คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สิทธิฟ้อง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 561 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 545/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ถือเช็คโดยชอบธรรมมีสิทธิฟ้องบังคับคดี แม้จะมีการโอนเช็คจากผู้ทรงคนก่อน โดยไม่มีเหตุฉ้อฉล
จำเลยที่ 1 สั่งจ่ายเช็คผู้ถือ โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้สลักหลัง และโจทก์เป็นผู้ถือเช็คพิพาท โจทก์ย่อมเป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 904และมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองให้รับผิดตามเช็คได้ จำเลยทั้งสองให้การว่า ได้ให้เช็คพิพาทแก่มารดาโจทก์เพื่อเป็นประกันหนี้ต่อมาจำเลยทั้งสองได้ชำระหนี้ครบถ้วนแล้วเช็คพิพาทจึงไม่มีมูลหนี้ เป็นคำให้การที่กล่าวถึงความเกี่ยวพันระหว่างจำเลยกับมารดาโจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงคนก่อน เมื่อจำเลยทั้งสองไม่ได้ให้การต่อสู้ว่าโจทก์รับโอนเช็คพิพาทโดยคบคิดกันฉ้อฉลกับมารดาโจทก์ เท่ากับไม่ได้ยกมาตรา 916 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ขึ้นต่อสู้ จำเลยทั้งสองจึงต้องร่วมกันรับผิดตามเนื้อความในเช็คโดยไม่ต้องวินิจฉัยว่าเช็คมีมูลหนี้หรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4956/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฟ้องอาญาซ้ำ: คดีอาญาที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว สิทธิฟ้องระงับตามกฎหมาย
โจทก์ร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยกับพวกในข้อหาทำร้ายร่างกาย พยายามฆ่าและปล้นทรัพย์ แต่พนักงานอัยการสั่งไม่ฟ้องในข้อหาพยายามฆ่าและปล้นทรัพย์ คงสั่งฟ้องเฉพาะข้อหาทำร้ายร่างกายตาม ป.อ.มาตรา 295 และศาลพิพากษาลงโทษจำเลยคดีถึงที่สุดแล้ว โจทก์มาฟ้องจำเลยในมูลกรณีเดียวกันเป็นคดีนี้ แม้ว่าโจทก์จะได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยกับพวกร่วมกันใช้อาวุธปืนสั้นและอาวุธปืนยาวทุบตีทำร้ายร่างกายโจทก์ เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับอันตรายสาหัส แล้วร่วมกันปล้นเอาทรัพย์ของโจทก์ไปหลายอย่าง หลังจากนั้นจำเลยได้ใช้อาวุธปืนสั้นยิงพยายามฆ่าโจทก์โดยกระทำการต่อเนื่องกันเป็นลำดับก็ตามแต่โจทก์ได้บรรยายฟ้องระบุชัดเจนว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท และอ้าง ป.อ. มาตรา 90 มาในคำขอท้ายฟ้อง โจทก์หาได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยกระทำความผิดหลายกรรมต่างกันและอ้างมาตรา 91 มาในคำขอท้ายฟ้องไม่ ดังนี้เมื่อการกระทำของจำเลยเป็นเพียงกรรมเดียวและศาลได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดที่ได้ฟ้องแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงระงับไป ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4749/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฟ้องจำเลยขึ้นอยู่กับการเพิกถอนคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดก่อน การเพิ่มเติมคำฟ้องขอเพิกถอนคำวินิจฉัยหลังฟ้องไม่อาจบังคับได้
ตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524มาตรา 57 หมายความว่า คู่กรณีหรือผู้มีส่วนได้เสียที่ไม่พอใจคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดจะต้องฟ้อง คชก.จังหวัดเพื่อขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดเพราะตราบใดคำวินิจฉัยดังกล่าวยังไม่ถูกเพิกถอน ต้องถือว่าคำวินิจฉัยยังมีผลใช้บังคับได้ตามกฎหมายดังนี้ เมื่อโจทก์ในฐานะผู้เช่าไม่ฟ้อง คชก.จังหวัด เพื่อขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยที่ให้โจทก์ซื้อที่ดินที่เช่าจากจำเลยทั้งสามในราคาไร่ละ 250,000 บาท โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยทั้งสามซึ่งเป็นผู้รับโอนที่ดินที่เช่าให้ขายให้แก่โจทก์ตามราคาที่โจทก์ต้องการ การแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องโดยขอเพิ่มคำขอท้ายฟ้องให้ศาลเพิกถอนคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดโดยโจทก์ไม่ได้ฟ้อง คชก.จังหวัดด้วยนั้นเป็นคำขอที่ศาลไม่อาจพิพากษาบังคับตามคำขอได้ ศาลจึงชอบที่จะไม่อนุญาต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4749/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฟ้องซื้อที่ดินเช่า: ต้องเพิกถอนคำวินิจฉัย คชก.จังหวัดก่อน จึงจะฟ้องบังคับขายได้
ตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524มาตรา 57 คู่กรณีหรือผู้มีส่วนได้เสียในการเช่านาที่ไม่พอใจคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัด จะต้องฟ้อง คชก.จังหวัดเพื่อขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัด หากคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดยังไม่ถูกเพิกถอน คำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดก็ยังมีผลใช้บังคับได้ โจทก์ซึ่งเป็นคู่กรณีหรือผู้มีส่วนได้เสียในการเช่านาไม่พอใจคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดสมุทรปราการ แต่ไม่ได้ฟ้องคชก.จังหวัดสมุทรปราการเพื่อขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของคชก.จังหวัดสมุทรปราการ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้รับโอนที่นาที่เช่าให้ขายที่นาที่เช่าให้แก่โจทก์ตามราคาที่โจทก์ต้องการ แต่เป็นราคาที่แตกต่างไปจากราคาตามคำวินิจฉัยของคชก.จังหวัดสมุทรปราการได้ และเมื่อโจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องแล้วการที่โจทก์ขอเพิ่มเติมคำขอท้ายฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดสมุทรปราการจึงไม่เป็นประโยชน์แก่คดีเพราะศาลไม่อาจพิพากษาบังคับตามคำขอได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4573/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับโอนเช็คพิพาทโดยสุจริตและมีมูลหนี้ ผู้รับโอนมีสิทธิฟ้องเรียกหนี้ได้
