คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
อสังหาริมทรัพย์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 440 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5938/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ แม้ไม่มีชื่อผู้ครอบครองในบัญชีรายชื่อ ก็เวนคืนได้ หากที่ดินอยู่ในแนวเวนคืน
พ.ร.บ. เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ออกใช้บังคับโดยระบุที่ดินพิพาทอยู่ภายในแนวเขตที่ดินที่ต้องเวนคืนท้าย พ.ร.บ. ดังกล่าวจึงมีเจตนารมณ์ มุ่งบังคับเอาแก่ที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์อย่างอื่นโดยเฉพาะ หาได้ถือเอาตัวบุคคลผู้เป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองเป็นสาระสำคัญไม่ เหตุที่ให้ระบุชื่อเจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายไว้ ก็เพื่อประโยชน์ในการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนเท่านั้นดังนั้น แม้จะไม่ปรากฏชื่อโจทก์เป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองที่ดินพิพาทก็หามีผลทำให้ที่ดินพิพาทไม่อยู่ภายใต้บังคับที่จะถูกเวนคืนตาม พ.ร.บ. ดังกล่าวไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5889/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีขับไล่: คดีละเมิดอสังหาริมทรัพย์ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ตามมาตรา 224 วรรคสอง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ปลูกบ้านให้จำเลยที่ 2 อยู่ในที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของโจทก์โดยไม่มีอำนาจ ขอให้ขับไล่ จำเลยทั้งสองต่อสู้ว่าไม่ใช่ที่ดินของโจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ดังนี้เป็นคดีฟ้องขับไล่ผู้ละเมิดออกจากอสังหาริมทรัพย์อันเป็นคดีเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์มิใช่ฟ้องขับไล่ผู้เช่าหรือผู้อาศัย จึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224 วรรคสอง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5521/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์: เจตนาในการได้มาอสังหาริมทรัพย์เป็นสำคัญ
กำหนดเวลาให้อุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลภายใน 30 วัน ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 30(2)เป็นการกำหนดเวลาให้ฟ้องคดีมิใช่เป็นอายุความในการเรียกร้องสิทธิใด ๆ และถึงแม้ไม่ได้เป็นระยะเวลาตามที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรฯ แต่เป็นระยะเวลาที่เกี่ยวด้วยวิธีพิจารณาความแพ่ง อันกำหนดไว้ในป.รัษฎากร ศาลมีอำนาจขยายหรือย่นระยะเวลาดังกล่าวได้ ก่อนที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จะมีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์จำเลยฟ้องโจทก์ให้ชำระหนี้ภาษีอากรกรณีเดียวกันนั้นศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยว่า การประเมินไม่ชอบด้วยกฎหมาย พิพากษายกฟ้อง ขณะที่คดีอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยว่า การประเมินชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งโจทก์จะต้องอุทธรณ์ต่อศาลใน 30 วัน นับแต่วันได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ แต่ขณะที่โจทก์ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์นั้น คดีที่จำเลยฟ้องโจทก์ยังอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา โจทก์จึงไม่อาจยื่นฟ้องจำเลยภายในกำหนดเวลาดังกล่าวได้ เพราะจะเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ อีกทั้งโจทก์ก็ยังไม่มีเหตุที่จะต้องใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อศาลเพราะในขณะนั้นคำพิพากษาศาลภาษีอากรกลางยังมีผลผูกพันคู่ความอยู่พฤติการณ์ดังกล่าวนับว่าเป็นพฤติการณ์นอกเหนือที่โจทก์ไม่อาจขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ต่อศาลก่อนสิ้นระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ถือได้ว่าเป็นกรณีที่มีเหตุสุดวิสัยที่ศาลพึงขยายระยะเวลาให้โจทก์ได้ เงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์อันจะได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีตาม ป.