พบผลลัพธ์ทั้งหมด 207 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1556-1557/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกันหลังสิ้นสุดสัญญาตัวแทน และระยะเวลาความรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน
สัญญาค้ำประกันที่มีข้อความว่า ถ้านาย ธ.พ้นจากหน้าที่ตัวแทนในการขายของบริษัท เนื่องจากบริษัทบอกเลิกสัญญาหรือด้วยเหตุหนึ่งเหตุใดก็ตาม สัญญาค้ำประกันฉบับนี้ยังไม่ยกเลิกจนกว่าจะครบกำหนด 6 เดือนนับตั้งแต่นาย ธ.ได้พ้นจากหน้าที่นั้น หมายความว่า แม้นาย ธ.จะพ้นหน้าที่ตัวแทนไปแล้วก็ตาม หนี้อันเกิดจากสัญญาตัวแทนที่จะต้องชำระก็หาได้หมดสิ้นไปทันทีไม่อาจมีหนี้ที่นาย ธ.ทำขึ้นหลังที่สัญญาตัวแทนระงับลงแล้วอีกบางประการก็ได้ซึ่งผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันต่อไปอีก 6 เดือน หาใช่ว่าพอพ้น 6 เดือนแล้ว ความรับผิดใด ๆ ที่ผู้ค้ำประกันมีอยู่เดิมก็จะยกเลิกไปด้วยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1086/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าช่วง สิทธิค่าเช่า การสละสิทธิเรียกร้อง และผลของการสิ้นสุดสัญญาเช่า
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาบังคับให้จำเลยที่ 1 และบริวารออกจากห้องแถวพิพาทซึ่งโจทก์เช่ามาจากจำเลยที่ 2 ที่ 3 ผู้เป็นเจ้าของ โดยโจทก์มีสิทธิให้เช่าช่วงได้ และได้ให้จำเลยที่ 1 เช่าช่วง ก่อนคดีนี้จำเลยที่ 2 ที่ 3 ได้ฟ้องขับไล่โจทก์จากห้องเลขที่ 21-23 ตามสำนวนคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 192/2504 ของศาลชั้นต้นศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ขับไล่ คดีอยู่ระหว่างฎีกา ดังนี้ การที่จะวินิจฉัยว่าระหว่างที่ศาลฎีกายังไม่ได้พิพากษา โจทก์จะมีสิทธิเรียกค่าเช่าที่ค้างจากจำเลยที่ 1 ได้หรือไม่ ต้องพิจารณาว่าโจทก์จะมีสิทธิเรียกร้องต่อจำเลยเพียงใด การที่ศาลอุทธรณ์พิจารณาถึงสิทธิการเช่าระหว่างโจทก์กับเจ้าของห้องพิพาท โดยฟังข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีแพ่งแดงที่ 192/2504 ของศาลชั้นต้น ก็เพื่อนำมาวินิจฉัยประเด็นที่ว่า ระหว่างที่ศาลฎีกายังไม่ได้พิพากษา โจทก์จะมีสิทธิเรียกค่าเช่าที่ค้างจากจำเลยที่ 1 ได้หรือไม่ จึงไม่เป็นการนอกประเด็น และขาดพยานหลักฐานสนับสนุนในท้องสำนวน
เมื่อผู้ให้เช่าให้ผู้เช่าได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในทรัพย์สินที่เช่าตามสัญญาแม้ผู้เช่าจะไม่ใช่เจ้าของทรัพย์สินนั้น ผู้เช่าก็มีหน้าที่ชำระค่าเช่า
ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า เมื่อสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับ ซ. ครบกำหนดแล้ว ซ.ได้บอกเลิกสัญญาเช่ากับโจทก์ ซึ่งข้อเท็จจริงนี้คู่ความมิได้รับกัน และไม่มีพยานหลักฐานสนับสนุน เป็นแต่จำเลยยกขึ้นอ้างในคำให้การ ซึ่งจำเลยมีภาระการพิสูจน์ แต่เมื่อโจทก์จำเลยสละข้อพิพาทในประเด็นอื่น นอกจากเรื่องค่าเช่าและค่าเสียหาย และไม่ติดใจสืบพยาน คดีไม่มีทางรับฟังตามข้ออ้างของจำเลย ฉะนั้น การที่ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงผิดกฎหมาย ศาลฎีกามีอำนาจฟังข้อเท็จจริงข้อนี้ใหม่ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 247, 253
