คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
หุ้นส่วน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 346 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1238/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: การฟ้องคดีหุ้นส่วนเดิมด้วยข้อหาเดิม แม้เปลี่ยนแปลงคำขอท้ายฟ้อง เป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
คดีก่อนโจทก์ฟ้องว่าจำเลยเข้าหุ้นส่วนทำไม้กับโจทก์ 39 ราย ถ้าทำไม้เสร็จรายใดก็คิดบัญชีกัน จำเลยไม่คิดบัญชีแบ่งผลกำไรให้ จึงขอให้เลิกห้างหุ้นส่วนและชำระบัญชี ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าไม่มีเหตุที่จะต้องเลิกห้างหุ้นส่วนและไม่มีเหตุที่จะต้องชำระบัญชี ส่วนในเรื่องคิดบัญชีกันนั้น เป็นข้อพิพาทโต้เถียงกันในชั้นคิดบัญชีหลังจากทำไม้หุ้นส่วนเสร็จแล้ว โจทก์ชอบที่จะเสนอคดีอย่างคดีมีทุนทรัพย์ แต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลอย่างคดีไม่มีทุนทรัพย์และไม่ได้ขอบังคับให้จำเลยใช้เงินคืน จึงไม่วินิจฉัยข้อพิพาทโต้เถียงกันในชั้นคิดบัญชีให้ และพิพากษายกฟ้อง โจทก์มาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้อีกว่าผิดสัญญาหุ้นส่วนและไม่แบ่งผลกำไรขอให้ใช้คืน ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาของโจทก์ก็ถือ โจทก์จำเลยเป็นหุ้นส่วนทำไม้ด้วยกันและจำเลยไม่ยอมแบ่งกำไรซึ่งเป็นข้อ้อางเดียวกันกับที่โจทก์อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาในคดีก่อน แม้ข้อหาของโจกท์ในคดีก่อนจะเป็นเรื่องขอให้เลิกห้างหุ้นส่วนและชำระบัญชี และข้อหาในคดีนี้เป็นเรื่องให้ใช้เงินคืนก็ตาม ประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยก็สืบเนื่องมาจากมูลฐานและข้ออ้างเดียวกัน คือ โจทก์จำเลยเป็นหุ้นส่วนทำไม้กันหรือไม่ โจทก์ชอบที่จะเสนอข้อหาดังกล่าวรวมไปในฟ้องในคราวเดียวกัน แต่โจทก์มิได้กระทำโดยเลี่ยงไม่ยอมเสียค่าขึ้นศาลอย่างคดีมีทุนทรัพย์ ศาลฎีกาในคดีก่อนจึงไม่รับวินิจฉัยข้อหาเรื่องนี้ให้ การที่โจทก์มารื้อร้องฟ้องจำเลยในคดีนี้อีกโดยอาศัยมูลฐานและข้ออ้างเดียวกัน จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148
การที่จะฟ้องใหม่ได้ตามมาตรา 148 (3) นั้น จะต้องเป็นกรณีที่ศาลในคดีก่อนอนุญาตไว้ในคำพิพากษา มิใช่ถ้าคำพิพากษาในคดีก่อนไม่ได้ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องว่ากล่าวอีกแล้ว โจทก์จะฟ้องได้ มิฉะนั้นบทบัญญัติเรื่องห้ามฟ้องซ้ำที่บัญญัติไว้ในวรรคแรกของมาตรานี้ย่อมไร้ผลบังคับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 992/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของหุ้นส่วนก่อนจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด: ห้างหุ้นส่วนสามัญ
