พบผลลัพธ์ทั้งหมด 162 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 625/2482
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การป้องกันเกินสมควรแก่เหตุจากการถูกบุกรุกเคหสถานโดยเจ้าพนักงานที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
พฤตติการณ์ที่ถือว่าเป็นการฆ่าคนตายโดยป้องกัน+สมควรแก่เหตุ+นันขึ้นไปจับบุคคลถึง+เรือนเขาโดยไม่มีหมาย+กรณีไม่เข้าในข้อยกเว้น 4 ประการของมาตรา 78 แห่งประมวลวิธีพิจารณาอาญา ดังนี้ การกระทำของกำนันไม่ถือว่าเป็นการกระทำของเจ้าพนักงานผู้กระทำตามหน้าที่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 130/2481
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บุกรุกเคหสถานเพื่อพบชู้สาว แม้มิได้มีการนัดหมาย ถือมีความผิดฐานบุกรุก
ลักลอบเข้าไปในเคหะสถานเขาในเวลาค่ำคืน ถึงแม้จะปรากฎว่าเข้าไปเพื่อหาชู้สาว แต่ไม่ปรากฎว่าได้เข้าไปโดยการแนะนัดของผู้ที่อยู่ในเคหะสถานนั้นแล้วต้องมีความผิดฐานบุกรุก
อ้างฎีกาที่ 636/2460
อ้างฎีกาที่ 636/2460
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 499-500/2475
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายจากการบุกรุกเคหสถานในเวลากลางคืน
ป้องกันพอสมควร ปีนเสาเรือนเขาในเวลากลางคืน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 956/2474
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานลักทรัพย์ในเคหสถาน: ข้อแตกต่างระหว่าง ม.294 ข้อ 1 และ ม.294 ตอน 2
เข้าไปลักหีบบรรจุทรัพย์ในบ้านเรือนมีผิดตาม ม.294 ตอน 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3581/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเช่าช่วงตึกแถวโดยไม่ได้รับความยินยอม การลักทรัพย์ในเคหสถาน และกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ติดตั้ง
หนังสือสัญญาเช่าตึกแถว ระบุว่าผู้เช่าจะไม่นำตึกแถวออกให้ผู้อื่นเช่าช่วงเว้นแต่จะได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากผู้ให้เช่า การนำตึกแถวดังกล่าวออกให้เช่าช่วงจึงต้องได้รับความยินยอมจากผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้ให้เช่าเสียก่อน สัญญาเช่าช่วงระหว่าง ฉ. ผู้เช่ากับจำเลยและ ก. ไม่มีผลผูกพันผู้เสียหาย จำเลยและ ก. จึงอยู่ในตึกแถวดังกล่าวในฐานะเป็นบริวารของ ฉ. เมื่อจำเลยไม่ชำระค่าเช่าแก่ผู้เสียหายตามที่ตกลงไว้กับ ฉ. จำเลยตกเป็นฝ่ายผิดนัด ผู้ให้เช่ามีสิทธิยึดถือครอบครองตึกแถวและทรัพย์ในตึกแถวดังกล่าวได้ จำเลยจึงไม่มีสิทธิเข้าไปในตึกแถวที่เกิดเหตุได้อีก
