คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
โจทก์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,033 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5397/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายนัดข้ามเขตและการทิ้งฟ้อง: ศาลต้องแจ้งผลการส่งหมายให้โจทก์ทราบก่อนพิจารณาว่าทิ้งฟ้องหรือไม่
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์นำส่งหมายนัดและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยภายใน 7 วัน หากส่งไม่ได้ให้โจทก์ภายใน 7 วัน นับแต่วันส่งไม่ได้มิฉะนั้นจะถือว่าทิ้งฟ้องเป็นการสั่งให้โจทก์เป็นผู้นำส่งหมายนัดและสำเนาคำฟ้องแต่ปรากฏว่าคดีนี้ จำเลยทั้งสองมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลแขวงนครปฐม ศาลชั้นต้นคือศาลแขวงพระนครใต้จึงมีหนังสือแจ้งให้ศาลแขวงนครปฐมให้ดำเนินการส่งหมายนัดและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยทั้งสองแทน ต่อมาศาลแขวงนครปฐมได้แจ้ง ผลการส่งหมายมายังศาลชั้นต้นว่า ส่งให้ไม่ได้ ศาลชั้นต้นได้สั่งว่า รอโจทก์แถลง ดังนี้จึงเป็นการแสดงว่าโจทก์มิได้เป็นผู้นำส่ง หากแต่เป็นการส่งหมายข้ามเขตซึ่งศาลเป็นผู้ส่งเอง เมื่อศาลชั้นต้นมิได้แจ้งผลการส่งหมายดังกล่าว ให้โจทก์ทราบ โจทก์ย่อมไม่มีทางทราบถึงผลการส่งหมายดังกล่าวการที่โจทก์มิได้ยื่นคำแถลงให้ดำเนินการต่อไปจึงยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ไม่ได้ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดอันเป็นการทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 174(2) ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5279/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของประกันภัยค้ำจุนรถยนต์ และขอบเขตการรับผิดต่อโจทก์แต่ละราย
จำเลยร่วมที่ 2 ถูกเรียกให้เข้ามาเป็นจำเลยร่วมเพื่อรับผิดในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์คันพิพาท ซึ่งมีความรับผิดแตกต่างกับความรับผิดของจำเลยที่ 3 ที่จะต้องรับผิดในฐานะที่เป็นนายจ้างซึ่งจะต้องร่วมรับผิดในการกระทำละเมิดของลูกจ้างในทางการที่จ้าง ดังนี้ มูลความแห่งคดีจึงเป็นกรณีที่มิได้เป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้หรือมิได้มีกฎหมายบัญญัติไว้ดั่งนั้นโดยชัดแจ้ง อีกทั้งคดีนี้มีโจทก์ที่ 4 เพียงผู้เดียวเท่านั้นที่ขอให้ศาลหมายเรียกจำเลยร่วมที่ 2 เข้ามาเป็นจำเลยร่วม ส่วนการที่ศาลมีคำสั่งให้รวมการพิจารณาและพิพากษาเข้าด้วยกันนั้นก็เป็นเพียงเพื่อความสะดวกเท่านั้น จึงมิได้เป็นเหตุที่ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงมูลความแห่งคดีเกี่ยวกับการชำระหนี้ที่แบ่งแยกจากกันได้หรือไม่แต่ประการใด ดังนี้ เมื่อจำเลยร่วมที่ 2 คงต้องรับผิดต่อโจทก์ที่ 4 เพียงผู้เดียวกรณีก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์ที่ 4 ได้กระทำการแทนโจทก์อื่นด้วย โจทก์ที่ 4 ได้ขอให้ศาลหมายเรียกจำเลยร่วมที่ 2เข้ามาร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 3 ในคดีและได้มีการพิจารณาเกี่ยวกับความรับผิดของจำเลยร่วมที่ 2 ในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนในรถยนต์คันพิพาทต่อโจทก์ที่ 4 และโจทก์อื่นด้วยอีกทั้งยังมีการแถลงรับในชั้นสืบพยานของศาลชั้นต้นอีกว่าจำเลยร่วมที่ 2 จะต้องรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยคนละไม่เกิน 50,000 บาท ต่อ 1 ครั้ง และศาลชั้นต้นก็ได้วินิจฉัยให้จำเลยร่วมที่ 2 รับผิดร่วมกับจำเลยที่ 3 ต่อโจทก์อื่นอีกด้วย เช่นนี้ถือได้ว่าได้มีการหยิบยกปัญหาเรื่องการขอหมายเรียกของโจทก์ที่ 4 ขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นแล้ว การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้จำเลยที่ 2รับผิดเฉพาะต่อโจทก์ที่ 4 เพียงผู้เดียวโดยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์อื่นด้วยชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5024/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระการพิสูจน์ในคดีกู้ยืมเงิน: โจทก์ต้องพิสูจน์การทำสัญญา