คู่กรณีทำสัญญาเช่าต่อกัน 2 ฉบับ ฉบับหนึ่งเป็นสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2, 3 โดยโจทก์เช่าห้อง 12 ห้อง รวมทั้งห้องพิพาทจากจำเลยที่ 2, 3 อีกฉบับหนึ่งเป็นสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 เป็นผู้เช่าช่วงห้องพิพาทจากโจทก์สัญญา 2 ฉบับนี้ไม่เกี่ยวพันกัน เพราะเป็นหนี้คนละราย แม้จำเลยที่ 2, 3 บอกเลิกสัญญากับโจทก์เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 02502 อันจะมีผลทำให้สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2, 3 เลิกกันตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ 2503 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 566 ก็ตาม แต่สัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ก็ยังผูกพันกันอยู่ เพราะไม่มีกรณีที่ทำให้สัญญาฉบับนี้เลิกกันไม่ว่าโดยข้อสัญญาหรือโดยกฎหมาย แม้สัญญาสิ้นกำหนด แต่จำเลยที่ 1 ยังครองทรัพย์สินที่เช่าต่อมาโดยโจทก์ไม่ทักท้วง ก็ต้องถือว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 ทำสัญญาใหม่ต่อไปโดยไม่มีกำหนดเวลา ตราบใดที่โจทก์ยังให้จำเลยที่ 1 ใช้หรือได้รับประโยชน์จากทรัพย์สินที่เช่าได้แล้ว จำเลยที่ 1 ก็ต้องชำระค่าเช่าให้โจทก์
เมื่อจำเลยที่ 2, 3 ซึ่งเป็นเจ้าของห้องพิพาทบอกเลิกสัญญาเช่ากับโจทก์แล้ว โจทก์ไม่ยอมออก จำเลยที่ 2, 3 จึงฟ้องขับไล่โจทก์ออกจากห้องเลขที่ 21 - 23 ที่โจทก์ทำเป็นโรงแรม อันเป็นส่วนหนึ่งของห้องที่โจทก์เช่าจากจำเลยทั้งหมด แต่หาได้ฟ้องขับไล่โจทก์หรือห้ามโจทก์มิให้เกี่ยวข้องกับห้องพิพาทด้วยไม่ตามคำพิพากษาฎีกาที่พิพากษาขับไล่โจทก์ออกจากห้องเลขที่ 21-23 ได้ให้โจทก์ใช้ค่าเสียหายเดือนละ 360 บาท นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะออกจากห้อง ค่าเสียหายนี้เท่ากับจำนวนค่าเช่าที่โจทก์เช่าจากจำเลยที่ 2,3 รวมทั้งห้องพิพาท ส่วนจำเลยที่ 1 ได้ใช้ห้องพิพาทมาแต่ต้นโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาเช่ากับโจทก์ และคงใช้ห้องพิพาทตลอดมา โดยมีสัญญาเช่าผูกพันกันอยู่ จึงถือว่าจำเลยที่ 1 ใช้ห้องพิพาทโดยอาศัยตามสัญญาเช่าเดิม จำเลยที่ 1 จึงต้องชำระค่าเช่าให้โจทก์ตามอัตราในสัญญา คือ เดือนละ 37.50 บาท ตลอดเวลาที่ใช้ห้องพิพาทตามสัญญาเช่า
โจทก์ฎีกาขอให้จำเลยที่ 1 ใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ เทียบอัตราค่าเช่าเดือนละ 37.50 บาท นับแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2503 จนกว่าโจทก์จะออกจากห้องเช่า เมื่อพิจารณาประกอบคำขอท้ายฟ้อง ก็เห็นว่าโจทก์หมายถึงค่าเช่าด้วย ฉะนั้น ศาลย่อมพิพากษาให้ชำระค่าเช่าให้โจทก์ได้