รัษฎากร มาตรา 42(9) นั้น ต้องเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไรแสดงว่าต้องพิจารณาเจตนาของผู้ได้มาในขณะได้มาว่าเป็นการได้มาโดยมุ่งในทางการค้าหรือหากำไรหรือไม่การที่ จ. ซื้อที่ดินมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2511 แล้วทิ้งไว้นานจนถึงปี พ.ศ. 2523 จึงได้ขายไปโดยไม่ปรากฏว่า จ. ได้ปรับปรุงสภาพที่ดินให้ดีขึ้นอันเป็นปกติวิสัยของผู้ที่มีเจตนามุ่งในทางการค้าหรือหากำไรพึงกระทำและเหตุที่ จ. ซื้อที่ดินมาก็เพื่อหักหนี้ที่สามีของผู้ขายค้างชำระอยู่ส่วนหนึ่ง แสดงให้เห็นว่า จ. ซื้อที่ดินมาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไร เมื่อขายที่ดินแปลงดังกล่าวไปย่อมได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินได้ในส่วนนี้ไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5323/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเลือกเสียภาษีเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ และการแก้ไขการยื่นภาษีจากความสำคัญผิด
ประมวลรัษฎากร มาตรา 48(4) กำหนดให้ผู้มีเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไรเลือกเสียภาษีเฉพาะเงินได้ประเภทนี้ โดยไม่ต้องนำไปรวมคำนวณภาษีกับเงินได้พึงประเมินที่ต้องเสียภาษีตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 48(1)และ (2) ก็ได้นั้น เป็นการให้สิทธิผู้เสียภาษีและมีเจตนารมณ์เพื่อเป็นการบรรเทาภาระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้แก่ผู้มีเงินได้ในประเภทดังกล่าว และสิทธิตามมาตรานี้มิได้มีข้อจำกัดไว้ว่าจะหมดไปเมื่อใด ดังนั้น จึงต้องถือว่าสิทธิของผู้เสียภาษีคงมีอยู่ตลอดเวลาที่ภาระในการเสียภาษียังมีอยู่ โจทก์มีเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไรจึงมีสิทธิตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 48(4) การที่โจทก์ยื่นเสียภาษีโดยวิธีรวมคำนวณด้วยความเข้าใจผิดเพราะคิดหักค่าใช้จ่ายสำหรับเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ไม่ถูกต้องตามกฎหมายทำให้จำนวนภาษีซึ่งคำนวณตามวิธีที่โจทก์ยื่นเสียภาษีขาดไปเป็นจำนวนถึงสองล้านบาทเศษซึ่งถ้าโจทก์แยกยื่นเฉพาะเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่มิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไรแล้ว โจทก์จะมีจำนวนภาษีที่ต้องชำระเพิ่มอีกเพียงเก้าหมื่นบาทเศษเท่านั้นเห็นได้ว่าการที่โจทก์ยื่นเสียภาษีโดยวิธีรวมยื่นนั้นเกิดขึ้นด้วยความสำคัญผิด เมื่อภาระหน้าที่ในการชำระภาษีของโจทก์ยังมีอยู่โจทก์จึงมีสิทธิที่จะเปลี่ยนแปลงวิธีการยื่นเสียใหม่โดยใช้วิธีการยื่นแยกเฉพาะเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวได้เพราะไม่ทำให้จำนวนภาษีที่โจทก์จะต้องเสียขาดจำนวนไป การที่เจ้าพนักงานประเมินนำเอาการยื่นรวมที่โจทก์ยื่นด้วยความสำคัญผิดมาเป็นหลักในการประเมินโดยไม่ให้โอกาสโจทก์แก้ไขตามสิทธิที่มีอยู่ตามกฎหมายย่อมเป็นการไม่ชอบ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5252/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร่วมซื้อขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง การประเมินภาษีการค้าและภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
