คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เปลี่ยนแปลง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 393 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 510/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การต่อแชชซีรถยนต์ที่ไม่เปลี่ยนแปลงตัวอักษร/ตัวเลข ไม่ถือเป็นความผิดฐานปลอมเอกสาร
การที่จำเลยตัดเลขหมายประจำแชชซีรถยนต์คันสีแดงออกแล้วตัดเอาหมายเลขประจำแชชซีของรถยนต์คันสีฟ้ามาเชื่อมต่อไว้แทน เมื่อหมายเลขประจำแชชซีรถยนต์คันสีฟ้าเป็นหมายเลขประจำรถยนต์ที่แท้จริง แม้จะนำมาติดกับรถยนต์คันอื่นแต่ไม่มีการขูดลบแก้ไข เปลี่ยนแปลงตัวอักษร หรือตัวเลขหมายแต่อย่างใด จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานปลอมเอกสารเพราะความผิดฐานปลอมเอกสารนั้นจะต้องมีการปลอมแปลงเอกสารขึ้นทั้งฉบับหรือแต่บางส่วน หรือกระทำให้ข้อความหรือความหมายในเอกสารที่แท้จริงเปลี่ยนแปลงไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 510/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การต่อแชชซีรถยนต์ที่ไม่เข้าข่ายปลอมเอกสาร แม้จะมีการเปลี่ยนแชชซี แต่ไม่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงตัวอักษรหรือตัวเลข
การที่จำเลยตัดเลขหมายประจำแชชซีรถยนต์คันสีแดงออกแล้วตัดเอาหมายเลขประจำแชชซีของรถยนต์คันสีฟ้ามาเชื่อมต่อไว้แทน เมื่อหมายเลขประจำแชชซีรถยนต์คันสีฟ้าเป็นหมายเลขประจำรถยนต์ที่แท้จริง แม้จะนำมาติดกับรถยนต์คันอื่นแต่ไม่มีการขูดลบแก้ไข เปลี่ยนแปลงตัวอักษร หรือตัวเลขหมายแต่อย่างใดจำเลยจึงไม่มีความผิดฐานปลอมเอกสารเพราะความผิดฐานปลอมเอกสารนั้นจะต้องมีการปลอมแปลงเอกสารขึ้นทั้งฉบับหรือแต่บางส่วน หรือกระทำให้ข้อความหรือความหมายในเอกสารที่แท้จริงเปลี่ยนแปลงไป.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4018/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจนายอำเภอในการเปลี่ยนแปลงวันเวลาและสถานที่เลือกผู้ใหญ่บ้าน ต้องคำนึงถึงเจตนาของกฎหมายและให้ราษฎรทราบ
พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พระพุทธศักราช 2457 มาตรา 19 ข้อ 2 ที่แก้ไขแล้ว บัญญัติว่า ถ้าผู้ใหญ่บ้านหมู่ใดว่างลงให้คัดเลือกผู้ใหญ่บ้านขึ้นภายในกำหนดสิบห้าวัน นับแต่วันที่ได้ทราบการว่างนั้น สำหรับวัน เวลาและที่เลือกผู้ใหญ่บ้านมีข้อบังคับกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการเลือกผู้ใหญ่บ้าน พ.ศ.2524 ซึ่งออกตามความในมาตรา 5 ของพระราชบัญญัติดังกล่าวข้อ 6กำหนดให้นายอำเภอประกาศให้ราษฎรในหมู่บ้านที่จะทำการเลือกผู้ใหญ่บ้านทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าเจ็ดวันก่อนวันทำการเลือก ตามกฎหมายและข้อบังคับนั้นมิได้กล่าวถึงการเลื่อนการเลือกและการเปลี่ยนที่เลือกผู้ใหญ่บ้าน ผิดกับการเลือกกำนันซึ่งมีระเบียบกระทรวงมหาดไทย กำหนดให้การเปลี่ยนแปลงหน่วยเลือกกำนันต้องกระทำก่อนวันเลือกไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน ดังนั้นการเปลี่ยนที่เลือกและการเลื่อนการเลือกผู้ใหญ่บ้าน นายอำเภอจึงมีอำนาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความจำเป็นและเหมาะสม แต่ควรประกาศล่วงหน้าให้ราษฎรทราบทั่วถึงกันก่อนวันเลือก และเลือกให้ทันภายในกำหนดสิบห้าวัน ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ การแปลกฎหมายและระเบียบข้อบังคับที่ออกตามกฎหมายต้องแปลให้เกิดผล โดยดูถึงเจตนาในการออกกฎหมายและระเบียบข้อบังคับนั้น ๆ ด้วย ข้อบังคับของกระทรวงมหาดไทยที่กำหนดให้นายอำเภอประกาศกำหนดวัน เวลา และที่เลือกผู้ใหญ่บ้านให้ราษฎรทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าเจ็ดวันก่อนวันทำการเลือก จึงหมายถึงการประกาศครั้งแรก
