พบผลลัพธ์ทั้งหมด 473 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1083/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องล้มละลาย: อำนาจฟ้อง, การยอมรับเอกสาร, และสถานะหนี้สินล้นพ้นตัว
ถ. ฟ้องคดีอ้างว่าได้รับมอบอำนาจจากโจทก์ให้ฟ้องจำเลยจำเลยได้รับสำเนาหนังสือมอบอำนาจพร้อมกับฟ้องแล้ว ไม่ได้โต้แย้งคัดค้านการนำเอกสารมาสืบก่อนวันสืบพยานว่าไม่มีต้นฉบับหรือว่าต้นฉบับนั้นปลอมทั้งฉบับหรือบางส่วน สำเนานั้นไม่ถูกต้องกับต้นฉบับ และไม่ได้ขออนุญาตคัดค้านในภายหลัง ถือได้ว่าจำเลยยอมรับถึงการมีอยู่ของต้นฉบับและความถูกต้องแท้จริงของต้นฉบับเอกสารนั้น รวมทั้งยอมรับว่าสำเนานั้นตรงกับต้นฉบับ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 125 ชั้นพิจารณาศาลย่อมมีอำนาจรับฟังสำเนาหนังสือมอบอำนาจแทนต้นฉบับได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93(1) จำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาเป็นเวลาเกือบ 4 ปี ไม่เคยชำระหนี้ให้โจทก์ แสดงว่าจำเลยไม่สามารถชำระหนี้ได้ นอกจากนี้โจทก์ยังได้ดำเนินการบังคับคดียึดทรัพย์สินของจำเลยออกขายทอดตลาดได้เงินชำระหนี้บางส่วน ยังค้างชำระหนี้ถึงวันฟ้องเป็นเงิน8,538,400.98 บาท ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยเป็นบุคคลมีหนี้สินล้นพ้นตัว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 533/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินเนื่องจากการฉ้อฉลต้องเกิดขณะที่มีหนี้สินอยู่ก่อน มิเช่นนั้นขาดสิทธิเรียกร้อง
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่จำเลยที่ 3 โอนให้แก่ผู้คัดค้านซึ่งเป็นบุตรชายโดยไม่มีค่าตอบแทนและเป็นการฉ้อฉลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 แต่ตามคำร้องมิได้บรรยายว่าลูกหนี้ได้กระทำลงทั้งรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้เจ้าหนี้รายใดเสียเปรียบ จึงต้องถือว่าผู้ร้องขอให้เพิกถอนการโอนซึ่งจะทำให้โจทก์เสียเปรียบรายเดียวเท่านั้น และการร้องขอตามบทกฎหมายดังกล่าวจะต้องได้ความว่าลูกหนี้ต้องเป็นหนี้เจ้าหนี้อยู่ก่อน หรือขณะที่ลูกหนี้ทำนิติกรรมอันจะเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ แต่เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 3 เพิ่งเป็นหนี้โจทก์หลังจากได้จดทะเบียนโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่ผู้คัดค้านไปแล้วถึง 3 ปี ขณะที่จำเลยที่ 3 โอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนั้น โจทก์จึงไม่อยู่ในฐานะเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 3 ผู้ร้องไม่มีสิทธิจะร้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 42/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการร้องสอดเพื่อคุ้มครองเจ้าหนี้จากการหลอกลวงและปกป้องทรัพย์สินจากหนี้สินที่ถูกสร้างขึ้น
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันชำระหนี้เงินที่กู้ยืมไปแก่โจทก์ สหกรณ์ผู้ร้องร้องสอดว่า ในขณะที่จำเลยที่ 1ดำรงตำแหน่งผู้จัดการสหกรณ์ของผู้ร้องได้ทุจริตเบียดบังเอาเงินของผู้ร้องไป ผู้ร้องได้ยื่นฟ้องจำเลยที่ 1 เพื่อเรียกเงินคืนคดีอยู่ระหว่างพิจารณา จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นสามีภริยากันได้สมคบกับโจทก์แสดงเจตนาลวงทำสัญญากู้ยืมเงินแกล้งเป็นหนี้เงินกู้โจทก์ตามฟ้อง เพื่อมิให้ผู้ร้องบังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ได้ ขอให้พิพากษาว่าสัญญากู้ยืมเงินตามฟ้องเป็นโมฆะ เป็นเรื่องที่ผู้ร้องมีความจำเป็นเพื่อยังให้ได้รับความรับรอง คุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่เพื่อให้ได้รับชำระหนี้ไม่ให้จำเลยทั้งสองโอนทรัพย์ไปเสียอันจะทำให้ผู้ร้องได้รับความเสียหาย จึงร้องสอดได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4021/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเร่งรัดหนี้สินและการขู่ว่าจะใช้สิทธิตามกฎหมาย ไม่เป็นความผิดฐานกรรโชก