บันทึกข้อตกลงประกอบการเช่า ข้อ 2. ระบุว่า "ทรัพย์สินใด ๆ ที่ผู้เช่าได้ก่อสร้างต่อเติมและตกแต่งตัวอาคารโดยเป็นค่าใช้จ่ายของผู้เช่าทั้งหมดนั้น ผู้เช่าตกลงยินยอมให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้าของอาคารสถานที่ที่ให้เช่านั้นทันที รวมทั้งวัสดุอุปกรณ์และสิ่งของต่าง ๆ ที่ผู้เช่าต้องนำเข้าไว้ใช้ในกิจการร้านอาหารของผู้เช่าทั้งสิ้นนับแต่วันที่ได้นำเข้ามาในบ้านเช่า ยกเว้นตู้โค้กและแผงไฟชื่อป้ายหน้าร้านนอกตัวอาคาร" ซึ่ง ฉ. ย่อมต้องผูกพันตามข้อสัญญาดังกล่าว และถือได้ว่าทรัพย์ดังกล่าวเป็นทรัพย์ที่ ฉ. ในฐานะผู้เช่าต้องนำเข้าไว้ใช้ในกิจการร้านอาหารของ ฉ. ทั้งสิ้น ทรัพย์ดังกล่าวจึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้เสียหายทันทีนับแต่วันที่นำเข้าไว้ในตึกแถว ฉ. จึงไม่มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ดังกล่าวอีกต่อไป และไม่อาจโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ดังกล่าวให้แก่จำเลยและ ก. ได้
ตาม ป.อ. มาตรา 1 (4) บัญญัติว่า "เคหสถาน หมายความว่า ที่ซึ่งใช้เป็นที่อยู่อาศัย เช่น เรือน โรง เรือ หรือแพ ซึ่งคนอยู่อาศัย และให้หมายความรวมถึงบริเวณของที่ซึ่งใช้เป็นที่อยู่อาศัยนั้นด้วย จะมีรั้วล้อมหรือไม่ก็ตาม" ดังนั้น แม้ขณะเกิดเหตุตึกแถวดังกล่าวไม่มีคนอยู่อาศัย แต่โดยสภาพแล้วตึกแถวดังกล่าวเป็นที่ซึ่งใช้เป็นที่อยู่อาศัย จึงเป็นเคหสถาน การที่จำเลยกับพวกเข้าไปในตึกแถวโดยไม่ได้รับอนุญาตแล้วเอาทรัพย์ซึ่งตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้เสียหายตามบันทึกข้อตกลงออกไปจากตึกแถวดังกล่าวโดยเจตนาทุจริต จึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ในเคหสถาน
บันทึกข้อตกลงประกอบการเช่า ข้อ 2. ระบุว่า "ทรัพย์สินใด ๆ ที่ผู้เช่าได้ก่อสร้างต่อเติมและตกแต่งตัวอาคารโดยเป็นค่าใช้จ่ายของผู้เช่าทั้งหมดนั้น ผู้เช่าตกลงยินยอมให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้าของอาคารสถานที่ที่ให้เช่านั้นทันที รวมทั้งวัสดุอุปกรณ์และสิ่งของต่าง ๆ ที่ผู้เช่าต้องนำเข้าไว้ใช้ในกิจการร้านอาหารของผู้เช่าทั้งสิ้นนับแต่วันที่ได้นำเข้ามาในบ้านเช่า ยกเว้นตู้โค้กและแผงไฟชื่อป้ายหน้าร้านนอกตัวอาคาร" ซึ่ง ฉ. ย่อมต้องผูกพันตามข้อสัญญาดังกล่าว และถือได้ว่าทรัพย์ดังกล่าวเป็นทรัพย์ที่ ฉ. ในฐานะผู้เช่าต้องนำเข้าไว้ใช้ในกิจการร้านอาหารของ ฉ. ทั้งสิ้น ทรัพย์ดังกล่าวจึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้เสียหายทันทีนับแต่วันที่นำเข้าไว้ในตึกแถว ฉ. จึงไม่มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ดังกล่าวอีกต่อไป และไม่อาจโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ดังกล่าวให้แก่จำเลยและ ก. ได้
ตาม ป.อ. มาตรา 1 (4) บัญญัติว่า "เคหสถาน หมายความว่า ที่ซึ่งใช้เป็นที่อยู่อาศัย เช่น เรือน โรง เรือ หรือแพ ซึ่งคนอยู่อาศัย และให้หมายความรวมถึงบริเวณของที่ซึ่งใช้เป็นที่อยู่อาศัยนั้นด้วย จะมีรั้วล้อมหรือไม่ก็ตาม" ดังนั้น แม้ขณะเกิดเหตุตึกแถวดังกล่าวไม่มีคนอยู่อาศัย แต่โดยสภาพแล้วตึกแถวดังกล่าวเป็นที่ซึ่งใช้เป็นที่อยู่อาศัย จึงเป็นเคหสถาน การที่จำเลยกับพวกเข้าไปในตึกแถวโดยไม่ได้รับอนุญาตแล้วเอาทรัพย์ซึ่งตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้เสียหายตามบันทึกข้อตกลงออกไปจากตึกแถวดังกล่าวโดยเจตนาทุจริต จึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ในเคหสถาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3153/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พฤติการณ์รื้อค้นหาทรัพย์สินในเคหสถานโดยไม่มีเจตนาลักทรัพย์ ถือเป็นความพยายามลักทรัพย์ได้