การที่โจทก์เป็นผู้ลงชื่อในตั๋วสัญญาใช้เงินร่วมกับ ส. ทุกฉบับที่นำไปจำนำแก่ผู้รับจำนำ ทำให้เห็นว่าโจทก์กับ ส. ทำกิจการร่วมกัน และการที่โจทก์เป็นผู้มีชื่อในสารบัญจดทะเบียนของโฉนด ที่ดินที่โจทก์กับพวกซื้อมาจากบริษัท บ. จำกัดร่วมกับ ส. และคนอื่น ๆ รวม 20 คน อันเป็นข้อเท็จจริงที่แสดงให้เห็นว่าโจทก์ร่วมกับ ส.ซื้อที่ดินดังกล่าวมาแต่ต้น เป็นการแสดงให้เห็นและฟังได้ว่าโจทก์เป็นผู้ที่ร่วมซื้อที่ดินที่นำมาแบ่งแยกและปลูกสร้างอาคารขาย กรณีจึงต้องถือ ว่าการดำเนินการต่าง ๆ เกี่ยวกับที่ดินที่ซื้อมา การ ปลูกสร้างอาคารลง ในที่ดินที่แบ่งแยกเป็นโฉนดแปลงย่อย และการที่ ได้มีการขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างในที่ดินที่แบ่งแยกมา ได้ ดำเนินการโดยการรู้เห็น ของโจทก์ ดังนั้น โจทก์จึงเป็นผู้ดำเนินการ เกี่ยวกับการซื้อขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งการดำเนินการ ดังกล่าวเป็นการประกอบการค้า ประเภทการค้า 11 การค้า อสังหาริมทรัพย์ ตามบัญชีอัตราภาษีการค้าใน ป.รัษฎากร โจทก์จึง มีหน้าที่เสียภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลจากรายรับ และภาษีเงินได้จากการขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4797/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายอสังหาริมทรัพย์ตามตัวอย่าง: การจัดทำสัญญาซื้อขายและการหักค่าใช้จ่าย
ผู้ซื้อที่ดินจาก ฉ. ได้ซื้อบ้านที่โจทก์ปลูกลงในที่ดินนั้นพร้อมกันด้วยและโจทก์ได้จัดเตรียมแบบแปลนสำหรับปลูกบ้านในที่ดินทุกแปลงไว้เหมือนกันทุกหลังกับได้สร้างบ้านตัวอย่างขึ้นไว้ให้ผู้ซื้อได้ดูเป็นตัวอย่าง อีกทั้งโจทก์ได้ลงมือปลูกสร้างบ้านลงในที่ดินเป็นการล่วงหน้าไปก่อนที่ผู้ซื้อจะได้ตกลงทำสัญญาซื้อที่ดินกับ ฉ. และทำสัญญารับจ้างเหมาก่อสร้างกับโจทก์ แสดงว่าโจทก์ลงมือปลูกสร้างบ้านขึ้นเพื่อขายมาแต่ต้น อันเป็นลักษณะของการขายตามตัวอย่าง หาใช่เป็นการรับจ้างทำของไม่ ยิ่งกว่านั้นบ้านที่โจทก์ปลูกสร้างลงในที่ดินของ ฉ. โดยได้รับความยินยอมจาก ฉ. นั้น ย่อมเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ เมื่อผู้ซื้อประสงค์จะได้กรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้าน จึงตกลงทำสัญญาจะซื้อที่ดินและบ้านจาก ฉ. และโจทก์ แต่โจทก์กลับจัดให้ผู้ซื้อทำสัญญาซื้อที่ดินจาก ฉ.และทำสัญญาว่า โจทก์รับเหมาก่อสร้างบ้านให้ผู้ซื้อที่ดินจาก ฉ. โดยใช้สัมภาระของโจทก์ขึ้นไว้แทน ซึ่งไม่ตรงต่อความเป็นจริง ดังนี้ รายรับที่โจทก์ได้จากการโอน-กรรมสิทธิ์บ้านให้แก่ผู้ซื้อจึงเป็นรายรับจากการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร ตามประเภทการค้า 11 การค้าอสังหาริมทรัพย์
โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้จากการขายอสังหา-ริมทรัพย์ ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 40 (8) โดยขอหักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควรตรงตามจำนวนเงินในสัญญาจ้างเหมาผู้อื่นปลูกสร้างบ้าน เป็นค่าใช้จ่ายที่โจทก์จ่ายไปจริง ถือได้ว่าเจ้าพนักงานประเมินได้หักค่าใช้จ่ายแก่โจทก์ตามความจำเป็นและสมควรเป็นการถูกต้องแล้ว ส่วนที่โจทก์ขอหักค่าใช้จ่ายตามราคาประเมินของกรมโยธาธิการนั้น เป็นเพียงราคาจากการประเมิน มิใช่ค่าใช้จ่ายที่โจทก์จ่ายไปจริง จึงมิใช่ค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควรอันจะนำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายตามพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ.2502 มาตรา 8 ทวิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4797/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายบ้านจัดสรรไม่ใช่การรับเหมา แม้มีสัญญารับเหมาควบคู่กัน รายได้ต้องเสียภาษีการค้า
ผู้ซื้อที่ดินจาก ฉ. ได้ซื้อบ้านที่โจทก์ปลูกลงในที่ดินนั้นพร้อมกันด้วยและโจทก์ได้จัดเตรียมแบบแปลนสำหรับปลูกบ้านในที่ดินทุกแปลงไว้เหมือนกันทุกหลังกับได้สร้างบ้านตัวอย่างขึ้นไว้ให้ผู้ซื้อได้ดูเป็นตัวอย่าง อีกทั้งโจทก์ได้ลงมือปลูกสร้างบ้านลงในที่ดินเป็นการล่วงหน้าไปก่อนที่ผู้ซื้อจะได้ตกลงทำสัญญาซื้อที่ดินกับ ฉ. และทำสัญญารับจ้างเหมาก่อสร้างกับโจทก์ แสดงว่าโจทก์ลงมือปลูกสร้างบ้านขึ้นเพื่อขายมาแต่ต้น อันเป็นลักษณะของการขายตามตัวอย่าง หาใช่เป็นการรับจ้างทำของไม่ ยิ่งกว่านั้นบ้านที่โจทก์ปลูกสร้างลงในที่ดินของ ฉ.