พบผลลัพธ์ทั้งหมด 365 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 142/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำพิพากษาโดยศาลอุทธรณ์ที่เปลี่ยนแปลงผลแพ้ชนะคดีเดิมถือเป็นการแก้ไขมาก ไม่อยู่ในข้อยกเว้นไม่ต้องห้ามฎีกา
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์พบว่ามาตรวัดน้ำที่โจทก์ติดตั้งไว้เพื่อคำนวณหน่วยน้ำที่จำเลยใช้ชำรุด ต้องคำนวณตามจำนวนหน่วยน้ำที่ใช้ในเดือนก่อน ขอให้จำเลยชำระเงินค่าน้ำที่ค้างชำระศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยใช้หนี้โจทก์ 12,997 บาท โดยฟังข้อเท็จจริงตามข้อต่อสู้ของจำเลยว่ามาตรวัดน้ำไม่ชำรุด ซึ่งมีผลเท่ากับว่าจำเลยชนะคดี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้จำเลยชำระเงิน 42,514 บาท เต็มตามฟ้อง โดยฟังข้อเท็จจริงว่ามาตรวัดน้ำชำรุดตรงตามฟ้อง เป็นการแก้ข้อสำคัญตามประเด็นที่จำเลยชนะคดีในศาลชั้นต้นให้แพ้ทั้งหมด จึงเป็นการแก้ไขมาก ไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1362/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงกฎหมายยาเสพติดกระทบต่อความผิดเดิม ศาลฎีกาแก้ไขคำพิพากษาให้ถูกต้องตามกฎหมายใหม่
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยฐานซื้อฝิ่นและฐานมีฝิ่นดิบไว้ในครอบครอง ปรากฏว่าระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ได้มี พระราชบัญญัติ ยาเสพติดให้โทษยกเลิก พระราชบัญญัติฝิ่น เป็นผลให้การซื้อฝิ่นไม่เป็นความผิดอีกต่อไป แม้จำเลยจะมิได้ฎีกาในข้อนี้ ศาลฎีกาย่อมแก้ไขให้ถูกต้องโดยพิพากษายกฟ้องข้อหาซื้อฝิ่นนั้นเสีย ส่วนความผิดฐานมีฝิ่นดิบไว้ในความครอบครองนั้น พระราชบัญญัติ ฝิ่นซึ่งใช้อยู่ในขณะที่จำเลยกระทำความผิดเป็นคุณแก่จำเลยเพราะกำหนดโทษเบากว่า พระราชบัญญัติ ยาเสพติดให้โทษ
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยมีกำหนด 5 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยฎีกาขอให้ลงโทษสถานเบาและรอการลงโทษเป็นการฎีกาการใช้ดุลพินิจของศาลอันเป็นปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218.(ที่มา-ส่งเสริม)
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยมีกำหนด 5 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยฎีกาขอให้ลงโทษสถานเบาและรอการลงโทษเป็นการฎีกาการใช้ดุลพินิจของศาลอันเป็นปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4048/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลฎีกาแก้ไขคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เรื่องลักทรัพย์-รับของโจร โดยวินิจฉัยข้อหาเดิมตามที่โจทก์ฎีกา
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองฐานลักทรัพย์หรือรับของโจรจำเลยที่1ให้การรับสารภาพฐานรับของโจรจำเลยที่2ให้การปฏิเสธศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยที่1มีความผิดฐานลักทรัพย์จำเลยที่2มีความผิดฐานรับของโจรดังนี้ถือได้ว่าศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องจำเลยที่1ในข้อหาฐานรับของโจรเมื่อโจทก์ไม่อุทธรณ์ต้องถือว่าข้อหารับของโจรสำหรับจำเลยที่1ยุติแล้วตั้งแต่ศาลชั้นต้นจำเลยที่1อุทธรณ์ขอให้พิพากษายกฟ้องในข้อหาลักทรัพย์ที่ศาลอุทธรณ์ต้องวินิจฉัยจำเลยที่1กระทำผิดฐานลักทรัพย์หรือไม่การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยที่1ฐานรับของโจรไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณาเมื่อโจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยที่1ฐานลักทรัพย์ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยข้อหาฐานลักทรัพย์ตามฎีกาของโจทก์โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาและพิพากษาใหม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3874/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาเหตุบันดาลโทสะในคดีอาญา มาตรา 288 การแก้ไขคำพิพากษา และสิทธิในการฎีกา
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288 จำคุก 15 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288,72 จำคุก 3 ปี เป็นการแก้ทั้งบทกฎหมายและกำหนดโทษที่ลงโทษจำเลย เป็นการแก้ไขมาก คู่ความไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218