แต่ที่โจทก์ขอให้ชำระตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2503 จนกว่าโจทก์จะออกจากห้องเช่านั้น ปรากฏตามคำแถลงของโจทก์ในรายงานกระบวนพิจารณาว่าถ้าคดีแดงที่ 192/2504 ของศาลชั้นต้นถึงที่สุด โดยศาลพิพากษาขับไล่โจทก์ โจทก์สละสิทธิไม่ขอให้ศาลบังคับขับไล่จำเลยที่ 1 แต่ขอให้วินิจฉัยประการเดียวว่าระหว่างนี้โจทก์มีสิทธิจะเรียกค่าเช่าที่ค้างชำระและค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1 หรือไม่ คำแถลงของโจทก์ดังนี้มีความหมายว่า ถ้าศาลพิพากษาถึงที่สุดให้ขับไล่โจทก์ โจทก์ก็เป็นอันสละสิทธิไม่ถือว่าที่จำเลยที่ 1 อยู่ในห้องพิพาทต่อมานับแต่วัน โจทก์ฟ้องนั้นเป็นการอยู่โดยผิดสัญญาต่อไป เพราะสละสิทธิที่ขอให้บังคับตามฟ้องในข้อนี้เสียแล้ว คงสงวนสิทธิแต่จะเรียกค่าเช่าและค่าเสียหายในระหว่างนั้นเท่านั้น ศาลฎีกาจึงเห็นว่าควรบังคับให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าให้โจทก์เพียงแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2503 จนถึงวันฟ้อง
เมื่อผู้ให้เช่าให้ผู้เช่าได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในทรัพย์สินที่เช่าตามสัญญาแม้ผู้เช่าจะไม่ใช่เจ้าของทรัพย์สินนั้น ผู้เช่าก็มีหน้าที่ชำระค่าเช่า
ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า เมื่อสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับ ซ. ครบกำหนดแล้ว ซ.ได้บอกเลิกสัญญาเช่ากับโจทก์ ซึ่งข้อเท็จจริงนี้คู่ความมิได้รับกัน และไม่มีพยานหลักฐานสนับสนุน เป็นแต่จำเลยยกขึ้นอ้างในคำให้การ ซึ่งจำเลยมีภาระการพิสูจน์ แต่เมื่อโจทก์จำเลยสละข้อพิพาทในประเด็นอื่น นอกจากเรื่องค่าเช่าและค่าเสียหาย และไม่ติดใจสืบพยาน คดีไม่มีทางรับฟังตามข้ออ้างของจำเลย ฉะนั้น การที่ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงผิดกฎหมาย ศาลฎีกามีอำนาจฟังข้อเท็จจริงข้อนี้ใหม่ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 247, 253
คู่กรณีทำสัญญาเช่าต่อกัน 2 ฉบับ ฉบับหนึ่งเป็นสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2, 3 โดยโจทก์เช่าห้อง 12 ห้อง รวมทั้งห้องพิพาทจากจำเลยที่ 2, 3 อีกฉบับหนึ่งเป็นสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 เป็นผู้เช่าช่วงห้องพิพาทจากโจทก์สัญญา 2 ฉบับนี้ไม่เกี่ยวพันกัน เพราะเป็นหนี้คนละราย แม้จำเลยที่ 2, 3 บอกเลิกสัญญากับโจทก์เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 02502 อันจะมีผลทำให้สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2, 3 เลิกกันตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ 2503 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 566 ก็ตาม แต่สัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ก็ยังผูกพันกันอยู่ เพราะไม่มีกรณีที่ทำให้สัญญาฉบับนี้เลิกกันไม่ว่าโดยข้อสัญญาหรือโดยกฎหมาย แม้สัญญาสิ้นกำหนด แต่จำเลยที่ 1 ยังครองทรัพย์สินที่เช่าต่อมาโดยโจทก์ไม่ทักท้วง ก็ต้องถือว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 ทำสัญญาใหม่ต่อไปโดยไม่มีกำหนดเวลา ตราบใดที่โจทก์ยังให้จำเลยที่ 1 ใช้หรือได้รับประโยชน์จากทรัพย์สินที่เช่าได้แล้ว จำเลยที่ 1 ก็ต้องชำระค่าเช่าให้โจทก์