โดยได้รับความยินยอมจากฉ. นั้นย่อมเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ เมื่อผู้ซื้อประสงค์จะได้กรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้าน จึงตกลงทำสัญญาจะซื้อที่ดินและบ้านจาก ฉ. และโจทก์แต่โจทก์กลับจัดให้ผู้ซื้อทำสัญญาซื้อที่ดินจาก ฉ. และทำสัญญาว่าโจทก์รับเหมาก่อสร้างบ้านให้ผู้ซื้อที่ดินจาก ฉ. โดยใช้สัมภาระของโจทก์ขึ้นไว้แทน ซึ่งไม่ตรงต่อความเป็นจริง ดังนี้ รายรับที่โจทก์ได้จากการโอนกรรมสิทธิ์บ้านให้แก่ผู้ซื้อจึงเป็นรายรับจากการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร ตามประเภทการค้า 11 การค้าอสังหาริมทรัพย์ โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40(8) โดยขอหักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควรตรงตามจำนวนเงินในสัญญาจ้างเหมาผู้อื่นปลูกสร้างบ้าน เป็นค่าใช้จ่ายที่โจทก์จ่ายไปจริง ถือได้ว่าเจ้าพนักงานประเมินได้หักค่าใช้จ่ายแก่โจทก์ตามความจำเป็นและสมควรเป็นการถูกต้องแล้ว ส่วนที่โจทก์ขอหักค่าใช้จ่ายตามราคาประเมินของกรมโยธาธิการนั้น เป็นเพียงราคาจากการประเมินมิใช่ค่าใช้จ่ายที่โจทก์จ่ายไปจริง จึงมิใช่ค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควรอันจะนำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2502 มาตรา 8 ทวิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4662/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์สถานะตัวแทนและการเป็นบริวารในสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์
ผู้ร้องไม่ได้ทำหลักฐานเป็นหนังสือตั้งจำเลยเป็นตัวแทนในการทำสัญญาเช่า ก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยทำสัญญาเช่าในฐานะเป็นตัวแทนผู้ร้อง เมื่อจำเลยเช่าตึก พิพาทจากโจทก์ ผู้ร้องเข้ามาอาศัยอยู่ในตึก พิพาทโดยอาศัยสิทธิของจำเลยจึงเป็นบริวารจำเลย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3963/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ไม่ทำตามแบบและอายุความครอบครองปรปักษ์
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งปล่อยที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยึดไว้ในคดีล้มละลาย โดยอ้างว่าผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์มาตามสัญญาซื้อขาย และผู้ร้องได้ครอบครองเป็นเจ้าของโดยความสงบและเปิดเผยเป็นเวลาเกิน 10 ปี ผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์โดยอายุความแล้วนั้นเมื่อการซื้อขายมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 456วรรคแรก และเมื่อปรากฏว่าผู้ร้องเพิ่งมีสภาพเป็นนิติบุคคลนับถึงวันที่ผู้ร้องยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยังไม่ถึง10 ปี ทั้งไม่มีเวลาครอบครองทรัพย์ของผู้โอนที่จะนับรวมกับผู้ร้องได้ ผู้ร้องไม่ได้กรรมสิทธิ์โดยอายุความครอบครองปรปักษ์ตามกฎหมายดังนั้นผู้ร้องจึงขอให้ศาลสั่งปล่อยทรัพย์ที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยึดไว้ไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3416/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายอสังหาริมทรัพย์ของผู้เยาว์ต้องได้รับอนุญาตจากศาล แม้ผู้แทนโดยชอบธรรมยินยอมก็ไม่สมบูรณ์
การขายอสังหาริมทรัพย์ของผู้เยาว์ ผู้เยาว์เองหรือผู้ใช้อำนาจปกครองจะกระทำมิได้เว้นแต่ศาลจะอนุญาต ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1574 เมื่อผู้แทนโดยชอบธรรมต้องห้ามโดยกฎหมายมิให้ทำนิติกรรมขายที่ดินซึ่งหมายความรวมถึงนิติกรรมจะขายที่ดินแทนผู้เยาว์โดยลำพังแล้ว จะถือว่าการที่ผู้เยาว์ทำนิติกรรมพร้อมกับผู้แทนโดยชอบธรรม มีผลว่าผู้แทนโดยชอบธรรมอนุญาตให้ทำได้โดยไม่ต้องขออนุญาตจากศาลก่อนหรือถือว่านิติกรรมที่ผู้เยาว์กระทำด้วยตนเองในขณะยังไม่บรรลุนิติภาวะโดยมิได้รับอนุญาตจากศาลมีผลผูกพันผู้เยาว์เมื่อบรรลุนิติภาวะแล้วก็เท่ากับเป็นการหลีกเลี่ยงไม่ต้องมาขออนุญาตจากศาล ซึ่งผิดไปจากเจตนารมณ์ของกฎหมาย สัญญาจะซื้อขายที่จำเลยที่ 8 ได้กระทำไปในขณะที่ยังเป็นผู้เยาว์ จึงไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 8 แม้ขณะที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 8 จะบรรลุนิติภาวะแล้ว.
of 44