เดิมบริษัท พี.พี.ที.บิสซิเนสเอนเตอร์ไพร์ส จำกัด ได้นำเช็คหมาย จ.8 แลกเอาเงินไปจากโจทก์ แต่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน บริษัทดังกล่าวจึงมอบเช็คพิพาทซึ่งห้างจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 หุ้นส่วนผู้จัดการเป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายชำระหนี้โจทก์ โจทก์จึงนำเช็คพิพาทไปขายลดแก่ธนาคารกรุงเทพ จำกัดสาขาพระโขนง แต่เช็คพิพาทถูกธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์จึงต้องชำระเงินแก่ธนาคารกรุงเทพ จำกัด สาขาพระโขนง แล้วรับเช็คพิพาทกลับคืนมาฟ้องจำเลยทั้งสอง กรณีเช่นนี้เป็นเรื่องโจทก์รับโอนเช็คพิพาทมาโดยสุจริตและมีมูลหนี้ต่อกันโดยชอบด้วยกฎหมาย หาใช่โจทก์รับโอนเช็คพิพาทมาจากบริษัท พี.พี.ที.บิสซิเนสเอนเตอร์ไพร์ส จำกัด โดยคบคิดกันฉ้อฉลไม่ การที่จำเลยที่ 1 อ้างว่าได้นำเช็คเอกสารหมาย ล.7 ไปชำระแก่บริษัท พี.พี.ที.บิสซิเนสเอนเตอร์ไพร์ส จำกัดหลังจากธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเช็คพิพาทแล้ว ย่อมไม่ทำให้จำเลยที่ 1 หลุดพ้นความรับผิดต่อธนาคารกรุงเทพ จำกัด สาขาพระโขนง ซึ่งเป็นผู้ทรงเช็คพิพาท ดังนั้นเมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ขายลดเช็คพิพาทได้ชำระเงินตามสัญญาขายลดเช็คพิพาทแก่ธนาคาร-กรุงเทพ จำกัด สาขาพระโขนง แล้ว ได้รับเช็คพิพาทกลับคืนมา โจทก์ย่อมเป็นผู้ทรงเช็คพิพาท โดยรับช่วงสิทธิจากธนาคารกรุงเทพ จำกัด สาขาพระโขนง ในการฟ้องให้จำเลยทั้งสองให้รับผิดตามเช็คพิพาทได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4374/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนเช่าตึก - สิทธิการฟ้องขับไล่
โจทก์ทำสัญญาเช่าตึกแถวพิพาทกับบริษัท ท. โดยจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ แต่โจทก์ไม่เคยอาศัยอยู่ในตึกแถวพิพาทเลย จำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นผู้อาศัยอยู่ในตึกแถวพิพาท โดยจำเลยที่ 1 ได้ประกอบการค้าอยู่ในตึกแถวพิพาทด้วยจำเลยที่ 3 เป็นผู้ออกเงินช่วยค่าก่อสร้างตึกแถวพิพาทจำนวน 270,000 บาท ให้แก่บริษัท ท. หลังจากโจทก์ทำสัญญาเช่าตึกแถวพิพาทแล้ว จำเลยที่ 3 เป็นผู้ชำระค่าเช่าตึกแถวพิพาทในนามของโจทก์มาตลอด พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าโจทก์เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 3 ทำสัญญาเช่าตึกแถวพิพาทกับบริษัท ท. โจทก์ย่อมไม่อาจอ้างสิทธิตามสัญญาเช่าตึกแถวพิพาทมาฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสามได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3520/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละทิ้งร้างและการฟ้องหย่า: สิทธิฟ้องหย่าของผู้ที่ละทิ้งคู่สมรสก่อน
การที่โจทก์ฟ้องหย่าจำเลยเป็นคดีแรกในปี 2529 แล้วโจทก์ย้ายออกจากบ้านของจำเลยที่เคยอยู่กินร่วมกันมาแต่แรกนานถึง8 ปีเศษ จึงเป็นการที่โจทก์ละทิ้งร้างจำเลยไปเอง เมื่อโจทก์เป็นฝ่ายละทิ้งร้างจำเลยไปเช่นนี้ โจทก์จะอาศัยเหตุที่จำเลยไม่ยอมปฏิบัติตามเงื่อนไขที่โจทก์จะให้จำเลยย้ายไปอยู่กับโจทก์ที่บ้านซึ่งทั้งสองฝ่ายไม่เคยอยู่ร่วมกันมาก่อนมาเป็นเหตุฟ้องหย่า โดยอ้างว่าจำเลยกระทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภรรยาไม่ได้ โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องหย่าจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1500/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหลอกลวงให้เสียทรัพย์และการยอมความมีเงื่อนไข ไม่ทำให้สิทธิฟ้องอาญาขาดอายุ