จำเลยที่ 2 หุ้นส่วนผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำเลยที่ 1 สั่งซื้อสินค้าจากโจทก์ในนามของห้างหุ้นส่วนจำเลยที่ 1 โจทก์ส่งไปให้ตั้งแต่ห้างหุ้นส่วนจำเลยที่ 1 ยังมิได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าการตั้งห้างหุ้นส่วนจำเลยที่ 1 ได้เกิดขึ้นก่อนที่จะจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1079 ต้องถือว่าห้างหุ้นส่วนจำเลยที่ 1 เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญอยู่จนกว่าจะได้จดทะเบียน ซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหมดต้องรับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วน ดังนั้นจำเลยที่ 2 ผู้เป็นหุ้นส่วนจึงต้องรับผิดในบรรดาหนี้สินของห้างหุ้นส่วนจำเลยที่ 1 อันมีอยู่ต่อโจทก์ก่อนที่ได้จดทะเบียน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1250/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญา ห้างหุ้นส่วนจำกัด ผู้จัดการยักยอกทรัพย์ ผู้เป็นหุ้นส่วนเป็นผู้เสียหาย
ในกรณีที่หุ้นส่วนผู้จัดการยักยอกทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนจำกัดเสียเองนั้น ผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งย่อมเป็นผู้เสียหาย(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 2/2521)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 444/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฟ้องเพิกถอน/เลิกห้างหุ้นส่วนจำกัดสงวนสำหรับหุ้นส่วนเท่านั้น
ผู้ที่มิได้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนจำกัดไม่มีสิทธิฟ้องให้เพิกถอนการจดทะเบียน หรือให้เลิกห้างหุ้นส่วนและชำระบัญชี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2582/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนค้าที่ดินมีสิทธิเรียกร้องส่วนแบ่งผลกำไร แม้จะไม่ได้กรรมสิทธิ์โดยตรง
โจทก์จำเลยเป็นสามีภริยากัน แต่มิได้จดทะเบียนสมรสและได้ร่วมกันทำการค้าที่ดิน ป.ทำสัญญาจะขายที่ดินให้แก่จำเลยในระหว่างที่โจทก์จำเลยกำลังอยู่กินเป็นสามีภริยากัน ดังนี้เมื่อ ป.ผิดสัญญาสิทธิเรียกร้องในการจะฟ้องบังคับให้ ป.โอนขายที่ดินดังกล่าว โจทก์จำเลยย่อมมีสิทธิร่วมกันในฐานะที่เข้าหุ้นกันทำการค้าที่ดิน
โจทก์มีส่วนได้เสียร่วมอยู่กับจำเลยในการค้าที่ดิน โจทก์จึงออกเงินค่าธรรมเนียมให้จำเลยฟ้องให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์เพื่อแบ่งปันกันระหว่างโจทก์จำเลย ดังนี้เป็นการรักษาผลประโยชน์ของโจทก์ซึ่งชอบที่จะทำได้ หาขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนไม่
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาให้โจทก์ได้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับจำเลยในที่ดินที่จำเลยฟ้อง ป.ขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนซึ่งศาลพิพากษาให้จำเลยเป็นฝ่ายชนะและคดีถึงที่สุดแล้ว หรือให้จำเลยจัดซื้อและขายที่ดินดังกล่าวแล้วหักค่าใช้จ่ายเอาผลกำไรแบ่งให้โจทก์ครึ่งหนึ่ง ดังนี้มีความหมายเป็น 2 นัยคือ นัยแรกให้เอาผลประโยชน์จากการดำเนินคดีที่จำเลยฟ้อง ป.