คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สิทธิลูกจ้าง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 167 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2811-2812/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิค่าชดเชยกรณีเกษียณอายุ: ความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ปัญหาที่ว่า การที่ลูกจ้างต้องออกจากงานเพราะเหตุมีอายุครบเกษียณอายุตามกฎหมาย จะเป็นการเลิกจ้างที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานหรือไม่ นั้น เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 265/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหยุดผลิตของนายจ้างต้องไม่ละเมิดสิทธิลูกจ้าง แม้เศรษฐกิจไม่ดีก็ต้องเจรจาตกลงก่อน
ลูกจ้างไม่ทักท้วงการที่นายจ้างหยุดการผลิตคราวก่อน ๆไม่หมายความลูกจ้างยินยอมให้นายจ้างหยุดการผลิตได้ในคราวต่อไป
นายจ้างหยุดการผลิตเพราะเศรษฐกิจซบเซา ยางที่ผลิตขายไม่ออก แม้จะหยุดเป็นบางวัน ก็ทำให้ลูกจ้างขาดประโยชน์คือค่าจ้างโดยไม่มีสิทธิข้อตกลงสภาพการจ้างชอบที่จะแก้ไขเสียก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 253/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โอนการจ้างไม่ใช่เลิกจ้าง: สิทธิค่าชดเชยเมื่อมีการเปลี่ยนนายจ้าง
การที่โจทก์พ้นจากการเป็นลูกจ้างของจำเลยแล้วเข้าเป็นลูกจ้างของบริษัท ส. นั้น โจทก์ได้ทำงานรับจ้างต่อไป ตามเดิม ได้รับสิทธิและประโยชน์ต่างๆ จากนายจ้างคนใหม่เช่นที่เคยได้รับอยู่เดิมและได้นับระยะเวลาการทำงานระหว่างเป็นลูกจ้างของจำเลยกับเป็นลูกจ้างของบริษัท ส.ติดต่อกัน ดังนี้ เห็นได้ว่ามิได้มีการเลิกจ้างโจทก์ยังคงมีการจ้างต่อไปตามเดิม เพียงแต่เปลี่ยนตัวนายจ้างจากจำเลยเป็นบริษัทส. เท่านั้น จึงเป็นเรื่องโอนการจ้างหาใช่เลิกจ้างไม่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้ค่าชดเชยจากจำเลย
แม้การโอนการจ้างนี้จะเป็นไปตามข้อตกลงระหว่างกรมโรงงานอุตสาหกรรมกับบริษัท ส. ก็ถือได้ว่ากรมโรงงานอุตสาหกรรมกระทำในฐานะเป็นตัวแทนของจำเลยโดยปริยายเพราะกรมโรงงานอุตสาหกรรมมีความรับผิดชอบผูกพันต่อโจทก์ในเรื่องการว่าจ้างทำงานในโรงงานแห่งนี้ หากจำเลยดำเนินการตามสัญญาเช่าไม่ได้ กรมโรงงานอุตสาหกรรมก็ต้องรับโจทก์เป็นลูกจ้างต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 253/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนการจ้างไม่ใช่การเลิกจ้าง: สิทธิค่าชดเชยเมื่อมีการเปลี่ยนนายจ้าง
การที่โจทก์พ้นจากการเป็นลูกจ้างของจำเลยแล้วเข้าเป็นลูกจ้างของบริษัท ส. นั้น โจทก์ได้ทำงานรับจ้างต่อไป ตามเดิม ได้รับสิทธิและประโยชน์ต่างๆ จากนายจ้างคนใหม่เช่นที่เคยได้รับอยู่เดิมและได้นับระยะเวลาการทำงานระหว่างเป็นลูกจ้างของจำเลยกับเป็นลูกจ้างของบริษัท ส.ติดต่อกัน ดังนี้ เห็นได้ว่ามิได้มีการเลิกจ้างโจทก์ยังคงมีการจ้างต่อไปตามเดิม เพียงแต่เปลี่ยนตัวนายจ้างจากจำเลยเป็นบริษัทส. เท่านั้น จึงเป็นเรื่องโอนการจ้างหาใช่เลิกจ้างไม่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้ค่าชดเชยจากจำเลย
แม้การโอนการจ้างนี้จะเป็นไปตามข้อตกลงระหว่างกรมโรงงานอุตสาหกรรมกับบริษัท ส. ก็ถือได้ว่ากรมโรงงานอุตสาหกรรมกระทำในฐานะเป็นตัวแทนของจำเลยโดยปริยายเพราะกรมโรงงานอุตสาหกรรมมีความรับผิดชอบผูกพันต่อโจทก์ในเรื่องการว่าจ้างทำงานในโรงงานแห่งนี้ หากจำเลยดำเนินการตามสัญญาเช่าไม่ได้ กรมโรงงานอุตสาหกรรมก็ต้องรับโจทก์เป็นลูกจ้างต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1460/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะสำนักงานสลากฯ ไม่เป็นราชการส่วนกลาง จึงต้องปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน และลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชย
สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลจำเลยได้จัดตั้งขึ้นเป็นนิติบุคคลโดยพระราชบัญญัติสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล พ.ศ. 2517 วัตถุประสงค์ของจำเลยไม่ใช่การบริหารราชการแผ่นดิน มีคณะกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาลทำหน้าที่ควบคุมดูแลกิจการและวางนโยบายของจำเลยแยกต่างหากจากการบริหารราชการแผ่นดิน จำเลยจึงมิใช่ส่วนราชการที่เป็นราชการส่วนกลางตามที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 218 ระบุไว้ ไม่เข้าข่ายยกเว้นใช้บังคับประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน
โจทก์ซึ่งออกจากงานเพราะเหตุเกษียณอายุ มีสิทธิที่จะได้รับทั้งเงินบำเหน็จและค่าชดเชย คณะกรรมการของจำเลยให้โจทก์ขอรับเงินได้ประเภทเดียว เป็นการปฏิเสธจ่ายเงินอีกประเภทหนึ่ง โจทก์ขอรับเงินบำเหน็จจึงหาใช่เป็นการสละสิทธิเรียกร้องค่าชดเชยไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1318-1319/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างเนื่องจากเกษียณอายุ ถือเป็นการเลิกจ้างตามกฎหมายแรงงาน และมีสิทธิได้รับค่าชดเชย
การเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯหมายถึงการที่นายจ้างให้ลูกจ้างออกจากงานไม่ว่ากรณีใด ๆ โดยลูกจ้างไม่ได้กระทำความผิดตามที่ระบุไว้ ไม่มีข้อความยกเว้นไว้เป็นกรณีพิเศษมิให้ถือว่า การที่พนักงานรัฐวิสาหกิจต้องออกจากงานเพราะเหตุครบเกษียณอายุตามกฎหมายมิใช่เป็นการเลิกจ้าง และพนักงานจะครบเกษียณอายุเมื่อมีอายุเท่าใดอาจเปลี่ยนแปลงไปได้ตามกฎหมายและระเบียบของนายจ้าง จึงหาใช่เป็นการกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนไม่
การจ่ายเงินบำเหน็จตามข้อบังคับของนายจ้างหาได้จำกัดแต่เฉพาะจ่ายแก่พนักงานที่เลิกจ้างเท่านั้นไม่ พนักงานที่ลาออกโดยไม่มีความผิดใด ๆ และทำงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ หรือพนักงานที่ถึงแก่กรรมโดยการถึงแก่กรรมนั้นมิได้เกิดจากการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง ก็มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จด้วย เงินบำเหน็จจึงมีลักษณะหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการจ่ายแตกต่างกับค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน โดยมีลักษณะเป็นเงินสงเคราะห์เพื่อตอบแทนที่ลูกจ้างทำงานตลอดมาจนออกจากงานลาออก หรือถึงแก่กรรม อันเป็นการจ่ายโดยมีวัตถุประสงค์ยิ่งกว่าให้เป็นเงินจำนวนหนึ่งแก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง เงินบำเหน็จจึงเป็นเงินประเภทอื่นซึ่งนายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้างมิใช่ค่าชดเชย
ค่าชดเชยเป็นเงินที่นายจ้างต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯเมื่อไม่จ่ายย่อมถือว่าผิดนัดนับแต่วันเลิกจ้างโดยมิพักต้องเรียกร้องหรือทวงถาม ค่าชดเชยเป็นหนี้เงิน เมื่อผิดนัดก็ต้องเสียดอกเบี้ยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันเลิกจ้าง
ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชยเป็นเงิน 33,900 บาทแต่ลูกจ้างฟ้องขอค่าชดเชยมา 33,600 บาท เมื่อศาลแรงงานกลางเห็นสมควรเพื่อความเป็นธรรมแก่คู่ความ ย่อมมีอำนาจที่จะพิพากษาให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้าง 33,900 บาท ได้ ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 52 หาขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 236/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขระเบียบการจ่ายบำนาญที่กระทบสิทธิลูกจ้างเดิม นายจ้างต้องไม่ทำให้เกิดความเสียหาย
ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 20 บัญญัติห้ามนายจ้างทำสัญญาจ้างแรงงานกับลูกจ้างขัดหรือแย้งกับข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง เว้นแต่สัญญาจ้างแรงงานนั้นจะเป็นคุณแก่ลูกจ้างยิ่งกว่า ดังนั้น จำเลยจะแก้ไขระเบียบว่าด้วยการจ่ายเงินบำนาญให้แก่ลูกจ้างให้กระทบกระเทือนเป็นที่เสียหายแก่สิทธิของลูกจ้างที่มีอยู่แล้วไม่ได้
บำนาญหมายถึงเงินเลี้ยงชีพที่จ่ายให้โดยมีกำหนดเวลาสำหรับความดีความชอบในการทำงานที่ได้ทำมา เมื่อโจทก์ทำงานกับบริษัทจำเลยมานานเกิน 10 ปี จึงมีสิทธิได้รับบำนาญตามระเบียบของจำเลยฉบับเดิม ถึงแม้โจทก์จะลาออกเอง ก็มีสิทธิได้รับบำนาญโดยไม่จำเป็นต้องทำงานให้ครบเกษียณ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1398/2495

