พบผลลัพธ์ทั้งหมด 241 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1038/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุสมควรในการไม่มาศาลตามนัด: อายุ, ความคุ้นเคยสถานที่, และระยะเวลาค้นหาห้องพิจารณา
ในวันนัดไต่สวนมูลฟ้องทนายโจทก์มาศาลหลังจากศาลยกฟ้องโจทก์ไปแล้วการที่ทนายโจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลพิจารณาคดีใหม่อ้างว่ามาถึงห้องพิจารณาล่าช้าเพราะต้องเสียเวลาไปกับการค้นหาห้องพิจารณาจนเลยกำหนดเวลาไปประมาณ30นาทีนั้นเป็นเหตุที่เป็นไปได้เนื่องจากทนายโจทก์มีอายุ73ปีอยู่ในวัยชราและไม่คุ้นเคยกับห้องพิจารณาของศาลอาญาซึ่งมีจำนวนมากกรณีจึงยังไม่อาจถือได้ว่าโจทก์ไม่มาศาลตามกำหนดนัดโดยไม่มีเหตุสมควรศาลต้องดำเนินการไต่สวนมูลฟ้องต่อไป.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3018/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การระบุพยานเพิ่มเติมหลังสืบพยานโจทก์ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขมาตรา 88 วรรคท้าย และมีเหตุสมควร หากไม่ปฏิบัติต้องห้ามรับฟัง
หลังจากศาลชั้นต้นสืบพยานโจทก์เสร็จ จำเลยยื่นคำแถลงขอระบุพยานเพิ่มเติมโดยไม่ได้ยื่นคำร้องต่อศาล เพื่อขออนุญาตอ้างพยานหลักฐานเช่นว่านั้นโดยอ้างเหตุอันสมควรดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88วรรคท้าย โจทก์คัดค้านว่าเป็นการเอาเปรียบโจทก์ ดังนี้แม้ศาลชั้นต้นจะอนุญาตและสืบพยานดังกล่าวมาแล้วก็ย่อมต้องห้ามไม่ให้รับฟัง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1139/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดงานเนื่องจากน้ำท่วมไม่ถือเป็นเหตุสมควรหรือไม่ฉุกเฉิน แม้ขอลาแล้วก็ต้องปฏิบัติตามระเบียบ
เหตุน้ำท่วมจะถือเป็นข้อที่ขาดงานได้โดยมีเหตุผลอันสมควรหาได้ไม่ และไม่ถือว่าเป็นเหตุฉุกเฉิน แม้ผู้คัดค้านจะหยุดงานเพราะเหตุดังกล่าว คัดค้านก็ยังต้องขอลาตามระเบียบข้อบังคับการทำงานก่อน ผู้คัดค้านไม่อาจหยุดได้โดยพลการ เมื่อผู้คัดค้านจำเป็นต้องขอลาดังกล่าวแล้ว เมื่อมีเหตุการณ์อย่างเดียวกันเกิดขึ้นอีก จึงไม่เป็นกรณีฉุกเฉินทำให้ผู้คัดค้านมีสิทธิหยุดงานได้โดยมีเหตุผลอันสมควรและไม่ต้องลา
ผู้คัดค้านถูกตักเตือนเป็นหนังสือฐานหยุดงานโดยไม่มีเหตุผลมาแล้ว เมื่อผู้คัดค้านขาดงานอีก 2 ครั้ง ผู้ร้องจึงขออนุญาตเลิกจ้างผู้คัดค้านได้
ผู้คัดค้านถูกตักเตือนเป็นหนังสือฐานหยุดงานโดยไม่มีเหตุผลมาแล้ว เมื่อผู้คัดค้านขาดงานอีก 2 ครั้ง ผู้ร้องจึงขออนุญาตเลิกจ้างผู้คัดค้านได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1139/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
น้ำท่วมไม่ใช่เหตุสมควรในการขาดงาน เลิกจ้างได้หากเตือนแล้วขาดงานซ้ำ
เหตุน้ำท่วมจะถือเป็นข้อที่ขาดงานได้โดยมีเหตุผลอันสมควรหาได้ไม่ และไม่ถือว่าเป็นเหตุฉุกเฉิน แม้ผู้คัดค้านจะหยุดงานเพราะเหตุดังกล่าว คัดค้านก็ยังต้องขอลาตามระเบียบข้อบังคับการทำงานก่อน ผู้คัดค้าน ไม่อาจหยุดได้โดยพลการ เมื่อผู้คัดค้านจำเป็นต้องขอลาดังกล่าว แล้ว เมื่อมีเหตุการณ์อย่างเดียวกันเกิดขึ้นอีก จึงไม่เป็นกรณีฉุกเฉินทำให้ผู้คัดค้าน มีสิทธิหยุดงานได้โดยมีเหตุผลอันสมควรและไม่ต้องลา
ผู้คัดค้านถูกตักเตือนเป็นหนังสือฐานหยุดงานโดยไม่มีเหตุผลมาแล้ว เมื่อผู้คัดค้านขาดงานอีก 2 ครั้ง ผู้ร้องจึงขออนุญาตเลิกจ้างผู้คัดค้านได้
