พบผลลัพธ์ทั้งหมด 164 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 468/2478
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิฎีกา, กรรมสิทธิ์ที่ดิน, การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์, อายุความ, พยานหลักฐาน
คดีที่ศาลเดิมตัดสินแล้วและศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ศาลเดิมพิจารณาพิพากษาใหม่นั้น คู่ความมีสิทธิที่จะฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ได้ การที่ศาลเดิมรวบรัดตัดสินตามคำสั่งศาลอุทธรณ์นั้น หาเป็นเหตุตัดสิทธิคู่ความที่จะฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ถ้าหากฎีกาขึ้นมาภายในกำหนดอายุความ ข้อกฎหมายที่เสนอขึ้นมาไม่ตรงกับข้อเท็จจริงในคดีศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้พะยาน ถ้าพะยานที่เบิกความแตกต่างกัน ศาลย่อมเลือกฟังเอาได้ แล้วแต่เหตุผล+สาระสำคัญในคดีเป็นเรื่อง ๆ ไปที่ดินปกครอง กรรมสิทธิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 338/2473
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีอาญาโดยเจ้าทุกข์ที่ไม่ใช่คู่ความ และสิทธิในการฎีกาของจำเลย
เจ้าทุกข์เปนคนบังคับฮอลันดา คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5741/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้องอุทธรณ์เนื่องจากไม่ชำระค่าขึ้นศาล และผลกระทบต่อสิทธิฎีกา
จำเลยทั้งสองอุทธรณ์ทั้งในส่วนฟ้องและฟ้องแย้ง ซึ่งต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ทั้งสองส่วน รวมกันเป็นเงิน 1,750 บาท เมื่อจำเลยทั้งสองชำระค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์มา 900 บาท ถือว่าเป็นการชำระค่าขึ้นศาลในส่วนฟ้องของโจทก์ครบถ้วนแล้ว ที่จำเลยทั้งสองเพิกเฉยไม่ดำเนินการเสียค่าขึ้นศาลให้ครบถ้วนตามคำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 8 ภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดจึงเป็นกรณีที่จำเลยทั้งสองทิ้งฟ้องอุทธรณ์เฉพาะในส่วนฟ้องแย้ง ศาลอุทธรณ์ภาค 8 ต้องดำเนินคดีในส่วนฟ้องตามอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองต่อไป และผลแห่งการวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 8 อาจนำไปสู่การจำกัดสิทธิฎีกาของคู่ความได้ เพราะทุนทรัพย์ที่พิพาทกันไม่เกินห้าหมื่นบาท จึงให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิจารณาพิพากษาคดีในส่วนของโจทก์ใหม่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 247 (เดิม) ประกอบมาตรา 243 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6294/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิฎีกาจำกัดเฉพาะผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงจากคำพิพากษาคดีละเมิดอำนาจศาล
ความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลเป็นความผิดต่อศาล และการลงโทษฐานละเมิดอำนาจศาลย่อมเป็นอำนาจของศาลโดยเฉพาะ เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิจารณาแล้วเห็นว่า พยานหลักฐานเท่าที่ไต่สวนมายังไม่อาจรับฟังได้อย่างสนิทใจ เห็นควรยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้เป็นคุณแก่ผู้ถูกกล่าวหาและพิพากษากลับว่าให้ยกข้อกล่าวหา ดังนี้ ผู้กล่าวหาซึ่งเป็นผู้อำนวยการสำนักอำนวยการประจำศาลจังหวัดสมุทรสาคร และมีหน้าที่รายงานข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำของผู้ถูกกล่าวหาต่อศาลเพื่อไต่สวนว่าการกระทำดังกล่าวเป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลหรือไม่ จึงไม่มีสิทธิฎีกาคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 7 ดังกล่าวได้ ทั้งไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดที่ให้อำนาจผู้อำนวยการประจำศาล ฎีกาในกรณีเช่นนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5411/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่ใช้สิทธิฎีกาเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาถึงที่สุดแล้ว ย่อมไม่อาจขอคืนของกลางได้
เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ริบอาวุธปืนของกลางแล้ว หากจำเลยที่ 1 เห็นว่าศาลอุทธรณ์ริบอาวุธปืนของกลางโดยมิชอบด้วยกฎหมาย จำเลยที่ 1 ชอบที่จะใช้สิทธิฎีกาคำพิพากษาไปยังศาลฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 216 แต่จำเลยที่ 1 มิได้ใช้สิทธิดังกล่าวจนคดีถึงที่สุดไปแล้ว จึงมายื่นคำร้องขอให้ศาลคืนอาวุธปืนของกลาง โดยอ้างข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายดังที่ปรากฏในคำร้องของจำเลยที่ 1 ดังนี้ หากศาลฟังตามที่จำเลยที่ 1 อ้างในคำร้องดังกล่าวแล้ววินิจฉัยให้คืนอาวุธปืนของกลางแก่จำเลยที่ 1 ย่อมมีผลเป็นการแก้ไขคำพิพากษาซึ่งถึงที่สุดแล้ว ขัดต่อ ป.วิ.อ. มาตรา 190 ที่ห้ามมิให้แก้ไขคำพิพากษาหรือคำสั่งซึ่งอ่านแล้ว นอกจากแก้ถ้อยคำที่เขียนหรือพิมพ์ผิดพลาด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10816/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิฎีกาในคดีอาญาและแพ่งควบคู่กัน ผู้ร้องมีสิทธิฎีกาเฉพาะส่วนแพ่งเมื่อมิได้เข้าร่วมเป็นโจทก์ในคดีอาญา
ผู้ร้องเพียงแต่ยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทน คำร้องของผู้ร้องเป็นคำฟ้องตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งและผู้ร้องอยู่ในฐานะโจทก์ในคดีส่วนแพ่งตาม ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 วรรคสอง เท่านั้น เมื่อผู้ร้องมิได้ขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ ผู้ร้องย่อมไม่มีฐานะเป็นคู่ความอันจะมีสิทธิฎีกาในคดีส่วนอาญาได้ ส่วนที่ผู้ร้องฎีกาขอให้บังคับจำเลยใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้ร้องตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นนั้น ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 เมื่อคดีส่วนอาญาฟังไม่ได้ว่าจำเลยทำร้ายผู้เสียหายแล้ว จึงต้องฟังว่าจำเลยมิได้ทำละเมิดอันจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้ร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8620/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำกัดสิทธิฎีกาในคดีเยาวชน และการบังคับคดีตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่กำหนดระยะเวลาฝึกอบรมที่ไม่ชัดเจน
คดีนี้ ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 288, 80 ประกอบมาตรา 83, 358, 371 พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 7, 8 ทวิ วรรคหนึ่ง, 72 วรรคสาม, 72 ทวิ วรรคสอง เรียงกระทงลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 91 รวมจำคุก 5 ปี 12 เดือน เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยไปควบคุมเพื่อฝึกอบรมที่ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนเขต 2 (จังหวัดราชบุรี) มีกำหนดขั้นต่ำ 3 ปี ขั้นสูง 4 ปี หากอายุเกิน 24 ปีบริบูรณ์ ให้ส่งไปจำคุกตามระยะเวลาที่เหลือ ซึ่งการเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวไปฝึกอบรมและจากนั้นส่งตัวไปจำคุกยังเรือนจำเช่นนี้เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนต้องถือว่าศาลชั้นต้นมิได้พิพากษาให้ลงโทษจำคุกจำเลยเกิน 5 ปี ดังนั้น เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษายืน จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 183
ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยไปควบคุมเพื่อฝึกอบรมมีกำหนดขั้นต่ำ 3 ปี ขั้นสูง 4 ปี หากอายุเกิน 24 ปีบริบูรณ์ ให้ส่งไปจำคุกตามระยะเวลาที่เหลือโดยไม่ได้ระบุว่า คือกำหนดระยะเวลาขั้นต่ำหรือขั้นสูงนั้น เป็นการไม่ชัดแจ้ง จึงกำหนดให้เป็นส่งตัวจำเลยไปจำคุกตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 142 วรรคท้าย จนครบกำหนดระยะเวลาขั้นต่ำที่เหลืออยู่
ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยไปควบคุมเพื่อฝึกอบรมมีกำหนดขั้นต่ำ 3 ปี ขั้นสูง 4 ปี หากอายุเกิน 24 ปีบริบูรณ์ ให้ส่งไปจำคุกตามระยะเวลาที่เหลือโดยไม่ได้ระบุว่า คือกำหนดระยะเวลาขั้นต่ำหรือขั้นสูงนั้น เป็นการไม่ชัดแจ้ง จึงกำหนดให้เป็นส่งตัวจำเลยไปจำคุกตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 142 วรรคท้าย จนครบกำหนดระยะเวลาขั้นต่ำที่เหลืออยู่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13316/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิอุทธรณ์/ฎีกาคำสั่งศาลที่เกี่ยวข้องกับการส่งตัวผู้ต้องหาไปตรวจยาเสพติด: ผู้ต้องหาไม่มีสิทธิ
แม้คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องของพนักงานสอบสวนที่ยื่นคำร้องขอให้ส่งตัวผู้ต้องหาไปควบคุมเพื่อรับการตรวจพิสูจน์การเสพหรือติดยาเสพติด ตาม พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 จะไม่ใช่คำสั่งในคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พนักงานสอบสวนมีสิทธิที่จะยื่นอุทธรณ์ได้ตามกฎหมาย แต่การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของพนักงานสอบสวนดังกล่าวนั้น เป็นเรื่องระหว่างศาลกับพนักงานสอบสวนซึ่งเป็นผู้ร้องโดยเฉพาะ ผู้ต้องหาทั้งสองจึงไม่มีสิทธิที่จะอุทธรณ์หรือฎีกาคำสั่งดังกล่าวของศาลชั้นต้นได้ ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฎีกาของผู้ต้องหาทั้งสองจึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2959/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดคดีถึงที่สุดหลังอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์: โจทก์มีสิทธิฎีกาภายใน 1 เดือน ทำให้คดีถึงที่สุดเมื่อพ้นกำหนด
ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ให้จำเลยที่ 2 ฟังเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2542 หลังจากนั้น วันที่ 18 พฤศจิกายน 2542 ศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ให้โจทก์ฟัง โจทก์ย่อมมีสิทธิฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ได้ภายในกำหนด 1 เดือน นับแต่วันที่อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 216 วรรคหนึ่ง ครบกำหนดที่โจทก์สามารถยื่นฎีกาได้ภายในวันที่ 18 ธันวาคม 2542 ซึ่งตรงกับวันเสาร์อันเป็นวันหยุดราชการ ระยะเวลายื่นฎีกาจึงสิ้นสุดลงวันที่ 20 ธันวาคม 2542 อันเป็นวันเริ่มทำการใหม่ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/8 เมื่อโจทก์ไม่ฎีกา คดีจึงถึงที่สุดในวันที่ 20 ธันวาคม 2542 อันเป็นวันสิ้นกำหนดระยะเวลาฎีกา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 147 วรรคสอง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ฉะนั้น จำเลยที่ 2 จะยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นออกหมายจำคุกเมื่อคดีถึงที่สุดว่าคำพิพากษาได้ถึงที่สุดแล้วเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2542 หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2265/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิฎีกาอาญาไม่ตัดขาด แม้แจ้งความประสงค์ไม่ดำเนินคดีต่อระหว่างอุทธรณ์ ศาลฎีกายืนสิทธิฎีกาตามกรอบเวลาที่กฎหมายกำหนด
สิทธิในการฎีกาในคดีอาญาย่อมต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.อ. มาตรา 216 ที่บัญญัติให้คู่ความมีอำนาจฎีกาคัดค้านคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลอุทธรณ์ภายในหนึ่งเดือน นับแต่วันอ่านหรือถือว่าได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นให้คู่ความฝ่ายที่ฎีกาฟัง ดังนั้น ถึงแม้โจทก์จะยื่นคำร้องไว้ในระหว่างอุทธรณ์ว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะดำเนินคดีแก่จำเลยอีกต่อไปอันจะแปลความหมายว่าเป็นการสละสิทธิในการฎีกา ก็หาได้มีผลเป็นการตัดสิทธิโจทก์ที่จะฎีกาโดยเด็ดขาดไม่ โจทก์ยังคงมีสิทธิที่จะฎีกาได้ภายในเวลาที่กำหนดไว้ตามกฎหมาย