พบผลลัพธ์ทั้งหมด 971 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 469/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิซื้อคืนที่นาตาม พ.ร.บ.เช่าที่ดินฯ และอำนาจการเรียกพยานของ คชก.
พ.ร.บ. การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 มาตรา19 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ คชก. จังหวัด คชก.ตำบล หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการมีอำนาจเรียกผู้เช่า ผู้ให้เช่า หรือผู้ซึ่งเกี่ยวข้อง มาให้ถ้อยคำหรือชี้แจง หรือส่งเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวกับการเช่ามาเพื่อประกอบการพิจารณาของคชก. จังหวัด หรือ คชก.ตำบล ได้แล้วแต่กรณี จึงเป็นอำนาจของ คชก. จังหวัดหรือ คชก.ตำบล ที่จะเรียกผู้เช่าหรือผู้ให้เช่าหรือผู้ที่เกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคำหรือไม่ก็ได้ไม่ใช่กรณีที่กฎหมายบังคับให้ต้องเรียกบุคคลดังกล่าวมาให้ถ้อยคำเสมอไป การที่คชก.ตำบล ท.ไม่ได้เรียกเจ้าของที่ดินเดิมและผู้รับโอนที่นาพิพาทมาให้ถ้อยคำ จึงไม่ทำให้การประชุมของ คชก. ตำบล ท.เสียไป
พ.ร.บ. การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 มาตรา 54บัญญัติให้ผู้เช่านามีสิทธิซื้อนาจากผู้รับโอนตามราคาและวิธีการชำระเงินที่ผู้รับโอนซื้อได้ หรือตามราคาตลาดในขณะนั้นแล้วแต่ราคาใดจะสูงกว่ากัน เมื่อได้ความว่าจำเลยทั้งสองผู้รับโอนซื้อที่นาพิพาทจากเจ้าของเดิมเนื้อที่ 19 ไร่เศษ ในราคา110,000 บาท การที่ คชก. ตำบล ท. กำหนดให้โจทก์ผู้เช่าที่นาพิพาทซื้อคืนจากจำเลยทั้งสองในราคาไร่ละ 20,000 บาท จึงเป็นราคาที่ชอบด้วยกฎหมาย
ศาลฎีกาเห็นสมควรกำหนดเวลาให้โจทก์ใช้สิทธิซื้อที่นาพิพาทคืนจากจำเลยทั้งสองด้วย
พ.ร.บ. การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 มาตรา 54บัญญัติให้ผู้เช่านามีสิทธิซื้อนาจากผู้รับโอนตามราคาและวิธีการชำระเงินที่ผู้รับโอนซื้อได้ หรือตามราคาตลาดในขณะนั้นแล้วแต่ราคาใดจะสูงกว่ากัน เมื่อได้ความว่าจำเลยทั้งสองผู้รับโอนซื้อที่นาพิพาทจากเจ้าของเดิมเนื้อที่ 19 ไร่เศษ ในราคา110,000 บาท การที่ คชก. ตำบล ท. กำหนดให้โจทก์ผู้เช่าที่นาพิพาทซื้อคืนจากจำเลยทั้งสองในราคาไร่ละ 20,000 บาท จึงเป็นราคาที่ชอบด้วยกฎหมาย
ศาลฎีกาเห็นสมควรกำหนดเวลาให้โจทก์ใช้สิทธิซื้อที่นาพิพาทคืนจากจำเลยทั้งสองด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4590/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายในการออกระเบียบและแต่งตั้งกรรมการ รวมถึงองค์ประชุมและความชอบด้วยกฎหมาย
มาตรา 17 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทรายพ.ศ.2427 บัญญัติว่า "คณะกรรมการมีหน้าที่ดังต่อไปนี้...
(25) กำหนดระเบียบว่าด้วยเบี้ยปรับและเงินรางวัลสำหรับการนำจับผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามระเบียบหรือประกาศที่คณะกรรมการกำหนด..."และวรรคสองบัญญัติว่า "การกำหนดตาม...(25)... ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี" เมื่อปรากฏตามระเบียบคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายว่าด้วย เบี้ยปรับสำหรับโรงงานน้ำตาลทรายที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศระเบียบหรือพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ.2527 ฉบับที่ 1 พ.ศ.2528 ว่าคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายได้ออกระเบียบนั้นโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีแล้ว ระเบียบนี้จึงเป็นระเบียบที่คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายออกโดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติของกฎหมายและได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กฎหมายบัญญัติเอาไว้ ทั้งไม่เป็นการออกระเบียบที่ซ้ำซ้อนหรือมีบทลงโทษที่หนักกว่าโทษสำหรับความผิดฐานขนย้ายน้ำตาลทรายที่ผลิตได้ออกนอกบริเวณโรงงานตามบทบัญญัติมาตรา 44 (7)และ 71 แห่ง พ.ร.บ. และน้ำตาลทราย พ.ศ.2527 เพราะเบี้ยปรับที่กำหนดไว้ตามระเบียบดังกล่าวสำหรับผู้ที่ฝ่าฝืนมิใช่โทษอาญาดังที่บัญญัติไว้ตามมาตรา 44 (7)และ 71 ดังกล่าว หากแต่เป็นการกำหนดความรับผิดในทางแพ่งสำหรับผู้ที่ฝ่าฝืนระเบียบนั้น ระเบียบดังกล่าวจึงเป็นระเบียบที่ออกโดยชอบด้วยกฎหมาย
ตามมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ.2527คำว่า "คณะกรรมการ" หมายความว่า คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย มาตรา20 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ให้คณะกรรมการแต่งตั้งกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า"คณะกรรมการบริหาร"..." ได้ และตามมาตรา 41 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ให้คณะกรรมการแต่งตั้งกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า "คณะกรรมการน้ำตาลทราย"..."ดังนี้ คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายจึงมีอำนาจตามบทบัญญัติดังกล่าวในการแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารและคณะกรรมการน้ำตาลทราย หาใช่อำนาจของรัฐมนตรีไม่
คณะที่ปรึกษากฎหมายไม่ใช่คณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานที่คณะกรรมการน้ำตาลทรายแต่งตั้งขึ้นเพื่อมอบหมายให้ปฏิบัติการแทนคณะกรรมการน้ำตาลทรายดังที่บัญญัติไว้ มาตรา 42 วรรคท้าย แห่ง พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทรายพ.ศ.2527 คณะที่ปรึกษากฎหมายจึงไม่จำต้องมีคุณสมบัติ จำนวน และสัดส่วนตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าว แต่การแต่งตั้งคณะที่ปรึกษากฎหมายก็เพื่อนำความเห็นทางกฎหมายของคณะที่ปรึกษามาประกอบการพิจารณาของคณะกรรมการน้ำตาลทรายเท่านั้น คณะกรรมการน้ำตาลทรายมีอำนาจอิสระที่จะรับฟังหรือไม่รับฟังความเห็นของคณะที่ปรึกษากฎหมายก็ได้ ทั้งการแต่งตั้งคณะที่ปรึกษากฎหมายก็ไม่มีกฎหมายห้ามไว้ การแต่งตั้งดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ตามมาตรา 9 แห่ง พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ.2527คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายประกอบด้วยกรรมการทั้งหมด 21 คน ปรากฏตามรายงานการประชุมคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ครั้งที่ 1/2532 ที่คณะกรรมการให้ยกอุทธรณ์ของโจทก์ว่ามีกรรมการเข้าประชุม 13 คน ซึ่งเกินกึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด การประชุมดังกล่าวจึงมีกรรมการมาประชุมครบองค์ประชุมชอบด้วยมาตรา 15 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าวแล้ว
ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ปลัดกระทรวงพาณิชย์ และอธิบดีกรมการค้าภายในเป็นข้าราชการในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และข้าราชการในกระทรวงพาณิชย์ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ได้แต่งตั้งให้เป็นกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายตามบทบัญญัติมาตรา 9 ดังกล่าว ซึ่งการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการซึ่งเป็นข้าราชการดังกล่าวไม่มีกฎหมายบังคับว่าต้องเข้าประชุมด้วยตนเอง และไม่มีกฎหมายห้ามมิให้มอบหมายให้ข้าราชการในสังกัดปฏิบัติหน้าที่แทน เมื่อกรรมการนั้นไม่อาจมาปฏิบัติหน้าที่ได้ก็ย่อมจะมอบหมายให้ข้าราชการในสังกัดกระทรวงหรือกรมที่ตนดำรงตำแหน่งอยู่ไปปฏิบัติราชการแทนในฐานะผู้แทนได้ การประชุมคณะกรรมการดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ที่โจทก์อ้างว่าการแต่งตั้งคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะจำเลยที่ 4 กรรมการดำรงตำแหน่งเป็นวุฒิสมาชิกซึ่งเป็นตำแหน่งทางการเมือง มีลักษณะต้องห้ามมิให้เป็นกรรมการ และนายสุทธิพรเกริกกฤตยา มิใช่ชาวไร่อ้อย ไม่มีคุณสมบัติเป็นกรรมการนั้น ปรากฏว่าข้อฎีกาของโจทก์ดังกล่าวเป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่โจทก์มิได้บรรยายมาในคำฟ้อง แม้โจทก์จะนำสืบถึงข้อเท็จจริงดังกล่าวและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยปัญหาดังกล่าวให้ ก็ถือมิได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
