมกับการประชุมของคณะกรรมการธุรกรรมด้วย บัญญัติว่า ให้ประธานกรรมการเป็นประธานในที่ประชุม ในกรณีที่ประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองประธานกรรมการเป็นประธานในที่ประชุม หากรองประธานไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้กรรมการซึ่งมาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม ดังนั้น เมื่อองค์ประกอบของคณะกรรมการธุรกรรมตามมาตรา 32 วรรคหนึ่ง มีเพียงประธานกรรมการและกรรมการ หาได้มีรองประธานกรรมการด้วยไม่ ทั้งไม่มีบทบัญญัติว่าในกรณีที่ประธานกรรมการหมดวาระการดำรงตำแหน่ง ให้รองเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินรักษาราชการแทนเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินเป็นประธานที่ประชุมแทนแต่อย่างใด การที่พลตำรวจตรี พ. เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ซึ่งเป็นประธานกรรมการของคณะกรรมการธุรกรรมหมดวาระไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ และกรรมการซึ่งมาประชุมมีมติเลือก จ. กรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม จึงเป็นการปฏิบัติชอบด้วยมาตรา 29 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวที่ใช้บังคับในขณะนั้นแล้ว การประชุมของคณะกรรมการธุรกรรมและมติที่ประชุมครั้งที่ 32/2548 รวมทั้งคำสั่งคณะกรรมการธุรกรรมที่ให้ยึดและอายัดทรัพย์สินของผู้คัดค้านทั้งสามซึ่งออกตามมติดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ในคำคัดค้านเพิ่มเติมของผู้คัดค้านทั้งสามปรากฏข้อต่อสู้เพียงว่า คำร้องของผู้ร้องไม่ปรากฏหลักฐานเป็นที่เชื่อได้ว่าทรัพย์สินใดเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด และผู้คัดค้านที่ 3 มิได้รับโอนทรัพย์สินใดมาจากจำเลยในคดีอาญา ผู้คัดค้านทั้งสามเป็นเจ้าของที่แท้จริง ซึ่งได้มาโดยสุจริต มิได้ต่อสู้เลยว่าในการยึดหรืออายัดทรัพย์สินของผู้คัดค้านทั้งสามไว้ชั่วคราวตามที่คณะกรรมการธุรกรรมมีมติและคำสั่งไม่มีการพิจารณาว่าทรัพย์สินใดเกี่ยวกับการกระทำความผิดอย่างไร และไม่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าอาจมีการโอน จำหน่าย ยักย้าย ปกปิดหรือซ่อนเร้นทรัพย์สินนั้น คณะกรรมการธุรกรรมจึงไม่มีอำนาจยึดหรืออายัดทรัพย์สินไว้ชั่วคราว และผู้ร้องไม่มีอำนาจยื่นคำร้องขอคดีนี้ ที่ผู้คัดค้านทั้งสามนำสืบจึงเป็นการนำสืบนอกประเด็นในคำคัดค้าน และการที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 85, 142 วรรคหนึ่ง, 185 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 59 ศาลฎีกาจึงไม่วินิจฉัยให้ ส่วนข้อต่อสู้ตามคำคัดค้านเพิ่มเติมข้างต้น ผู้ร้องได้บรรยายมาในคำร้องแล้วว่า กรณีมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าทรัพย์สินซึ่งเป็นเงินฝากในบัญชีเงินฝากของธนาคารต่าง ๆ ของผู้คัดค้านทั้งสามเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด จึงเป็นประเด็นข้อพิพาทที่ศาลจะได้วินิจฉัยในปัญหาประการต่อไปว่า ทรัพย์สินของผู้คัดค้านทั้งสามที่ถูกคณะกรรมการธุรกรรมหรือศาลสั่งยึดหรืออายัดไว้ชั่วคราว เป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดมูลฐานหรือไม่
เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้กระทำความผิดมูลฐาน ผู้คัดค้านที่ 2 เป็นภริยา ส่วนผู้คัดค้านที่ 3 เป็นบุตร ดังนั้น ผู้คัดค้านที่ 2 และที่ 3 จึงเป็นผู้ซึ่งเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้กระทำความผิดมูลฐาน กรณีต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 51 วรรคสอง (เดิม) แห่ง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 ที่ใช้บังคับในขณะยื่นคำร้อง ที่ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า บรรดาทรัพย์สินตามคำร้อง ซึ่งประกอบด้วยทรัพย์สินของผู้คัดค้านที่ 2 ในลำดับที่ 3 ถึงที่ 7 และที่ 16 ถึงที่ 18 ทรัพย์สินที่ผู้คัดค้านที่ 2 และที่ 3 เป็นเจ้าของรวม ในลำดับที่ 2 ที่ 8 และที่ 19 และทรัพย์สินของผู้คัดค้านที่ 3 ในลำดับที่ 9 ถึงที่ 14 ที่ 20 ถึงที่ 26 ที่ 28 และที่ 29 พร้อมดอกผล เป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด ภาระการพิสูจน์จึงตกแก่ผู้คัดค้านที่ 2 และที่ 3 ที่จะต้องนำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าวว่า ตนเป็นเจ้าของที่แท้จริงและทรัพย์สินนั้นไม่ใช่ทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด ตามมาตรา 50 วรรคหนึ่ง (1) (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2143/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินในคดีฟอกเงิน: การสันนิษฐานทางกฎหมายและความเกี่ยวข้องกับผู้กระทำผิด
