คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สินสมรส

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 858 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2554/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจจัดการสินสมรส: สามีมีอำนาจจำหน่ายที่ดินที่เป็นสินสมรสได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากภริยา
โจทก์เป็นภริยาผ. จดทะเบียนสมรสกันเมื่อปี2510ผ.จดทะเบียนรับโอนมรดกที่ดินพิพาทเมื่อปี2513ที่ดินพิพาทจึงเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับผ. และเป็นส่วนหนึ่งของสินบริคณห์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1466,1462วรรคสองเดิมที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นเมื่อไม่ปรากฎว่ามีสัญญาก่อนสมรสระหว่างโจทก์กับผ. ตกลงกันเป็นอย่างอื่นผ. จึงเป็นผู้มีอำนาจจัดการที่ดินพิพาทซึ่งรวมถึงการจำหน่ายที่ดินพิพาทด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1468,1473วรรคหนึ่งเดิมแม้ภายหลังจะได้มีการประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ5ที่แก้ไขใหม่ในปี2519พระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ5แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ.2519มาตรา7ก็บัญญัติรับรองอำนาจจัดการสินสมรสของผ. ดังนั้นผ. เพียงผู้เดียวย่อมมีอำนาจจำหน่ายที่ดินพิพาทได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ผู้เป็นภริยา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2275/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์รวม สินสมรส การใช้สิทธิเกินส่วน และขอบเขตอำนาจฟ้อง
แม้จำเลยทั้งสองจะได้ให้การต่อสู้ว่า ร.ได้ทำพินัยกรรมเอาไว้แต่ศาลชั้นต้นมิได้วินิจฉัยว่าพินัยกรรมดังกล่าวเป็นพินัยกรรมของร. จริงหรือไม่ซึ่งโจทก์และจำเลยทั้งสองต่างมิได้อุทธรณ์ในปัญหาข้อนี้มาด้วยการที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าลายมือชื่อผู้ทำพินัยกรรมไม่ใช่ลายมือชื่อของ ร. จึงเป็นการวินิจฉัยนอกเหนือจากที่คู่ความอุทธรณ์อันเป็นการไม่ชอบถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์การที่จำเลยที่1ฎีกาว่า ร.ทำพินัยกรรมยกที่พิพาทให้ตนเพียงคนเดียวจึงเป็นฎีกาที่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ที่พิพาทเป็น สินสมรสระหว่าง ร. กับโจทก์เมื่อ ร. ตายจึงตกเป็นของโจทก์ครึ่งหนึ่งอีกครึ่งหนึ่งตกทอดแก่ทายาทดังนั้นโจทก์และจำเลยที่1จึงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมในที่พิพาทโดยจำเลยที่1มีกรรมสิทธิ์เพียงบางส่วนเมื่อปรากฏว่าที่พิพาทยังมิได้มีการแบ่งแยกกัน ครอบครองเป็นส่วนสัดแล้วโจทก์จึงไม่มี อำนาจฟ้องขับไล่จำเลยที่1ให้ออกจากที่พิพาทได้ส่วนจำเลยที่2ซึ่งปลูกบ้านในที่พิพาทโดยมิได้รับความยินยอมจากโจทก์โจทก์จึงมีสิทธิ ฟ้องขับไล่ได้อย่างไรก็ตามการที่จำเลยที่1ครอบครองทำประโยชน์ในที่พิพาทแต่เพียงผู้เดียวเช่นนี้ถือว่าเป็นการใช้สิทธิเกินส่วนซึ่งทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายเพราะจำเลยที่1มีกรรมสิทธิ์เป็นส่วนน้อยจำเลยที่1จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์และโจทก์มีสิทธิฟ้องขอแบ่งที่พิพาทเป็นคดีใหม่ตามส่วนของตนได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา148(3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1326/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการสินสมรสหลังหย่าและการเสนอคำร้องต่อศาลที่ไม่ถูกต้อง
การที่จะเสนอคดีต่อศาลโดยทำเป็นคำร้องขออันเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 นั้นจะต้องเป็นกรณีที่ไม่มีบุคคลใดโต้แย้งสิทธิแต่มีเหตุที่ผู้เสนอคดีจำต้องใช้สิทธิทางศาล แต่ตามคำร้องของผู้ร้องอ้างว่า น.ซึ่งเป็นฝ่ายที่มีอำนาจจัดการสินสมรสไม่ได้จัดการสินสมรสให้เป็นไปตามบันทึกข้อตกลงการหย่า ผู้ร้องขอยกเลิกบันทึกข้อตกลงการหย่านับแต่วันที่ยื่นคำร้องและมีคำขอให้ศาลตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการสินสมรสแต่ผู้เดียว จึงเป็นกรณีที่มีการโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ระหว่างผู้ร้องกับ น. อันเป็นคดีมีข้อพิพาทซึ่งจะต้องเสนอคดีต่อศาลโดยทำเป็นคำฟ้อง
บทบัญญัติในมาตรา 1475 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เป็นเรื่องที่กฎหมายให้สิทธิคู่สมรสฝ่ายที่ไม่มีชื่อในสินสมรสที่มีเอกสารเป็นสำคัญร้องขอต่อคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งมีชื่อเป็นเจ้าของในเอกสารนั้นเพื่อให้ลงชื่อตนเป็นเจ้าของร่วมด้วย และกำหนดให้อีกฝ่ายหนึ่งต้องปฏิบัติตามคำร้องขอนั้นหาใช่เป็นกรณีที่กฎหมายให้คู่สมรสดังกล่าวร้องขอต่อศาลไม่
มาตรา 1484 เป็นบทบัญญัติในหมวดทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา ดังนั้น สามีหรือภริยาจะมีสิทธิตามที่กำหนดไว้ในมาตรานี้ต่อเมื่อยังคงมีความเป็นสามีภริยากันอยู่ แต่ขณะยื่นคำร้องผู้ร้องได้หย่าขาดกันด้วยความสมัครใจกับ น.ไปก่อนแล้ว ฉะนั้นตั้งแต่วันจดทะเบียนหย่า ผู้ร้องกับ น.จึงไม่มีสิทธิหน้าที่และความสัมพันธ์ฉันสามีภริยากันอีก ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องขอให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องมีอำนาจจัดการสินสมรสแต่ผู้เดียวตามบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1484

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1326/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสนอคำร้องจัดการสินสมรสหลังหย่าขาด เป็นคดีมีข้อพิพาท ต้องฟ้อง ไม่ใช่คำร้อง
การที่จะเสนอคดีต่อศาลโดยทำเป็นคำร้องขออันเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา55นั้นจะต้องเป็นกรณีที่ไม่มีบุคคลใดโต้แย้งสิทธิแต่มีเหตุที่ผู้เสนอคดีจำต้องใช้สิทธิทางศาลแต่ตามคำร้องของผู้ร้องอ้างว่าน.