(25) กำหนดระเบียบว่าด้วยเบี้ยปรับและเงินรางวัลสำหรับการนำจับผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามระเบียบหรือประกาศที่คณะกรรมการกำหนด..."และวรรคสองบัญญัติว่า "การกำหนดตาม...(25)... ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี" เมื่อปรากฏตามระเบียบคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายว่าด้วย เบี้ยปรับสำหรับโรงงานน้ำตาลทรายที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศระเบียบหรือพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ.2527 ฉบับที่ 1 พ.ศ.2528 ว่าคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายได้ออกระเบียบนั้นโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีแล้ว ระเบียบนี้จึงเป็นระเบียบที่คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายออกโดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติของกฎหมายและได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กฎหมายบัญญัติเอาไว้ ทั้งไม่เป็นการออกระเบียบที่ซ้ำซ้อนหรือมีบทลงโทษที่หนักกว่าโทษสำหรับความผิดฐานขนย้ายน้ำตาลทรายที่ผลิตได้ออกนอกบริเวณโรงงานตามบทบัญญัติมาตรา 44 (7)และ 71 แห่ง พ.ร.บ. และน้ำตาลทราย พ.ศ.2527 เพราะเบี้ยปรับที่กำหนดไว้ตามระเบียบดังกล่าวสำหรับผู้ที่ฝ่าฝืนมิใช่โทษอาญาดังที่บัญญัติไว้ตามมาตรา 44 (7)และ 71 ดังกล่าว หากแต่เป็นการกำหนดความรับผิดในทางแพ่งสำหรับผู้ที่ฝ่าฝืนระเบียบนั้น ระเบียบดังกล่าวจึงเป็นระเบียบที่ออกโดยชอบด้วยกฎหมาย
ตามมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ.2527คำว่า "คณะกรรมการ" หมายความว่า คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย มาตรา20 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ให้คณะกรรมการแต่งตั้งกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า"คณะกรรมการบริหาร"..." ได้ และตามมาตรา 41 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ให้คณะกรรมการแต่งตั้งกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า "คณะกรรมการน้ำตาลทราย"..."ดังนี้ คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายจึงมีอำนาจตามบทบัญญัติดังกล่าวในการแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารและคณะกรรมการน้ำตาลทราย หาใช่อำนาจของรัฐมนตรีไม่
คณะที่ปรึกษากฎหมายไม่ใช่คณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานที่คณะกรรมการน้ำตาลทรายแต่งตั้งขึ้นเพื่อมอบหมายให้ปฏิบัติการแทนคณะกรรมการน้ำตาลทรายดังที่บัญญัติไว้ มาตรา 42 วรรคท้าย แห่ง พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทรายพ.ศ.2527 คณะที่ปรึกษากฎหมายจึงไม่จำต้องมีคุณสมบัติ จำนวน และสัดส่วนตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าว แต่การแต่งตั้งคณะที่ปรึกษากฎหมายก็เพื่อนำความเห็นทางกฎหมายของคณะที่ปรึกษามาประกอบการพิจารณาของคณะกรรมการน้ำตาลทรายเท่านั้น คณะกรรมการน้ำตาลทรายมีอำนาจอิสระที่จะรับฟังหรือไม่รับฟังความเห็นของคณะที่ปรึกษากฎหมายก็ได้ ทั้งการแต่งตั้งคณะที่ปรึกษากฎหมายก็ไม่มีกฎหมายห้ามไว้ การแต่งตั้งดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ตามมาตรา 9 แห่ง พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ.2527คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายประกอบด้วยกรรมการทั้งหมด 21 คน ปรากฏตามรายงานการประชุมคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ครั้งที่ 1/2532 ที่คณะกรรมการให้ยกอุทธรณ์ของโจทก์ว่ามีกรรมการเข้าประชุม 13 คน ซึ่งเกินกึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด การประชุมดังกล่าวจึงมีกรรมการมาประชุมครบองค์ประชุมชอบด้วยมาตรา 15 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าวแล้ว
ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ปลัดกระทรวงพาณิชย์ และอธิบดีกรมการค้าภายในเป็นข้าราชการในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และข้าราชการในกระทรวงพาณิชย์ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ได้แต่งตั้งให้เป็นกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายตามบทบัญญัติมาตรา 9 ดังกล่าว ซึ่งการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการซึ่งเป็นข้าราชการดังกล่าวไม่มีกฎหมายบังคับว่าต้องเข้าประชุมด้วยตนเอง และไม่มีกฎหมายห้ามมิให้มอบหมายให้ข้าราชการในสังกัดปฏิบัติหน้าที่แทน เมื่อกรรมการนั้นไม่อาจมาปฏิบัติหน้าที่ได้ก็ย่อมจะมอบหมายให้ข้าราชการในสังกัดกระทรวงหรือกรมที่ตนดำรงตำแหน่งอยู่ไปปฏิบัติราชการแทนในฐานะผู้แทนได้ การประชุมคณะกรรมการดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ที่โจทก์อ้างว่าการแต่งตั้งคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะจำเลยที่ 4 กรรมการดำรงตำแหน่งเป็นวุฒิสมาชิกซึ่งเป็นตำแหน่งทางการเมือง มีลักษณะต้องห้ามมิให้เป็นกรรมการ และนายสุทธิพรเกริกกฤตยา มิใช่ชาวไร่อ้อย ไม่มีคุณสมบัติเป็นกรรมการนั้น ปรากฏว่าข้อฎีกาของโจทก์ดังกล่าวเป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่โจทก์มิได้บรรยายมาในคำฟ้อง แม้โจทก์จะนำสืบถึงข้อเท็จจริงดังกล่าวและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยปัญหาดังกล่าวให้ ก็ถือมิได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4246/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีค้างชำระ: กฎหมายกำหนดเงินเพิ่มเพียงอย่างเดียว ไม่อำนาจคิดดอกเบี้ยซ้ำซ้อน
ตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินพ.ศ.2475บัญญัติเกี่ยวกับเงินค่าภาษีค้างชำระไว้ในมาตรา43ว่าผู้ค้างชำระจะต้องเสียเงินเพิ่มคิดเป็นร้อยละตามจำนวนค่าภาษีที่ค้างและมีอัตราเงินเพิ่มสูงขึ้นตามเวลาที่ค้างชำระแสดงว่ากฎหมายได้บัญญัติทางแก้สำหรับกรณีลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระเงินค่าภาษีที่ค้างชำระไว้โดยเฉพาะแล้วจึงคิดดอกเบี้ยซ้อนเข้าไปอีกในระหว่างผิดนัดไม่ได้โจทก์จึงไม่มีสิทธิจะได้รับดอกเบี้ยจากค่าภาษีค้างชำระและเงินเพิ่มอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4214/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดอำนาจหุ้นส่วนผู้จัดการและการผูกพันของห้างหุ้นส่วนจำกัดต่อเช็ค
ข้อบังคับของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 กำหนดว่า การทำนิติกรรมใด ๆต้องมีหุ้นส่วนผู้จัดการสองคนลงลายมือชื่อและประทับตราของจำเลยที่ 1การที่จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อในเช็คพิพาทแต่ผู้เดียวจึงไม่ถูกต้อง ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทอันจะต้องรับผิดต่อโจทก์ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 900 แม้จำเลยที่ 2 จะเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ด้วยคนหนึ่งแต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้เชิดจำเลยที่ 2 ออกเป็นตัวแทน ทั้งมิได้มีการนำเงินที่ได้จากการสั่งจ่ายเช็คพิพาทมาใช้ในกิจการของจำเลยที่ 1 อันจะถือได้ว่าเป็นการให้สัตยาบันแก่การกระทำของจำเลยที่ 2 และมีผลผูกพันจำเลยที่ 1 ดังนี้ จำเลยที่ 1จึงไม่ต้องรับผิดใช้เงินตามเช็คพิพาทต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 281/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสั่งจ่ายเงินรางวัลของอธิบดีกรมศุลกากรและการใช้ดุลพินิจตามระเบียบ หากถูกต้องตามขั้นตอนและไม่ประมาทเลินเล่อไม่ต้องคืนเงิน
เมื่อโจทก์ฟ้องว่าคำสั่งของจำเลยที่ 2 ที่อนุมัติให้จ่ายเงินรางวัลตามบันทึกเสนอของจำเลยที่ 5 เป็นคำสั่งที่มิชอบด้วยกฎหมาย จำเลยทั้งห้าสิบเจ็ดจึงต้องคืนเงินรางวัลแก่โจทก์ตามส่วนที่จำเลยแต่ละคนรับไป สิทธิเรียกร้องของโจทก์ตามฟ้องจึงตั้งฐานมาจากคำสั่งที่มิชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ 2 แม้โจทก์จะเรียกร้องจากจำเลยแต่ละคนมีจำนวนเงินที่แน่นอน แต่โจทก์ก็ยังมีคำขอให้จำเลยที่ 2และที่ 5 ร่วมกันชดใช้เงินรางวัลทั้งหมดแทนจำเลยอื่น ทั้งศาลชั้นต้นได้พิพากษาให้จำเลยที่ 2 และที่ 5 ร่วมกันชดใช้แทนจำเลยอื่นด้วย จำเลยทุกคนจึงมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดีอันมีทุนทรัพย์ทั้งหมดตามที่โจทก์เรียกร้องจากจำเลยทุกคนซึ่งไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ อุทธรณ์ของจำเลยที่ 50 ถึงที่ 57 จึงมิใช่อุทธรณ์ที่ต้องห้ามตามกฎหมาย ทั้งจำเลยที่ 50 ถึงที่ 57 ก็ได้อุทธรณ์ด้วยว่า อำนาจการสั่งจ่ายเงินรางวัลเป็นอำนาจโดยเฉพาะตัวของอธิบดีกรมศุลกากรเป็นอำนาจทางด้านการบริหารราชการและเป็นอำนาจเด็ดขาดของอธิบดีกรมศุลกากรไม่อาจถูกเพิกถอนได้ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องอันเป็นข้อกฎหมาย ซึ่งหาได้ต้องห้ามอุทธรณ์แต่อย่างใดไม่ การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ยกอุทธรณ์จำเลยที่ 50 ถึงที่ 57 และให้คืนค่าธรรมเนียมศาลชั้นอุทธรณ์ทั้งหมดของจำเลยที่ 50 ถึงที่ 57 ด้วยเหตุที่อ้างว่าอุทธรณ์จำเลยที่ 50 ถึงที่ 57ต้องห้ามอุทธรณ์จึงไม่ถูกต้อง กรณีไม่ต้องคืนค่าธรรมเนียมศาลชั้นอุทธรณ์ทั้งหมดแก่จำเลยที่ 50 ถึงที่ 57
พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 102 ตรี บัญญัติว่า"ให้อธิบดีมีอำนาจสั่งจ่ายเงินสินบนและรางวัลตามระเบียบที่อธิบดีกรมศุลกากรกำหนด..." และระเบียบกรมศุลกากร ว่าด้วยการจ่ายเงินสินบนและรางวัลพ.ศ. 2517 ข้อ 4 (1) กำหนดว่า "กรณีตามมาตรา 102 ตรี อนุมาตรา 1คือความผิดฐานลักลอบหนีศุลกากรหรือของต้องห้ามต้องกำกัดในการนำเข้ามาในหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักรในกรณีที่มีผู้แจ้งความนำจับ ให้หักจ่ายเป็นเงินสินบนร้อยละ 30 เป็นเงินรางวัลร้อยละ 25 กรณีที่ไม่มีผู้แจ้งความนำจับให้หักจ่ายเป็นรางวัลร้อยละ 30 โดยคำนวณจากค่าปรับ" ส่วนข้อ 6 (5) กำหนดว่า"เงินรางวัลตามข้อ 4 (1) และ (2) ให้จ่ายแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังนี้...(5) เงินรางวัลจะไม่จ่ายให้ในกรณีที่อธิบดีกรมศุลกากรพิจารณาเห็นว่าความผิดที่เกิดขึ้นเป็นความผิดซึ่งตามปกติวิสัยย่อมจะตรวจพบอยู่แล้วเช่น เป็นความผิดเกี่ยวกับพิธีการหรือเอกสาร เป็นต้น" บทบัญญัติของกฎหมายและข้อกำหนดในระเบียบดังกล่าวข้างต้น แสดงว่าอธิบดีกรมศุลกากรเป็นผู้มีอำนาจในการสั่งจ่ายเงินรางวัลแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้ตามจำนวนในข้อ 4 (1)ส่วนข้อยกเว้นที่จะไม่จ่ายเงินรางวัลคงเป็นไปตามข้อ 6 (5) คือในกรณีที่อธิบดีกรมศุลกากรพิจารณาเห็นว่า ความผิดที่เกิดขึ้นเป็นความผิดซึ่งตามปกติวิสัยย่อมจะตรวจพบอยู่แล้วเท่านั้น ซึ่งเป็นการให้อำนาจแก่อธิบดีกรมศุลกากรที่จะใช้ดุลพินิจได้โดยลำพังว่า ความผิดที่เกิดขึ้นอันเป็นเหตุให้มีการจ่ายเงินรางวัลนั้นเป็นความผิดซึ่งตามปกติวิสัยย่อมจะตรวจพบอยู่แล้วหรือไม่ บทบัญญัติดังกล่าวหาเป็นเงื่อนไขเด็ดขาดที่จะต้องงดการจ่ายเงินรางวัลดังเช่นที่กำหนดไว้ในข้อ 11และข้อ 12 แห่งระเบียบดังกล่าวข้างต้นไม่ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่ามีการกระทำความผิดฐานลักลอบหนีศุลกากรหรือของต้องห้ามต้องกำกัดในการนำเข้ามาในราชอาณาจักร อันมีผลทำให้มีการจ่ายเงินรางวัลตามระเบียบกรมศุลกากรว่าด้วยการจ่ายเงินสินบนและรางวัล พ.ศ. 2517 ข้อ 4 (1) และจำเลยที่ 2ซึ่งใช้อำนาจของอธิบดีกรมศุลกากรพิจารณาสั่งให้จ่ายเงินรางวัลโดยไม่ได้ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ซึ่งใช้อำนาจของอธิบดีกรมศุลกากรหรืออธิบดีกรมศุลกากรในขณะนั้นได้พิจารณาเห็นว่า ความผิดที่เกิดขึ้นจากการตรวจจับสินค้ารายพิพาทนี้เป็นความผิดซึ่งตามปกติวิสัยย่อมจะตรวจพบอยู่แล้ว และสั่งมิให้จ่ายเงินรางวัลแต่ประการใดคำสั่งให้จ่ายเงินรางวัลของจำเลยที่ 2 จึงหาเป็นคำสั่งที่ผิดต่อระเบียบกรมศุลกากรว่าด้วยการจ่ายเงินสินบนและรางวัล พ.ศ.2517 ไม่ จำเลยที่ 1 ถึงที่ 57 จึงไม่ต้องคืนเงินรางวัลแก่โจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง /เมื่อ
เมื่อจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นรองอธิบดีกรมศุลการปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมศุลการได้ใช้ดุลพินิจพิจารณาแล้วเห็นว่ามีเหตุที่จะอนุมัติจ่ายเงินรางวัลได้ตามระเบียบกรมศุลกากร ว่าด้วยการจ่ายเงินสินบนและรางวัล พ.ศ.2517 และเห็นว่ามิใช่เป็นกรณีความผิดที่เกิดขึ้นเป็นความผิดซึ่งตามปกติวิสัยย่อมจะตรวจพบอยู่แล้ว จึงได้มีคำสั่งอนุมัติให้จ่ายเงินรางวัลแก่จำเลยทั้งห้าสิบเจ็ดไปเมื่อจำเลยที่ 2 ได้ใช้ดุลพินิจสั่งอนุมัติจ่ายเงินรางวัลโดยทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการจับกุมสินค้าและการเสนอขออนุมัติเบิกเงินรางวัลได้กระทำโดยถูกต้องตามขั้นตอนตามระเบียบการปฏิบัติราชการแล้ว จึงไม่อาจถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้ใช้ดุลพินิจโดยประมาทเลินเล่อแต่อย่างใด
พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 102 ตรี บัญญัติว่า"ให้อธิบดีมีอำนาจสั่งจ่ายเงินสินบนและรางวัลตามระเบียบที่อธิบดีกรมศุลกากรกำหนด..." และระเบียบกรมศุลกากร ว่าด้วยการจ่ายเงินสินบนและรางวัลพ.ศ. 2517 ข้อ 4 (1) กำหนดว่า "กรณีตามมาตรา 102 ตรี อนุมาตรา 1คือความผิดฐานลักลอบหนีศุลกากรหรือของต้องห้ามต้องกำกัดในการนำเข้ามาในหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักรในกรณีที่มีผู้แจ้งความนำจับ ให้หักจ่ายเป็นเงินสินบนร้อยละ 30 เป็นเงินรางวัลร้อยละ 25 กรณีที่ไม่มีผู้แจ้งความนำจับให้หักจ่ายเป็นรางวัลร้อยละ 30 โดยคำนวณจากค่าปรับ" ส่วนข้อ 6 (5) กำหนดว่า"เงินรางวัลตามข้อ 4 (1) และ (2) ให้จ่ายแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังนี้...(5) เงินรางวัลจะไม่จ่ายให้ในกรณีที่อธิบดีกรมศุลกากรพิจารณาเห็นว่าความผิดที่เกิดขึ้นเป็นความผิดซึ่งตามปกติวิสัยย่อมจะตรวจพบอยู่แล้วเช่น เป็นความผิดเกี่ยวกับพิธีการหรือเอกสาร เป็นต้น" บทบัญญัติของกฎหมายและข้อกำหนดในระเบียบดังกล่าวข้างต้น แสดงว่าอธิบดีกรมศุลกากรเป็นผู้มีอำนาจในการสั่งจ่ายเงินรางวัลแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้ตามจำนวนในข้อ 4 (1)ส่วนข้อยกเว้นที่จะไม่จ่ายเงินรางวัลคงเป็นไปตามข้อ 6 (5) คือในกรณีที่อธิบดีกรมศุลกากรพิจารณาเห็นว่า ความผิดที่เกิดขึ้นเป็นความผิดซึ่งตามปกติวิสัยย่อมจะตรวจพบอยู่แล้วเท่านั้น ซึ่งเป็นการให้อำนาจแก่อธิบดีกรมศุลกากรที่จะใช้ดุลพินิจได้โดยลำพังว่า ความผิดที่เกิดขึ้นอันเป็นเหตุให้มีการจ่ายเงินรางวัลนั้นเป็นความผิดซึ่งตามปกติวิสัยย่อมจะตรวจพบอยู่แล้วหรือไม่ บทบัญญัติดังกล่าวหาเป็นเงื่อนไขเด็ดขาดที่จะต้องงดการจ่ายเงินรางวัลดังเช่นที่กำหนดไว้ในข้อ 11และข้อ 12 แห่งระเบียบดังกล่าวข้างต้นไม่ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่ามีการกระทำความผิดฐานลักลอบหนีศุลกากรหรือของต้องห้ามต้องกำกัดในการนำเข้ามาในราชอาณาจักร อันมีผลทำให้มีการจ่ายเงินรางวัลตามระเบียบกรมศุลกากรว่าด้วยการจ่ายเงินสินบนและรางวัล พ.ศ. 2517 ข้อ 4 (1) และจำเลยที่ 2ซึ่งใช้อำนาจของอธิบดีกรมศุลกากรพิจารณาสั่งให้จ่ายเงินรางวัลโดยไม่ได้ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ซึ่งใช้อำนาจของอธิบดีกรมศุลกากรหรืออธิบดีกรมศุลกากรในขณะนั้นได้พิจารณาเห็นว่า ความผิดที่เกิดขึ้นจากการตรวจจับสินค้ารายพิพาทนี้เป็นความผิดซึ่งตามปกติวิสัยย่อมจะตรวจพบอยู่แล้ว และสั่งมิให้จ่ายเงินรางวัลแต่ประการใดคำสั่งให้จ่ายเงินรางวัลของจำเลยที่ 2 จึงหาเป็นคำสั่งที่ผิดต่อระเบียบกรมศุลกากรว่าด้วยการจ่ายเงินสินบนและรางวัล พ.ศ.2517 ไม่ จำเลยที่ 1 ถึงที่ 57 จึงไม่ต้องคืนเงินรางวัลแก่โจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง /เมื่อ
เมื่อจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นรองอธิบดีกรมศุลการปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมศุลการได้ใช้ดุลพินิจพิจารณาแล้วเห็นว่ามีเหตุที่จะอนุมัติจ่ายเงินรางวัลได้ตามระเบียบกรมศุลกากร ว่าด้วยการจ่ายเงินสินบนและรางวัล พ.ศ.2517 และเห็นว่ามิใช่เป็นกรณีความผิดที่เกิดขึ้นเป็นความผิดซึ่งตามปกติวิสัยย่อมจะตรวจพบอยู่แล้ว จึงได้มีคำสั่งอนุมัติให้จ่ายเงินรางวัลแก่จำเลยทั้งห้าสิบเจ็ดไปเมื่อจำเลยที่ 2 ได้ใช้ดุลพินิจสั่งอนุมัติจ่ายเงินรางวัลโดยทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการจับกุมสินค้าและการเสนอขออนุมัติเบิกเงินรางวัลได้กระทำโดยถูกต้องตามขั้นตอนตามระเบียบการปฏิบัติราชการแล้ว จึงไม่อาจถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้ใช้ดุลพินิจโดยประมาทเลินเล่อแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1929/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสั่งจำหน่ายคดีทิ้งฟ้อง & ละเมิดจากจัดการงานเกินอำนาจ
อำนาจสั่งจำหน่ายคดีในกรณีทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 132 นั้น กฎหมายให้อำนาจศาลไว้เพื่อใช้ตามสมควรแก่กรณี ไม่ใช่เป็นบทบัญญัติบังคับว่าจะต้องจำหน่ายคดีเสมอไป ถ้าศาลใช้ดุลพินิจไม่สั่งจำหน่ายคดีก็ต้องชี้ขาดตัดสินไปตาม ป.วิ.พ. มาตรา 133
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 2 ละเว้นไม่ปฏิบัติตามระเบียบและคำสั่งของโจทก์ ไม่ควบคุมดูแลและไม่ตรวจสอบติดตามว่าได้ใช้เงินจัดซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงและน้ำมันหล่อลื่นไปเกินกว่างบประมาณที่โจทก์จัดสรร และไม่รายงานให้จำเลยที่ 1ทราบ ทำให้จำเลยที่ 1 ไม่ได้รายงานถึงจำนวนหนี้ให้โจทก์ทราบก่อนวันสิ้นปีงบประมาณ ทำให้โจทก์ไม่สามารถขออนุมัติงบประมาณเพิ่มเติม เป็นเหตุให้โจทก์ต้องชำระเงินให้แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ว. คำฟ้องดังกล่าวเป็นคำฟ้องให้รับผิดในลักษณะละเมิดซึ่งมีอายุความ 1 ปี มิใช่เป็นการฟ้องใช้สิทธิไล่เบี้ยซึ่งมีอายุความ10 ปี