เมื่อจำเลยที่ 2, 3 ซึ่งเป็นเจ้าของห้องพิพาทบอกเลิกสัญญาเช่ากับโจทก์แล้ว โจทก์ไม่ยอมออก จำเลยที่ 2, 3 จึงฟ้องขับไล่โจทก์ออกจากห้องเลขที่ 21 - 23 ที่โจทก์ทำเป็นโรงแรม อันเป็นส่วนหนึ่งของห้องที่โจทก์เช่าจากจำเลยทั้งหมด แต่หาได้ฟ้องขับไล่โจทก์หรือห้ามโจทก์มิให้เกี่ยวข้องกับห้องพิพาทด้วยไม่ตามคำพิพากษาฎีกาที่พิพากษาขับไล่โจทก์ออกจากห้องเลขที่ 21-23 ได้ให้โจทก์ใช้ค่าเสียหายเดือนละ 360 บาท นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะออกจากห้อง ค่าเสียหายนี้เท่ากับจำนวนค่าเช่าที่โจทก์เช่าจากจำเลยที่ 2,3 รวมทั้งห้องพิพาท ส่วนจำเลยที่ 1 ได้ใช้ห้องพิพาทมาแต่ต้นโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาเช่ากับโจทก์ และคงใช้ห้องพิพาทตลอดมา โดยมีสัญญาเช่าผูกพันกันอยู่ จึงถือว่าจำเลยที่ 1 ใช้ห้องพิพาทโดยอาศัยตามสัญญาเช่าเดิม จำเลยที่ 1 จึงต้องชำระค่าเช่าให้โจทก์ตามอัตราในสัญญา คือ เดือนละ 37.50 บาท ตลอดเวลาที่ใช้ห้องพิพาทตามสัญญาเช่า
โจทก์ฎีกาขอให้จำเลยที่ 1 ใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ เทียบอัตราค่าเช่าเดือนละ 37.50 บาท นับแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2503 จนกว่าโจทก์จะออกจากห้องเช่า เมื่อพิจารณาประกอบคำขอท้ายฟ้อง ก็เห็นว่าโจทก์หมายถึงค่าเช่าด้วย ฉะนั้น ศาลย่อมพิพากษาให้ชำระค่าเช่าให้โจทก์ได้
แต่ที่โจทก์ขอให้ชำระตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2503 จนกว่าโจทก์จะออกจากห้องเช่านั้น ปรากฏตามคำแถลงของโจทก์ในรายงานกระบวนพิจารณาว่าถ้าคดีแดงที่ 192/2504 ของศาลชั้นต้นถึงที่สุด โดยศาลพิพากษาขับไล่โจทก์ โจทก์สละสิทธิไม่ขอให้ศาลบังคับขับไล่จำเลยที่ 1 แต่ขอให้วินิจฉัยประการเดียวว่าระหว่างนี้โจทก์มีสิทธิจะเรียกค่าเช่าที่ค้างชำระและค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1 หรือไม่ คำแถลงของโจทก์ดังนี้มีความหมายว่า ถ้าศาลพิพากษาถึงที่สุดให้ขับไล่โจทก์ โจทก์ก็เป็นอันสละสิทธิไม่ถือว่าที่จำเลยที่ 1 อยู่ในห้องพิพาทต่อมานับแต่วัน โจทก์ฟ้องนั้นเป็นการอยู่โดยผิดสัญญาต่อไป เพราะสละสิทธิที่ขอให้บังคับตามฟ้องในข้อนี้เสียแล้ว คงสงวนสิทธิแต่จะเรียกค่าเช่าและค่าเสียหายในระหว่างนั้นเท่านั้น ศาลฎีกาจึงเห็นว่าควรบังคับให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าให้โจทก์เพียงแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2503 จนถึงวันฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1433/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดสิทธิเช่าและการละเมิดสิทธิในที่ดินเมื่อสัญญาเช่าหมดอายุ