หากปรากฏว่ามีการกระทำความผิดมูลฐาน ไม่ว่าจะจับตัวผู้กระทำความผิดได้หรือไม่ หรือผู้กระทำความผิดถูกลงโทษหรือไม่ แต่มีทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดเกิดขึ้น และแม้เจ้าของหรือผู้รับโอนทรัพย์สินไม่ได้ร่วมกระทำความผิดและไม่ได้ถูกฟ้อง ก็ดำเนินมาตรการทางแพ่งแก่ตัวทรัพย์สินนั้นได้
กฎหมายมิได้บัญญัตินิยามคำว่า "เกี่ยวข้องสัมพันธ์" ไว้โดยเฉพาะ การวินิจฉัยว่าเกี่ยวข้องหรือเคยเกี่ยวข้องสัมพันธ์หรือไม่จึงต้องอาศัยความหมายอย่างปกติทั่วไป กล่าวคือ มีความเกี่ยวพัน ติดต่อผูกพัน หรือเกี่ยวข้องไม่ว่าจะในทางทรัพย์สินในทางความเป็นอยู่ หรือในทางความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับผู้กระทำความผิดมูลฐานอย่างมีนัยสำคัญจนเป็นเหตุให้เชื่อได้ว่ามีส่วนร่วมในการฟอกเงิน
กฎหมายมิได้บัญญัตินิยามคำว่า "เกี่ยวข้องสัมพันธ์" ไว้โดยเฉพาะ การวินิจฉัยว่าเกี่ยวข้องหรือเคยเกี่ยวข้องสัมพันธ์หรือไม่จึงต้องอาศัยความหมายอย่างปกติทั่วไป กล่าวคือ มีความเกี่ยวพัน ติดต่อผูกพัน หรือเกี่ยวข้องไม่ว่าจะในทางทรัพย์สินในทางความเป็นอยู่ หรือในทางความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับผู้กระทำความผิดมูลฐานอย่างมีนัยสำคัญจนเป็นเหตุให้เชื่อได้ว่ามีส่วนร่วมในการฟอกเงิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2451/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือสัญญาจำนองเป็นเอกสารมหาชน โจทก์มีสิทธิได้ประโยชน์จากข้อสันนิษฐานความถูกต้อง และจำเลยมีภาระพิสูจน์ความไม่บริบูรณ์
หนังสือสัญญาจำนองที่ดินมีข้อความว่า ถือสัญญาจำนองนี้เป็นหลักฐานการกู้ยืมเงินด้วยและผู้จำนองได้รับเงินเป็นการเสร็จแล้ว แม้การกู้ยืมเงินเข้าลักษณะเป็นการยืมใช้สิ้นเปลืองที่ย่อมบริบูรณ์ต่อเมื่อส่งมอบทรัพย์สินที่ยืมตาม ป.พ.พ. มาตรา 650 วรรคสอง แต่หนังสือสัญญาจำนองที่ดินเป็นเอกสารมหาชน ซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทำขึ้นให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 127 โจทก์ย่อมได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานนั้น เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายกล่าวอ้างข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ถึงความไม่บริบูรณ์ของการกู้ยืมเงินตามที่ปรากฏอยู่ในเอกสารขึ้นต่อสู้โจทก์ จำเลยซึ่งเป็นฝ่ายกล่าวอ้างจึงมีภาระการพิสูจน์ข้อเท็จจริงถึงความไม่บริบูรณ์ของการกู้ยืมเงินเพื่อสนับสนุนคำให้การของตน ไม่ใช่ภาระการพิสูจน์ของฝ่ายโจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 84/1 การที่โจทก์ไม่นำสืบหลักฐานการจ่ายเงินกู้ยืมให้แก่จำเลย จึงหาเป็นเหตุผลเพียงพอถึงกับจะทำให้ฟังว่าการกู้ยืมเงินไม่บริบูรณ์ไม่
โจทก์มีคำขอในส่วนของการบังคับจำนองว่า หากจำเลยไม่ชำระหนี้ให้ยึดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างอันเป็นทรัพย์จำนอง รวมตลอดทั้งยึดและอายัดทรัพย์สินอื่นของจำเลยออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์จนครบถ้วน โดยสัญญาจำนองที่ดินไม่มีข้อตกลงว่า หากมีการบังคับชำระหนี้จากทรัพย์จำนองแล้วได้เงินไม่พอชำระหนี้ ลูกหนี้ผู้จำนองยังจะต้องรับผิดชำระเงินที่ยังขาดจำนวนอยู่จนครบถ้วน กรณีจึงต้องอยู่ภายใต้บังคับแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 733 ที่ลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดในเงินที่ยังขาดจำนวนอยู่ โจทก์จึงไม่อาจมีคำขอให้ยึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์จนครบถ้วนได้
โจทก์มีคำขอในส่วนของการบังคับจำนองว่า หากจำเลยไม่ชำระหนี้ให้ยึดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างอันเป็นทรัพย์จำนอง รวมตลอดทั้งยึดและอายัดทรัพย์สินอื่นของจำเลยออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์จนครบถ้วน โดยสัญญาจำนองที่ดินไม่มีข้อตกลงว่า หากมีการบังคับชำระหนี้จากทรัพย์จำนองแล้วได้เงินไม่พอชำระหนี้ ลูกหนี้ผู้จำนองยังจะต้องรับผิดชำระเงินที่ยังขาดจำนวนอยู่จนครบถ้วน กรณีจึงต้องอยู่ภายใต้บังคับแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 733 ที่ลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดในเงินที่ยังขาดจำนวนอยู่ โจทก์จึงไม่อาจมีคำขอให้ยึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์จนครบถ้วนได้