จำเลยกับผู้ตายเป็นสามีภรรยากันมาประมาณ 7 ปีมีบุตรด้วยกัน 3 คนและมีปากเสียงทะเลาะกันเสมอ ๆ ขณะก่อนเกิดเหตุจำเลยกับผู้ตาย ก็มีปากเสียงทะเลาะกันอีก การที่ผู้ตายบ่นว่ากล่าวหาจำเลยพาชายชู้ มานอนที่เตียงนอนและไล่จำเลยออกจากบ้าน ทั้งขู่ว่าหากจำเลยไม่ไป จากบ้านจะฆ่าจำเลยนั้น ก็เป็นเรื่องสามีภรรยาเป็นปากเสียงทะเลาะกัน ตามปกติที่เคยเป็นมา จะถือว่าจำเลยถูกกดขี่ข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมหาได้ไม่ จำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายถึงแก่ความตาย จึงมิใช่เหตุบันดาลโทสะ
จำเลยกับผู้ตายเป็นสามีภรรยากันมาประมาณ 7 ปีมีบุตรด้วยกัน 3 คนและมีปากเสียงทะเลาะกันเสมอ ๆ ขณะก่อนเกิดเหตุจำเลยกับผู้ตาย ก็มีปากเสียงทะเลาะกันอีก การที่ผู้ตายบ่นว่ากล่าวหาจำเลยพาชายชู้ มานอนที่เตียงนอนและไล่จำเลยออกจากบ้าน ทั้งขู่ว่าหากจำเลยไม่ไป จากบ้านจะฆ่าจำเลยนั้น ก็เป็นเรื่องสามีภรรยาเป็นปากเสียงทะเลาะกัน ตามปกติที่เคยเป็นมา จะถือว่าจำเลยถูกกดขี่ข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมหาได้ไม่ จำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายถึงแก่ความตาย จึงมิใช่เหตุบันดาลโทสะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3586/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำพิพากษาที่พิมพ์ผิดพลาดเกี่ยวกับจำนวนเงินค่าชดเชยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
โจทก์ที่ 58 ยื่นฟ้องโดยอ้างว่ามีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามบัญชีรายละเอียด เอกสารท้ายคำฟ้อง รวม 24,900 บาท ในคำขอท้ายคำฟ้องก็ระบุจำนวนเงิน 24,900 บาท เมื่อศาลแรงงานกลางอ่านคำพิพากษาได้บังคับให้จำเลยชำระเงินจำนวนนี้ตรงกับต้นร่างคำพิพากษาแต่เมื่อจัดพิมพ์คำพิพากษาแล้วปรากฏว่าได้พิมพ์จำนวนเงินที่ให้จำเลยชำระแก่โจทก์ที่ 58 เป็นเงิน 14,900 บาท จึงเป็นกรณีการพิมพ์จำนวนค่าชดเชยผิดพลาด เมื่อคดีขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาครั้งแรกปกติย่อมเป็นอำนาจของศาลฎีกาที่จะแก้ไขให้ถูกต้อง เพราะได้ล่วงเลยขั้นตอนตามกฎหมายที่ศาลแรงงานกลางจะพึงแก้ไขได้แล้ว แต่ศาลฎีกาไม่มีโอกาสได้ทราบถึงความผิดพลาดในครั้งนั้น จึงมิได้แก้ไขให้ถูกต้องไปในคราวเดียวกันกรณีการพิมพ์ผิดพลาดเช่นนี้ ถือเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143 ซึ่งศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขข้อผิดพลาดเช่นนี้ในภายหลังให้ถูกต้องตรงต่อความเป็นจริงได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3586/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำพิพากษาที่พิมพ์ผิดพลาดในส่วนของจำนวนเงินค่าชดเชย ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 143
โจทก์ที่58ยื่นฟ้องโดยอ้างว่ามีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามบัญชีรายละเอียดเอกสารท้ายคำฟ้องรวม24,900บาทในคำขอท้ายคำฟ้องก็ระบุจำนวนเงิน24,900บาทเมื่อศาลแรงงานกลางอ่านคำพิพากษาได้บังคับให้จำเลยชำระเงินจำนวนนี้ตรงกับต้นร่างคำพิพากษาแต่เมื่อจัดพิมพ์คำพิพากษาแล้วปรากฏว่าได้พิมพ์จำนวนเงินที่ให้จำเลยชำระแก่โจทก์ที่58เป็นเงิน14,900บาทจึงเป็นกรณีการพิมพ์จำนวนค่าชดเชยผิดพลาดเมื่อคดีขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาครั้งแรกปกติย่อมเป็นอำนาจของศาลฎีกาที่จะแก้ไขให้ถูกต้องเพราะได้ล่วงเลยขั้นตอนตามกฎหมายที่ศาลแรงงานกลางจะพึงแก้ไขได้แล้วแต่ศาลฎีกาไม่มีโอกาสได้ทราบถึงความผิดพลาดในครั้งนั้นจึงมิได้แก้ไขให้ถูกต้องไปในคราวเดียวกันกรณีการพิมพ์ผิดพลาดเช่นนี้ถือเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา143ซึ่งศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขข้อผิดพลาดเช่นนี้ในภายหลังให้ถูกต้องตรงต่อความเป็นจริงได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1265/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาความผิดฐานพยายามฆ่าและการทำร้ายร่างกายบาดเจ็บสาหัส ศาลฎีกาแก้ไขคำพิพากษา