ป.พ.พ. มาตรา 396 บัญญัติว่า "ถ้าการที่เข้าจัดการงานนั้นเป็นการขัดกับความประสงค์อันแท้จริงของตัวการก็ดี หรือขัดกับความประสงค์ตามที่พึงสันนิษฐานได้ก็ดี และผู้จัดการก็ควรจะได้รู้สึกเช่นนั้นแล้วด้วยไซร้ ท่านว่าผู้จัดการจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ตัวการ เพื่อความเสียหายอย่างใด ๆอันเกิดแต่การที่ได้เข้าจัดการนั้น แม้ทั้งผู้จัดการจะมิได้มีความผิดประการอื่น"หมายความว่า ผู้จัดการได้เข้าจัดการงานอันเป็นการขัดกับความประสงค์อันแท้จริงของตัวการ หรือขัดกับความประสงค์ที่พึงสันนิษฐานได้ ทั้ง ๆ ที่รู้อยู่แล้วว่าตัวการไม่ประสงค์เช่นนั้น หรือน่าจะรู้ว่าตัวการไม่ประสงค์เช่นนั้น การที่จำเลยที่ 1จัดซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงและน้ำมันหล่อลื่นจากห้างหุ้นส่วนจำกัด ว. และนำไปใช้ในหน่วยงานในสังกัดของโจทก์ หลังจากหมดงบประมาณแล้ว และโจทก์ก็เคยรับแจ้งให้จัดสรรงบประมาณเพื่อนำไปชำระหนี้ให้แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ว.ซึ่งโจทก์ก็รับรู้และยอมรับการปฏิบัติดังกล่าวเรื่อยมา กรณีจึงเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 ทำไปตามอำนาจหน้าที่ในฐานะผู้บริหารหน่วยงาน หาใช่ทำไปโดยขัดกับความประสงค์อันแท้จริงของโจทก์ตามมาตรา 396 ไม่
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 2 ละเว้นไม่ปฏิบัติตามระเบียบและคำสั่งของโจทก์ ไม่ควบคุมดูแลและไม่ตรวจสอบติดตามว่าได้ใช้เงินจัดซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงและน้ำมันหล่อลื่นไปเกินกว่างบประมาณที่โจทก์จัดสรร และไม่รายงานให้จำเลยที่ 1ทราบ ทำให้จำเลยที่ 1 ไม่ได้รายงานถึงจำนวนหนี้ให้โจทก์ทราบก่อนวันสิ้นปีงบประมาณ ทำให้โจทก์ไม่สามารถขออนุมัติงบประมาณเพิ่มเติม เป็นเหตุให้โจทก์ต้องชำระเงินให้แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ว. คำฟ้องดังกล่าวเป็นคำฟ้องให้รับผิดในลักษณะละเมิดซึ่งมีอายุความ 1 ปี มิใช่เป็นการฟ้องใช้สิทธิไล่เบี้ยซึ่งมีอายุความ10 ปี
ป.พ.พ. มาตรา 396 บัญญัติว่า "ถ้าการที่เข้าจัดการงานนั้นเป็นการขัดกับความประสงค์อันแท้จริงของตัวการก็ดี หรือขัดกับความประสงค์ตามที่พึงสันนิษฐานได้ก็ดี และผู้จัดการก็ควรจะได้รู้สึกเช่นนั้นแล้วด้วยไซร้ ท่านว่าผู้จัดการจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ตัวการ เพื่อความเสียหายอย่างใด ๆอันเกิดแต่การที่ได้เข้าจัดการนั้น แม้ทั้งผู้จัดการจะมิได้มีความผิดประการอื่น"หมายความว่า ผู้จัดการได้เข้าจัดการงานอันเป็นการขัดกับความประสงค์อันแท้จริงของตัวการ หรือขัดกับความประสงค์ที่พึงสันนิษฐานได้ ทั้ง ๆ ที่รู้อยู่แล้วว่าตัวการไม่ประสงค์เช่นนั้น หรือน่าจะรู้ว่าตัวการไม่ประสงค์เช่นนั้น การที่จำเลยที่ 1จัดซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงและน้ำมันหล่อลื่นจากห้างหุ้นส่วนจำกัด ว. และนำไปใช้ในหน่วยงานในสังกัดของโจทก์ หลังจากหมดงบประมาณแล้ว และโจทก์ก็เคยรับแจ้งให้จัดสรรงบประมาณเพื่อนำไปชำระหนี้ให้แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ว.ซึ่งโจทก์ก็รับรู้และยอมรับการปฏิบัติดังกล่าวเรื่อยมา กรณีจึงเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 ทำไปตามอำนาจหน้าที่ในฐานะผู้บริหารหน่วยงาน หาใช่ทำไปโดยขัดกับความประสงค์อันแท้จริงของโจทก์ตามมาตรา 396 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1925/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บุคคลล้มละลาย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจแต่เพียงผู้เดียวในการต่อสู้คดี แม้มติเจ้าหนี้ไม่ประสงค์ให้ดำเนินการ