จำเลยประกาศกำหนดวัน เวลา และที่เลือกผู้ใหญ่บ้านครั้งแรกวันที่ 1 เมษายน 2526 กำหนดเลือกที่บ้านนาย ส.ในวันที่ 12เมษายน 2526 เวลา 10 นาฬิกา ซึ่งนับจากวันประกาศครบ 7 วันแล้วการที่จำเลยประกาศเปลี่ยนที่เลือกเป็นที่โรงเรียนสุเหร่าคลองสิบ และในวันที่ 12 เมษายน 2526 ได้ประกาศเลื่อนวันเลือกเป็นวันที่ 15 เมษายน 2526 ก็เป็นไปตามความจำเป็นและเหมาะสมและเป็นเวลาล่วงหน้าเพียงพอให้ราษฎรทราบทั่วถึงกันแล้วกรณีถือได้ว่าจำเลยได้ประกาศกำหนดวัน เวลา และสถานที่เลือกผู้ใหญ่บ้านไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน ก่อนวันทำการเลือก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4018/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจนายอำเภอในการเปลี่ยนแปลงวันเวลาและสถานที่เลือกผู้ใหญ่บ้าน โดยยังคงเป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย
พ.ร.บ. ลักษณะ ปกครองท้องที่ พระพุทธศักราช 2457 มาตรา 19 ข้อ 2ที่แก้ไขแล้ว และข้อบังคับกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการเลือกผู้ใหญ่บ้านพ.ศ. 2524 ข้อ 6 ซึ่งออกตามความในมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าวกำหนดให้นายอำเภอประกาศกำหนดวันเวลาและที่เลือกผู้ใหญ่บ้านให้ราษฎรในหมู่บ้านทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าเจ็ดวันก่อนวันทำการเลือกแต่มิได้กล่าวถึงการเลื่อน การเลือกและการเปลี่ยนที่เลือกผู้ใหญ่บ้านไว้ นายอำเภอจึงมีอำนาจประกาศเปลี่ยนที่เลือกผู้ใหญ่บ้านและประกาศเลื่อนวันเลือกผู้ใหญ่บ้านได้ตามความจำเป็นและความเหมาะสมดังนี้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ยกเลิกการเลือกผู้ใหญ่บ้าน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4018/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงวัน-สถานที่เลือกผู้ใหญ่บ้าน: อำนาจนายอำเภอและหลักการแปลกฎหมาย
พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พระพุทธศักราช 2457มาตรา 19ข้อ 2 ที่แก้ไขแล้ว บัญญัติว่า ถ้าผู้ใหญ่บ้านหมู่ใดว่างลงให้คัดเลือกผู้ใหญ่บ้านขึ้นภายในกำหนดสิบห้าวัน นับแต่วันที่ได้ทราบการว่างนั้น สำหรับวัน เวลาและที่เลือกผู้ใหญ่บ้านมีข้อบังคับกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการเลือกผู้ใหญ่บ้านพ.ศ.2524 ซึ่งออกตามความในมาตรา 5 ของพระราชบัญญัติดังกล่าวข้อ 6กำหนดให้นายอำเภอประกาศให้ราษฎรในหมู่บ้านที่จะทำการเลือกผู้ใหญ่บ้านทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าเจ็ดวันก่อนวันทำการเลือก ตามกฎหมายและข้อบังคับนั้นมิได้กล่าวถึงการเลื่อนการเลือกและการเปลี่ยนที่เลือกผู้ใหญ่บ้าน ผิดกับการเลือกกำนันซึ่งมีระเบียบกระทรวงมหาดไทย กำหนดให้การเปลี่ยนแปลงหน่วยเลือกกำนันต้องกระทำก่อนวันเลือกไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน ดังนั้นการเปลี่ยนที่เลือกและการเลื่อนการเลือกผู้ใหญ่บ้าน นายอำเภอจึงมีอำนาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความจำเป็นและเหมาะสม แต่ควรประกาศล่วงหน้าให้ราษฎรทราบทั่วถึงกันก่อนวันเลือก และเลือกให้ทันภายในกำหนดสิบห้าวัน ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ การแปลกฎหมายและระเบียบข้อบังคับที่ออกตามกฎหมายต้องแปลให้เกิดผล โดยดูถึงเจตนาในการออกกฎหมายและระเบียบข้อบังคับนั้น ๆ ด้วย ข้อบังคับของกระทรวงมหาดไทยที่กำหนดให้นายอำเภอประกาศกำหนดวัน เวลา และที่เลือกผู้ใหญ่บ้านให้ราษฎรทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าเจ็ดวันก่อนวันทำการเลือก จึงหมายถึงการประกาศครั้งแรก