แม้โจทก์จะตั้งประเด็นในคำฟ้องว่าจำเลยปลูกเรือนในที่ดินของโจทก์โดยไม่มีนิติสัมพันธ์อย่างใดกับโจทก์หรือเจ้าของเดิม เป็นการละเมิด และจำเลยต่อสู้ว่าจำเลยอยู่โดยอาศัยสิทธิแห่งการเช่าก็ดี กรณีก็ยังมีปัญหาว่าจำเลยจะอยู่โดยอาศัยสิทธิแห่งการเช่านั้นต่อไปได้หรือไม่ เพราะถ้าการเช่าหมดอายุสัญญาเช่า จำเลยก็ไม่มีสิทธิจะอยู่โดยอาศัยสิทธิแห่งการเช่านั้นต่อไป การที่ยังขัดขืนอยู่ย่อมเป็นการละเมิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 73/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อเสนอขายไม้ที่มีเงื่อนไขกำหนดเวลาชำระเงิน เมื่อพ้นกำหนด สัญญาซื้อขายสิ้นสุด
โจทก์เสนอขอซื้อไม้จากจำเลยจำเลยสนองตอบว่าจะขายให้ แต่ให้ติดต่อชำระเงินและรับมอบไม้ภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันได้รับหนังสือ มิฉะนั้น ถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะซื้อไม้รายนี้ดังนี้ ถ้าโจทก์ได้ชำระเงินค่าไม้บางส่วน เมื่อพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวข้อผูกพันตามคำสนองของจำเลยที่บอกขายไม้ให้โจทก์ย่อมสิ้นสุดไปแล้วจำเลยไม่มีหน้าที่ต้องขายไม้นั้นให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 635/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความสัญญาจะขายที่ดิน: ผลของการไม่ชำระเงินค้างชำระและเงื่อนไขการสิ้นสุดสัญญา
เอกสารมีข้อความว่า จำเลยสัญญาจะขายที่ดินให้แก่โจทก์ภายใน 1 ปีในราคา 124,000 บาท โดยโจทก์ต้องผ่อนส่งเป็นงวดการผ่อนต้องชำระทุกวันที่ 16 ของเดือนในตอนท้ายมีข้อความว่า 'ถ้าหากพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันทำสัญญานี้ไปแล้ว นางยี่สุ่น สนิทวงศ์ (โจทก์) ไม่สามารถจะนำเงินที่ค้างมาซื้อตามที่ตกลงกันในสัญญานี้ถือว่าสัญญานี้สิ้นสุด'ดังนี้ เห็นว่าผลของการไม่ชำระเงินมีอย่างไร ไม่มีข้อความเขียนไว้แสดงให้เห็นว่า คำมั่นของจำเลยจะสิ้นสุดก็เมื่อพ้นกำหนด 1 ปีโดยโจทก์ไม่สามารถชำระเงินตามจำนวนที่จะซื้อที่ดินคืนได้คำว่า นำเงินที่ค้างชำระตามงวดมาซื้อย่อมเข้าใจได้ว่าหมายความถึงเงินที่กำหนดไว้เป็นงวดๆ และยังไม่ได้ชำระตามงวดเหตุนี้ แม้จะค้างชำระเงินตามงวดอยู่สัญญาก็สิ้นสุดลงต่อเมื่อไม่ชำระเงินที่ค้างจนครบ 1 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 542/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่ามีกำหนดเวลา สิ้นสุดเมื่อครบกำหนด ไม่ต้องบอกเลิก
ทำสัญญาเช่าที่ดินมีกำหนด 10 ปี ถือว่าเป็นสัญญาที่มีกำหนดเวลาสิ้นสุดแน่นอน และเมื่อครบกำหนดเวลาสิ้นสุดตามสัญญาเช่า เช่นนี้ สัญญาเช่านั้นย่อมระงับสิ้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 564 โดยมิพักต้องบอกกล่าวก่อน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 311/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของผู้เช่าช่วงที่อาศัยสิทธิจากผู้เช่าเดิมเมื่อสัญญาเช่าที่ดินสิ้นสุด ผู้เช่าช่วงไม่อาจอ้างสิทธิคุ้มครองตามกฎหมายได้