ซึ่งเป็นฝ่ายที่มีอำนาจจัดการสินสมรสไม่ได้จัดการสินสมรสให้เป็นไปตามบันทึกข้อตกลงการหย่าผู้ร้องขอยกเลิกบันทึกข้อตกลงการหย่านับแต่วันที่ยื่นคำร้องและมีคำขอให้ศาลตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการสินสมรสแต่ผู้เดียวจึงเป็นกรณีที่มีการโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ระหว่างผู้ร้องกับน. อันเป็นคดีมีข้อพิพาทซึ่งจะต้องเสนอคดีต่อศาลโดยทำเป็นคำฟ้อง บทบัญญัติในมาตรา1475แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เป็นเรื่องที่กฎหมายให้สิทธิคู่สมรสฝ่ายที่ไม่มีชื่อในสินสมรสที่มีเอกสารเป็นสำคัญร้องขอต่อคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งมีชื่อเป็นเจ้าของในเอกสารนั้นเพื่อให้ลงชื่อตนเป็นเจ้าของร่วมด้วยและกำหนดให้อีกฝ่ายหนึ่งต้องปฏิบัติตามคำร้องขอนั้นหาใช่เป็นกรณีที่กฎหมายให้คู่สมรสดังกล่าวร้องขอต่อศาลไม่ มาตรา1484เป็นบทบัญญัติในหมวดทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาดังนั้นสามีหรือภริยาจะมีสิทธิตามที่กำหนดไว้ในมาตรานี้ต่อเมื่อยังคงมีความเป็นสามีภริยากันอยู่แต่ขณะยื่นคำร้องผู้ร้องได้หย่าขาดกันด้วยความสมัครใจกับน. ไปก่อนแล้วฉะนั้นตั้งแต่วันจดทะเบียนหย่าผู้ร้องกับน. จึงไม่มีสิทธิหน้าที่และความสัมพันธ์ฉันสามีภริยากันอีกผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องขอให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องมีอำนาจจัดการสินสมรสแต่ผู้เดียวตามบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1484

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1298/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คพิพาท สินสมรส การกระทำแทนกัน ผู้เสียหาย การรอการลงโทษ
บ้านพร้อมที่ดินที่จะซื้อขายเป็นทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาที่ ส. ได้มาระหว่างสมรสกับ บ. บ้านพร้อมที่ดินดังกล่าวจึงเป็นสินสมรสการที่จำเลยที่2ทำสัญญาจะซื้อบ้านพร้อมที่ดินนั้นจาก ส.โดย บ. ลงลายมือชื่อเป็นพยานแล้วจำเลยที่2ออกเช็คพิพาทให้แก่ บ. เพื่อชำระหนี้ค่ามัดจำ บ. จึงเป็นผู้ทรงเช็คพิพาทการที่จำเลยที่2ผิดสัญญา ส. จึงมีสิทธิริบเงินมัดจำเช็คพิพาทที่จำเลยที่2ออกให้เพื่อชำระหนี้ค่ามัดจำบ้านพร้อมที่ดินดังกล่าวจึงเป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย แม้ฟ้องโจทก์จะระบุว่า บ. ผู้เสียหายเป็นผู้นำเช็คพิพาทไปเข้าบัญชีผู้เสียหายแต่ทางพิจารณากลับได้ความว่าภริยาจำเลยที่2เป็นผู้นำเช็คพิพาทไปเข้าบัญชีของผู้เสียหายก็เป็นเพียงการฝากเช็คให้นำเข้าบัญชีเพื่อเรียกเก็บเงินถือว่าภริยาจำเลยที่2เป็นตัวแทนของผู้เสียหายข้อเท็จจริงที่ปรากฎในทางพิจารณาแม้จะแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่ปรากฎในฟ้องก็มิใช่ในข้อสาระสำคัญอีกทั้งจำเลยที่2ก็มิได้หลงต่อสู้ศาลจึงลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่ได้ความได้ ไม่ปรากฎว่าจำเลยที่2ได้รับโทษจำคุกมาก่อนและความผิดที่กระทำไม่ร้ายแรงการรอการลงโทษจำคุกให้จำเลยที่2จะเป็นผลดีกว่าโทษกักขังแทนโทษจำคุกแต่เพื่อให้จำเลยที่2หลาบจำจึงให้ลงโทษปรับอีกสถานหนึ่งด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1298/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การออกเช็คเพื่อชำระหนี้ค่ามัดจำซื้อขาย สินสมรส ผู้เสียหายคือผู้รับเช็ค แม้ภริยาจะเป็นผู้ฝากเช็ค
การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายศาลฎีกาจะต้องฟังข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวน บ้านพร้อมที่ดินที่จะซื้อขายเป็นทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาที่ ส. ได้มาในระหว่างสมรสกับ บ. จึงเป็นสินสมรสจำเลยที่2ทำสัญญาจะซื้อบ้านพร้อมที่ดินจาก ส. โดย บ.ลงชื่อเป็นพยานในสัญญาเมื่อจำเลยที่2ออกเช็คพิพาทให้แก่ บ.เพื่อชำระหนี้ค่ามัดจำตามข้อตกลง บ. จึงเป็นผู้ทรงเช็คพิพาทการที่จำเลยที่2เป็นฝ่ายผิดสัญญา ส. มีสิทธิที่จะริบเงินมัดจำตามหนังสือสัญญาจะซื้อขายเช็คพิพาทที่ออกเพื่อชำระหนี้ค่ามัดจำบ้านพร้อมที่ดินจึงเป็นเช็คที่ออกเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย บ. เป็นผู้ทรงเช็คพิพาทในวันที่ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน บ. จึงเป็นผู้เสียหาย ฟ้องโจทก์ระบุว่าผู้เสียหายเป็นผู้นำเช็คพิพาทไปเข้าบัญชีแต่ทางพิจารณาได้ความว่าภริยาจำเลยที่2เป็นผู้นำเช็คพิพาทไปเข้าบัญชีผู้เสียหายก็เป็นเพียงการฝากเช็คให้นำเข้าบัญชีเพื่อเรียกเก็บเงินถือว่าภริยาจำเลยที่2เป็นตัวแทนผู้เสียหายข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในทางพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงดังกล่าวในฟ้องไม่ใช่ในข้อสาระสำคัญและมิได้ทำให้จำเลยที่2หลงต่อสู้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1163/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งสินสมรสหลังการตายของสามี และการโอนมรดกโดยไม่ชอบ
โจทก์ทั้งสองฟ้องว่า ป.และ น.อยู่กินฉันสามีภริยากันตั้งแต่ปี2470 และต่อมาปี 2520 จึงได้จดทะเบียนสมรสกัน จำเลยที่ 2 มิได้ให้การปฏิเสธในข้อนี้ ถือว่ายอมรับข้อเท็จจริงดังกล่าว
ป.และ น.เป็นสามีภริยากันก่อนใช้ ป.พ.พ.บรรพ 5 พุทธศักราช2477 เมื่อ น.ได้ที่ดินโฉนดเลขที่ 9379 มาในปี 2500 ซึ่งอยู่ในระหว่างสมรส แม้ในโฉนดที่ดินจะมีชื่อ น.เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์เพียงผู้เดียวก็ตาม ก็เป็นสินสมรสตามพ.ร.บ.ให้ใช้บทบัญญัติ บรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ. พ.ศ.2477 มาตรา 4 ประกอบพ.ร.บ.ให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ.ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519มาตรา 4 และเมื่อ ป.สามีถึงแก่กรรมก็ต้องแบ่งสินสมรสตามกฎหมายลักษณะผัวเมียและเมื่อ ป.กับ น.ต่างไม่ปรากฏว่ามีสินเดิม ป.สามีจึงได้ส่วนแบ่ง 2 ใน 3 ส่วนน.ภริยาได้ 1 ใน 3 ส่วน
น.โอนที่ดินโดยรวมเอามรดกของ ป.ส่วนที่ตกได้แก่โจทก์ให้แก่จำเลยที่ 2 เป็นการไม่ชอบ การโอนจึงไม่สมบูรณ์เฉพาะส่วนที่เป็นของโจทก์ โจทก์ย่อมฟ้องจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นทายาทผู้รับโอนทรัพย์มรดกไว้โดยไม่ชอบนั้นให้แบ่งส่วนแก่ตนได้โดยไม่จำต้องฟ้องขอให้เพิกถอนการโอน