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม, สิทธิการรับโบนัส, การหักเงินเดือน, และผลของคำมั่นสัญญา
นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างโดยลูกจ้างมิได้มีความบกพร่องในหน้าที่การงานที่นายจ้างจ้างทำ อันจะเป็นเหตุให้นายจ้างงดจ่ายโบนัสตามที่ได้ตกลงกันไว้แล้ว นายจ้างก็จะต้องจ่ายเงินโบนัสให้ลูกจ้าง
นายจ้างไม่มีสิทธิหักเงินเดือนของลูกจ้างไว้เพื่อใช้หนี้ที่ลูกจ้างเป็นลูกหนี้คนอื่นอยู่ เว้นแต่ลูกจ้างจะตกลงยินยอมให้หักเงินเดือนตนไว้
นายจ้างสั่งเลิกจ้างลูกจ้างโดยระบุเป็นคำมั่นว่าให้จ่ายเงินบำเหน็จก้อนหนึ่งให้ลูกจ้าง ลูกจ้างก็ยอมรับตามนั้น ดังนี้นายจ้างจะไม่จ่ายเงินบำเหน็จโดยอ้างว่าตนได้ทราบขึ้นภายหลังว่า ลูกจ้างปฏิบัติหน้าที่บกพร่องย่อมไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7120/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม การจ่ายค่าชดเชย และสิทธิในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
โจทก์เป็นวิศวกรมีหน้าที่ควบคุมงานก่อสร้างอาคารของจำเลยที่ได้จ้างให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด ย. ดำเนินการก่อสร้าง การที่โจทก์รับเงินจากห้างหุ้นส่วนจำกัด ย. เนื่องจากห้างหุ้นส่วนจำกัดดังกล่าวจ่ายเงินให้โจทก์เป็นค่าตอบแทนในการจ้างโจทก์ออกแบบงานระบบประปา ไฟฟ้า สุขาภิบาล ทำช็อปดรออิ้งขยายรายละเอียดในการก่อสร้าง และควบคุมงานก่อสร้างบ้านของเรืออากาศ อ. ซึ่งเป็นการรับเงินตามปกติของการว่าจ้างโจทก์ให้ทำงานกับห้างหุ้นส่วนจำกัด ย. และแม้โจทก์มีหน้าที่ควบคุมการก่อสร้างอาคารของจำเลยที่จ้างให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด ย. ดำเนินการก่อสร้าง แต่ก็ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าโจทก์เบียดบังเวลาการทำงานของจำเลยไปใช้ทำงานก่อสร้างบ้านของเรืออากาศ อ. ตามที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ย. จ้างให้โจทก์ทำงาน ดังนั้น การที่โจทก์ได้รับเงินจากห้างหุ้นส่วนจำกัด ย. ด้วยเหตุข้างต้นจึงไม่ใช่เป็นการใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่เพื่อแสวงหาประโยชน์อันมิควรได้โดยชอบสำหรับตนเองหรือผู้อื่น ถือไม่ได้ว่าเป็นการทุจริตต่อหน้าที่
ตามประกาศเรื่องการจ่ายเงินรางวัลพิเศษเพิ่มเติมระบุว่าจำเลยจะจ่ายเงินรางวัลพิเศษประจำปี 2548 ให้แก่ลูกจ้างจำเลย จึงแปลว่า จำเลยมีเจตนาจ่ายเงินรางวัลพิเศษและเงินรางวัลพิเศษเพิ่มเติมแก่ผู้มีสถานะเป็นลูกจ้างของจำเลยเท่านั้น
การที่โจทก์พ้นสภาพการเป็นลูกจ้างของจำเลยไปก่อนจำเลยจ่ายเงินรางวัลพิเศษประจำปี 2548 โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินรางวัลพิเศษประจำปี 2548
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพพนักงานบริษัทวิทยุการบินแห่งประเทศไทยซึ่งจดทะเบียนแล้ว เป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากจำเลยตาม พ.ร.บ.กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ.2530 มาตรา 7 คณะกรรมการกองทุนหรือผู้จัดการกองทุนมีหน้าที่จ่ายเงินให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้าง หากโจทก์มีสิทธิได้รับเงินจากกองทุนตามมาตรา 23 จำเลยไม่มีอำนาจจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยเพื่อให้จ่ายเงินสมทบและผลประโยชน์ของเงินสมทบจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพนั้นได้ ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ แต่อำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัยเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10450-10452/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิลูกจ้างเมื่อนายจ้างไม่จัดวันหยุดพักผ่อนประจำปี และการเพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานที่ไม่ชอบ
จำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 ยื่นคำร้องต่อจำเลยที่ 2 ในฐานะพนักงานตรวจแรงงานว่าโจทก์ไม่จ่ายค่าทำงานในวันหยุดพักผ่อนประจำปีตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 64 และขอเรียกร้องให้โจทก์จ่ายค่าทำงานในวันหยุดพักผ่อนประจำปีในช่วงดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 3 ทำงานติดต่อกันมาตลอดโดยมิได้หยุดพักผ่อนประจำปีและโจทก์มิได้กำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่จำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 มีวันหยุดพักผ่อนประจำปีที่ยังไม่ได้ใช้ 8.5 วัน จำเลยที่ 4 มีวันหยุดพักผ่อนประจำปีที่ยังไม่ได้ใช้ 6 วัน จำเลยที่ 5 มีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปี 6 วัน จึงเข้ากรณีที่โจทก์มิได้จัดให้จำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 ซึ่งเป็นลูกจ้างหยุดงานตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 30 จำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 จึงมีสิทธิได้รับค่าทำงานในวันหยุดพักผ่อนประจำปีตามมาตรา 64 ตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน กลุ่มงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานพื้นที่ 2 ที่ 78/2550 ลงวันที่ 29 มิถุนายน 2550 และที่ 126/2550 ลงวันที่ 24 กันยายน 2550 มิใช่กรณีว่าจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 จะมีสิทธิได้รับค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีหรือไม่ตามมาตรา 67 ที่จะต้องพิจารณาประกอบด้วยว่าโจทก์เลิกจ้างโดยจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 มิได้กระทำความผิดตามมาตรา 119 หรือไม่
ตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน กลุ่มงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานพื้นที่ 2 ที่ 78/2550 และที่ 79/2550 ลงวันที่ 29 มิถุนายน 2550 กับคำสั่งที่ 126/2550 ลงวันที่ 24 กันยายน 2550 ไม่ปรากฏว่ามีคำสั่งให้โจทก์ชำระดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดในต้นเงินที่โจทก์มีหน้าที่ต้องชำระ โดยจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 ก็ไม่ได้นำคดีมาสู่ศาลเพื่อฟ้องเพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานในส่วนดอกเบี้ยดังกล่าว คำสั่งพนักงานตรวจแรงงานนั้นจึงเป็นที่สุดแล้วสำหรับจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 การที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้โจทก์ชำระดอกเบี้ยของต้นเงินตามคำสั่งดังกล่าว จึงไม่ชอบ และที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่จำเลยที่ 3 ตามคำสั่งที่ 78/2550 ให้โจทก์คืนเงินที่หักจากค่าจ้างเดือนเมษายน 2550 แก่จำเลยที่ 5 เพียง 767.13 บาท แทนตามคำสั่งที่ 79/2550 โจทก์ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่จำเลยที่ 4 และที่ 5 และค่าโทรศัพท์แก่จำเลยที่ 4 ตามคำสั่งที่ 126/2550 เมื่อศาลแรงงานกลางเห็นว่าคำสั่งของจำเลยที่ 2 ตามคำสั่งที่ 78/2550 เฉพาะส่วนที่ให้โจทก์จ่ายค่าชดเชยและค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่จำเลยที่ 3 ไม่ชอบ และคำสั่งที่ 79/2550 เฉพาะส่วนที่ให้โจทก์คืนเงินจำนวน 2,200 บาท ทั้งหมด ที่หักจากค่าจ้างเดือนเมษายน 2550 แก่จำเลยที่ 5 ไม่ชอบ และคำสั่งที่ 126/2550 เฉพาะส่วนที่ให้โจทก์จ่ายค่าชดเชยและค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่จำเลยที่ 4 และที่ 5 และค่าโทรศัพท์แก่จำเลยที่ 4 ไม่ชอบ ศาลแรงงานกลางชอบที่จะเพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่ 2 เฉพาะส่วนที่ไม่ชอบเท่านั้น ที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวทั้งฉบับมานั้น ไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา ชอบที่ศาลฎีกาจะแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอุทธรณ์ ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5), 246 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
of 17