คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
แบ่งมรดก

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 350 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2606-2607/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีตามคำพิพากษาแบ่งมรดก: ยึดทรัพย์เพื่อขายทอดตลาดชอบด้วยกฎหมายเมื่อตกลงแบ่งกันเองไม่ได้
ศาลพิพากษาให้จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกแบ่งทรัพย์ให้โจทก์ 2 ใน 3 ส่วน ถ้าตกลงแบ่งกันเองไม่ได้ให้ประมูลราคาระหว่างโจทก์กับจำเลย หากยังไม่ตกลงกันก็ให้ขายทอดตลาดแบ่งเงินกัน ฝ่ายโจทก์ได้ติดต่อให้จำเลยแบ่งทรัพย์พิพาทให้ แต่ตกลงกันไม่ได้เพราะจำเลยจะแบ่งให้เพียงครึ่งหนึ่ง โจทก์จึงขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีเรียกจำเลยมาประมูลทรัพย์สินระหว่างกันเอง จำเลยก็ไม่มาพบเจ้าพนักงานบังคับคดี เช่นนี้ถือได้ว่าการแบ่งทรัพย์หรือประมูลราคาระหว่างโจทก์จำเลยไม่มีทางตกลงกันได้แล้ว ที่โจทก์ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีขาดทอดตลาดทรัพย์พิพาท จึงเป็นการถูกต้องตามขั้นตอนแล้วและเมื่อกรณีมีความจำเป็นต้องดำเนินการบังคับคดีให้จำเลยแบ่งทรัพย์พิพาท แก่โจทก์ตามคำพิพากษาด้วยวิธีขายทอดตลาด การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีทำการยึดทรัพย์พิพาทก่อนทำการขายทอดตลาดย่อมเป็นการปฏิบัติที่ชอบด้วยประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ลักษณะ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2606-2607/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีตามคำพิพากษาแบ่งมรดก: ยึดทรัพย์ก่อนขายทอดตลาดชอบด้วยกฎหมาย
ศาลพิพากษาให้จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกแบ่งทรัพย์ให้โจทก์ 2 ใน 3 ส่วน ถ้าตกลงแบ่งกันเองไม่ได้ให้ประมูลราคาระหว่างโจทก์กับจำเลย หากยังไม่ตกลงกันก็ให้ขายทอดตลาดแบ่งเงินกัน ฝ่ายโจทก์ได้ติดต่อให้จำเลยแบ่งทรัพย์พิพาทให้ แต่ตกลงกันไม่ได้เพราะจำเลยจะแบ่งให้เพียงครึ่งหนึ่ง โจทก์จึงขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีเรียกจำเลยมาประมูลทรัพย์สินระหว่างกันเอง จำเลยก็ไม่มาพบเจ้าพนักงานบังคับคดี เช่นนี้ถือได้ว่าการแบ่งทรัพย์หรือการประมูลราคาระหว่างโจทก์จำเลยไม่มีทางตกลงกันได้แล้ว ที่โจทก์ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์พิพาท จึงเป็นการถูกต้องตามขั้นตอนแล้ว และเมื่อกรณีมีความจำเป็นต้องดำเนินการบังคับคดีให้จำเลยแบ่งทรัพย์พิพาทแก่โจทก์ตามคำพิพากษาด้วยวิธีขายทอดตลาดการที่เจ้าพนักงานบังคับคดีทำการยึดทรัพย์พิพาทก่อนทำการขายทอดตลาดย่อมเป็นการปฏิบัติที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ลักษณะ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2562/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าของรวมฟ้องทายาทแบ่งทรัพย์สิน ไม่ต้องฟ้องทุกคน
