คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
หลอกลวง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 493 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1354/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกงจากการหลอกลวงให้ช่วยเหลือฝากงาน – ผู้เสียหายไม่ได้จูงใจเจ้าพนักงาน
ผู้เสียหายมอบเงินให้จำเลยกับพวกโดย มีเจตนาเพียงให้จำเลยกับพวกช่วย ฝากบุตรและบุตรสะใภ้ของตน เข้าทำงานที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคตาม ที่จำเลยกับพวกได้ รับรองไว้เท่านั้นไม่ปรากฏว่าผู้เสียหายประสงค์ให้บุตรและบุตรสะใภ้เข้าทำงานโดย ไม่ต้องสอบและให้กรรมการช่วย ให้สอบได้ แต่ อย่างใด การกระทำของผู้เสียหายไม่เข้าลักษณะเป็นการจูงใจให้เจ้าพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐกระทำการอันมิชอบด้วย หน้าที่ ถือ ไม่ได้ว่าผู้เสียหายเป็นผู้ใช้ ให้จำเลยกับพวกกระทำผิด เมื่อผู้เสียหายมอบเงินให้เพราะหลงเชื่อคำหลอกลวงของจำเลยกับพวก อันเป็นความเท็จความจริงจำเลยกับพวกไม่สามารถช่วยเหลือฝากบุตรและบุตรสะใภ้ของผู้เสียหายเข้าทำงานตาม ที่รับรองได้ การกระทำของจำเลยกับพวกเป็นการฉ้อโกงผู้เสียหาย ผู้เสียหายจึงมีอำนาจร้องทุกข์ให้ดำเนิน คดีกับจำเลยได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1171/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลอมเอกสารสิทธิเพื่อหลอกลวง และแจ้งความเท็จ ทำให้ผู้อื่นถูกกล่าวหาคดีอาญา
โจทก์ลงลายมือชื่อในกระดาษเปล่าให้ภรรยาจำเลยที่ 1 ไว้จำเลยทั้งสามร่วมกันกรอกข้อความว่า โจทก์รับฝากเงินจากจำเลยที่ 1เพื่อนำไปซื้อ เครื่องรับโทรทัศน์สีและเครื่องวีดีโอ ให้จำเลยที่ 1 โดย ไม่ ได้รับความยินยอมจากโจทก์การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงเป็นการปลอมแปลงเอกสารสิทธิ และจำเลยที่ 1 นำเอกสารดังกล่าวไปแจ้งความต่อ พนักงานสอบสวนว่าโจทก์ยักยอกทรัพย์จำเลยที่ 1 จึงมีความผิดฐาน ใช้ เอกสารสิทธิปลอมด้วย จำเลยที่ 2 อายุ 17 ปี เป็นนักเรียนอายุยังน้อย ส่วนจำเลยที่เป็นหญิงไม่เคยกระทำความผิดมาก่อน สมควรให้โอกาสจำเลยที่ 2ที่ 3 ประพฤติตน เป็นพลเมืองดี ต่อไป โดย ให้รอการลงโทษ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 787/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกง-อายุความ-การหลอกลวงหางาน-ไม่ถึงขั้นฉ้อโกงประชาชน
จำเลยทั้งสองหลอกลวงว่ามีงานทำที่องค์การโทรศัพท์ประเทศมาเลเซีย ทำให้โจทก์ทั้งเจ็ดหลงเชื่อยอมจ่ายเงินให้แก่จำเลยทั้งสอง แต่พฤติการณ์การหลอกลวงของจำเลยไม่ได้มีลักษณะเป็นการประกาศโฆษณาแก่บุคคลทั่ว ๆ ไป เพียงแต่ตัวแทนของจำเลยได้ติดต่อกับโจทก์และพวกอ้างว่ามีงานที่หน่วยงานดังกล่าวว่างอยู่ 10 ตำแหน่งเท่านั้น การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343 คงเป็นความผิดฐานฉ้อโกงตามมาตรา 341 ซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ เมื่อโจทก์ทั้งเจ็ดไม่ร้องทุกข์หรือฟ้องคดีภายใน 3 เดือน นับแต่วันรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดดังกล่าว คดีโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96 สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองในความผิดตามมาตรา 341 ดังกล่าวซึ่งเป็นเหตุในส่วนลักษณะคดี แม้จำเลยที่ 2 ไม่ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 2 ให้รับผลตามคำพิพากษาด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4434/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความที่เกิดจากการถูกฉ้อฉล ศาลเพิกถอนได้
