คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สิทธิฟ้องร้อง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 155 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 443/2475

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฟ้องร้องบุกรุกในที่หลวง: ผู้อาศัยมีสิทธิคุ้มครองพื้นที่ใช้สอย
ที่ดิน
บุกรุก
ต่างคนต่างอาศัยที่หลวงมีสิทธิฟ้องเรื่องบุกรุกกันได้
วิธีพิจารณาแพ่ง
อำนาจฟ้องของผู้อาศัยที่ดิน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 230/2475

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนหนี้ต้องแจ้งลูกหนี้ให้ทราบเพื่อให้มีผลสมบูรณ์ การฟ้องร้องซ้ำเป็นสิทธิเมื่อแจ้งแล้ว
การโอนหนี้ต้องทำเป็นหนังสือบอกกล่าวไปยังลูกหนี้
วิธีพิจารณาแพ่ง
อย่างไรเรียกว่าคดีเสร็จเด็ดขาด
ศาลยกฟ้องโจทก์โดยเห็นว่าการโอนหนี้ยังไม่สมบูรณ์ต่อมาเจ้าหนี้ได้มีหนังสือแจ้งการโอนไปยังผู้ค้ำประกันอีกดังนี้ โจทก์ฟ้องไม่ได้เข้าข้อค้านตาม ม.3 วิธีพิจารณาความแพ่ง การโอนหนี้ให้ผู้อื่นไม่เรียกว่าเป็นการผ่อนเวลาชำระหนี้ให้แก่ลูกหนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 830/2471

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายหุ้น: การผิดนัดชำระหนี้, การวางทรัพย์เพื่อหลุดพ้นความรับผิด, และสิทธิในการฟ้องร้องแม้มีการถวายฎีกา
สัญญาเมื่อไรจึงจะเรียกว่าผิดนัด ลูกหนี้ของปฎิบัติชำระหนี้ซึ่งไม่ตรงต่อสัญญาความรับผิดชอบที่เกิดจากการวางทรัพย์เพื่อให้พ้นจากความรับผิดลูกหนี้ชอบที่จะได้ใบรับชำระหนี้ค่าสินไหมทดแทนในการไม่ชำระหนี้ ถวายฎีกาต่อพระเจ้าอยู่หัวแล้วจะกลับมาฟ้องศาลได้เพียงไร ข้อกฎหมายที่อ้างไม่จำเปนต้องยกตัวบทขึ้นมากล่าวในฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8799-8801/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการทรัพย์สินร่วม (สินสมรส) การยินยอมโดยปริยาย และสิทธิในการฟ้องเพิกถอนนิติกรรม
โจทก์เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของ บ. คู่สมรสของจำเลยที่ 1 ย่อมมีฐานะเป็นทายาทโดยธรรม ทั้งยังเป็นผู้จัดการมรดกของ บ. ตามคำสั่งศาล การที่จำเลยที่ 1 จดทะเบียนสมรสกับจำเลยที่ 5 มีผลกระทบต่อสิทธิในครอบครัวและสิทธิในการรับมรดกของโจทก์หรือทายาทโดยธรรมอื่นของ บ. โจทก์จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่จะกล่าวอ้างหรือร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 5 เป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1497 และมีอำนาจฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมซึ่งเป็นการจัดการสินสมรสที่จำเลยที่ 1 ทำไปโดยปราศจากความยินยอมของ บ. มารดาโจทก์ได้
จำเลยที่ 1 จดทะเบียนสมรสกับจำเลยที่ 5 ในขณะที่จำเลยที่ 1 มี บ. เป็นคู่สมรสแล้ว การสมรสระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 5 จึงเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 1497 ประกอบมาตรา 1452 ซึ่งศาลมีอำนาจพิพากษาได้ แม้ศาลชั้นต้นจะไม่ได้กล่าวไว้ในประเด็นว่า การสมรสดังกล่าวเป็นโมฆะหรือไม่ก็ตาม เพราะเมื่อศาลเห็นว่าจำเลยที่ 1 กับ บ. จดทะเบียนสมรสกันโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ย่อมวินิจฉัยต่อไปได้ว่าการจดทะเบียนสมรสระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 5 ในภายหลังเป็นโมฆะ ที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าการสมรสระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 5 เป็นโมฆะนั้น จึงเป็นการวินิจฉัยที่เกี่ยวเนื่องกับประเด็นข้อพิพาท ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
