คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เลียนแบบ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 143 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5202/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลิขสิทธิ์และเครื่องหมายการค้า: การละเมิดและการเลียนแบบบรรจุภัณฑ์สินค้าซักผ้า
งานที่จะได้รับความคุ้มครองในลักษณะของงานศิลปกรรมแม้กฎหมายจะไม่ได้มุ่งประสงค์ให้งานนั้นต้องมีคุณค่าทางศิลปะ แต่ก็ต้องเป็นงานที่ถูกสร้างสรรค์ขึ้นด้วยตนเอง (Originality) ในลักษณะที่ควรจะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย มิใช่เป็นเพียงงาน (Work) ซึ่งทำขึ้นโดยทั่วไปเท่านั้น
ภาพกราฟฟิครูปประกายดาว (STARBURST) ของโจทก์ทั้งสอง แม้จะมีความแตกต่างจากรูปประกายดาวของจำเลย แต่ความแตกต่างดังกล่าวยังเป็นเพียงส่วนเล็กน้อยและไม่เป็นสาระสำคัญถึงขนาดที่จะเป็นงานสร้างสรรค์ (Original) อันควรได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย
โจทก์ที่ 2 ได้ว่าจ้างให้บริษัท ด. เป็นผู้ออกแบบงาน โดยมี อ. เป็นผู้ดำเนินการ มีการปรับเปลี่ยนร่างหลายครั้งใช้เวลากว่า 5 เดือน จึงเป็นการสร้างงานดังกล่าวขึ้นด้วยตนเอง ภาพกราฟฟิคบลูเพาเวอร์ที่สร้างขึ้นมีลักษณะเป็นโมเลกุลและแสดงออกถึงพลังและอานุภาพของเม็ดผงซักฟอกสีฟ้า แม้ภาพกราฟฟิคบลูเพาเวอร์จะเป็นรูปทรงกลมอันเป็นรูปทรงเรขาคณิตทั่วไป แต่ก็เป็นงานสร้างสรรค์รูปทรงที่ประกอบด้วยเส้นและสี โดยไม่ได้ลอกเลียนหรือดัดแปลงมาจากงานที่มีอยู่เดิมจึงแสดงให้เห็นถึงความเป็นงานสร้างสรรค์ (Original) ที่สร้างขึ้นด้วยตนเอง จึงมีลักษณะเป็นงานศิลปกรรมลักษณะงานจิตรกรรม อันได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537
อ. เป็นผู้สร้างงานขึ้น โดยภาพวาดรูปมือในงานนั้นมีลักษณะของการจัดวางมือทั้งสองข้างที่จับอยู่บนเสื้อ ซึ่งเป็นงานสร้างสรรค์รูปทรงที่ประกอบด้วยเส้นและสี เมื่อไม่เป็นการลอกเลียนหรือดัดแปลงมาจากงานที่มีอยู่เดิม ย่อมแสดงให้เห็นถึงความเป็นงานสร้างสรรค์ (Original) ที่สร้างขึ้นด้วยตนเอง จึงมีลักษณะเป็นงานศิลปกรรมลักษณะงานจิตรกรรม อันได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 แม้ต่อมาจะมีการนำงานนี้ไปใช้ในทางการค้าก็ไม่เป็นเหตุขาดคุณสมบัติที่จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเช่นกัน อย่างไรก็ตาม ข้อความที่ว่า "สูตรมาตรฐาน สำหรับซักมือ" เป็นเพียงคำสามัญทั่วไปที่ระบุถึงคุณสมบัติของสินค้ามากกว่าที่จะสร้างคำบรรยายดังกล่าวในแง่ของงานศิลปกรรมลักษณะงานจิตรกรรมในตัวเอง จึงไม่อาจได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย แม้ อ. นำมาใช้ประกอบกับภาพวาดรูปมือและประสงค์จะใช้เป็นงานชิ้นเดียวกัน แต่ก็เห็นได้ว่า ในการสร้างงานขึ้นมานี้ ภาพวาดกับคำบรรยายดังกล่าวสามารถแยกส่วนออกจากกันได้อย่างชัดเจน ในส่วนของคำบรรยายจึงไม่ได้รับความคุ้มครองในลักษณะของงานศิลปกรรมลักษณะงานจิตรกรรมทั้งภาพ
ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 4 บัญญัติว่า "งานศิลปประยุกต์ ได้แก่ งานที่นำเอางานตาม (1) ถึง (6) อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างรวมกันไปใช้ประโยชน์อย่างอื่น นอกเหนือจากการชื่นชมในคุณค่าของตัวงานดังกล่าวนั้น เช่น นำไปใช้สอย นำไปตกแต่งวัสดุหรือสิ่งของอันเป็นเครื่องใช้ หรือนำไปใช้เพื่อประโยชน์ทางการค้า" วัตถุประสงค์ของการให้ความคุ้มครองงานศิลปประยุกต์จึงหมายถึงการนำงานศิลปกรรมลักษณะงานต่าง ๆ มาใช้ในลักษณะที่เกิดประโยชน์อย่างอื่น นอกเหนือจากการชื่นชมในคุณค่าของตัวงานดังกล่าว เมื่อภาพกราฟฟิคบลูเพาเวอร์กับภาพวาดรูปมือเป็นงานศิลปกรรมลักษณะงานจิตรกรรม และถูกนำไปใช้ประกอบกันบนซองบรรจุภัณฑ์ เพื่อประกอบเครื่องหมายการค้า ภาพและข้อความอื่น ๆ อันเป็นการนำเอางานศิลปกรรมไปใช้เพื่อประโยชน์ทางการค้า การออกแบบซองบรรจุภัณฑ์ดังกล่าวจึงเป็นงานศิลปประยุกต์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1255/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำไม่ครบองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ.มาตรา 271, 272(1) และ 274 เนื่องจากไม่ได้ขายของ, ไม่ใช้ชื่อรูป รอยประดิษฐ์เดียวกัน และเครื่องหมายการค้าไม่ได้จดทะเบียน
การกระทำอันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 271 ต้องมีองค์ประกอบความผิด คือ ผู้กระทำต้อง "ขายของ" โดยหลอกลวงด้วยประการใดๆ โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสามร่วมกันเอาชื่อทางการค้าและเครื่องหมายการค้า PENTHOUSE ของโจทก์ไปใช้กับกิจการให้บริการโรงแรม และได้ใช้ชื่อทางการค้าและเครื่องหมายการค้า PENTHOUSE ของโจทก์ประกอบเป็นชื่อ Domain name www.penthouse@penthousehotel.com เพื่อโฆษณากิจการของโรงแรมดังกล่าว กับใช้ชื่อจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ว่า penthouse@penthousehotel.com เพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสารกับลูกค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศ ตามคำบรรยายฟ้องดังกล่าวโจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยทั้งสามให้ "บริการ" กิจการโรงแรม ไม่ได้กล่าวอ้างว่าจำเลยทั้งสามขายของ ดังนี้ แม้ข้อเท็จจริงฟังได้ตามคำฟ้องของโจทก์ การกระทำของจำเลยทั้งสามก็ไม่อาจเป็นความผิดตามมาตรา 271
การกระทำที่จะถือเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 272 (1) นั้นจึงต้องเป็นการนำชื่อ รูป รอยประดิษฐ์ หรือข้อความใดๆ ในการประกอบการค้าของผู้อื่นมาใช้ ซึ่งชื่อ รูป รอยประดิษฐ์ หรือข้อความใดๆ ที่นำมาใช้นี้ต้องนำมาใช้ในชื่อหรือข้อความเดียวกันในลักษณะปลอม ไม่ใช่เพียงแต่เลียนแบบ เมื่อเครื่องหมายการค้าที่โจทก์ได้ใช้ในการประกอบการค้านั้น คือ อักษรโรมันพิมพ์ใหญ่ว่า "PENTHOUSE" ส่วนรูปหรือรอยประดิษฐ์หรือข้อความที่จำเลยทั้งสามใช้ในการประกอบกิจการค้าตามที่โจทก์นำสืบคือ
ซึ่งมีลักษณะเป็นการประดิษฐ์รูปและคำประกอบกันมิได้มีลักษณะเป็นตัวอักษรโรมันพิมพ์ใหญ่เช่นของโจทก์ ส่วน Domain name ที่จำเลยทั้งสามใช้ในการสื่อสารเกี่ยวกับธุรกิจโรงแรมของจำเลยทั้งสามคือ www.penthousehotel.com และจดหมายอิเล็กทรอนิกส์คือ penthouse@penthousehotel.com ไม่ได้ใช้เพียงชื่อว่า PENTHOUSE การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงไม่อาจมีมูลเป็นความผิดฐานเอาชื่อหรือข้อความใดๆ ในการประกอบการค้าของผู้อื่นมาใช้ หรือทำให้ปรากฏที่แจ้งความ จดหมายเกี่ยวกับการค้าหรือสิ่งอื่นทำนองเดียวกัน เพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นการค้าของผู้อื่นตาม ป.อ. มาตรา 272 (1)
การกระทำอันจะเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 274 นี้ได้ เครื่องหมายการค้าของผู้อื่นที่ถูกเลียนจึงต้องเป็นเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วในหรือนอกราชอาณาจักร โจทก์จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า PENTHOUSE ไว้ในประเทศสหรัฐอเมริกากับสินค้าจำพวก 38, 16 รายการสินค้า นิตยสาร ปฏิทิน และจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวในประเทศไทยกับสินค้าจำพวก 16, 41 รายการสินค้า นิตยสาร กับจดทะเบียนเครื่องหมายดังกล่าวเป็นเครื่องหมายบริการกับรายการสินค้า ผลิตและแจกจ่ายรายการโทรทัศน์ บริการไนต์คลับและบ่อนกาสิโนเท่านั้นแต่ตามคำฟ้องโจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยทั้งสามเลียนเครื่องหมายบริการของโจทก์เพื่อใช้กับกิจการโรงแรม อันเป็นเครื่องหมายบริการที่ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้จดทะเบียนไว้แล้วทั้งในและนอกราชอาณาจักร ส่วนที่กล่าวอ้างว่า จำเลยเลียนเครื่องหมายบริการของโจทก์เพื่อใช้กับกิจการและบริการต่างๆ ของโรงแรมด้วย โจทก์ก็กล่าวถึงกิจการบริการต่างๆ ดังกล่าวไว้เฉพาะกิจการบริการสปา และสระว่ายน้ำภายในโรงแรมอันเป็นเครื่องหมายบริการที่ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้จดทะเบียนไว้แล้วทั้งในและนอกราชอาณาจักร คดีโจทก์จึงไม่มีมูลในข้อหานี้เช่นกัน
??