การที่จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความที่ศาลเพราะถูกโจทก์หลอกว่าเป็นการทำเรื่องถอนฟ้อง โดยโจทก์จะเอาเงินจากจำเลยเพียง 140,000 บาท แต่ความจริงเป็นการทำสัญญาประนีประนอมยอมความว่าจำเลยชำระหนี้โจทก์เป็นเงินกว่า 270,000 บาท เป็นการทำสัญญาประนีประนอมยอมความเพราะถูกโจทก์ฉ้อฉล จำเลยอุทธรณ์ขอให้ศาลเพิกถอนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3887/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้เอกสารราชการปลอมและการใช้รอยตราปลอมเพื่อหลอกลวงผู้อื่น
จำเลยบอก พ. ว่าทุกอย่างเรียบร้อย พร้อมกับยื่นหนังสือเดินทางปลอมให้ พ. ดู แล้วจำเลยเก็บหนังสือเดินทางปลอมนั้นไว้ การกระทำของจำเลยดังกล่าวเพื่อให้ พ. เชื่อว่าหนังสือเดินทางดังกล่าวเป็นเอกสารที่แท้จริงตามที่จำเลยรับไปติดต่อทำหนังสือเดินทางให้โดยจำเลยรู้ว่าเป็นหนังสือเดินทางปลอม ดังนี้การกระทำของจำเลยดังกล่าวถือว่าเป็นการใช้เอกสารปลอม จำเลยใช้หนังสือเดินทางซึ่งเป็นเอกสารราชการปลอมโดยแสดงต่อพ. เพื่อให้หลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริง เมื่อเอกสารนั้นได้ประทับรอยตราครุฑเล็กและรอยตรานูนครุฑใหญ่ของกระทรวงการต่างประเทศปลอม ถือได้ว่าเป็นการใช้รอยตราปลอมตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 252ประกอบด้วยมาตรา 251 อีกบทหนึ่ง ให้ลงโทษตามมาตรา 252 ประกอบด้วยมาตรา 251 ซึ่งเป็นบทหนักตามมาตรา 90

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3596/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกงและการปฏิบัติหน้าที่มิชอบของพนักงานรัฐ: การหลอกลวงเพื่อหาผู้ฝากเงินไม่ใช่ความผิดฐานฉ้อโกงหากไม่ได้ทรัพย์สิน
ตามคำบรรยายฟ้องและทางนำสืบของโจทก์ได้ความว่า จำเลยได้ทำการหาผู้ฝากเงินออมสินประเภทสงเคราะห์ชีวิตและครอบครัวแบบเพิ่มพูนทรัพย์ โดยหลอกลวงแจ้งเงื่อนไขในการทำสัญญาอันเป็นเท็จและโดยการหลอกลวงของจำเลยดังกล่าวทำให้ประชาชนเข้าใจผิดหลงเข้าทำสัญญาฝากเงินประเภทสงเคราะห์ชีวิตและครอบครัวแบบเพิ่มพูนทรัพย์กับธนาคาร ออมสิน และธนาคาร ออมสิน ได้จ่ายเงินชดเชยค่าใช้จ่ายและเงินรับรองในการหาผู้ฝากและเงินสมนาคุณแพทย์ผู้ตรวจร่างกายผู้เข้าทำสัญญาฝากเงินกับธนาคาร ออมสิน แก่จำเลย กรณีดังกล่าวแม้จำเลยจะหลอกลวงด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ แต่จำเลยก็ไม่ได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม การที่ธนาคาร ออมสิน ได้จ่ายเงินให้แก่จำเลยก็เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับหรือตามสัญญาซึ่งมีข้อผูกพันที่จะต้องจ่ายให้แก่จำเลย มิใช่จ่ายให้จำเลยโดยเหตุที่จำเลยหลอกลวง และมิใช่ผลโดยตรงจากการหลอกลวงของจำเลยการหลอกลวงของจำเลยเป็นแต่เพียงทำให้ประชาชนเข้าทำสัญญาฝากเงินประเภทสงเคราะห์ชีวิตและครอบครัวแบบเพิ่มพูนทรัพย์กับธนาคาร ออมสิน เท่านั้น การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกง
จำเลยเป็นพนักงานธนาคาร ออมสิน สาขาสระบุรี ตำแหน่งพนักงานบริการรับใช้ มีหน้าที่เก็บกวาดบริการภายในธนาคาร และงานอื่นตามแต่ผู้จัดการจะใช้ในการหาผู้ฝากเงินประเภทสงเคราะห์ชีวิตและครอบครัวแบบเพิ่มพูนทรัพย์นั้น ธนาคารเปิดโอกาสให้พนักงานธนาคารหาเงินฝากประเภทดังกล่าวได้นอกเวลาทำการ และมีสิทธิได้รับเงินตอบแทนให้เป็นเงินชดเชยค่าใช้จ่ายและค่ารับรองจากธนาคาร เป็นการเพิ่มพูนรายได้ให้แก่พนักงานธนาคาร การที่จำเลยหาผู้ฝากเงินประเภทสงเคราะห์ชีวิตและครอบครัว ไม่ใช่งานในหน้าที่โดยตรงของจำเลยและผู้บังคับบัญชาจำเลยก็มิได้มีคำสั่งให้จำเลยปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว ดังนั้นแม้จะฟังได้ว่าจำเลยทำหลักฐานเท็จขอเบิกเงินชดเชยค่าใช้จ่ายและค่ารับรองในการหาผู้ฝากเงินประเภทสงเคราะห์ชีวิตและครอบครัว การกระทำของจำเลยก็ไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา 11

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3327/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฉ้อโกงจากการพนัน: ผู้เสียหายคือผู้ถูกหลอกลวง ไม่ใช่ผู้สร้างสถานการณ์
ฟ้องโจทก์บรรยายว่า จำเลยกับพวกร่วมกันหลอกลวง พ.ให้ร่วมเล่นการพนันเพื่อกันมิให้ ส.ต้องเสียเงินพ.ถูกหลอกลวงจึงร่วมเล่นการพนันด้วย ดังนั้นการพนันจึงเป็นเหตุการณ์อันหนึ่งที่จำเลยกับพวกสร้างขึ้นมาเพื่อเอาเงินของ พ.โดยวิธีการอันแนบเนียน พ. ไม่ได้เป็นผู้สร้างเรื่องให้มีการเล่นการพนัน ไม่ได้มีส่วนร่วมในการกระทำความผิดฐานฉ้อโกง พ.จึงเป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3327/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฉ้อโกงจากการพนัน: ผู้เสียหายคือผู้ถูกหลอกให้เล่น ไม่ใช่ผู้สร้างเรื่อง
ฟ้องโจทก์บรรยายว่า จำเลยกับพวกร่วมกันหลอกลวง พ. ให้ร่วมเล่นการพนันเพื่อกันมิให้ ส.ต้องเสียเงิน พ. ถูกหลอกลวงจึงร่วมเล่นการพนันด้วย ดังนั้นการพนันจึงเป็น เหตุการณ์ อันหนึ่งที่จำเลยกับพวกสร้างขึ้นมาเพื่อเอาเงินของ พ. โดยวิธีการอันแนบเนียน พ. ไม่ได้เป็นผู้สร้างเรื่องให้มีการเล่นการพนัน ไม่ได้มีส่วนร่วมในการกระทำความผิดฐานฉ้อโกง พ. จึงเป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2613/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีจัดหางาน: ผู้เสียหายต้องเป็นรัฐ ไม่ใช่ผู้ถูกหลอกลวง
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางานเป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นเพื่อคุ้มครองประชาชนผู้หางานมิให้เสียเปรียบแก่ผู้จัดหางาน ความผิดของผู้จัดหางานจะเกิดขึ้นต่อเมื่อไม่ได้รับอนุญาตให้จัดหางานจากเจ้าพนักงาน รัฐจึงเป็นผู้เสียหายแต่เพียงผู้เดียวที่จะดำเนินคดีแก่ผู้จัดหางานที่ไม่ได้รับอนุญาต โจทก์ซึ่งถูกจำเลยหลอกลวงให้จ่ายเงินโดยไม่อาจหางานให้ทำได้ไม่ใช่ผู้เสียหายที่จะฟ้องจำเลยให้ต้องรับโทษตามพระราชบัญญัติดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2613/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญาจากการถูกหลอกลวงจัดหางาน: ผู้เสียหายต้องเป็นรัฐเท่านั้น
พระราชบัญญัติ ญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางานเป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นเพื่อคุ้มครองประชาชนผู้หางานมิให้เสียเปรียบแก่ผู้จัดหางาน ความผิดของผู้จัดหางานจะเกิดขึ้นต่อเมื่อไม่ได้รับอนุญาตให้จัดหางานจากเจ้าพนักงาน รัฐจึงเป็นผู้เสียหายแต่เพียงผู้เดียวที่จะดำเนินคดีแก่ผู้จัดหางานที่ไม่ได้รับอนุญาต โจทก์ซึ่งถูกจำเลยหลอกลวงให้จ่ายเงินโดยไม่อาจหางานให้ทำได้ไม่ใช่ผู้เสียหายที่จะฟ้องจำเลยให้ต้องรับโทษตามพระราชบัญญัติดังกล่าว
of 50