คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
แบ่งทรัพย์สิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 242 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 758/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งทรัพย์สินรวม การฟ้องซ้ำ และการประมูลราคาเมื่อแบ่งไม่ได้
คดีก่อนกับคดีนี้ โจทก์จำเลยเป็นคู่ความเดียวกันส่วนมาก ที่พิพาทก็แปลงเดียวกัน ข้อเท็จจริงในคำฟ้องก็บรรยายในทำนองเดียวกัน แต่คำขอต่างกันโดยฟ้องคดีก่อน โจทก์ขอแบ่งที่พิพาทด้านตะวันออกและตะวันตกเฉียงเหนือเป็นของโจทก์ครึ่งหนึ่ง แต่คำขอคดีนี้ขอแบ่งที่พิพาทครึ่งหนึ่งเฉย ๆ ไม่ระบุด้าน ถ้าตกลงแบ่งกันไม่ได้ ก็ให้ประมูลหรือขายทอดตลาดแบ่งเงินแก่โจทก์จำเลยตามส่วน ดังนี้ ไม่เป็นฟ้องซ้ำ
ทรัพย์เป็นของบุคคลหลายคนรวมกัน ในเบื้องต้นให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้เป็นเจ้าของรวมกันมีส่วนเท่ากัน เว้นแต่เจ้าของรวมฝ่ายหนึ่งจะพิสูจน์ได้ว่าตนมีส่วนได้พิเศษมากกว่าอีกฝ่ายหนึ่ง
การแบ่งทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364 วรรค 2 นั้น เมื่อสภาพของที่พิพาทควรแบ่งกันได้ ก็ยังไม่ควรบังคับให้ประมูลราคากันก่อน.
(อ้างฎีกาที่ 1993/2500)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 758/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งทรัพย์สินรวม การฟ้องซ้ำ และการประมูลราคาเมื่อตกลงแบ่งกันไม่ได้
คดีก่อนกับคดีนี้ โจทก์จำเลยเป็นคู่ความเดียวกันส่วนมากที่พิพาทก็แปลงเดียวกันข้อเท็จจริงในคำฟ้องก็บรรยายในทำนองเดียวกันแต่คำขอต่างกันโดยฟ้องคดีก่อนโจทก์ขอแบ่งที่พิพาทด้านตะวันออกและตะวันตกเฉียงเหนือเป็นของโจทก์ครึ่งหนึ่งแต่คำขอคดีนี้ขอแบ่งที่พิพาทครึ่งหนึ่งเฉยๆไม่ระบุด้านถ้าตกลงแบ่งกันไม่ได้ก็ให้ประมูลหรือขายทอดตลาดแบ่งเงินแก่โจทก์จำเลยตามส่วนดังนี้ ไม่เป็นฟ้องซ้ำ
ทรัพย์เป็นของบุคคลหลายคนรวมกันในเบื้องต้นให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้เป็นเจ้าของรวมกันมีส่วนเท่ากันเว้นแต่เจ้าของรวมฝ่ายหนึ่งจะพิสูจน์ได้ว่าตนมีส่วนได้พิเศษมากกว่าอีกฝ่ายหนึ่ง
การแบ่งทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364วรรค 2 นั้นเมื่อสภาพของที่พิพาทควรแบ่งกันได้ก็ยังไม่ควรบังคับให้ประมูลราคากันก่อน(อ้างฎีกาที่1993/2500)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1342/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์รวมและความสามารถในการมีกรรมสิทธิ์ของคนต่างด้าว การฟ้องแบ่งทรัพย์สินต้องมีคุณสมบัติครบถ้วน