ผู้คัดค้านถูกตักเตือนเป็นหนังสือฐานหยุดงานโดยไม่มีเหตุผลมาแล้ว เมื่อผู้คัดค้านขาดงานอีก 2 ครั้ง ผู้ร้องจึงขออนุญาตเลิกจ้างผู้คัดค้านได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 574/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากแจ้งคุณวุฒิเท็จเป็นเหตุสมควร ไม่เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์แสดงคุณวุฒิขณะสมัครเข้าทำงานอันเป็นเท็จ ย่อมเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุผลอันสมควร กรณีมิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 574/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างที่แจ้งคุณวุฒิเท็จ เป็นเหตุสมควรตามกฎหมายแรงงาน
การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์แสดงคุณวุฒิขณะสมัครเข้าทำงานอันเป็นเท็จ. ย่อมเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุผลอันสมควรกรณีมิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 476/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
วิวาททำร้ายร่างกาย การป้องกันตัวไม่สมเหตุสมผล ทำให้ความผิดฐานฆ่าเกิดขึ้น
จำเลยกับผู้ตายได้ชกต่อยกันเนื่องจากทะเลาะกันในการเล่นการพนันมีคนห้ามจึงเลิกรากันไป หลังจากนั้นประมาณ 1 ชั่วโมง จำเลยกับผู้ตายได้พบกันอีกและต่างเดินเข้าหากัน. ผู้ตายใช้เหล็กแหลมแทงจำเลย จำเลยใช้มือปัดและใช้อาวุธมีดปลายแหลมแทงผู้ตาย 1 ทีถูกที่อกแล้วทิ้งมีดหลบหนีไป ผู้ตายถึงแก่ความตาย ดังนี้ พฤติการณ์ดังกล่าวเป็นกรณีที่จำเลยกับผู้ตายต่างสมัครใจเข้าวิวาททำร้ายซึ่งกันและกัน จำเลยจะอ้างว่าการกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันตัวโดยชอบด้วยกฎหมายหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2714/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มเติมฟ้องคดีอาญา: เหตุสมควรและผลกระทบต่อจำเลย
แม้ศาลชั้นต้นจะสืบพยานโจทก์จำเลยเสร็จและนัดฟังคำพิพากษาแล้ว แต่ก่อนศาลมีคำพิพากษา ศาลจะต้องตรวจสำนวนไตร่ตรองพิจารณาและอาจสืบพยานของศาลเพิ่มเติมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 228 ได้ ฉะนั้นก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาจึงเรียกว่าคดีอยู่ในระหว่างพิจารณา เมื่อมีเหตุอันควรโจทก์ย่อมขอเพิ่มเติมฟ้องได้
โจทก์ขอเพิ่มเติมฟ้องโดยอ้างว่าพิมพ์ข้อความเกี่ยวกับสถานที่เกิดเหตุตกไป นับว่ามีเหตุอันสมควรที่โจทก์จะขอเพิ่มเติมฟ้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 163 สถานที่ซึ่งเกิดการกระทำผิดเป็นรายละเอียดซึ่งต้องแถลงในฟ้อง โจทก์ขอเพิ่มเติมฟ้องก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาไม่ถือว่าทำให้จำเลยเสียเปรียบ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 164 เมื่อจำเลยให้การปฏิเสธลอยและนำสืบฐานที่อยู่แสดงว่าจำเลยเข้าใจข้อหาของโจทก์ดี ไม่ว่าโจทก์จะได้บรรยายสถานที่เกิดการกระทำผิดมาในฟ้องตั้งแต่แรกหรือไม่ ที่โจทก์ขอเพิ่มเติมสถานที่กระทำผิดจึงไม่ทำให้จำเลยหลงต่อสู้