จำเลยประกาศกำหนดวัน เวลา และที่เลือกผู้ใหญ่บ้านครั้งแรกวันที่ 1 เมษายน 2526 กำหนดเลือกที่บ้านนาย ส.ในวันที่ 12เมษายน 2526เวลา 10 นาฬิกา ซึ่งนับจากวันประกาศครบ 7 วันแล้วการที่จำเลยประกาศเปลี่ยนที่เลือกเป็นที่โรงเรียนสุเหร่าคลองสิบ และในวันที่ 12 เมษายน 2526ได้ประกาศเลื่อนวันเลือกเป็นวันที่ 15 เมษายน 2526 ก็เป็นไปตามความจำเป็นและเหมาะสมและเป็นเวลาล่วงหน้าเพียงพอให้ราษฎรทราบทั่วถึงกันแล้วกรณีถือได้ว่าจำเลยได้ประกาศกำหนดวัน เวลา และสถานที่เลือกผู้ใหญ่บ้านไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน ก่อนวันทำการเลือก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3337/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ราคาสินค้าศุลกากร: การประเมินราคาที่แท้จริงตามสภาพตลาดและปัจจัยเปลี่ยนแปลง
โจทก์นำกระจกเข้ามาในราชอาณาจักรและสำแดงราคาเพื่อเสียภาษีอากรตามที่ซื้อมา แต่เป็นราคาต่ำกว่าที่ระบุไว้ในบัญชีกำหนดราคาสินค้าซึ่ง จำเลยได้ใช้เป็นเกณฑ์ในการประเมินราคาสินค้ากระจกที่โจทก์นำเข้าในครั้งก่อน ๆ เมื่อปรากฏว่าในระหว่างเวลานำเข้านั้นราคากระจกลดลงเพราะราคาน้ำมันดิบลดลง ค่าขนส่งลดลง เงินฟรังก์ของฝรั่งเศส ซึ่งเป็นประเทศที่โจทก์ซื้อกระจกมีค่าต่ำลง และบัญชีกำหนดราคาสินค้าดังกล่าวถูกยกเลิกโดยบริษัทผู้ผลิตและใช้บัญชีใหม่แทน จำเลยจึงไม่อาจใช้ราคาตามที่ระบุไว้ในบัญชีกำหนดราคาสินค้าดังกล่าวเป็นเกณฑ์ในการเพิ่มราคากระจกและเก็บภาษีอากรเพิ่มเติมจากโจทก์ได้ ราคากระจกที่โจทก์สำแดงไว้ดังกล่าวเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดตามความในมาตรา 2 ของ พ.ร.บ. ศุลกากรพุทธศักราช 2469 การเสียภาษีอากรของโจทก์ตามราคาที่โจทก์สำแดงไว้ดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2219/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำหรือไม่ซ้ำ: เหตุฟ้องต่างกัน แม้ผลลัพธ์เดิมขาดอายุความ ฟ้องใหม่ได้ หากเหตุการณ์เปลี่ยนแปลง
คดีก่อนโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 4 ฟ้องเรียกที่ดินพิพาทคืนโดยอาศัยเหตุว่าจำเลยที่ 1 มิใช่สามีของนาง จ. เจ้ามรดก ศาลฎีกาวินิจฉัยคดีถึงที่สุดว่านาง จ. และจำเลยที่ 1 ยังเป็นสามีภรรยากัน จำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ได้เป็นผู้สืบสันดานของนาง จ. จึงไม่มีสิทธิรับมรดกของนาง จ. แต่ฟ้องโจทก์ขาดอายุความมรดกส่วนคดีนี้โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 4 ฟ้องเรียกที่ดินพิพาทคืนโดยอาศัยเหตุว่าจำเลยที่ 1 ถูกกำจัดมิให้รับมรดกของนาง จ. เนื่องจากจำเลยที่ 1 ปิดบังซ่อนเร้นเพื่อมิให้โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 4 ได้รับมรดกของนาง จ. เหตุที่ฟ้องเรียกที่ดินพิพาทคืนจึงเป็นคนละเหตุกัน ไม่เป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1936/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำฟ้องต้องไม่เปลี่ยนที่ดินพิพาทเป็นแปลงอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับฟ้องเดิม มิฉะนั้นศาลไม่อนุญาต