การที่ บ. ยินยอมให้ใส่ชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินอันเป็นสินสมรสทุกแปลงย่อมแสดงให้เห็นว่า บ. มอบให้จำเลยที่ 1 มีอำนาจในการจัดการสินสมรสโดยเฉพาะที่ดินได้โดยลำพัง ไม่จำต้องได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจาก บ. อีก ดังจะเห็นได้จากจำเลยที่ 1 เคยยกที่ดินให้แก่บุตรที่เกิดจาก บ. และ ส. และเคยซื้อบ้านและที่ดินให้แก่โจทก์ก็ไม่ปรากฏว่า บ. โต้แย้งคัดค้านการจัดการสินสมรสของจำเลยที่ 1 เช่นเดียวกับที่ดินพิพาททั้งสามแปลง จำเลยที่ 1 โอนให้แก่จำเลยที่ 2 และที่ 5 ไปโดยลำพังในระหว่างที่ บ. ยังมีชีวิตอยู่ น่าเชื่อว่า บ. ยินยอมในการจัดการสินสมรสของจำเลยที่ 1 แล้วจึงไม่ได้โต้แย้งคัดค้านจนกระทั่งถึงแก่ความตายไปนานกว่า 13 ปี สำหรับการโอนที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 12348 และนานกว่า 4 ปี สำหรับการโอนที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 27458 และ 6999 พฤติการณ์ดังกล่าวของ บ. จึงเป็นการให้ความยินยอมในจัดการสินสมรสที่ดินพิพาทของจำเลยที่ 1 ไว้ล่วงหน้าโดยปริยายแล้ว ข้อเท็จจริงจึงไม่อาจรับฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 โอนที่ดินพิพาททั้งสามแปลงซึ่งเป็นสินสมรสให้แก่จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 5 โดยปราศจากความยินยอมของ บ. โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินพิพาททั้งสามแปลง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15320/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีล้มละลาย: สิทธิในการฟ้องร้องของลูกหนี้ที่อยู่ภายใต้การพิทักษ์ทรัพย์ และข้อจำกัดในการดำเนินคดี
หลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดเมื่อวันที่ 22 กันยายน 2554 แล้ว โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินและบ้านพิพาทของโจทก์และเรียกค่าเสียหายจากการที่โจทก์ไม่อาจนำที่ดินและบ้านพิพาทออกให้เช่าซึ่งจะได้ค่าเช่าไม่น้อยกว่าเดือนละ 60,000 บาท คิดถึงวันฟ้องเป็นเวลา 1 เดือน เป็นเงิน 60,000 บาท พร้อมทั้งค่าเสียหายในอัตราเดือนละ 60,000 บาท นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจำเลยและบริวารจะขนย้ายทรัพย์สินออกไปจากที่ดินและบ้านพิพาท จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า สัญญาเช่าเป็นสัญญาต่างตอบแทนพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา จำเลยไม่ได้ผิดสัญญาต่อโจทก์ ขอให้บังคับโจทก์จดทะเบียนสิทธิการเช่าที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่จำเลย ดังนี้คดีโจทก์ในส่วนที่ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินและบ้านพิพาทอันเป็นทรัพย์สินของโจทก์ ไม่เกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยโดยตรงจึงไม่อยู่ในอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะดำเนินคดีแทนจำเลยตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 (3) จำเลยย่อมมีอำนาจต่อสู้คดีได้โดยลำพัง สำหรับค่าเสียหายที่โจทก์เรียกมานั้นโจทก์กล่าวอ้างในคำฟ้องว่าเป็นค่าเสียหายนับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2555 พร้อมทั้งค่าเสียหายนับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจำเลยและบริวารจะขนย้ายทรัพย์สินออกไปจากที่ดินและบ้านพิพาท เมื่อปรากฏว่าศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดเมื่อวันที่ 22 กันยายน 2554 ค่าเสียหายดังกล่าวจึงเป็นมูลหนี้อันเกิดจากการกระทำละเมิดของจำเลยที่เกิดขึ้นภายหลังที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว โจทก์ไม่อาจนำมาขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 