พบผลลัพธ์ทั้งหมด 167 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 824/2483
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อvs.ซื้อขาย: การตีความราคาและสิทธิในการหักเงินมัดจำ
++ไม่มีสิทธินำพะยาน++เป็นการเพิ่มเติมแก้ไขสัญญา ทำสัญญาเข่าซื้อรถยนต์ตกลงราคากัน 1200 บาท ++นี้ จะขอนำพะยานมาสืบ++ทำสัญญาซื้อขายรถยนต์++ 1500 บาท มิได้++เป็นการสืบเพิ่มเติมตามสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 727/2483
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเรียกคืนเงินมัดจำหลังเหตุผิดสัญญาเปลี่ยนไป ไม่ถือเป็นการฟ้องซ้ำ
โจทก์เคยฟ้องเรียกเงินมัดจำคืนโดยหาว่าจำเลยผิดสัญญาศาลยกฟ้องภายหลัง จำเลยตกอยู่ในฐานะไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาได้โจทก์ก็ฟ้องเรียกเงินมัดจำคืนได้ ไม่เป็นการฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1035/2475
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินมัดจำ, สัญญาซื้อขาย, การผิดนัด, ค่าเสียหาย, สิทธิของคู่สัญญา
เงินมัดจำที่ผู้ซื้อให้ไว้เมื่อผู้ซื้อผิดนัดผู้ขายริบได้และยังมีอำนาจเรียกให้ผู้ซื้อชำระราคาหรือเรียกให้ใช้ค่าเสียหายก็ได้ ผู้ซื้อผิดนัดผู้ขายได้ค่าเสียหายแล้วจะเรียกค่าเสียหายซ้ำอีกไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 627/2474
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินมัดจำไม่ใช่เงื่อนไขสัญญาซื้อขาย: สัญญาซื้อขายสมบูรณ์เมื่อตกลงกันแล้ว แม้ยังไม่ได้วางเงินมัดจำทั้งหมด
อย่างไรเรียกว่าเงื่อนไข จะวางเงินมัดจำไม่ใช่ เงื่อนไขซื้อขายสังหาริมทรัพย์เกินห้าร้อยบาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 529/2473
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงื่อนไขการคืนเงินมัดจำเมื่อมีเจ้าหนี้คัดค้านสัญญาเซ้ง การบอกเลิกสัญญา
เงื่อนไขบังคับหลังเงินมัดจำคืนบอกเลิกสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1267/2473
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินประกันการปฏิบัติสัญญาต่างจากเงินมัดจำ ดอกเบี้ยคิดจากวันที่ผิดสัญญา
อย่างไรเรียกว่าเงินมัดจำ เงินประกันเรียกดอกเบี้ยได้แต่วันที่คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งผิดสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6175-6177/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดินในเขตป่าสงวน/ปฏิรูปที่ดินเป็นโมฆะ เงินมัดจำไม่สามารถเรียกร้องคืนได้
โจทก์ทั้งสามรู้อยู่แล้วว่าที่ดินพิพาททั้งสามแปลงอยู่ในเขตป่าสงวนและเขตปฏิรูปที่ดิน ต้องห้ามแบ่งแยกหรือโอนสิทธิในที่ดินไปยังบุคคลอื่น ได้เข้าทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาท นิติกรรมซื้อขายที่ดินพิพาทจึงตกเป็นโมฆะ เงินมัดจำที่โจทก์มอบให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 จึงเป็นการชำระหนี้ที่ฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายกรณีต้องด้วย ป.พ.พ. มาตรา 411 จึงหาอาจเรียกคืนได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5792/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพราง สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินเป็นเพียงการค้ำประกันหนี้ เงินมัดจำคืนได้บางส่วน
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยไม่ตรงกับเจตนาที่แท้จริงของคู่กรณี เป็นการแสดงเจตนาลวงด้วยสมรู้ระหว่างคู่กรณี นิติกรรมที่แสดงออกมาว่าเป็นสัญญาจะซื้อจะขาย ที่ดินพิพาทจึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคหนึ่ง ส่วนเจตนาที่แท้จริงของคู่กรณีคือจำเลยยอมชำระเงินแทน ฉ. ในมูลหนี้ที่ ฉ. ทำสัญญากู้เงิน ป. สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทจึงถือได้ว่าเป็นการค้ำประกันการกู้ยืมเงินของ ฉ. โดยมีจำเลยเป็นผู้ค้ำประกัน