??
??
??
1/1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8995/2560

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เครื่องหมายการค้าไม่คล้ายกัน และไม่มีการใช้ชื่อ/รูป/รอยประดิษฐ์เดียวกัน การฟ้องร้องฐานละเมิด/เลียนแบบเครื่องหมายการค้าจึงไม่สำเร็จ
เมื่อเปรียบเทียบเครื่องหมายการค้า ของจำเลยทั้งสองกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ตามเครื่องหมายการค้า แล้ว เครื่องหมายการค้าของโจทก์มีภาพวงกลมประดิษฐ์ขนาดเล็กอยู่เหนืออักษรโรมันคำว่า "genufood" และด้านล่างเป็นอักษรจีน ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยทั้งสองมีลักษณะเป็นภาพวงกลมประดิษฐ์ขนาดใหญ่มีเส้นผ่าศูนย์กลางและปลายเส้นรอบวงทั้งด้านบนและด้านล่างไม่ติดกัน ตรงกลางมีอักษรโรมันคำว่า "genufood" แม้จะมีอักษรโรมันเป็นคำเดียวกัน แต่เมื่อพิจารณาภาพรวมของเครื่องหมายการค้าทั้งสองเครื่องหมายแล้วจะเห็นได้ว่าแตกต่างกัน ทั้งจำเลยทั้งสองยังใช้กับสินค้าสบู่สมุนไพรผสมโสมไข่มุกและกาแฟขจัดปัญหาไขมันส่วนเกินซึ่งเป็นคนละจำพวกและรายการสินค้ากับสินค้าอาหารเสริมทำมาจากธัญพืชใช้บำรุงร่างกายตามเครื่องหมายการค้าของโจทก์ เครื่องหมายการค้าของจำเลยทั้งสองจึงไม่คล้ายเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 109 และเมื่อไม่เป็นความผิดตามมาตรา 109 แล้ว การที่จำเลยทั้งสองจำหน่ายหรือเสนอจำหน่ายซึ่งสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้านั้นย่อมไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 110 (1) ประกอบมาตรา 109 ด้วย
องค์ประกอบความผิดของ ป.อ. มาตรา 272 (1) จะต้องเป็นการเอาชื่อ รูป รอยประดิษฐ์หรือข้อความใด ๆ ในการประกอบการค้าของผู้อื่นมาใช้ และมาตรา 275 เป็นการจำหน่ายหรือเสนอจำหน่ายซึ่งสินค้าอันเป็นสินค้าที่มีชื่อ รูป รอยประดิษฐ์หรือข้อความใด ๆ ดังบัญญัติไว้ในมาตรา 272 (1) โดยจะต้องเป็นการนำมาใช้ในชื่อหรือข้อความเดียวกันหรือในรูปรอยประดิษฐ์ที่ตั้งใจให้เหมือนกันในลักษณะปลอม ไม่ใช่เพียงแต่เลียนแบบ เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบเครื่องหมายการค้าของโจทก์คือ และ กับเครื่องหมายการค้า ของจำเลยทั้งสอง จะเห็นได้ว่าไม่เหมือนกัน จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองนำเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาใช้เป็นชื่อ รูป รอยประดิษฐ์หรือข้อความใด ๆ ในการประกอบการค้าของจำเลยทั้งสอง การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงไม่เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 272 (1) เมื่อไม่เป็นความผิดตามมาตรา 272 (1) แม้จำเลยทั้งสองจำหน่ายหรือเสนอจำหน่ายซึ่งสินค้าดังกล่าว จำเลยทั้งสองก็ไม่มีความผิดตามมาตรา 275 ประกอบมาตรา 272 (1) อีกเช่นกัน
เครื่องหมายการค้าบนวัตถุพยานคือคำว่า "genufood" และมีคำว่า "VICTOR" กับเครื่องหมายคล้ายรวงข้าวประกอบ โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองได้ใช้เครื่องหมายการค้า ในการโฆษณาขายสินค้าซึ่งไม่ได้บรรยายฟ้องว่าเครื่องหมายการค้าคำว่า "genugood" และมีคำว่า "VICTOR" เป็นการทำเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ใช้หรือทำให้ปรากฏเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่สินค้าของจำเลยทั้งสองและเสนอจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่สินค้าตามวัตถุพยานจึงเป็นข้อที่โจทก์ไม่ได้กล่าวมาในฟ้อง คำวินิจฉัยในส่วนนี้ของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางจึงไม่ชอบ
of 15