27, 91 และ 94 โจทก์ชอบที่จะฟ้องจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ในคดีล้มละลายไม่อาจฟ้องเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นจำเลยแทนลูกหนี้หรือเข้าดำเนินคดีนี้แทนลูกหนี้ จำเลยย่อมมีอำนาจต่อสู้คดีได้โดยลำพังทั้งมีสิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นได้ด้วยตนเอง แต่ในส่วนฟ้องแย้งของจำเลยนั้น เป็นการขอให้บังคับโจทก์จดทะเบียนสิทธิการเช่าที่ดินและบ้านพิพาทตามสัญญาต่างตอบแทนพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาอันเป็นประโยชน์ในทางทรัพย์สินของจำเลย กรณีเป็นเรื่องที่จำเลยใช้สิทธิฟ้องร้องเกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยระหว่างจำเลยถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดซึ่งต้องห้ามตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 22 (3) ที่ศาลชั้นต้นรับฟ้องแย้งและพิพากษาตามฟ้องแย้งจึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9677/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนหุ้นต้องเป็นไปตามกฎหมายและข้อบังคับบริษัท ผู้ถือหุ้นต้องแจ้งการโอนเพื่อมีสิทธิฟ้องร้อง
ใบหุ้นเป็นหุ้นชนิดระบุชื่อและข้อบังคับของบริษัท ม. ระบุว่า การโอนหุ้นจะต้องทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้โอนและผู้รับโอน โดยมีพยานสองคนลงชื่อรับรอง และจะนำมาใช้แก่บริษัทหรือบุคคลภายนอกได้ ต่อเมื่อบริษัทจดแจ้งการโอนนั้นลงในทะเบียนผู้ถือหุ้นแล้ว แม้โจทก์และจำเลยที่ 1 ทำหนังสือสัญญาซื้อขายหุ้นดังกล่าวก็ตาม แต่เมื่อข้อบังคับของบริษัทมิได้กำหนดเกี่ยวกับการโอนหุ้นชนิดระบุชื่อไว้เป็นอย่างอื่น โจทก์และจำเลยที่ 1 จึงต้องปฏิบัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 1129 วรรคสอง และข้อบังคับของบริษัทดังกล่าว เมื่อโจทก์และจำเลยที่ 1 ยังมิได้ทำการโอนให้ถูกต้องตามบทบัญญัติและข้อบังคับดังกล่าว โจทก์จึงไม่อาจอ้างว่าเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัท ม. ดังนั้น โจทก์จึงมิใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยและไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5878/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการโอนที่ดินที่เกิดจากการใช้หนังสือมอบอำนาจปลอม ผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิฟ้องได้
จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 โดยอาศัยหนังสือมอบอำนาจปลอม จึงเป็นการโอนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยที่ 2 ย่อมไม่ได้กรรมสิทธิ์ และไม่มีสิทธิโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 3 และจำเลยที่ 4 แม้จำเลยที่ 3 และจำเลยที่ 4 จะสุจริตและเสียค่าตอบแทนก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ โจทก์ทั้งสองเป็นทายาทของผู้ตายซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทที่ถูกปลอมหนังสือมอบอำนาจเป็นผู้มีส่วนได้เสียในที่ดินพิพาทจึงมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินพิพาทได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11411/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งออกหมายจับ/ค้นในชั้นสอบสวน ไม่เปิดอุทธรณ์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ผู้ต้องหาใช้สิทธิฟ้องดำเนินคดีกับผู้ร้องได้