ห้างฯ ศ. ฟ้องโจทก์เป็นคดีอาญาข้อหาความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คจนศาลออกหมายจับโจทก์ หลังจากนั้นจำเลยทั้งสองกับพวกไปพบโจทก์แจ้งว่ามีหมายจับโจทก์ หากโจทก์ไม่ชำระหนี้ ก็จะจับโจทก์ตามหมายจับ เมื่อโจทก์นำทรัพย์สินมามอบให้จำเลยหรือนำเงินมาชำระ จำเลยก็ทำหลักฐานให้โจทก์ไว้ทุกครั้งพฤติการณ์เป็นเรื่องจำเลยทั้งสองไปติดตามเร่งรัดหนี้สินจากโจทก์ตามที่บริษัทของจำเลยได้รับมอบหมาย การที่จำเลยทั้งสองกับพวกพูดขู่โจทก์ว่า หากไม่ชำระหนี้หรือไม่ไปตกลงเรื่องหนี้สินจะจับโจทก์ตามหมายจับ เป็นการขู่ว่าจะใช้สิทธิตามกฎหมาย การกระทำของจำเลยทั้งสองไม่เป็นความผิดฐานกรรโชก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3531/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฐานะทางการเงินของบริษัทกลุ่มสุราทิพย์เพียงพอชำระหนี้ แม้มีหนี้สินจำนวนมาก ศาลไม่เห็นควรให้ล้มละลาย
จำเลยที่ 1 เป็นบริษัทในเครือของกลุ่มบริษัทสุรา ท. จำเลยที่ 2 มีโรงงานซึ่งเป็นโรงงานหนึ่งใน 12 โรงงานของกลุ่มบริษัท ท.แม้จะฟังได้ว่าจำเลยทั้งสองมีหนี้ที่จะต้องชำระแก่โจทก์จำนวน25 ล้านบาทเศษ แต่เมื่อเทียบกับทรัพย์สินที่จำเลยที่ 2 และบริษัทในเครือของกลุ่มบริษัทสุรา ท. มีและดำเนินกิจการอยู่ โดยกลุ่มบริษัทสุรา ท. มีสิทธิทำและขายส่งสุราได้ใน 12 เขตได้วางเงินมัดจำประกันการรับผิดต่อกรมสรรพากรเป็นเงินถึง5,088 ล้านบาท เฉพาะโรงงานจำเลยที่ 2 ต้องวางมัดจำ 461 ล้านบาทเศษนับว่าจำเลยที่ 2 อยู่ในฐานะที่จะชำระหนี้แก่โจทก์ได้ ข้อเท็จจริงยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 มีหนี้สินล้นพ้นตัวและมีเหตุที่ไม่ควรให้จำเลยที่ 1 ล้มละลาย ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 14.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2994/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายทอดตลาดหุ้น: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ต้องเปิดเผยรายละเอียดสินทรัพย์/หนี้สิน หากข้อมูลเปิดเผยต่อสาธารณะ
จำเลยกล่าวอ้างว่าการประกาศขายทอดตลาดหุ้นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มิได้แจ้งให้ผู้พบเห็นทราบว่าบริษัทผู้ออกหุ้นมีหุ้นอยู่ทั้งหมดเท่าใด มีสินทรัพย์และหนี้สินเท่าใด ผู้ที่ประมูลซื้อคงมีเฉพาะผู้ที่ทราบสินทรัพย์และหนี้สินของบริษัทเท่านั้นการขายทอดตลาดย่อมต้องมีการสมยอมกัน เป็นการไม่ชอบ จึงเป็นหน้าที่ของจำเลยจะต้องนำสืบให้เห็นดังที่กล่าวอ้าง ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับจำนวนหุ้นและมูลค่าหุ้นแต่ละหุ้นของบริษัทจำกัดย่อมปรากฏในสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นและหนังสือบริคณห์สนธิที่ได้จดทะเบียนไว้ต่อนายทะเบียน และข้อเท็จจริงเกี่ยวกับฐานะ ทางการเงินของบริษัทจำกัดคือสินทรัพย์และหนี้สิน ย่อมปรากฏอยู่ในบัญชีงบดุลซึ่งได้ส่งไว้ต่อนายทะเบียนเมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี เอกสารเหล่านี้บุคคลทั่วไปตลอดจนผู้จะเข้าสู้ราคาในการขายทอดตลาดหุ้นสามารถตรวจสอบก่อนที่จะมีการขายทอดตลาดได้อยู่แล้ว แม้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ได้แจ้งข้อเท็จจริงดังกล่าวในประกาศขายทอดตลาด ก็ไม่เป็นเหตุให้การขายทอดตลาดไม่ชอบด้วยกฎหมาย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2644/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การออกเช็คเพื่อแลกเงินสด ไม่ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค หากไม่มีหนี้สินจริง