โจทก์มิได้ฟ้องกล่าวอ้างว่า น.โอนที่ดินให้แก่จำเลยที่ 2ในขณะที่ไม่มีสติสัมปชัญญะแต่อย่างใด คดีจึงไม่มีประเด็นในข้อนี้ การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น โจทก์ฎีกาในประเด็นนี้ก็เป็นฎีกานอกประเด็นหรือเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
แม้จำเลยที่ 2 จะเป็นผู้จัดการมรดกของ ป.และ น.มีหน้าที่ติดตามทรัพย์มรดกของ ป.และ น.มาแบ่งแก่ทายาทแล้วไม่ติดตาม ก็เป็นเรื่องไม่กระทำการตามหน้าที่ในฐานะผู้จัดการมรดก แต่เมื่อไม่ได้ความว่าทรัพย์มรดกที่โจทก์ฟ้องในส่วนนี้อยู่ที่จำเลยที่ 2 หรืออยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ 2 โจทก์ก็จะฟ้องแบ่งทรัพย์มรดกในส่วนนี้จากจำเลยที่ 2 หรือให้ใช้ราคาทรัพย์มรดกตามส่วนที่โจทก์มีสิทธิจะได้รับหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1163/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดก สินสมรส การโอนทรัพย์สินโดยไม่ชอบ และการจัดการมรดกของผู้จัดการมรดก
โจทก์ทั้งสองฟ้องว่า ป. และ น. อยู่กินฉันสามีภริยากันตั้งแต่ปี 2470 และต่อมาปี 2520 จึงได้จดทะเบียนสมรสกัน จำเลยที่ 2 มิได้ให้การปฏิเสธในข้อนี้ ถือว่ายอมรับข้อเท็จจริงดังกล่าว
ป. และ น. เป็นสามีภริยากันก่อนใช้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 พุทธศักราช 2477 เมื่อ น. ได้ที่ดินโฉนดเลขที่ 9379 มาในปี 2500 ซึ่งอยู่ในระหว่างสมรส แม้ในโฉนดที่ดินจะมีชื่อ น. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์เพียงผู้เดียวก็ตาม ก็เป็นสินสมรสตามพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติ บรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2477 มาตรา 4 ประกอบพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 มาตรา 4 และเมื่อ ป. สามีถึงแก่กรรมก็ต้องแบ่งสินสมรสตามกฎหมายลักษณะผัวเมียและเมื่อ ป. กับ น. ต่างไม่ปรากฏว่ามีสินเดิม ป. สามีจึงได้ส่วนแบ่ง2 ใน 3 ส่วน น. ภริยาได้ 1 ใน 3 ส่วน
น. โอนที่ดินโดยรวมเอามรดกของ ป. ส่วนที่ตกได้แก่โจทก์ให้แก่จำเลยที่ 2 เป็นการไม่ชอบ การโอนจึงไม่สมบูรณ์เฉพาะส่วนที่เป็นของโจทก์ โจทก์ย่อมฟ้องจำเลยที่ 2ซึ่งเป็นทายาทผู้รับโอนทรัพย์มรดกไว้โดยไม่ชอบนั้นให้แบ่งส่วนแก่ตนได้โดยไม่จำต้องฟ้องขอให้เพิกถอนการโอน
โจทก์มิได้ฟ้องกล่าวอ้างว่า น. โอนที่ดินให้แก่จำเลยที่ 2 ในขณะที่ไม่มีสติสัมปชัญญะแต่อย่างใด คดีจึงไม่มีประเด็นในข้อนี้ การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น โจทก์ฎีกาในประเด็นนี้ก็เป็นฎีกานอกประเด็นหรือเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
แม้จำเลยที่ 2 จะเป็นผู้จัดการมรดกของ ป. และ น. มีหน้าที่ติดตามทรัพย์มรดกของ ป. และ น. มาแบ่งแก่ทายาทแล้วไม่ติดตาม ก็เป็นเรื่องไม่กระทำการตามหน้าที่ในฐานะผู้จัดการมรดก แต่เมื่อไม่ได้ความว่าทรัพย์มรดกที่โจทก์ฟ้องในส่วนนี้อยู่ที่จำเลยที่ 2 หรืออยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ 2 โจทก์ก็จะฟ้องแบ่งทรัพย์มรดกในส่วนนี้จากจำเลยที่ 2 หรือให้ใช้ราคาทรัพย์มรดกตามส่วนที่โจทก์มีสิทธิจะได้รับหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1163/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งสินสมรสและทรัพย์มรดกหลังการเสียชีวิต โดยมีประเด็นเรื่องการโอนทรัพย์สินก่อนการแบ่งมรดก และการตรวจสอบทรัพย์มรดกที่ยังไม่พบ