โจทก์ฟ้องและนำสืบว่า จำเลยบุกรุกเข้าไปในบ้านของผู้เสียหาย แล้วลักเงิน 20,000 บาท ซึ่งอยู่ในกระเป๋าสะพายของผู้เสียหายไป ข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยเข้าไปในบ้านของผู้เสียหายโดยไม่ได้รับอนุญาต แล้วรื้อค้นลิ้นชักพลาสติกที่เชิงบันได โดยเมื่อค้นในลิ้นชักอันบนสุดพบกระเป๋าสะพายและกระเป๋าสตางค์ใบเล็ก จำเลยก็ดึงออกมาจากลิ้นชักแล้วค้นหาสิ่งของในกระเป๋าสะพายและกระเป๋าสตางค์ดังกล่าว จากนั้นจำเลยเดินขึ้นบันไดไปบนระเบียงชั้นบนของบ้านและค้นหาสิ่งของที่กองเครื่องมือของใช้ที่วางอยู่บนระเบียงเป็นเวลานาน แล้วกลับลงไปรื้อค้นหาสิ่งของที่ลิ้นชักพลาสติกชั้นอื่นทุกลิ้นชัก เห็นได้ว่า จำเลยมีเจตนาค้นหาเงินและของมีค่าอื่นในจุดที่จำเลยคาดว่าผู้เสียหายหรือบุคคลในครอบครัวผู้เสียหายน่าจะเก็บหรือซุกซ่อนไว้ ฟังได้ว่ามีเจตนาค้นหาและประสงค์จะลักเงินของผู้เสียหายไปนั่นเอง ถือว่าจำเลยได้ลงมือกระทำความผิดและกระทำไปตลอดแล้ว แต่การกระทำไม่บรรลุผลเพราะไม่มีเงินที่จะลักอยู่ในกระเป๋าสะพายและจุดรื้อค้น การกระทำของจำเลยจึงเป็นการพยายามลักเงินของผู้เสียหาย แต่การกระทำไม่อาจบรรลุผลได้อย่างแน่แท้เพราะเหตุวัตถุที่มุ่งหมายกระทำต่อ เป็นการพยายามกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ในเคหสถานตาม ป.อ. มาตรา 335 (8) วรรคแรก ประกอบมาตรา 81
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3874/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดพยายามกรรโชกทรัพย์ การบุกรุกเคหสถาน และการลดโทษทางอาญา
ขณะเกิดเหตุ ร้านเสริมสวยของผู้เสียหายที่ 1 ยังเปิดให้บริการอยู่ ประชาชนทั่วไปรวมทั้งจำเลยทั้งสองมีความชอบธรรมที่จะเข้าไปได้ ไม่ถือเป็นเคหสถาน ดังนั้น การที่จำเลยทั้งสองกับพวกเข้าไปในร้านดังกล่าวแล้วร่วมกันพยายามกรรโชก และใช้กำลังทำร้ายผู้เสียหายทั้งสอง จึงไม่เป็นความผิดฐานบุกรุกเคหสถาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 21739/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการ: การย้ายกลับที่เดิม & การมีเคหสถานแล้วย่อมไม่มีสิทธิ
พ.ร.ฎ.ค่าเช่าบ้านข้าราชการเป็นกฎหมายที่มีเจตนารมณ์เพื่อช่วยเหลือข้าราชการที่ได้รับความเดือดร้อนในเรื่องที่อยู่อาศัยเพราะราชการเป็นเหตุ เนื่องจากได้รับคำสั่งให้ไปประจำสำนักงานในท้องที่ที่ตนไม่มีที่อยู่อาศัย พ.ร.ฎ.