เมื่อจำเลยเป็นบุคคลล้มละลายอำนาจในการต่อสู้คดีย่อมเป็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา22(3)แม้ที่ประชุมเจ้าหนี้จะมีมติว่าไม่ประสงค์ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้าว่าคดีแทนหรือมีมติประการใดก็ไม่ทำให้อำนาจในการต่อสู้คดีของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เปลี่ยนแปลงไปจำเลยจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาด้วยตนเอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1610/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รับของโจร: ศาลฎีกามีอำนาจลงโทษฐานรับของโจร แม้ศาลล่างจะปรับบทจากความผิดฐานใช้ให้ผู้อื่นกระทำความผิด
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์หรือรับของโจรศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดฐานใช้ให้ผู้อื่นกระทำผิดฐานลักทรัพย์ ยกฟ้องฐานรับของโจรจำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ยกฟ้อง โจทก์ฎีกาศาลฎีกาเห็นว่า ข้อเท็จจริงที่โจทก์นำสืบฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นผู้ใช้ให้ผู้อื่นกระทำผิดฐานลักทรัพย์แต่การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานรับของโจร ดังนี้ แม้ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณาจะต่างกันระหว่างการกระทำผิดฐานลักทรัพย์และรับของโจรก็ไม่ถือว่าต่างกันในสาระสำคัญและจำเลยก็มิได้หลงต่อสู้ ทั้งข้อเท็จจริงดังกล่าวศาลล่างทั้งสองก็ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วเพียงแต่ปรับบทฐานความผิดต่างกันเท่านั้น ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานรับของโจรตามข้อเท็จจริงที่ได้ความได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1115/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอนุมัติเกษียณอายุ ต้องเป็นผู้มีอำนาจอนุมัติ การบันทึก 'เพื่อพิจารณาอนุมัติ' ไม่ถือเป็นการอนุมัติ
ศาลแรงงานวินิจฉัยว่าผู้ที่มีอำนาจอนุมัติให้โจทก์เกษียณอายุก่อนครบกำหนดได้คือกรรมการผู้จัดการดังนั้นที่ผู้จัดการโรงงานของจำเลยบันทึกลงในคำขอเกษียณอายุก่อนครบกำหนดของโจทก์ว่าเพื่อพิจารณาอนุมัติจึงเป็นการบันทึกเสนอให้กรรมการผู้จัดการพิจารณาเท่านั้นหาใช่เป็นการอนุมัติให้โจทก์เกษียณอายุก่อนครบกำหนดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1097/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประนอมหนี้หลังล้มละลาย: อำนาจหน้าที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ และผลผูกพันของข้อตกลง
เมื่อศาลเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ภายหลังล้มละลายและมีคำสั่งให้ยกเลิกการล้มละลายกับให้ลูกหนี้มีอำนาจเกี่ยวกับทรัพย์สินของตนตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา63ลูกหนี้ย่อมหลุดพ้นจากภาวะล้มละลายและมีอำนาจจัดการเกี่ยวกับกิจการและทรัพย์สินได้ต่อไปและการประนอมหนี้ภายหลังล้มละลายซึ่งที่ประชุมเจ้าหนี้ได้ยอมรับและศาลเห็นชอบแล้วย่อมผูกมัดเจ้าหนี้ทั้งหมดในเรื่องหนี้ซึ่งอาจขอรับชำระได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา63ประกอบมาตรา56ดังนั้นลูกหนี้จึงมีหน้าที่ต้องชำระหนี้ตามที่ได้ตกลงไว้ในการประนอมหนี้ภายหลังล้มละลายเท่านั้นและถ้าลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามที่ตกลงไว้ในการประนอมหนี้ภายหลังล้มละลายเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ชอบที่จะรายงานต่อศาลให้มีคำสั่งยกเลิกการประนอมหนี้และพิพากษาให้ล้มละลายตามพระราชบัญญัติ ล้มละลายฯมาตรา63ประกอบมาตรา60เจ้าหนี้จะยื่นคำร้องขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เรียกประชุมเจ้าหนี้เพื่อเพิ่มเติมเงื่อนไขการประนอมหนี้โดยให้ลูกหนี้นำเงินที่มีสิทธิจะได้จากการขายทอดตลาดในคดีแพ่งมาชำระหนี้ให้แก่กองทรัพย์สินของลูกหนี้หาได้ไม่เพราะเท่ากับเป็นการขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการนอกเหนือไปจากอำนาจหน้าที่และเป็นการเข้าไปจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้โดยตรงในขณะที่ลูกหนี้หลุดพ้นจากการล้มละลายแล้วไม่ว่าภายหลังจากนั้นจะเกิดมีข้อเท็จจริงเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้อย่างไรและแม้จะมีผลทำให้เจ้าหนี้สามารถได้รับชำระหนี้ได้เร็วกว่าที่ลูกหนี้ตกลงไว้ในการประนอมหนี้ก็ไม่อาจร้องขอให้นัดประชุมเจ้าหนี้เพื่อเพิ่มเติมเงื่อนไขข้อตกลงประนอมหนี้นอกเหนือไปจากที่ลูกหนี้ได้ตกลงไว้ในการประนอมหนี้นั้นได้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงไม่มีอำนาจเรียกประชุมเจ้าหนี้