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกู้ยืมเงินจากโจทก์ จำเลยได้รับเงินจากโจทก์ครบถ้วนแล้ว จำเลยให้การว่าจำเลยไม่เคยทำสัญญากู้ยืมเงินจากโจทก์สัญญากู้ยืมเงินเป็นเอกสารปลอมโดยโจทก์กรอกข้อความลงในเอกสารว่าจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ ทั้งที่ไม่เป็นความจริง คำให้การของจำเลยเป็นการปฏิเสธว่าจำเลยไม่ได้ทำสัญญากู้ยืมเงินจากโจทก์ตามฟ้อง โจทก์ซึ่งเป็นฝ่ายกล่าวอ้างจึงมีภาระการพิสูจน์ให้ได้ความว่าจำเลยได้ทำสัญญากู้ยืมเงินจากโจทก์ตามข้ออ้างของตน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5024/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระการพิสูจน์ในคดีกู้ยืมเงิน: โจทก์ต้องพิสูจน์การทำสัญญาและรับเงิน หากจำเลยปฏิเสธ
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกู้ยืมเงินจากโจทก์ จำเลยได้รับเงินจากโจทก์ครบถ้วนแล้ว จำเลยให้การว่าจำเลยไม่เคยทำสัญญากู้ยืมเงินจากโจทก์ สัญญากู้ยืมเงิน เป็นเอกสารปลอมโดยโจทก์กรอกข้อความลงในเอกสารว่าจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ ทั้งที่ไม่เป็นความจริง คำให้การของจำเลยเป็นการปฏิเสธว่าจำเลยไม่ได้ทำสัญญากู้ยืมเงินจากโจทก์ตามฟ้อง โจทก์ซึ่งเป็นฝ่ายกล่าวอ้างจึงมีภาระการพิสูจน์ให้ได้ความว่าจำเลยได้ทำสัญญากู้ยืมเงินจากโจทก์ตามข้ออ้างของตน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4643/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบรรยายฟ้องไม่ชัดเจน ความผิดกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท โจทก์มีหน้าที่สืบพยาน
แม้ตามคำฟ้องโจทก์ได้แยกกระทงเรียงเป็นลำดับว่าเป็นการกระทำความผิดหลายกรรม กล่าวคือ ข้อแรก จำเลยทั้งห้าร่วมกันทำไม้มะค่าโมงซึ่งเป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. ในเขตป่าขุนซ่องโดยใช้เลื่อยโซ่ยนต์ตัดฟันเป็นท่อน ๆรวม 2 ท่อน วัดปริมาตรได้ 3.48 ลูกบาศก์เมตร โดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่...ฯลฯ... ข้อสอง จำเลยทั้งห้าร่วมกันบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินบุกรุกเข้าไปทำไม้ ภายในเขตป่าสงวนแห่งชาติอันเป็นการกระทำให้เกิดการเสื่อมเสียแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติ เข้าไปทำไม้มะค่าโมงจำนวน 2 ต้น ทำลายต้นไม้ในป่าขุนซ่องอันเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าโดยไม่ได้รับอนุญาต...ฯลฯ... ก็ตาม แต่การที่โจทก์บรรยายฟ้องเกี่ยวกับวันเวลาในการกระทำผิดว่า จำเลยทั้งห้ากระทำผิดในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2538 เวลากลางวัน โดยไม่ได้ระบุว่าการกระทำผิดฐานใดกระทำในวันเวลาใดให้ชัดแจ้ง การบรรยายฟ้องดังกล่าวจึงถือได้ว่าจำเลยทั้งห้ากระทำความผิดในคราวเดียวกันเป็นความผิดกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท มิใช่เป็นการกระทำคนละคราวอันจะเป็นความผิดหลายกรรม
โจทก์ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งห้าฐานร่วมกันลักลอบนำเข้าเลื่อยโซ่ยนต์ของกลางอันเป็นของผลิตในต่างประเทศที่ยังมิได้ผ่านด่านศุลกากรโดยถูกต้อง เข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงการเสียภาษีศุลกากร หรือรับไว้ซึ่งเลื่อยโซ่ยนต์โดยจำเลยทั้งห้ารู้อยู่แล้วว่าเป็นของที่ผู้ลักลอบนำเข้าหลบหนีด่านศุลกากรเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากรที่ต้องเสียสำหรับของนั้นอันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27, 27 ทวิ แสดงว่าโจทก์ประสงค์ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งห้าในข้อหาใดข้อหาหนึ่งเพียงข้อหาเดียวเพราะความผิดดังกล่าวเป็นความผิดคนละฐาน ดังนี้ ศาลจะลงโทษจำเลยทั้งห้าในทั้งสองฐานความผิดย่อมไม่ได้ เมื่อจำเลยทั้งห้าให้การรับสารภาพตามฟ้อง