คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สิทธิ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4,231 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2680/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าเมื่อผู้เช่าผิดสัญญา และผลของการบอกเลิกสัญญา
ป.พ.พ. มาตรา 560 วรรคสอง เป็นบทบัญญัติที่ใช้บังคับในกรณีที่คู่สัญญาไม่ได้มีข้อตกลงเรื่องการบอกเลิกสัญญาเช่ากันไว้เป็นอย่างอื่น เมื่อสัญญาเช่าระบุให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 มีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าได้ทันทีในกรณีโจทก์กระทำผิดสัญญาข้อหนึ่งข้อใดและโจทก์กระทำผิดสัญญาแล้ว จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงบอกเลิกสัญญาเช่าได้ทันทีโดยไม่จำต้องบอกกล่าวให้โจทก์ชำระค่าเช่าก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 267/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการฟ้องร้องละเมิดลิขสิทธิ์: ผู้ได้รับอนุญาตใช้สิทธิแต่ผู้เดียวมีอำนาจร้องทุกข์
บริษัท น. ได้รับสิทธิให้ทำการฉายภาพยนตร์เรื่อง ทูดายฟอร์ ในโรงภาพยนตร์ รวมทั้งทำเป็นวิดีโอออกขายหรือให้เช่าแต่ผู้เดียวในประเทศไทย เมื่อจำเลยกระทำละเมิดโดยนำเอาแถบบันทึกภาพและเสียงภาพยนตร์หรือวิดีโอเทปเรื่องดังกล่าวออกให้เช่าหรือเสนอให้เช่าแก่บุคคลทั่วไป จึงเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ในงานสร้างสรรค์ภาพยนตร์ดังกล่าว บริษัท น. จึงเป็นผู้เสียหายมีอำนาจร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่จำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2384/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิแก้ไขคำให้การในคดีแรงงาน: การพิจารณาตาม ป.วิ.พ. และ พ.ร.บ.แรงงาน
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มิได้บัญญัติถึงวิธีการหรือหลักเกณฑ์ในการขอแก้ไขคำให้การไว้ จึงต้องนำ ป.วิ.พ. มาตรา 180 มาใช้บังคับโดยอนุโลมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31
การกำหนดประเด็นข้อพิพาทและกำหนดวันนัดสืบพยานจำเลยขึ้นใหม่แทนวันนัดพิจารณาและนัดสืบพยานโจทก์แต่เดิม เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาไปตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 39 ซึ่งบัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้วจึงไม่จำต้องนำเรื่องการชี้สองสถานตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 183 มาใช้บังคับ ถือได้ว่าคดีแรงงานไม่มีการชี้สองสถาน เมื่อคดีไม่มีการชี้สองสถานและมีการสืบพยานนัดแรก (พยานจำเลย) เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2545 การยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การของจำเลยฉบับลงวันที่ 12 มีนาคม 2545 จึงเป็นการยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การก่อนวันนัดสืบพยานไม่น้อยกว่า 7 วัน ซึ่งจำเลยมีสิทธิที่จะกระทำได้โดยชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2353/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นอุทธรณ์ไม่กระทบสิทธิบังคับคดี หากศาลฎีกายังไม่อนุญาตทุเลาการบังคับคดี
การยื่นอุทธรณ์ย่อมไม่เป็นการทุเลาการบังคับคดี ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 45 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 231 วรรคหนึ่ง แม้ผู้คัดค้านจะได้ยื่นอุทธรณ์และยื่นคำร้องขอทุเลาการบังคับคดีไว้แล้ว แต่เมื่อศาลฎีกายังไม่มีคำสั่งอนุญาตให้ทุเลาการบังคับคดี ผู้ร้องซึ่งชนะคดีตามคำพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ย่อมมีสิทธิบังคับคดีได้ และไม่มีเหตุให้เพิกถอนหรืองดการบังคับคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1964/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการได้รับเงินทดแทนจากอุบัติเหตุทางทำงาน ลูกจ้างมีสิทธิได้รับจากทั้ง พ.ร.บ.เงินทดแทน และ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัย
โจทก์เป็นลูกจ้างผู้ประสบอันตรายเนื่องจากการทำงาน ย่อมเป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินทดแทนตาม พ.ร.บ.เงินทดแทนฯ และในฐานะที่โจทก์เป็นผู้ประสบภัยจากรถจึงเป็นผู้รับประโยชน์ที่มีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทนตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถฯ ส่วนบริษัท ศ. ซึ่งเป็นนายจ้างโจทก์จะมีสิทธิขอรับเงินทดแทนต่อจำเลยได้ก็แต่เฉพาะที่ได้ทดรองจ่ายเงินทดแทนไปก่อน แล้วขอรับเงินทดแทนที่ได้ทดรองจ่ายไปนั้นคืนจากจำเลยตาม พ.ร.บ.เงินทดแทนฯ มาตรา 25 เท่านั้น และแม้บริษัท ศ. จะเป็นผู้เอาประกันภัยรถโดยสารและประสบอุบัติเหตุ แต่บริษัทดังกล่าวก็ไม่มีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทนตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถฯ เพราะมิใช่ผู้ประสบภัยจากรถ การที่บริษัท ศ. จ่ายค่ารักษาพยาบาลไปก่อนแล้วมาขอรับเงินที่จ่ายไปคืนจากบริษัทผู้รับประกันภัยนั้น เป็นการทดรองจ่ายแทนบริษัทผู้รับประกันภัยในฐานะผู้เอาประกันภัย ไม่ใช่ทดรองจ่ายแทนจำเลยในฐานะนายจ้าง ตามบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.เงินทดแทนฯ มาตรา 25 จึงไม่มีสิทธิมาขอรับเงินจำนวนดังกล่าวคืนจากจำเลย กับเมื่อบริษัทผู้รับประกันภัยได้จ่ายเงินคืนให้แก่บริษัท ศ. ไปแล้วย่อมทำให้สิทธิที่จะเรียกร้องเงินจำนวนดังกล่าวของบริษัท ศ. ระงับสิ้นลงแล้วไม่อาจสละสิทธิในเงินจำนวนดังกล่าวนี้ได้ ประกอบกับ พ.ร.บ.เงินทดแทนฯ มาตรา 7 บัญญัติว่า การเรียกร้องหรือการได้มาซึ่งสิทธิหรือประโยชน์ตาม พ.ร.บ. นี้ไม่เป็นการตัดสิทธิหรือประโยชน์ที่ลูกจ้างพึงได้ตามกฎหมายอื่น ดังนี้ แม้บริษัท ศ. จะทำหนังสือสละสิทธิไปยังจำเลยก็ไม่มีผลกระทบต่อสิทธิที่โจทก์จะพึงได้รับในฐานะผู้ประสบอันตรายตาม พ.ร.บ.เงินทดแทนฯ แต่ประการใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1964/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิรับเงินทดแทนจาก พ.ร.บ.เงินทดแทน และ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ลูกจ้างมีสิทธิแม้บริษัทนายจ้างจะได้รับเงินทดแทนไปแล้ว
โจทก์ประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานย่อมมีสิทธิได้รับเงินทดแทนตาม พ.ร.บ. เงินทดแทน พ.ศ. 2537 และโจทก์เป็นผู้ประสบภัยจากรถจึงเป็นผู้รับประโยชน์มีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทนตาม พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 บริษัท ศ. นายจ้างโจทก์จะมีสิทธิขอรับเงินทดแทนต่อจำเลยได้ก็แต่เฉพาะที่ได้ทดรองจ่ายเงินทดแทนไปก่อน แล้วไปขอรับคืนจากจำเลยตาม พ.ร.บ. เงินทดแทน พ.ศ. 2537 มาตรา 25 เท่านั้น และแม้บริษัท ศ. จะเป็นผู้เอาประกันภัยรถโดยสารคันที่โจทก์ทำงานและประสบอุบัติเหตุ แต่ก็มิใช่ผู้ประสบภัยจากรถ จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทนตาม พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 การที่บริษัท ศ. จ่ายค่ารักษาพยาบาลไปก่อน และได้ขอรับคืนจากบริษัทผู้รับประกันภัยไปแล้ว เป็นการจ่ายแทนบริษัทผู้รับประกันภัยในฐานะผู้เอาประกันภัย มิใช่ทดรองจ่ายในฐานะนายจ้างตาม พ.ร.บ. เงินทดแทน พ.ศ. 2537 มาตรา 25 จึงไม่มีสิทธิมาขอรับเงินคืนจากจำเลยและไม่อาจสละสิทธิในเงินดังกล่าวได้ ทั้งการได้มาซึ่งสิทธิหรือประโยชน์ตามกฎหมายอื่นไม่ตัดสิทธิหรือประโยชน์ที่ลูกจ้างพึงได้ตาม พ.ร.บ. เงินทดแทน พ.ศ. 2537 อีกตามมาตรา 7 โจทก์จึงมีสิทธิได้รับเงินค่ารักษาพยาบาลตาม พ.ร.บ. เงินทดแทน พ.ศ. 2537

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1706/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในการเฉลี่ยทรัพย์ – ลูกหนี้ร่วมรับผิดไม่มีสิทธิคัดค้าน