เจ้าของรวมคนหนึ่งๆ มีสิทธิฟ้องทายาทคนหนึ่งคนใดของเจ้าของรวมคนอื่นให้แบ่งทรัพย์สินได้ ไม่จำต้องฟ้องทายาททุกคน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1365/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดก เจ้าของร่วม และการโอนสิทธิโดยไม่ทราบ
ที่ดินมรดกซึ่งมีผู้เช่า ทายาทต่างมิได้ครอบครองเอาเป็นของตนเอง ทายาทเป็นเจ้าของร่วมกัน ทายาทฟ้องแบ่งได้ไม่ขาดอายุความ 1 ปี จำเลยโอนโฉนดมาโดยโจทก์ไม่รู้ไม่เห็น โจทก์ยังแบ่งมรดกได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2464/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ มรดกตกทอดและการครอบครองร่วมกัน ศาลฎีกาพิพากษาให้แบ่งมรดกเป็นส่วน ๆ
โจทก์ฟ้องว่า ที่ดินเป็นของโจทก์โดยได้รับยกให้และครอบครองมา ขอให้ศาลพิพากษาว่าโจทก์มีสิทธิ์ครอบครองและขับไล่จำเลย ทางพิจารณาฟังได้ว่าที่พิพาทเป็นมรดกตกได้แก่โจทก์และจำเลยซึ่งเป็นทายาทและได้ครอบครองร่วมกันมา ศาลย่อมพิพากษาให้แบ่งที่พิพาทให้โจทก์และจำเลยตามส่วนที่มีสิทธิ์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1149/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกที่ดินร่วมกัน โดยมีการครอบครองแทนกัน และการพิสูจน์การแบ่งมรดก
โจทก์ฟ้องว่าเดิมโจทก์จำเลยได้ครอบครองที่นามรดกร่วมกัน 2 แปลง เรียกว่านา ต. กับนา ห. ต่อมาจึงแยกกันทำนา โดยโจทก์ทำนา ต. จำเลยทำนา ห. แต่จำเลยไปขอ น.ส.3 เป็นของจำเลยแต่ผู้เดียว โจทก์ขอให้แบ่งกันคนละแปลงจำเลยไม่ยอม ขอให้บังคับจำเลยแบ่งที่นามรดกกับโจทก์คนละแปลง โดยให้โจทก์ได้นา ต. ซึ่งโจทก์ครอบครองอยู่ จำเลยให้การว่าได้แบ่งมรดกกันแล้วโดย นา ต. กับ นา ห. ให้แก่จำเลย ได้ความว่านาทั้งสองแปลงนี้เป็นทรัพย์มรดกที่โจทก์จำเลยได้รับมา โจทก์จำเลยแยกกันทำนาคนละแปลง แต่ต่างฝ่ายต่างครอบครองแทนอีกฝ่ายหนึ่งตลอดมา โจทก์จำเลยต่างยังเป็นเจ้าของนาทั้งสองแปลงร่วมกัน นาต. ก็เป็นทรัพย์มรดกที่จำเลยมีส่วนเป็นเจ้าของร่วมอยู่ด้วย จะแบ่งให้แต่โจทก์ฝ่ายเดียวไม่ได้ จึงพิพากษาว่านาทั้งสองแปลงเป็นทรัพย์มรดกได้แก่โจทก์จำเลย ให้แบ่งนา 2 แปลงนี้ให้โจทก์จำเลยคนละครึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1149/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกที่ดิน: เจ้าของร่วมยังคงมีสิทธิ แม้มีการครอบครองแยกกัน