เกี่ยวกับการขอเพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดิน นัยหลังมีความหมายว่าหากได้เงินประโยชน์สุทธิมาเท่าใด ก็ให้แบ่งให้แก่โจทก์ครึ่งหนึ่ง เมื่อปรากฏว่าคดีที่จำเลยฟ้อง ป.นั้น จำเลยไม่ติดใจบังคับคดีจำเลยจึงไม่ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ศาลจะพิพากษาให้โจทก์ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินร่วมกับจำเลยไม่ได้ และจะให้โจทก์เข้าสวมสิทธิของจำเลยก็ไม่ได้ด้วยเป็นอันว่าจะบังคับให้ ป.ปฏิบัติตามคำพิพากษาในคดีที่จำเลยฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินไม่ได้ แต่ศาลก็ยังมีทางบังคับให้จำเลยชำระหนี้เป็นเงินตามคำขอของโจทก์นัยหลังได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2582/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนค้าที่ดินมีสิทธิเรียกร้องส่วนแบ่งผลประโยชน์ แม้จะไม่ได้โอนกรรมสิทธิ์
โจทก์จำเลยเป็นสามีภริยากัน แต่มิได้จดทะเบียนสมรสและได้ร่วมกันทำการค้าที่ดิน ป. ทำสัญญาจะขายที่ดินให้แก่จำเลยในระหว่างที่โจทก์จำเลยกำลังอยู่กินเป็นสามีภริยากัน ดังนี้ เมื่อ ป. ผิดสัญญา สิทธิเรียกร้องในการจะฟ้องบังคับให้ ป. โอนขายที่ดินดังกล่าว โจทก์จำเลยย่อมมีสิทธิร่วมกันในฐานะที่เข้าหุ้นกันทำการค้าที่ดิน
โจทก์มีส่วนได้เสียร่วมอยู่กับจำเลยในการค้าที่ดิน โจทก์จึงออกเงินค่าธรรมเนียมให้จำเลยฟ้องให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์เพื่อแบ่งปันกันระหว่างโจทก์จำเลย ดังนี้เป็นการรักษาผลประโยชน์ของโจทก์ซึ่งชอบที่จะทำได้ หาขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนไม่
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาให้โจทก์ได้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับจำเลยในที่ดินที่จำเลยฟ้อง ป. ขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนซึ่งศาลพิพากษาให้จำเลยเป็นฝ่ายชนะและคดีถึงที่สุดแล้ว หรือให้จำเลยจัดซื้อและขายที่ดินดังกล่าวแล้วหักค่าใช้จ่าย เอาผลกำไรแบ่งให้โจทก์ครึ่งหนึ่ง ดังนี้ มีความหมายเป็น 2 นัยคือ นัยแรกให้เอาผลประโยชน์จากการดำเนินคดีที่จำเลยฟ้อง ป. เกี่ยวกับการขอเพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดิน นัยหลังมีความหมายว่าหากได้เงินประโยชน์สุทธิมาเท่าใด ก็ให้แบ่งให้แก่โจทก์ครึ่งหนึ่ง เมื่อปรากฏว่าคดีที่จำเลยฟ้อง ป. นั้น จำเลยไม่ติดใจบังคับคดีจำเลยจึงไม่ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินศาลจะพิพากษาให้โจทก์ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินร่วมกับจำเลยไม่ได้ และจะให้โจทก์เข้าสวมสิทธิของจำเลยก็ไม่ได้ด้วย เป็นอันว่าจะบังคับให้ ป. ปฏิบัติตามคำพิพากษาในคดีที่จำเลยฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินไม่ได้ แต่ศาลก็ยังมีทางบังคับให้จำเลยชำระหนี้เป็นเงินตามคำขอของโจทก์นัยหลังได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2570/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนแบ่งกำไร: สัญญาซื้อขายที่ดิน+หุ้นส่วน, การแบ่งกำไรตามสัดส่วนเงินลงทุน, ผู้ชำระบัญชีที่เป็นกลาง