โจทก์ฟ้องขอแบ่งทรัพย์พิพาทครึ่งหนึ่งซึ่งเป็นที่ดินกับห้องแถวส่วนควบในที่ดิน อันเป็นลักษณะกรรมสิทธิ์รวมระหว่างโจทก์จำเลย ได้มาระหว่างอยู่กินร่วมกัน แต่ฟ้องโจทก์เองกลับบรรยายมาว่า โจทก์เป็นคนต่างด้าว ไม่สามารถมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินและห้องแถวได้ การที่โจทก์เอาชื่อผู้อื่นใส่ในโฉนดแทนโจทก์ จึงหาก่อให้โจทก์มีสิทธิในทรัพย์พิพาทแต่ประการใดไม่ โจทก์จึงไม่ใช่เจ้าของผู้มีกรรมสิทธิ์ร่วมกับจำเลยในทรัพย์พิพาท ไม่มีสิทธิขอแบ่งทรัพย์พิพาทได้ ปัญหาเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ของโจทก์ในทรัพย์พิพาทดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลยกวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 902/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งทรัพย์สินหลังหย่า: บันทึกหลังทะเบียนหย่ามีผลผูกพันทางกฎหมาย
สามีภริยาจดทะเบียนหย่อขาดกันที่อำเภอบันทึกหลังทะเบียนการหย่อที่ว่า ในเรื่องทรัพย์สินที่ได้มาในระหว่างการสมรส ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงกันเรียบร้อยก่อนมาจดทะเบียนหย่านั้น ถือได้ว่ามีหลักฐานเป็นหนังสือสัญยาประนีประนอมยอมความในเรื่องทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยานั้นแล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 872/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการโอนสินเดิมที่ทำโดยไม่ชอบ และการแบ่งมรดก
ก่อนสามีโจทก์ตาย ได้ทำนิติกรรมยกที่ดินสินเดิม (ซึ่งเป็นสินบริคณห์)ของสามีให้จำเลยโดยเสน่หาโดยมิได้รับความยินยอมของโจทก์จึงเป็นนิติกรรมที่ทำไปโดยมิชอบการเพิกถอนก็ต้องเพิกถอนนิติกรรมนั้นทั้งหมดจะเพิกถอนเฉพาะบางส่วนหาได้ไม่ เพราะที่ดินนี้เป็นสินเดิมทั้งแปลง
โจทก์ตั้งประเด็นฟ้องขอแบ่งที่พิพาทซึ่งสามีโจทก์ยกให้จำเลยก่อนตายอ้างว่าเป็นสินสมรส (ซึ่งเป็นสินบริคณห์) ระหว่างโจทก์กับสามีผู้ตายแต่ข้อเท็จจริงได้ความว่าที่พิพาทเป็นสินเดิมของผู้ตายซึ่งต้องตกเป็นมรดกของผู้ตายอันจะพึงได้แก่ทายาทต่อไปเช่นนี้ศาลจะแบ่งที่พิพาทให้โจทก์ในชั้นนี้ยังไม่ได้ เพราะโจทก์ไม่ได้ตั้งประเด็นฟ้องขอแบ่งในฐานะเป็นผู้รับมรดก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 431/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกที่ทำขึ้นหลังการแบ่งทรัพย์สินให้บุตรแล้ว
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า ผู้ตายได้แบ่งที่พิพาท 2 แปลงให้บุตรทุกคนเป็นส่วนสัดไปแล้ว คงกันที่ไว้ทำกิน 2 แห่ง พินัยกรรมของผู้ตายที่ยกที่ที่กันไว้ทำกินให้จำเลยนั้นเห็นว่าเป็นพินัยกรรมปลอมไม่สมบูรณ์ จึงให้แบ่งที่ที่กันไว้นั้นแก่บุตรทั้ง 6 คน ให้โจทก์ จำเลยได้คนละ 1 ส่วน ศาลอุทธรณ์เห็นว่า พินัยกรรมที่ผู้ตายทำไว้ใช้ได้โดยชอบพิพากษาแก้ให้ที่ที่ผู้ตายกันไว้ทำกินทั้งหมดเป็นของจำเลยถือว่าศาลอุทธรณ์แก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นมาก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 952/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคัดค้านพยานภายหลังต้องทำในขณะเบิกความ และการแบ่งทรัพย์สินระหว่างวัดกับบุคคลธรรมดา
