คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
แจ้งความเท็จ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 546 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3646/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลำดับการพิจารณาความผิดแจ้งความเท็จ: มาตรา 172 ก่อน 174 วรรคสอง และข้อยกเว้นการห้ามอุทธรณ์
การที่จะพิจารณาว่า จำเลยได้กระทำความผิดฐานแจ้งความเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 174 วรรคสองหรือไม่ ศาลต้องพิจารณาเสียก่อนว่าจำเลยได้กระทำความผิดฐานแจ้งความเท็จ ตามมาตรา172 หรือไม่ การกระทำความผิดตาม มาตรา 174 วรรคสองมีอัตราโทษอย่างสูงเกินสามปีไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิในกรณีเช่นนี้สำหรับความผิดฐานแจ้งความเท็จตาม มาตรา 172 จึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงด้วย
การกระทำอันจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 174วรรคสองได้นั้น จะต้องกระทำความผิดตาม มาตรา 172 เสียก่อนแม้โจทก์จะได้ฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงในความผิดตาม มาตรา 172มาด้วยและศาลชั้นต้นสั่งรับไว้ก็ตามเมื่อศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยในปัญหาข้อเท็จจริงดังกล่าว ดังนี้ ศาลฎีกาย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยตามลำดับชั้นของศาลเสียก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3646/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลำดับการพิจารณาความผิดแจ้งความเท็จ: ต้องพิจารณามาตรา 172 ก่อนมาตรา 174 วรรคสอง และสิทธิอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง
การที่จะพิจารณาว่าจำเลยได้กระทำความผิดฐานแจ้งความเท็จตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา174วรรคสองหรือไม่ศาลต้องพิจารณาเสียก่อนว่าจำเลยได้กระทำความผิดฐานแจ้งความเท็จตามมาตรา172หรือไม่การกระทำความผิดตามมาตรา174วรรคสองมีอัตราโทษอย่างสูงเกินสามปีไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตราS93ทวิในกรณีเช่นนี้สำหรับความผิดฐานแจ้งความเท็จตามมาตรา172จึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงด้วย การกระทำอันจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา174วรรคสองได้นั้นจะต้องกระทำความผิดตามมาตรา172เสียก่อนแม้โจทก์จะได้ฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงในความผิดตามมาตรา172มาด้วยและศาลชั้นต้นสั่งรับไว้ก็ตามเมื่อศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยในปัญหาข้อเท็จจริงดังกล่าวดังนี้ศาลฎีกาย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยตามลำดับชั้นของศาลเสียก่อน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2940/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นคำคู่ความเพื่อกันส่วนเงิน ไม่ถือเป็นการแจ้งความเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137
คำร้องขอกันส่วนเงินของจำเลยเป็นคำคู่ความ การยื่นคำร้องดังกล่าวถือไม่ได้ว่าเป็นการแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137 จึงจะนำมาตราดังกล่าวมาใช้แก่กรณีนี้ไม่ได้เพราะมาตรานี้มิได้มุ่งหมายให้ใช้บังคับแก่การยื่นคำคู่ความต่อศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2940/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องกันส่วนเงินไม่ใช่การแจ้งความเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137
คำร้องขอกันส่วนเงินของจำเลยเป็นคำคู่ความ การยื่นคำร้องดังกล่าวถือไม่ได้ว่าเป็นการแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137 จึงจะนำมาตราดังกล่าวมาใช้แก่กรณีนี้ไม่ได้เพราะมาตรานี้มิได้มุ่งหมายให้ใช้บังคับแก่การยื่นคำคู่ความต่อศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2940/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นคำคู่ความเพื่อกันส่วนเงิน ไม่ถือเป็นการแจ้งความเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137
คำร้องขอกันส่วนเงินของจำเลยเป็นคำคู่ความการยื่นคำร้องดังกล่าวถือไม่ได้ว่าเป็นการแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายอาญามาตรา137จึงจะนำมาตราดังกล่าวมาใช้แก่กรณีนี้ไม่ได้เพราะมาตรานี้มิได้มุ่งหมายให้ใช้บังคับแก่การยื่นคำคู่ความต่อศาล.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2550/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แจ้งความเท็จ - การพิสูจน์ความเท็จของข้อความ - ต้องมีพยานหลักฐานยืนยัน
ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำฟ้องของโจทก์ได้ความว่า การที่จำเลยไปแจ้งว่าชายคนที่ไปร้านของจำเลยคือโจทก์นั้น ก็เป็นการแจ้งไปตามคำบอกเล่าของเด็กที่อยู่ในร้าน โจทก์มิได้ยืนยันข้อเท็จจริงให้ปรากฏในคำฟ้องว่าเด็กในร้านมิได้บอกกับจำเลยเช่นนั้น อันจะทำให้เห็นว่าข้อที่จำเลยแจ้งนั้นเป็นเท็จ เมื่อฟังไม่ได้ว่าข้อความที่จำเลยแจ้งเป็นเท็จแล้ว การแจ้งความของจำเลยก็ไม่มีมูลความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2550/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แจ้งความเท็จ – การแจ้งความตามคำบอกเล่าเด็ก หากมิได้พิสูจน์ว่าเด็กให้ข้อมูลเท็จ ไม่ถือเป็นความผิด
ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำฟ้องของโจทก์ได้ความว่าการที่จำเลยไปแจ้งว่าชายคนที่ไปร้านของจำเลยคือโจทก์นั้นก็เป็นการแจ้งไปตามคำบอกเล่าของเด็กที่อยู่ในร้านโจทก์มิได้ยืนยันข้อเท็จจริงให้ปรากฏในคำฟ้องว่าเด็กในร้านมิได้บอกกับจำเลยเช่นนั้นอันจะทำให้เห็นว่าข้อที่จำเลยแจ้งนั้นเป็นเท็จเมื่อฟังไม่ได้ว่าข้อความที่จำเลยแจ้งเป็นเท็จแล้วการแจ้งความของจำเลยก็ไม่มีมูลความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา137.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1455/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนกรรมสิทธิ์เครื่องจักรต้องจดทะเบียนตามกฎหมาย การฟ้องฐานฉ้อโกงและแจ้งความเท็จไม่สมบูรณ์หากกรรมสิทธิ์ยังไม่เปลี่ยนมือ
จำเลยที่ 2 ขายเครื่องจักรผลิตปุ๋ยเคมีซึ่งมีหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเครื่องจักรให้โจทก์ โจทก์ชำระราคาครบถ้วนและรับมอบเครื่องจักรแล้ว แต่ยังมิได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ซึ่งการโอนกรรมสิทธิ์ต้องจดทะเบียนให้ถูกต้องตามพระราชบัญญัติจดทะเบียนเครื่องจักร พ.ศ. 2514 ด้วย ดังนั้นกรรมสิทธิ์ในตัวทรัพย์คือเครื่องจักรจึงยังไม่เปลี่ยนมือไปยังโจทก์ แม้จำเลยที่ 2 ใช้ให้จำเลยที่ 1 ไปพูดหลอกลวงโจทก์เพื่อขอรับหนังสือสำคัญการจดทะเบียนกรรมสิทธิ์เครื่องจักรและโจทก์หลงเชื่อมอบหนังสือดังกล่าวให้ไป การกระทำของจำเลยทั้งสองก็ไม่เข้าองค์ประกอบความผิดฐานฉ้อโกงเพราะหนังสือนั้นเป็นของจำเลยที่ 2 เมื่อจำเลยที่ 2นำไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์เครื่องจักรให้จำเลยที่ 1ต่อเจ้าพนักงานจึงมิใช่เป็นการแจ้งความเท็จหรือกล่าวเท็จเพื่อให้เจ้าหน้าที่จดแจ้งข้อความลงในเอกสารอันจะเป็นความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137,267 จำเลยที่ 2 โอนหุ้นให้โจทก์หมดแล้ว แต่ยังมิได้จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงให้โจทก์เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดแทน จำเลยที่ 2 ยังคงอยู่ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการ การที่จำเลยที่ 2 ไปทำนิติกรรมโอนขายเครื่องจักรในนามของห้างหุ้นส่วนจำกัดให้แก่จำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1329/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานเพื่อออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดิน ศาลฎีกาพิพากษากลับให้ลงโทษ
ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 58 นายอำเภอมีอำนาจแต่งตั้งผู้ที่ได้รับการอบรมเป็นเจ้าหน้าที่ออกไปพิสูจน์สอบสวนการทำประโยชน์ในที่ดินได้และให้เจ้าหน้าที่นั้นเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
ป.เป็นลูกจ้างซึ่งนายอำเภอนางรองมีคำสั่งแต่งตั้งให้เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่ในการสอบสวนสิทธิและการทำประโยชน์เพื่อออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ โดยใช้รูปถ่ายทางอากาศ ป.ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่พนักงานตามที่กฎหมายบัญญัติ
ที่ดินของจำเลยมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์อยู่แล้ว ต่อมาจำเลยขอให้ทางราชการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์โดยใช้รูปถ่ายทางอากาศสำหรับที่ดินแปลงนั้นให้แก่จำเลยอีก โดยจำเลยแจ้งต่อ ป.เจ้าหน้าที่พิสูจน์สอบสวนที่นายอำเภอแต่งตั้งดังกล่าวข้างต้นว่าที่ดินแปลงดังกล่าวยังไม่เคยมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์มาก่อน ทางราชการจึงออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้แก่จำเลย แม้ภายหลังผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์จะสั่งเพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ดังกล่าวเพราะเหตุจำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จ ก็เห็นได้ว่าเกิดความเสียหายขึ้นแล้ว การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1329/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานเพื่อออก น.ส.3ก. แม้จะเคยเป็นข้าราชการและรู้กฎหมาย การกระทำเป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จ
กรมที่ดินจ้าง ป.เป็นลูกจ้างชั่วคราว และนายอำเภอมีคำสั่งแต่งตั้ง ป.ให้ปฏิบัติหน้าที่พิสูจน์สอบสวนการทำประโยชน์ในที่ดิน ป.จึงเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา ตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 58 จำเลยซื้อที่ดินซึ่งมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส.3) อยู่แล้วจำเลยได้ไปขอให้ทางราชการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก)โดยใช้รูปถ่ายทางอากาศสำหรับที่ดินนั้นอีก โดยแจ้งต่อป. เจ้าหน้าที่พิสูจน์สอบสวนว่าที่ดินดังกล่าวยังไม่เคยมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์มาก่อน จนทางราชการออก น.ส.3 ก. ให้จำเลย แต่ในที่สุดผู้ว่าราชการจังหวัดสั่งเพิกถอนเพราะเหตุจำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จดังนี้ เกิดความเสียหายขึ้นแล้ว การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137
of 55