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยใช้อาวุธปืนยิง ส. โดยเจตนาฆ่า แต่ ส.ไม่ถึงแก่ความตายเพียงได้รับอันตรายสาหัส ขอให้ลงโทษตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288, 80 ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามมาตรา 297 ประกอบมาตรา 72 โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์สำหรับความผิดตามมาตรา 297 ประกอบมาตรา 72 ด้วย เช่นนี้ จึงมีผลเท่ากับศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ในข้อหาพยายามฆ่าโดยอาศัยข้อเท็จจริง โจทก์จึงฎีกาข้อหาพยายามฆ่าผู้อื่นในปัญหาข้อเท็จจริงไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220 คงฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้เฉพาะข้อหาทำร้ายร่างกายบาดเจ็บสาหัส มาตรา 297 ซึ่งศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษากลับกันมา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3887/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาเกินคำขอในคดีแรงงาน: ศาลฎีกาแก้ไขคำพิพากษาศาลแรงงานกลางที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คดีที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่ไล่โจทก์ออกจากงาน ให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานตามเดิมและจ่ายค่าจ้างในระหว่าง ถูกเลิกจ้าง เป็นการฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 ซึ่งมีประเด็นว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์ไม่เป็นธรรมหรือไม่ เมื่อศาลแรงงานกลางเห็นว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์ทำผิดระเบียบข้อบังคับของจำเลยไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมแล้ว ศาลแรงงานกลางชอบที่จะพิพากษายกฟ้องโดยไม่จำต้องวินิจฉัยปัญหาอื่น การที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยล่วงเลยไปด้วยว่าความผิดของโจทก์ไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์โดยที่โจทก์มิได้มีคำขอมาด้วย เป็นการพิพากษาหรือสั่งเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง และไม่ใช่กรณีเพื่อความเป็นธรรมแก่คู่ความซึ่งศาลแรงงานกลางจะมีอำนาจพิพากษาหรือสั่งเกินคำขอได้ ไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน ฯ มาตรา 52 ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีฝ่ายใดอุทธรณ์ ศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน ฯ มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3874/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวผิดหลายบท: แก้ไขคำพิพากษาเล็กน้อย ไม่รับฎีกาข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 290 กระทงหนึ่ง และมีความผิดตาม มาตรา 295 อีก 2 กระทง ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าจำเลยมีความผิดตามมาตรา 290, 295 การกระทำของจำเลยเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทลงโทษตามมาตรา 290 ซึ่งเป็นบทหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 90 จึงเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นแต่เพียงว่าการกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท อันเป็นการแก้ไขเล็กน้อยและยังคงลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 5 ปี ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3874/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวผิดหลายบท: แก้ไขคำพิพากษาโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 290 กระทงหนึ่ง และมีความผิดตาม มาตรา 295 อีก2 กระทง ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าจำเลยมีความผิดตามมาตรา 290, 295 การกระทำของจำเลยเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทลงโทษตามมาตรา 290 ซึ่งเป็นบทหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 90 จึงเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นแต่เพียงว่าการกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท อันเป็นการแก้ไขเล็กน้อยและยังคงลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 5 ปี ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218