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องมีผลเป็นการสั่งไม่รับคำคู่ความ แม้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในระหว่างพิจารณา โจทก์ก็มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งได้ภายใน 1 เดือน นับแต่วันมีคำสั่ง
โจทก์อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องศาลอุทธรณ์ยกอุทธรณ์โจทก์โดยให้เหตุผลว่าเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาซึ่งต้องห้ามอุทธรณ์ เมื่อโจทก์ฎีกาและศาลฎีกาเห็นว่าข้อเท็จจริงในสำนวนพอแก่การวินิจฉัยศาลฎีกาย่อมวินิจฉัยประเด็นดังกล่าวไปเสียทีเดียวว่าจะอนุญาตให้โจทก์แก้ไขเพิ่มเติมฟ้องได้หรือไม่
โจทก์ฟ้องในฐานะผู้จัดการมรดกว่า จำเลยนำที่ดินตาม น.ส.3 เลขที่ 97 เนื้อที่ 29 ไร่ ตามบัญชีทรัพย์อันดับ 23 ของเจ้ามรดกไปออกเป็น น.ส.3 ก. เลขที่ 603 เป็นของจำเลยเป็นส่วนตัว และขอแก้ไขคำฟ้องจากที่ดินตาม น.ส.3 เลขที่ 97 ฯ เป็นที่ดินตาม ส.ค.1 เลขที่ 55 หมู่ที่ 6 เนื้อที่ 36 ไร่ ตามบัญชีทรัพย์อันดับ 3 ซึ่งเป็นของ ก. เป็นการขอแก้เป็นที่ดินต่างแปลงกันและเป็นที่ดินของบุคคลอื่นจึงไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1885/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงประเด็นข้อพิพาทในฎีกา: โจทก์มิอาจเรียกร้องค่าเสียหายตามสัญญาเช่าซื้อ หากมิได้ยกขึ้นว่ากันในศาลชั้นต้น
โจทก์ฟ้องตั้งประเด็นว่า จำเลยผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อรถยนต์ที่เช่าซื้อไป ทำให้โจทก์เสียหาย ขอคิดค่าเสียหายเท่าค่าเช่าที่อาจนำรถไปให้ผู้อื่นเช่าได้ มิได้ขอให้จำเลยใช้ค่าเสียหายตามเงื่อนไขในสัญญาเช่าซื้อ เมื่อศาลอุทธรณ์กำหนดค่าเสียหายให้แก่โจทก์ตามที่เห็นสมควร โจทก์จะฎีกาขอให้จำเลยใช้ค่าเสียหายตามเงื่อนไขในสัญญาเช่าซื้อไม่ได้ เพราะโจทก์มิได้ยกขึ้นว่ากันมาตั้งแต่ศาลชั้นต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1845/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องเมื่อวัตถุประสงค์บริษัทเปลี่ยนแปลง: จำเลยยกข้อต่อสู้มิได้
แม้ขณะที่บริษัทโจทก์ผู้ให้เช่าซื้อทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์กับจำเลยวัตถุที่ประสงค์ของบริษัทโจทก์ยังมิได้ระบุให้ประกอบกิจการเป็นผู้ให้เช่าซื้อสังหาริมทรัพย์ได้แต่เมื่อจำเลยให้การและนำสืบรับว่าบริษัทโจทก์กับจำเลยทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์กันจริงจำเลยจะโต้แย้งว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เพราะการให้เช่าซื้อรถยนต์อยู่นอกขอบวัตถุที่ประสงค์ของบริษัทโจทก์ไม่ได้
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นว่า การทำสัญญาเช่าซื้ออยู่ในขอบวัตถุที่ประสงค์ของโจทก์ และมีผลผูกพันโจทก์หรือไม่ แล้ววินิจฉัยว่า สัญญาเช่าซื้อรถยนต์อยู่นอกขอบวัตถุประสงค์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง พิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ว่าการทำสัญญาให้เช่าซื้ออยู่ในวัตถุประสงค์ของโจทก์ ดังนี้ ศาลอุทธรณ์มีอำนาจวินิจฉัยว่าจำเลยไม่อาจยกข้อที่ว่าโจทก์ไม่มีวัตถุประสงค์ให้เช่าซื้อขึ้นต่อสู้ เพื่อแสดงให้เห็นว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องไม่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องอุทธรณ์.
of 40