จำเลยเช่าที่ดินของโจทก์ปลูกอาคาร เมื่อครบกำหนดต้องรื้อไป ผู้เช่าอาคาร(ห้องแถว)ของจำเลยไม่ได้เช่าที่ดินของโจทก์ จึงเป็นการอาศัยสิทธิของจำเลยเท่านั้น และตกอยู่ในฐานะบริวารของจำเลย จะอ้างความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่า ฯ และพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน ฯ ยันโจทก์ไม่ได้
กรณีสัญญาเช่าที่ดินครบกำหนดกับกรณีที่เลิกสัญญาเช่าก่อนครบกำหนด เป้นเ รื่องทำนองเดียวกัน คือ ผู้ให้เช่ามีสิทธิเรียกร้องเอาที่ดินที่ให้เช่าคืน (อ้างฎีกาที่ 337/2500)
กรณีสัญญาเช่าที่ดินครบกำหนดกับกรณีที่เลิกสัญญาเช่าก่อนครบกำหนด เป้นเ รื่องทำนองเดียวกัน คือ ผู้ให้เช่ามีสิทธิเรียกร้องเอาที่ดินที่ให้เช่าคืน (อ้างฎีกาที่ 337/2500)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 302/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดสัญญาเช่า, การไม่ได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ควบคุมการเช่าเคหะฯ จากการเปลี่ยนวัตถุประสงค์การเช่า, และสิทธิของเจ้าของกรรมสิทธิ์
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยใช้ห้องพิพาทเพื่อประกอบการค้าและให้เช่าช่วงกับผิดนัดชำระค่าเช่าสองคราวติดกัน เพื่อแสดงว่าจำเลยไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน พ.ศ.2504 ถือว่าฟ้องโจทก์สมบูรณ์ตามกฎหมายแล้ว
จำเลยให้การว่าได้เช่าตึกแถวรายพิพาทเพื่ออยู่อาศัย ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายถือได้ว่าจำเลยได้อ้างสิทธิตามกฎหมายพิเศษคือ พระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน พ.ศ.2504 แล้ว
ผู้มีชื่อเช่าที่ดินโจทก์เพื่อสร้างตึกแถวให้คนเช่ามีกำหนดเวลาแล้วยกกรรมสิทธิ์ให้โจทก์เมื่อครบกำหนดสัญญาเช่า กรรมสิทธิ์ในตึกแถวตกเป็นของโจทก์ตามสัญญาโดยสมบูรณ์ ไม่ต้องทำพิธีจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่อีกและเมื่อโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์โจทก์ก็มีอำนาจฟ้อง
จำเลยเช่าตึกแถวรายพิพาทเป็นที่ผลิตสินค้าสำหรับจำหน่ายภายหลังต่อมาได้ใช้เป็นที่อยู่อาศัยแต่อย่างเดียวเป็นการเปลี่ยนวัตถุประสงค์ในการเช่าโดยผู้ให้เช่ามิได้ยินยอมด้วยตึกแถวรายพิพาทจึงไม่เป็นเคหะควบคุม ไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายและเมื่อโจทก์บอกเลิกการเช่ากับจำเลยโดยชอบแล้ว สัญญาเช่าก็เป็นอันระงับ
จำเลยให้การว่าได้เช่าตึกแถวรายพิพาทเพื่ออยู่อาศัย ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายถือได้ว่าจำเลยได้อ้างสิทธิตามกฎหมายพิเศษคือ พระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน พ.ศ.2504 แล้ว
ผู้มีชื่อเช่าที่ดินโจทก์เพื่อสร้างตึกแถวให้คนเช่ามีกำหนดเวลาแล้วยกกรรมสิทธิ์ให้โจทก์เมื่อครบกำหนดสัญญาเช่า กรรมสิทธิ์ในตึกแถวตกเป็นของโจทก์ตามสัญญาโดยสมบูรณ์ ไม่ต้องทำพิธีจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่อีกและเมื่อโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์โจทก์ก็มีอำนาจฟ้อง