จำเลยเพียงแต่หลอกลวงผู้เสียหายว่าจำเลยจะช่วยติดต่อให้เข้าทำงานเป็นสารวัตรทหารได้โดยไม่ต้องสอบเท่านั้น ผู้เสียหายหลงเชื่อจึงให้เงินแก่จำเลยไปไม่ปรากฏว่าผู้เสียหายให้เงินจำเลยไปเพื่อให้จำเลยนำไปให้ข้าราชการทหารคนใดกระทำการอย่างใดอันมิชอบด้วยหน้าที่ จึงถือไม่ได้ว่าผู้เสียหายใช้ให้ผู้ใดกระทำผิดกฎหมายผู้เสียหายจึงเป็นผู้เสียหายตามกฎหมาย มีสิทธิร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีได้ ผู้เสียหายและจำเลยได้ทำบันทึกกันไว้ ถ้าจำเลยนำเงินมาคืนผู้เสียหายภายในกำหนด ผู้เสียหายก็จะไม่เอาเรื่องทั้งคดีแพ่งและคดีอาญา เป็นการยอมความโดยมีเงื่อนไขที่ให้จำเลยชำระเงินคืนผู้เสียหายเสียก่อน ผู้เสียหายจึงจะไม่ติดใจดำเนินคดีแก่จำเลยแต่เมื่อปรากฏว่าจำเลยมิได้ชำระเงินคืนแก่ผู้เสียหายจึงมิใช่เป็นการยอมความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 769/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฟ้องของผู้เสียหายหลายคนในคดีอาญา ไม่ถือเป็นฟ้องซ้อน แม้มีการฟ้องคดีอาญาไปก่อนแล้ว
ในคดีอาญาที่มีผู้เสียหายหลายคน แม้จะมีผู้เสียหายคนหนึ่งฟ้องผู้กระทำความผิดก่อนแล้วก็ตาม ผู้เสียหายคนอื่นก็มีสิทธิฟ้อง ผู้กระทำผิดได้อีก เพราะ ป.วิ.อ. ไม่มีบทบัญญัติห้ามผู้เสียหาย คนอื่นฟ้องผู้กระทำผิดอีกและแม้ ป.วิ.อ. มาตรา 15 จะให้นำ ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง(1) มาใช้บังคับในคดีอาญา แต่ มาตรา 173 วรรคสอง (1) ก็ห้ามเฉพาะโจทก์ในคดีเดิมเท่านั้น มิให้ฟ้องจำเลยซ้ำในเรื่องเดียวกันดังนี้ เมื่อโจทก์ยังไม่เคยฟ้อง จำเลยที่ 2 ในเรื่องเดียวกับที่ฟ้องคดีนี้มาก่อน และการที่ ม. ภรรยาโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ในเรื่องเดียวกับคดีนี้ก็ไม่ถือว่าเป็น การฟ้องแทนโจทก์ ฟ้องของโจทก์เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 จึงไม่เป็น ฟ้องซ้อนกับคดีอาญาที่ ม. ภรรยาโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ดังกล่าว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 769/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฟ้องคดีอาญาของผู้เสียหายหลายคน และการไม่เป็นฟ้องซ้อน แม้มีการฟ้องคดีอาญาไปก่อนแล้ว
ในคดีอาญาที่มีผู้เสียหายหลายคน ผู้เสียหายแต่ละคนย่อมมีสิทธิฟ้องผู้กระทำผิดได้ การที่ผู้เสียหายคนหนึ่งคนใดฟ้องผู้กระทำผิดก่อน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาก็ไม่มีบทบัญญัติห้ามผู้เสียหายคนอื่นฟ้องผู้กระทำผิดอีก ส่วนประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 วรรคสอง(1)แม้จะนำมาใช้บังคับในคดีอาญาได้ก็ตาม ก็ห้ามเฉพาะโจทก์ในคดีเดิมเท่านั้นมิให้ฟ้องจำเลยซ้ำในเรื่องเดียวกัน โจทก์ไม่เคยฟ้องจำเลยที่ 2 ในเรื่องเดียวกันกับที่ฟ้องคดีนี้มาก่อน การที่ภรรยาโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ในเรื่องเดียวกับคดีนี้มาก่อน ก็ยังไม่ถือว่าเป็นการฟ้องแทนโจทก์ด้วย ฟ้องโจทก์คดีนี้เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 จึงไม่เป็นฟ้องซ้อนกับคดีก่อน
of 57