ถ้าคู่ความฝ่ายที่ต้องนำสืบพยานภายหลังมิได้ถามค้านพยานของคู่ความฝ่ายที่นำสืบก่อนไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 89 วรรคหนึ่ง ต่อมากลับนำพยานของตนมาสืบถึงข้อความดังกล่าวนั้น เช่นนี้ คู่ความฝ่ายที่นำสืบก่อนต้องคัดค้านเสียในขณะที่พยานของฝ่ายนำสืบภายหลังกำลังเบิกความ มิฉะนั้นจะมาคัดค้านภายหลังไม่ได้
ในกรณีที่วัดกับบุคคลอื่นเป็นเจ้าของทรัพย์ร่วมกันเมื่อมีเหตุที่จะต้องแบ่งทรัพย์ต่อกัน ศาลก็พิพากษาให้แบ่งทรัพย์นั้นได้ และย่อมพิพากษาถึงวิธีการแบ่งทรัพย์ตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บัญญัติไว้ได้ ไม่เป็นการขัดต่อพระราชบัญญัติคณะสงฆ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 524/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภริยาน้อยไม่มีสิทธิในสินสมรส: การแบ่งทรัพย์สินระหว่างภริยาที่ถูกต้องตามกฎหมายและภริยาน้อย
ผู้ตายมีภริยาชอบด้วยกฎหมายอยู่แล้วคนหนึ่งต่อมาได้ภริยาน้อยที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายมาอยู่ร่วมด้วยอีกคนหนึ่งดังนี้ ถือว่าภริยาน้อยเข้ามาอยู่ในครอบครัวของผู้ตายในฐานะเป็นบริวารหรือนางบำเรอเท่านั้นจึงหามีสิทธิที่จะเข้ามามีส่วนเป็นเจ้าของรวมในกองทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างผู้ตายกับภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายไม่
การที่สามีเอาที่ดินอันเป็นสินบริคณห์โอนยกให้แก่บุตรโดยเสน่หานั้นเป็นการให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดี ภริยาจะขอให้เพิกถอนไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2012/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ร่วมในทรัพย์สินที่ได้มาในระหว่างการอยู่กินฉันสามีภริยา และการแบ่งทรัพย์สินเมื่อมีภริยาหลายคน
จำเลยมีผู้ร้องสอดเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่แล้วตั้งแต่ก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ภายหลังการใช้บรรพนี้แล้วจำเลยยังได้โจทก์เป็นภริยาอีก แต่มิได้จดทะเบียนสมรส ภริยาแต่ละคนของจำเลยมีถิ่นที่อยู่ต่างตำบลกันและมีทรัพย์สินอยู่ ณ ตำบลที่อยู่ของแต่ละคน แสดงว่าได้แบ่งแยกกันเป็นส่วนสัดแล้ว ทรัพย์สินที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของร่วมกันหรือทำมาหาได้ร่วมกัน จำเลยที่ 1 ย่อมไม่มีอำนาจเอาไปขายทั้งหมดโดยมิได้รับความยินยอมจากโจทก์ โจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้ครอบครองทรัพย์สินเหล่านี้มา โจทก์จึงมีส่วนได้กึ่งหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 212/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงแบ่งทรัพย์สินหลังหย่ามีผลอย่างไร? ข้อตกลงไม่ใช่คำมั่นสัญญาแต่เป็นการโอนสิทธิ
สามีภริยาได้จดทะเบียนหย่าขาดจากกันและทำบันทึกแบ่งทรัพย์สินให้ภริยาด้วยนั้น การแบ่งทรัพย์นี้ไม่ใช่คำนั่นว่าจะให้ แต่เป็นสัญญาแบ่งทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1512
of 25