โจทก์ฟ้องขอให้เลิกกิจการห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนโดยกล่าวไว้ในฟ้องว่า ในการเข้าหุ้นส่วนค้าที่ดินและตึกแถวกันนี้จำเลยตกลงแบ่งกำไรให้โจทก์ร้อยละ 60 จำเลยขายที่ดินและตึกแถวไปหลายห้องไม่แบ่งกำไรให้โจทก์ ขอให้พิพากษาเลิกกิจการห้างหุ้นส่วนและตั้ง ค. เป็นผู้ชำระบัญชี จำเลยปฏิเสธว่าโจทก์ไม่ใช่หุ้นส่วน ศาลได้กำหนดประเด็นว่าโจทก์กับจำเลยเป็นหุ้นส่วนกันหรือไม่ ตกลงแบ่งผลกำไรกันเท่าใด โจทก์มีสิทธิบอกเลิกหุ้นส่วนกันหรือไม่ ข้อเท็จจริงที่ว่าโจทก์จำเลยประสงค์จะแบ่งปันกำไรกันอย่างไรจึงเป็นประเด็นวินิจฉัย ศาลพิพากษาให้แบ่งกำไรกันตามที่พิจารณาได้ความได้
ในชั้นแรก โจทก์ซื้อที่ดินจากจำเลยมาดำเนินการตามโครงการของโจทก์นั้น โจทก์ต้องแบ่งกำไรสุทธิให้จำเลยร้อยละ 40 ครั้นเมื่อโจทก์ดำเนินการต่อไปไม่ได้ เพราะขาดทุนหมุนเวียน จนจำเลยต้องเข้ามาร่วมเป็นหุ้นส่วนด้วยสัญญาเข้าหุ้นส่วนระบุว่าการแบ่งผลประโยชน์ที่โจทก์จะได้รับให้เป็นไปตามแนวข้อตกลงของสัญญาซื้อที่ดิน "แนวข้อตกลง"จึงมีความหมายว่าจะต้องแบ่งกำไรสุทธิให้จำเลยในฐานะเจ้าของที่ดินร้อยละ 40 อย่างเดิมเสียก่อน กำไรที่เหลืออีกร้อยละ 60 จึงแบ่งกันระหว่างโจทก์จำเลยผู้เป็นหุ้นส่วนกันตามส่วนของเงินที่ลงหุ้น
โจทก์ขอให้ศาลตั้ง ค.เป็นผู้ชำระบัญชี ถึงแม้จำเลยจะมิได้คัดค้านเกี่ยวกับตัวผู้ชำระบัญชีไว้ แต่จำเลยได้ให้การปฏิเสธว่า โจทก์จำเลยมิได้เป็นหุ้นส่วนกัน เมื่อจำเลยปฏิเสธในเรื่องหุ้นส่วนเสียแล้ว ก็ไม่จำต้องกล่าวถึงตัวผู้ชำระบัญชี จะถือว่าจำเลยเห็นชอบให้ ค.เป็นผู้ชำระบัญชีหาได้ไม่ เมื่อศาลชั้นต้นตั้ง ค.เป็นผู้ชำระบัญชี จำเลยก็ได้อุทธรณ์ฎีกาต่อมาคัดค้านว่าไม่ควรตั้ง ค. เป็นผู้ชำระบัญชี และเป็นทนายโจทก์มีส่วนได้เสียโดยตรงกับโจทก์และไม่มีความรู้ความสามารถในการชำระบัญชี ศาลฎีกาจึงรับวินิจฉัยให้และเห็นว่า เมื่อโจทก์จำเลยไม่อาจร่วมกันตั้งผู้ชำระบัญชีได้ ศาลฎีกาจึงตั้งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ กรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม เป็นผู้ชำระบัญชีต่อไป การชำระบัญชีจะได้ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อยไม่ติดขัด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1768/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิหุ้นส่วนในการตรวจบัญชีและการแสดงบัญชีของหุ้นส่วนผู้จัดการ
สามีจำเลยกับโจทก์ร่วมกันเข้าหุ้นตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัด ต่อมาสามีจำเลยตายโจทก์จำเลยตกลงให้กิจการของห้างดำเนินต่อไป โดยจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นจากสามีจำเลยเป็นจำเลย ทรัพย์สินของสามีจำเลยซึ่งมีอยู่ในห้างย่อมเป็นมรดกได้แก่จำเลย เมื่อจำเลยตกลงเข้าเป็นหุ้นส่วนกับโจทก์แทนที่สามีจำเลยก็เท่ากับจำเลยได้ลงหุ้นแล้ว