โจทก์ฟ้องว่านายป. และนางน. อยู่กินฉันสามีภริยาตั้งแต่ปี2470และต่อมาปี2520จึงจดทะเบียนสมรสจำเลยที่2มิได้ให้การปฏิเสธในข้อนี้ถือว่ายอมรับข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงฟังได้ว่านายป.และนางน.เป็นสามีภริยากันก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ5พุทธศักราช2477เมื่อนางน. ได้ที่ดินมาในปี2500ซึ่งอยู่ระหว่างสมรสจึงเป็นสินสมรสแม้จะมีชื่อนางน. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์เพียงผู้เดียวก็ตามเมื่อนายป. ถึงแก่กรรมต้องแบ่งสินสมรสตามกฎหมายลักษณะผัวเมียโดยนายป. ได้2ส่วนนางน. ได้1ส่วนส่วนของนายป.จึงเป็นมรดกแม้นางน.จะเป็นผู้จัดการมรดกของนายป. ก็ไม่มีอำนาจยกที่ดินส่วนที่ตกแก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับมรดกแทนที่ทายาทของนายป. ให้แก่จำเลยที่2โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่2ซึ่งเป็นทายาทผู้รับโอนทรัพย์มรดกโดยไม่ชอบนั้นให้แบ่งส่วนแก่ตนได้โดยไม่จำต้องฟ้องขอให้เพิกถอนการโอน แม้จำเลยที่2จะเป็นผู้จัดการมรดกของนายป. และนางน.มีหน้าที่ติดตามทรัพย์มรดกมาแบ่งแก่ทายาทแล้วไม่ติดตามก็เป็นเรื่องไม่กระทำตามหน้าที่ในฐานะผู้จัดการมรดกเท่านั้นเมื่อไม่ได้ความว่าทรัพย์มรดกจำพวกพระเครื่องพระบูชาสร้อยข้อมือทองคำสร้อยคอทองคำและแหวนเพชรอยู่ที่จำเลยที่2โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องแบ่งทรัพย์มรดกดังกล่าวจากจำเลยที่2หรือให้ใช้ราคาทรัพย์มรดกตามส่วนที่โจทก์มีสิทธิจะได้รับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 812/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ได้มาโดยการครอบครองและการยกให้ก่อนสมรส ไม่เป็นสินสมรส ทำพินัยกรรมยกได้
ท. ครอบครองที่ดินโฉนดพิพาทของ ฮ. จนได้กรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1382แล้วแต่ยังมิได้มีการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนต่อมา ท. ยกที่ดินดังกล่าวให้แก่ ข. กับ ห. โดย ข. กับ ห. ได้ครอบครองอย่างเป็นเจ้าของต่อมา ข. กับ ห. จึงได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทตั้งแต่ได้รับการยกให้โจทก์จดทะเบียนสมรสกับ ข. หลังจาก ท. ยกที่ดินพิพาทให้แก่ ข. ที่ดินพิพาทจึงมิใช่ทรัพย์ที่ ข. ได้มาระหว่างสมรสกับโจทก์การที่ ข. กับ ห. ยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ต่อศาลและได้ทำสัญญาประนีประนอมกับ ฮ. ก็เป็นการกระทำเพื่อเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนและเพื่อระงับข้อพิพาทระหว่างกันหามีผลเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแต่อย่างใดไม่ ข. จึงมีสิทธิทำพินัยกรรมยกที่ดินพิพาทส่วนของตนให้แก่จำเลยได้
of 86