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยคืนเงินมัดจำกรณีโอนที่ดินกันไม่ได้เท่ากับโจทก์ขอให้ชำระหนี้ค้ำประกัน หาใช่เป็นเรื่องนอกฟ้องนอกประเด็นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง ไม่
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยคืนเงินมัดจำกรณีโอนที่ดินกันไม่ได้เท่ากับโจทก์ขอให้ชำระหนี้ค้ำประกัน หาใช่เป็นเรื่องนอกฟ้องนอกประเด็นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3736/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นโมฆะเนื่องจากเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี สัญญาเป็นโมฆะทั้งสิ้น คืนเงินมัดจำ
โจทก์และจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ตกลงจะซื้อจะขายที่ดิน 3 แปลง รวมทั้งสิ่งปลูกสร้างและทรัพย์สินอื่นตามที่ระบุในสัญญาในราคารวม 56,000,000 บาท โดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายกับค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ในการโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินดังกล่าว ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน ข้อ 1 และข้อ 3 ระบุว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ตกลงจะทำการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์เป็นที่ดินเปล่าตามราคาประเมินของสำนักงานที่ดินอำเภอพระประแดงเป็นเกณฑ์ ข้อเท็จจริงได้ความว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ยื่นคำขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในข้อ 5 (3) โดยระบุว่าขายเฉพาะที่ดินไม่รวมสิ่งปลูกสร้างซึ่งไม่ตรงกับความจริง จำเลยที่ 2 เบิกความรับว่าหากโจทก์ต้องการให้จดทะเบียนโอนสิ่งปลูกสร้างด้วย โจทก์ต้องรับผิดชอบเสียค่าธรรมเนียมที่เพิ่มขึ้นอีกประมาณ 1,000,000 บาท การกระทำของโจทก์และจำเลยทั้งสองที่ตกลงกันตามสัญญาดังกล่าวในข้อ 3 บ่งชี้ว่าเป็นการหลีกเลี่ยงค่าธรรมเนียมและค่าภาษีในการโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างตามที่ซื้อขายกันจริง ข้อตกลงดังกล่าวจึงมีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายและขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 ส่วนข้อตกลงในการซื้อขายที่ดินรวมทั้งสิ่งปลูกสร้างและทรัพย์สินอื่นตามข้อ 1 นั้น แม้จะกระทำได้โดยชอบด้วยกฎหมาย แต่เมื่อข้อตกลงในข้อ 3 ไม่มีผลบังคับแล้วย่อมเป็นการพ้นวิสัยที่จะโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ซื้อขายกันดังกล่าวได้ ข้อตกลงในข้อ 1 จึงเป็นโมฆะตามบทบัญญัติดังกล่าวเช่นกัน ดังนั้นโจทก์หรือจำเลยทั้งสองย่อมไม่มีสิทธิและหน้าที่ต่อกันจึงไม่อาจบังคับให้อีกฝ่ายหนึ่งปฏิบัติตามสัญญาหรือเรียกค่าเสียหายต่อกันได้ ดังนั้นจำเลยทั้งสองต้องคืนเงินมัดจำจำนวน 5,600,000 บาท ให้แก่โจทก์ ซึ่งมิใช่กรณีอันเกิดจากการเลิกสัญญา จำเลยทั้งสองจึงไม่ต้องรับผิดพร้อมด้วยดอกเบี้ย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1783/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โมฆียะกรรมสัญญาซื้อขายที่ดินของผู้เยาว์ สิทธิในการยึดหน่วงโฉนดเมื่อไม่มีการวางเงินมัดจำจริง
โจทก์เป็นผู้เยาว์ได้ทำนิติกรรมสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินของตนแก่จำเลยที่ 1 เป็นกรณีที่ผู้เยาว์กระทำนิติกรรมเอง ไม่ใช่ผู้ปกครองของจำเลยที่ 1 เป็นผู้กระทำ จึงหาใช่กรณีตาม ป.พ.พ. มาตรา 1574 ไม่ แต่ต้องปรับตามมาตรา 21 ซึ่งบัญญัติว่า ผู้เยาว์จะกระทำนิติกรรมใดต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมก่อน มิฉะนั้นนิติกรรมนั้นจะเป็นโมฆียะ เมื่อมีการบอกล้างก็ให้ถือว่าเป็นโมฆะมาตั้งแต่เริ่มแรก และให้ผู้เป็นคู่กรณีกลับคืนสู่ฐานะเดิมตาม ป.พ.พ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง สัญญาจึงไม่ผูกพันโจทก์ กรณีมิใช่โจทก์กับจำเลยที่ 1 ทำนิติกรรมโดยหลีกเลี่ยงกฎหมาย