โจทก์ในฐานะหุ้นส่วนมีสิทธิที่จะไต่ถามถึงการงาน และมีสิทธิที่จะตรวจและคัดสำเนาสมุดบัญชีและเอกสารใด ๆ ของห้างได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1037 ประกอบด้วยมาตรา 1080 แม้จำเลยจะมีเอกสารของห้างหุ้นส่วนหรือไม่ก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ขอให้จำเลยซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการแสดงบัญชีรายจ่ายพร้อมทั้งหลักฐานใบสำคัญการรับจ่ายเงินของห้างหุ้นส่วนตั้งแต่วันจำเลยเข้าดำเนินกิจการจนถึงปัจจุบัน ย่อมอยู่ในวิสัยที่จำเลยจะแสดงได้ หาใช่เป็นเรื่องสภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้บังคับไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1768/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิหุ้นส่วนในการตรวจสอบบัญชีและการแสดงบัญชีรับจ่ายของห้างหุ้นส่วน
สามีจำเลยกับโจทก์ร่วมกันเข้าหุ้นตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัด ต่อมาสามีจำเลยตายโจทก์จำเลยตกลงให้กิจการของห้างดำเนินต่อไป โดยจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นจากสามีจำเลยเป็นจำเลย ทรัพย์สินของสามีจำเลยซึ่งมีอยู่ในห้างย่อมเป็นมรดกตกได้แก่จำเลย เมื่อจำเลยตกลงเข้าเป็นหุ้นส่วนกับโจทก์แทนที่สามีจำเลยก็เท่ากับจำเลยได้ลงหุ้นแล้ว
โจทก์ในฐานะหุ้นส่วนมีสิทธิที่จะไต่ถามถึงการงาน และมีสิทธิที่จะตรวจและคัดสำเนาสมุดบัญชีและเอกสารใด ๆของห้างได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1037 ประกอบด้วยมาตรา 1080แม้จำเลยจะมีเอกสารของห้างหุ้นส่วนหรือไม่ก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ขอให้จำเลยซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการแสดงบัญชีรับจ่ายพร้อมทั้งหลักฐานใบสำคัญการรับจ่ายเงินของห้างหุ้นส่วนตั้งแต่วันจำเลยเข้าดำเนินกิจการจนถึงปัจจุบัน ย่อมอยู่ในวิสัยที่จำเลยจะแสดงได้ หาใช่เป็นเรื่องสภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้บังคับไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 133/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัดเนื่องจากขาดทุน, ไม่ไว้วางใจกัน, และการจัดการที่ผิดปกติ
ได้ความว่าห้างหุ้นส่วนจำกัดขาดทุนและมีทรัพย์สินเหลืออยู่ไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่ายของห้างที่ต้องใช้จ่ายเป็นประจำ การดำเนินการต่อไปมีแนวโน้มที่มีแต่จะขาดทุน พฤติการณ์ที่หุ้นส่วนไม่ปรองดองกัน แสดงให้เห็นว่าไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกัน ถือได้ว่าขาดสิ่งอันเป็นสารสำคัญของการเข้าเป็นหุ้นส่วน หากจะเปลี่ยนตัวหุ้นส่วนผู้จัดการ ก็ไม่มีทางจะทำได้เพราะห้างนี้มีเพียงจำเลยที่ 1 คนเดียวเท่านั้นเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด นอกจากนั้นบัญชีของห้างบางรายการลงไว้ไม่ถูกต้อง รายจ่ายก็ปรากฏว่าจ่ายโดยหละหลวม ฟุ่มเฟือยเกินกว่าความจำเป็น การดำเนินการของห้างปราศจากการควบคุมที่ดี เหล่านี้เป็นเหตุให้ห้างเหลือวิสัยที่จะดำรงคงอยู่ต่อไปได้ ศาลย่อมพิพากษาให้ห้างดังกล่าวเลิกกัน
of 35