โจทก์ฟ้องว่าเดิมโจทก์จำเลยได้ครอบครองที่นามรดกร่วมกัน 2 แปลง เรียกว่านา ต. กับนา ห. ต่อมาจึงแยกกันทำนา โดยโจทก์ทำนา ต.จำเลยทำนา ห. แต่จำเลยไปขอ น.ส.3 เป็นของจำเลยแต่ผู้เดียวโจทก์ขอให้แบ่งกันคนละแปลง จำเลยไม่ยอม ขอให้บังคับจำเลยแบ่งที่นามรดกกับโจทก์คนละแปลง โดยให้โจทก์ได้นา ต. ซึ่งโจทก์ครอบครองอยู่ จำเลยให้การว่าได้แบ่งมรดกกันแล้วโดยนา ต. กับนา ห. ให้แก่จำเลย ได้ความว่านาทั้งสองแปลงนี้เป็นทรัพย์มรดกที่โจทก์จำเลยได้รับมา โจทก์จำเลยแยกกันทำนาคนละแปลง แต่ต่างฝ่ายต่างครอบครองแทนอีกฝ่ายหนึ่งตลอดมา โจทก์จำเลยต่างยังเป็นเจ้าของนาทั้งสองแปลงร่วมกันนาต. ก็เป็นทรัพย์มรดกที่จำเลยมีส่วนเป็นเจ้าของร่วมอยู่ด้วย จะแบ่งให้แก่โจทก์ฝ่ายเดียวไม่ได้ จึงพิพากษาว่านาทั้งสองแปลงเป็นทรัพย์มรดกตกได้แก่โจทก์จำเลย ให้แบ่งนา 2 แปลงนี้ให้โจทก์จำเลยคนละครึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1026/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ มรดกตกทอด การแบ่งทรัพย์สินร่วมกัน และค่าเสียหายจากการกีดกันการทำกิน
ที่พิพาทเป็นมรดกตกทอดแต่โจทก์ทั้งสอง จำเลยทั้งสองและพระภิกษุ ส. ผู้เป็นทายาท และนับแต่วันที่เจ้ามรดกตายจนถึงวันที่โจทก์ฟ้องขอแบ่งที่พิพาทจากจำเลยยังไม่พ้นกำหนด 1 ปี ยังอยู่ภายในอายุความที่พระภิกษุ ส.จะสึกจากสมณเพศมาเรียกร้องขอแบ่งได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1622 ดังนี้ ต้องแบ่งที่พิพาทออกเป็น 5 ส่วน โจทก์ได้คนละ 1 ใน 5
เมื่อยังไม่ได้แบ่งที่พิพาทกัน โจทก์ทั้งสอง จำเลยทั้งสอง และส.เป็นเจ้าของที่พิพาทร่วมกัน โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยแบ่งที่พิพาทให้และเรียกค่าเสียหายเพื่อการที่จำเลยไม่ยอมให้โจทก์เข้าทำนาตั้งแต่พ.ศ. 2517 ทำให้โจทก์ขาดรายได้ ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยทั้งสองแบ่งนาพิพาทให้โจทก์ทั้งสองกึ่งหนึ่ง และให้ใช้ค่าเสียหายปีละ 1,500 บาท นับแต่ปี 2516 จนถึงปีที่จำเลยยอมแบ่งนาให้โจทก์ จำเลยมิได้ฎีกาว่าจำเลยไม่ต้องใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ เพราะการที่จำเลยเข้าทำนาในที่พิพาทที่ตนเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยนั้น ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ คงฎีกาเพียงว่าที่ศาลอุทธรณ์ให้ใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ตั้งแต่ปี 2516 เป็นการพิพากษาเกินคำขอเท่านั้น จึงไม่มีประเด็นที่ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าจำเลยไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 596-597/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองทรัพย์มรดก การแบ่งมรดก และสิทธิในการโอนทรัพย์มรดกของทายาท