คำเบิกความของโจทก์ในชั้นไต่สวนมูลฟ้องที่ว่าจำเลยออกเช็คพิพาทเพื่อแลกเงินสดเป็นพยานเอกสารที่ใช้อ้างเป็นพยานหลักฐานในชั้นพิจารณาได้ เมื่อจำเลยออกเช็คพิพาทเพื่อแลกเงินสดไปจากโจทก์ จึงมิใช่เป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงไม่เป็นความผิด ตามพ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4ซึ่งเป็นกฎหมายที่บัญญัติภายหลังจากจำเลยออกเช็คพิพาท จำเลยจึงพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 2 วรรคสอง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2609/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้สินล้นพ้นตัว: จำเลยมีหนี้หลายรายและไม่มีทรัพย์สินเพียงพอชำระหนี้
จำเลยเป็นหนี้ค่าสินค้าที่ซื้อจากโจทก์เป็นเงิน 266,304 บาทและเป็นหนี้เจ้าหนี้รายอื่นอีก 3 ราย เป็นเงิน 92,250 บาทเศษ จำเลยได้รับหนังสือทวงถามจากโจทก์ให้ชำระหนี้แล้วไม่น้อยกว่าสองครั้ง ซึ่งมีระยะเวลาห่างกันไม่น้อยกว่าสามสิบวัน แต่จำเลยไม่ชำระหนี้และจำเลยไม่ได้นำสืบให้เห็นว่าจำเลยมีทรัพย์สินเพียงพอที่จะชำระหนี้ให้แก่โจทก์และเจ้าหนี้รายอื่นของจำเลยได้ แม้จำเลยจะมีรายได้เดือนละ 10,000 บาท ก็ไม่พอฟังว่าสามารถชำระหนี้ได้ทั้งหมด จำเลยจึงเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2254/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การออกเช็คโดยไม่มีหนี้สิน การกระทำจึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เช็ค
การออกเช็คที่จะมีมูลความผิดตามพ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 นั้นจะต้องปรากฏในเบื้องแรกว่ามีหนี้ที่จะต้องชำระกันก่อน แล้วจำเลยออกเช็คเพื่อชำระหนี้นั้น ซึ่งเป็นหนี้ที่บังคับได้ตามกฎหมาย แต่คดีนี้ปรากฏข้อเท็จจริงว่า ผู้มีชื่อได้นำเช็คที่จำเลยลงลายมือชื่อเป็นผู้สั่งจ่ายมาแลกเงินสดจากโจทก์ ก่อนออกเช็คจำเลยและโจทก์หามีหนี้ต่อกันไม่ การออกเช็คของจำเลยจึงมิใช่การออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงให้โจทก์ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามบทกฎหมายดังกล่าว ซึ่งเป็นกฎหมายที่บังคับใช้ภายหลังที่ออกเช็คจำเลยย่อมพ้นจากการเป็นผู้กระทำผิด ตาม ป.อ.มาตรา 2 วรรคสอง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2019/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หุ้นส่วนจำกัดความรับผิดเข้าทำสัญญาแทนห้างหุ้นส่วนจำกัด และการรับผิดในหนี้สินตามมาตรา 1088
ห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 ยินยอมให้จำเลยที่ 3หุ้นส่วนจำกัดความรับผิดเข้าทำสัญญาว่าจ้างโจทก์แทนจำเลยที่ 1โดยจำเลยที่ 3 เป็นผู้ตัดสินใจต่อรองราคาได้เอง รวมทั้งเพิ่มงานบางส่วนเองโดยจำเลยที่ 3 ไม่มีหน้าที่ ถือได้ว่าจำเลยที่ 3สอดเข้าเกี่ยวข้องกับการจัดการงานของจำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยที่ 3ต้องรับผิดในบรรดาหนี้สินของจำเลยที่ 1 โดยไม่จำกัดจำนวนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1088.