ค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ.2527 มาตรา 4 ได้นิยามคำว่า "ท้องที่" ไว้ว่า หมายความถึง กรุงเทพมหานคร อำเภอหรือกิ่งอำเภอ เห็นได้ว่า ตามบทนิยามดังกล่าวมิได้ประสงค์ให้ใช้อำเภอหรือกิ่งอำเภอเป็นหลักในการกำหนดว่าเป็นท้องที่ที่รับราชการครั้งแรก จึงต้องพิจารณาจากท้องที่ ที่เป็นเขตพื้นที่การปกครองของอำเภอหรือกิ่งอำเภอตามสภาพความเป็นจริง โดยการเปลี่ยนแปลงพื้นที่การปกครองที่เกิดขึ้นภายหลังจะต้องไม่มีผลกระทบต่อสิทธิที่เกิดขึ้นมาก่อน ดังนั้น การที่ ม. บรรจุรับราชการครั้งแรกที่ตำบลเวียงชัย อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย แต่ต่อมาย้ายมารับราชการภายหลังจากที่ตำบลเวียงชัยมีพระราชกฤษฎีกายกฐานะจากตำบลเวียงชัย เป็นอำเภอเวียงชัยแล้ว ก็ไม่ทำให้ ม. เกิดสิทธิที่จะเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการตามมาตรา 7 (3) ได้ ส่วนการที่ ม. กู้เงินจากสถาบันการเงินเพื่อปลูกสร้างบ้านที่อำเภอเมืองเชียงรายซึ่งเป็นท้องที่ที่ตนบรรจุรับราชการครั้งแรกและเป็นท้องที่ที่ได้รับคำสั่งให้ย้ายไปประจำสำนักงานใหม่ กรณีย่อมถือได้ว่า ม. มีเคหสถานของตนในท้องที่ดังกล่าว จึงต้องห้ามมิให้เบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการตามมาตรา 7 (2) เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2137/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตเคหสถาน: การบุกรุกร้านซ่อมที่เปิดอยู่ในบ้านพักอาศัย
ผู้เสียหายใช้บ้านพักอาศัยส่วนหนึ่งเปิดเป็นร้านซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้า ในเวลาที่ผู้เสียหายเปิดบริการซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าอยู่ บริเวณดังกล่าวย่อมเป็นสาธารณสถาน ซึ่งประชาชนทั่วไปรวมทั้งจำเลยที่ 1 มีความชอบธรรมที่จะเข้าไปได้ แต่เมื่อผู้เสียหายปิดร้านหรือหมดเวลาให้บริการในแต่ละวันแล้ว บริเวณดังกล่าวจึงจะเป็นเคหสถานที่ใช้อยู่อาศัย ดังนั้น เมื่อขณะเกิดเหตุผู้เสียหายยังเปิดให้บริการซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าอยู่ การที่จำเลยที่ 1 เข้าไปในร้านดังกล่าวจึงไม่เป็นความผิดฐานบุกรุกเคหสถาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8207/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบุกรุกเคหสถานหลังหย่า: สิทธิการครอบครองบ้านที่ยกให้บุตร
โจทก์ร่วมกับจำเลยตกลงยกบ้านที่เกิดเหตุให้แก่บุตร และให้บุตรอยู่ในอำนาจปกครองของโจทก์ร่วม อีกทั้งยังได้มีการย้ายชื่อจำเลยออกจากบ้านเกิดเหตุไปแล้วภายหลังจากจดทะเบียนหย่า 8 วัน ย่อมแสดงว่าบ้านที่เกิดเหตุเป็นบ้านที่โจทก์ร่วมกับบุตรพักอาศัยอยู่ด้วยกันภายหลังจากที่โจทก์ร่วมกับจำเลยหย่าขาดจากกันแล้ว จำเลยไม่มีสิทธิใด ๆ ที่จะมาพักอาศัยอยู่ในบ้านเกิดเหตุอีก มิฉะนั้นการหย่าและข้อตกลงเรื่องจดทะเบียนหย่าระหว่างโจทก์ร่วมกับจำเลยจะไม่มีผลแต่ประการใด เมื่อจำเลยไม่มีสิทธิพักอาศัยอยู่ในบ้านเกิดเหตุ การกระทำของจำเลยที่เข้าไปในบ้านเกิดเหตุช่วงเวลาดึกประมาณเที่ยงคืนถึงหนึ่งนาฬิกาเช่นนี้ ถือได้ว่าเป็นการเข้าไปในเคหสถานซึ่งอยู่ในความครอบครองของผู้อื่นโดยไม่มีเหตุอันสมควร