ป.วิ.พ. มาตรา 290 เป็นบทบัญญัติที่คุ้มครองเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาไม่ว่าจะเป็นโจทก์หรือเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอื่นเพื่อให้ได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาโดยเท่าเทียมกัน ดังนั้น ข้ออ้างที่จะโต้แย้งคัดค้านคำขอเฉลี่ยทรัพย์ของผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้อื่นว่าจำเลยที่ 1 ยังมีทรัพย์สินอื่นนอกจากทรัพย์ที่เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดไว้ในคดีนี้ที่เพียงพอจะชำระหนี้ได้ จึงเป็นข้อโต้แย้งระหว่างเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาด้วยกัน เมื่อจำเลยที่ 3 เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาที่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นต่อโจทก์ ทั้งยังปรากฏว่าจำเลยที่ 3 เป็นผู้ถือหุ้นและกรรมการของจำเลยที่ 1 อีกด้วย จำเลยที่ 3 จึงไม่มีสิทธิคัดค้านการขอเฉลี่ยทรัพย์ของผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอื่น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1690/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นทันที ทำให้สิทธิฎีกาถูกจำกัดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 198 ทวิ
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งปฏิเสธไม่ยอมรับอุทธรณ์คำพิพากษาของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ได้ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์หลังพ้นกำหนดยื่นอุทธรณ์ โดยอ้างเหตุสุดวิสัย โดยมิได้ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ปฏิเสธไม่ยอมรับอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ภาค 2 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 198 ทวิ วรรคหนึ่ง ทันที แต่เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องดังกล่าว จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์และไม่รับอุทธรณ์ด้วย โดยยื่นภายในกำหนดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 198 ทวิ วรรคหนึ่ง เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิจารณาแล้ว มีคำสั่งให้ยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยที่ 2 เท่ากับว่าศาลอุทธรณ์ภาค 2 คำสั่งดังกล่าวเป็นที่สุดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 198 ทวิ วรรคสาม จำเลยที่ 2 จึงไม่มีสิทธิฎีกาคัดค้านคำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12456-12457/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกต้องเป็นไปตามสิทธิของทายาทแต่ละคน แม้บางส่วนได้แบ่งไปแล้ว ส่วนที่เหลือต้องแบ่งตามส่วน
ทายาทที่มีสิทธิรับมรดกมี 7 คน การแบ่งทรัพย์มรดกระหว่างทายาทต้องแบ่งกันตามที่แต่ละคนมีสิทธิได้รับ การที่ทายาทอื่นมิได้เรียกร้องมาด้วยนั้นจะถือว่าทายาทอื่นนั้นสละมรดกหาได้ไม่ และจะแบ่งโดยเอาส่วนแบ่งทายาทอื่นไปให้แก่โจทก์ที่ 2 โจทก์ที่ 4 และโจทก์ร่วมไม่ได้ โจทก์ที่ 2 โจทก์ที่ 4 และโจทก์ร่วมคงได้ส่วนแบ่งแต่เฉพาะส่วนของตนคนละ 1 ใน 7 ส่วนเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12456-12457/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกต้องเป็นไปตามสิทธิของทายาทแต่ละคน แม้บางคนไม่เรียกร้องก็ไม่ถือเป็นการสละมรดก
ทายาทที่มีสิทธิรับมรดกมี 7 คน การแบ่งทรัพย์มรดกระหว่างทายาทต้องแบ่งกันตามที่แต่ละคนมีสิทธิได้รับ การที่ทายาทอื่นมิได้เรียกร้องมาด้วยนั้น จะถือว่าทายาทอื่นนั้นสละมรดกหาได้ไม่และจะแบ่งโดยเอาส่วนแบ่งทายาทอื่นไปให้แก่โจทก์ที่ 2 โจทก์ที่ 4 และโจทก์ร่วมไม่ได้ โจทก์ที่ 2 โจทก์ที่ 4 และโจทก์ร่วมคงได้ส่วนแบ่งคนละ 1 ใน 7 ส่วนเท่านั้น
of 424