เจ้ามรดกมีทายาท 9 คนรวมทั้งโจทก์และ พ. กับ น.จำเลยในคดีนี้ด้วย ทายาทอื่น 3 คน เคยฟ้องโจทก์ขอแบ่งที่พิพาทอันเป็นที่ดินมรดกซึ่งโจทก์มีชื่อใน น.ส.3 แทน ทายาทจำเลยให้การสู้คดีโดยอ้างว่าได้ครอบครองเพื่อตนคดีนั้นศาลพิพากษาถึงที่สุดให้แบ่งที่พิพาทเป็น 9 ส่วน ให้ทายาทที่ฟ้องคนละ 1 ส่วน การที่โจทก์ถูกฟ้องและให้การต่อสู้คดีโดยอ้างว่าได้ครอบครองเพื่อตนนั้นหาใช่เป็นการบอกกล่าวไปยังทายาทอื่นที่ไม่ได้ฟ้องด้วยว่าโจทก์จะไม่เจตนายึดถือที่พิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกไว้แทนต่อไปไม่ตราบใดที่โจทก์ยังมิได้บอกกล่าวไปยังทายาทอื่นว่าไม่เจตนาจะยึดถือที่พิพาทแทนต่อไป ก็ต้องถือว่าโจทก์ครอบครองที่พิพาทแทนทายาทอื่นด้วยดังเดิม พ. และ น. จำเลยคดีนี้ยังคงเป็นเจ้าของรวมในที่พิพาทในส่วนที่ยังมิได้โต้แย้งกัน ทั้งการฟ้องคดีขอแบ่งที่พิพาทอันเป็นมรดกนั้น ทายาทอื่นซึ่งมีส่วนอยู่ด้วยไม่จำต้องฟ้องคดีหมดทุกคนก็ย่อมได้สิทธิตามส่วนที่จะรับมรดกตามคำพิพากษาที่วินิจฉัยถึงส่วนของทายาทนั้นๆ โจทก์ซึ่งเป็นฝ่ายครอบครองที่พิพาทแทนทายาทอื่นจะอ้างเอาการต่อสู้คดีดังกล่าวว่าเป็นการเข้าแย่งการครอบครองเองหาได้ไม่ และไม่อยู่ในบังคับของเวลาสำหรับเรียกร้องเอาคืนซึ่งการครอบครองที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 วรรคสอง เมื่อคดีก่อนนั้นศาลวินิจฉัยว่าโจทก์ครอบครองที่พิพาทไว้แทนทายาทอื่นซึ่งรวมถึง พ. และ น. จำเลยคดีนี้ด้วย พ. และน. ย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องต่ออำเภอขอให้ใส่ชื่อของตนใน น.ส.3 ตามสิทธิของตนได้เมื่อใส่แล้วก็มีความชอบธรรมที่จะโอนขายส่วนของตนให้ผู้อื่นไปโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์
จำเลยลงลายพิมพ์นิ้วมือตั้ง พ. เป็นทนายความแม้จะมีพยานลงชื่อรับรองลายพิมพ์นิ้วมือเพียงคนเดียว แต่ พ. ก็ได้ว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาในฐานะทนายของจำเลยมาตั้งแต่ศาลชั้นต้นจนถึงชั้นอุทธรณ์ โดยจำเลยยอมรับเอาผลของการดำเนินกระบวนพิจารณานั้นตลอดมา และโจทก์ก็มิได้คัดค้านประการใดมาแต่ต้นดังนี้ พ. จึงมีอำนาจที่จะฎีกาในฐานะทนายของจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 329/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีแบ่งมรดกตามสัญญาประนีประนอมยอมความ และการโต้แย้งสิทธิ
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยแบ่งทรัพย์มรดกมีพินัยกรรมตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่โจทก์จำเลยและทายาทอื่นได้ทำไว้มิได้ขอแบ่งตามพินัยกรรมของเจ้ามรดก ฟ้องโจทก์บรรยายว่าจำเลยไม่ยอมปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความโดยอ้างสิทธิว่าทรัพย์สินทั้งหมดของเจ้ามรดกจะต้องแบ่งให้จำเลยครึ่งหนึ่งก่อนที่เหลือจึงจะแบ่งให้โจทก์และทายาทอื่นเช่นนี้ โจทก์ถูกจำเลยโต้แย้งสิทธิแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้ และมีอำนาจฟ้องขอแบ่งทรัพย์จากจำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญาประนีประนอมยอมความโดยตรง
of 35