การออกหมายจับและหมายค้นในชั้นสอบสวน เป็นเพียงขั้นตอนหนึ่งเพื่อให้การสอบสวนดำเนินไปได้ แม้พนักงานสอบสวนจะต้องมาร้องขอต่อศาลชั้นต้นเพื่อขอให้ออกหมายจับและหมายค้น แต่ก็ยังไม่ใช่เรื่องที่ฟ้องเป็นคดีมาถึงศาล เมื่อศาลชั้นต้นเห็นสมควรสั่งประการใดแล้ว ก็ไม่ใช่เรื่องที่กฎหมายประสงค์จะให้อุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 หากผู้ร้องอ้างข้อมูลอันเป็นเท็จ ผู้ต้องหาก็มีสิทธิ์ที่จะดำเนินการแก่ผู้ร้องตามที่เห็นสมควรเป็นกรณีต่างหากได้ ผู้ต้องหาจึงไม่อาจอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องของผู้ต้องหาที่ให้เพิกถอนหมายจับและหมายค้นในชั้นสอบสวน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10545/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์: สิทธิการฟ้องร้องต้องมีกฎหมายรองรับ
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่า ผู้ร้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์กระบะพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์อันเป็นคดีที่ไม่มีข้อพิพาท ซึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 และมาตรา 188 (1) บุคคลใดต้องใช้สิทธิทางศาลจะต้องมีกฎหมายบัญญัติรับรองให้ใช้สิทธิทางศาลโดยยื่นคำร้องขอในกรณีนั้น ๆ ได้ แต่กรณีคำร้องขอของผู้ร้องการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์รถยนต์โดยการครอบครองปรปักษ์ไม่มีกฎหมายใดบัญญัติรับรองให้ผู้ร้องมาใช้สิทธิทางศาลโดยยื่นคำร้องขอต่อศาลเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทได้ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทต่อศาล ปัญหาว่าผู้ร้องมีสิทธิยื่นคำร้องขอต่อศาลขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งว่า ผู้ร้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์พิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์หรือไม่ เป็นเรื่องอำนาจฟ้องซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็หยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4846/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการรื้อถอนอาคารรุกล้ำที่ดิน & ข้อจำกัดสิทธิฟ้องร้องกรณีข้อบัญญัติท้องถิ่น
การที่จำเลยทั้งสองก่อสร้างอาคารผิดต่อข้อบัญญัติของกรุงเทพมหานครหรือไม่เป็นเรื่องที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะต้องดำเนินการแก่จำเลยทั้งสอง โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยทั้งสองปฏิบัติตามข้อบัญญัติของกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้าง ฯ ข้อ 74 ได้ หากโจทก์เห็นว่าหน้าต่างของอาคารที่จำเลยทั้งสองก่อสร้างเมื่อเปิดแล้วจะรุกล้ำเข้ามาในที่ดินของโจทก์ โจทก์ก็มีสิทธิฟ้องห้ามมิให้จำเลยทั้งสองเปิดหน้าต่างล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์เท่านั้น การที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองรื้อถอนอาคารพอแปลได้ว่าโจทก์ขอให้ห้ามจำเลยทั้งสองเปิดหน้าต่างหรือส่วนของอาคารรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสองก่อสร้างอาคารรุกล้ำเข้าไปในที่ดินโจทก์กว้างประมาณ 50 เซนติเมตร ยาวประมาณ 16 เมตร จำเลยทั้งสองให้การว่า มิได้ปลูกสร้างอาคารรุกล้ำที่ดินโจทก์หากแต่ปลูกสร้างบนที่ดินของจำเลยที่ 1 จึงเป็นคดีที่โต้เถียงกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทกัน เป็นคดีที่มีทุนทรัพย์ แต่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มิได้ตีราคาที่ดินส่วนที่พิพาทกันเพื่อให้คู่ความเสียค่าขึ้นศาลในส่วนนี้ อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาถึงระวางที่ดิน เลขที่ดิน หน้าสำรวจ ตำบล อำเภอ และจังหวัดที่ตั้งของที่ดินส่วนที่พิพาทซึ่งมีสภาพเป็นทางเข้าวัดโจทก์แล้วเห็นว่ามีราคาไม่เกิน 200,000 บาท จึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง
of 16