จำเลยเช่าตึกแถวรายพิพาทเป็นที่ผลิตสินค้าสำหรับจำหน่ายภายหลังต่อมาได้ใช้เป็นที่อยู่อาศัยแต่อย่างเดียวเป็นการเปลี่ยนวัตถุประสงค์ในการเช่าโดยผู้ให้เช่ามิได้ยินยอมด้วยตึกแถวรายพิพาทจึงไม่เป็นเคหะควบคุม ไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายและเมื่อโจทก์บอกเลิกการเช่ากับจำเลยโดยชอบแล้ว สัญญาเช่าก็เป็นอันระงับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 419/2507
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยินยอมให้เช่าเคหะสิ้นสุดลง และสิทธิของผู้ให้เช่าในการฟ้องขับไล่ผู้เช่า
การที่ผู้เช่าทำสัญญาเช่าเคหะไว้โดยมีกำหนดระยะเวลาหนึ่งเมื่อครบกำหนดแล้วผู้ให้เช่ากับผู้เช่าได้มีการต่ออายุสัญญาออกไปอีกโดยตกลงกันว่า เมื่อครบกำหนดระยะเวลาที่ต่อออกไปนี้แล้ว ผู้เช่ายินยอมจะออกไปจากที่เช่านั้น ถือได้ว่าได้รับความยินยอมจากผู้เช่าตามความหมายของมาตรา 17(5) แห่งพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน พ.ศ.2504 แล้ว ผู้ให้เช่าจึงฟ้องขับไล่ผู้เช่าได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 238/2507
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์การเช่า และการสิ้นสุดสัญญาเช่า รวมถึงผลกระทบทางละเมิด
จำเลยใช้สถานที่เช่าเพื่อประกอบการค้า ต่อมาจำเลยเปลี่ยนเจตนาใช้สถานที่เช่าเป็นที่อยู่อาศัย โดยโจทก์มิได้ยินยอมตกลงด้วยเช่นนี้ย่อมไม่ผูกพันโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 552จำเลยจึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าฯ
สัญญาเช่าครบกำหนดตามเวลาที่ตกลงกันไว้ ผู้เช่าได้ไปติดต่อขอเช่าต่อกับผู้ให้เช่า ผู้ให้เช่าไม่ยินยอมให้เช่าแม้ผู้เช่าจะครอบครองสถานที่เช่าอยู่ต่อมา ก็ถือว่าสัญญาเช่าระงับแล้วตามมาตรา 564
การที่ผู้เช่าอยู่ในสถานที่เช่าต่อมา โดยตนไม่มีสิทธิโดยชอบด้วยกฎหมายที่จะอยู่แล้ว ถือเป็นละเมิดต่อผู้ให้เช่า เมื่อผู้ให้เช่าเอาลวดหนามมาปิดกั้นทางขึ้นลงทางด้านแม่น้ำเพื่อไม่ให้ผู้เช่าใช้สถานที่เช่าทางด้านนั้นผู้เช่าจะเรียกค่าเสียหายเพราะเหตุที่ไม่ได้ใช้สถานที่เช่าจากผู้ให้เช่าไม่ได้เพราะความเสียหายนี้เกิดจากผลที่ผู้เช่าละเมิด
สัญญาเช่าครบกำหนดตามเวลาที่ตกลงกันไว้ ผู้เช่าได้ไปติดต่อขอเช่าต่อกับผู้ให้เช่า ผู้ให้เช่าไม่ยินยอมให้เช่าแม้ผู้เช่าจะครอบครองสถานที่เช่าอยู่ต่อมา ก็ถือว่าสัญญาเช่าระงับแล้วตามมาตรา 564
การที่ผู้เช่าอยู่ในสถานที่เช่าต่อมา โดยตนไม่มีสิทธิโดยชอบด้วยกฎหมายที่จะอยู่แล้ว ถือเป็นละเมิดต่อผู้ให้เช่า เมื่อผู้ให้เช่าเอาลวดหนามมาปิดกั้นทางขึ้นลงทางด้านแม่น้ำเพื่อไม่ให้ผู้เช่าใช้สถานที่เช่าทางด้านนั้นผู้เช่าจะเรียกค่าเสียหายเพราะเหตุที่ไม่ได้ใช้สถานที่เช่าจากผู้ให้เช่าไม่ได้เพราะความเสียหายนี้เกิดจากผลที่ผู้เช่าละเมิด