โจทก์ขอเพิ่มเติมฟ้องโดยอ้างว่าพิมพ์ข้อความเกี่ยวกับสถานที่เกิดเหตุตกไป นับว่ามีเหตุอันสมควรที่โจทก์จะขอเพิ่มเติมฟ้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 163 สถานที่ซึ่งเกิดการกระทำผิดเป็นรายละเอียดซึ่งต้องแถลงในฟ้อง โจทก์ขอเพิ่มเติมฟ้องก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาไม่ถือว่าทำให้จำเลยเสียเปรียบ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 164 เมื่อจำเลยให้การปฏิเสธลอยและนำสืบฐานที่อยู่แสดงว่าจำเลยเข้าใจข้อหาของโจทก์ดี ไม่ว่าโจทก์จะได้บรรยายสถานที่เกิดการกระทำผิดมาในฟ้องตั้งแต่แรกหรือไม่ ที่โจทก์ขอเพิ่มเติมสถานที่กระทำผิดจึงไม่ทำให้จำเลยหลงต่อสู้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1005/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างที่เป็นอัมพาต: การคุ้มครองตามมาตรา 31 และเหตุสมควรในการเลิกจ้าง
การที่ลูกจ้างจะได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ มาตรา 31 ซึ่งห้ามนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องในระหว่างการเจรจาการไกล่เกลี่ย หรือการชี้ขาดข้อพิพาทแรงงาน นั้นลูกจ้างจะต้องบรรยายฟ้องว่าลูกจ้างเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องและจะได้รับประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างอย่างไร เมื่อลูกจ้างมิได้บรรยายฟ้องว่าลูกจ้างเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องอย่างไรแล้ว ลูกจ้างจะอาศัยประโยชน์จากบทบัญญัติมาตรา 31 มาเป็นการตัดสิทธินายจ้างมิให้ เลิกจ้างลูกจ้างในระหว่างที่ยังไม่มีการชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานมิได้
โจทก์เป็นอัมพาตทำงานให้จำเลยไม่ได้ จำเลยย่อมเลิกจ้าง โจทก์ได้กรณีเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุสมควร มิใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
โจทก์เป็นอัมพาตทำงานให้จำเลยไม่ได้ จำเลยย่อมเลิกจ้าง โจทก์ได้กรณีเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุสมควร มิใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 495/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขวันทำสัญญาประกันภัยในเอกสาร ศาลอนุญาตให้เพิ่มพยานได้หากมีเหตุสมควรและไม่ทำให้คู่ความเสียเปรียบ
เดิมคู่ฉบับกรมธรรม์ประกันภัยที่โจทก์อ้างส่งศาลไว้ได้ระบุวันทำสัญญาประกันภัยเป็นวันที่ 30 เมษายน 2522 และระบุวันทำกรมธรรม์ประกันภัยเป็นวันที่ 16 เมษายน 2522 แต่ระบุระยะเวลามีผลบังคับเริ่มต้นวันที่ 30 ธันวาคม 2520 สิ้นสุดวันที่ 30 ธันวาคม 2521 เห็นได้ว่ามีการพิมพ์ข้อความเกี่ยวกับวันทำสัญญาประกันภัยและวันทำกรมธรรม์ประกันภัยในคู่ฉบับผิดพลาดไปโดยมีผลย้อนหลัง การที่โจทก์ขออ้างต้นฉบับ ซึ่งระบุวันทำสัญญาประกันภัยและวันทำกรมธรรม์ประกันภัยเป็นวันที่ 30 ธันวาคม 2520 เป็นพยานเพิ่มเติมหลังจากโจทก์ซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อนได้สืบพยานเสร็จแล้วนั้นก็ เพื่อแสดงให้เห็นถึงวันทำสัญญาประกันภัย และวันทำกรมธรรม์ประกันภัยที่ถูกต้องเท่านั้น หลังจากโจทก์ซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อนได้สืบพยานเสร็จแล้ว ส่วนระยะเวลามีผลบังคับและวันสิ้นสุดรวมทั้งชื่อผู้เอาประกันภัยคงระบุไว้ตรงกัน ไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบ ทั้งไม่ปรากฏว่าโจทก์จงใจฝ่าฝืนกฎหมาย เมื่อศาลเห็นว่ามีเหตุอันสมควร เพื่อให้การวินิจฉัยชี้ขาดข้อสำคัญแห่งประเด็นเป็นไปโดยเที่ยงธรรม ก็ย่อมมีอำนาจอนุญาตให้โจทก์ระบุพยานเพิ่มเติมได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 88 วรรคสาม