ย่อมไม่ชัดเจนพอที่จะชี้ขาดว่าจำเลยทั้งห้าได้กระทำผิดฐานใด จึงเป็นหน้าที่ของโจทก์จะต้องสืบพยานให้ได้ความถึงการกระทำผิดของจำเลยทั้งห้า เมื่อโจทก์ไม่สืบพยานจึงลงโทษจำเลยทั้งห้าไม่ได้ และหากโจทก์เห็นว่าคำให้การของจำเลยที่ศาลจดไว้ไม่ชัดแจ้งโจทก์ก็ชอบที่จะคัดค้านหรือแถลงขอสืบพยานต่อไป เพราะเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องสืบพยานให้ได้ความถึงการกระทำผิดของจำเลย คดีจึงไม่มีเหตุที่จะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาสอบถามคำให้การของจำเลยทั้งห้าใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4376/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของมรณะของโจทก์ระหว่างพิจารณาคดี และการบังคับคดีชำระหนี้ด้วยการโอนทรัพย์สิน
แม้โจทก์ถึงแก่กรรมในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาโดยไม่มีทายาทขอเข้าเป็นคู่ความแทนผู้มรณะก็ตาม แต่ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 42 วรรคสองให้ศาลจำหน่ายคดีจากสารบบความได้นั้น ต้องเป็นกรณีมีข้อเท็จจริงมาสู่ศาลว่าคู่ความได้มรณะลงระหว่างคดีค้างพิจารณาอยู่ในศาลนั้น คดีนี้เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงมาสู่สำนวนศาลระหว่างคดีค้างพิจารณาของศาลฎีกาว่าโจทก์ถึงแก่กรรม ดังนี้ เมื่อศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาและได้อ่านให้จำเลยฟังโดยชอบแล้ว คำพิพากษาย่อมผูกพันจำเลย จำเลยจะยกคดีขึ้นว่ากล่าวให้ศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลล่างทั้งสองและจำหน่ายคดีจากสารบบความมิได้
เมื่อตามคำพิพากษาจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาจะใช้ราคาที่ดินแทนได้ต้องเป็นกรณีที่ไม่สามารถโอนที่ดินพิพาทคืนโจทก์ได้เท่านั้น มิใช่ให้จำเลยเลือกปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง และคดีนี้ทายาทของโจทก์ยังสามารถเข้าดำเนินการแทนโจทก์ในชั้นบังคับคดีได้ จำเลยก็ต้องโอนที่ดินพิพาทคืนให้แก่ทายาทโจทก์ จะขอใช้ราคาที่ดินแทนจำเลยมิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4320/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยอมรับหนี้โดยจำเลยในชั้นพิจารณา และผลกระทบต่อการนำสืบพยานของโจทก์
คดีมีการชี้สองสถาน เมื่อโจทก์ไม่ได้ยื่นบัญชีระบุพยานต่อศาลก่อนวันชี้สองสถานไม่น้อยกว่า 15 วัน ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 88 (เดิม) จึงไม่มีสิทธิที่จะนำพยานหลักฐานมาสืบ เว้นแต่เมื่อศาลเห็นว่าพยานหลักฐานดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีและเพื่อประโยชน์ แห่งความยุติธรรมจำเป็นที่จะต้องนำพยานหลักฐานดังกล่าวมาสืบตาม ป.วิ.พ.มาตรา 183 ทวิ (เดิม)
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 2 ร่วมกับจำเลยอื่นรับผิดตามสัญญาค้ำประกันและสัญญาจำนองที่ดินเป็นประกันหนี้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 รวมต้นเงินและดอกเบี้ยเป็นเงิน 2,000,000 บาทเศษ จำเลยที่ 2 ให้การปฏิเสธว่าไม่ได้ทำสัญญาค้ำประกันกับโจทก์ เอกสารค้ำประกันของจำเลยที่ 2ท้ายฟ้องเป็นเอกสารปลอม เพราะจำเลยที่ 2 ลงชื่อไว้ในขณะที่ยังไม่มีการกรอกข้อความ แม้ในชั้นพิจารณาโจทก์จะไม่มีสิทธินำสืบพยาน แต่ในระหว่างสืบพยานจำเลย จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 แถลงไม่ติดใจสืบพยาน กรณีถือได้ว่าทั้งโจทก์และจำเลยที่ 2 ต่างไม่มีพยานหลักฐานมาสืบสนับสนุนข้ออ้างตามฟ้องและข้อต่อสู้ตามคำให้การของตน แต่คำฟ้องและคำให้การของทั้งสองฝ่ายยังอยู่ซึ่งศาลจะต้องวินิจฉัยต่อไป การที่โจทก์ได้แถลงในวันนัดสืบพยานจำเลยว่าหลังจากฟ้องคดีนี้แล้วจำเลยที่ 2 ได้ทำหนังสือถึงโจทก์ขอชำระหนี้ตามฟ้องคดีนี้และหนี้อีกคดีหนึ่งเป็นเงิน 3,000,000 บาท เมื่อหักหนี้คดีอื่นออกแล้วคงเหลือเงินที่จะชำระหนี้คดีนี้อีก 2,000,000 บาทเศษ ศาลชั้นต้นสอบถามจำเลยที่ 2 แล้วยอมรับว่าได้ทำเอกสารดังกล่าวถึงโจทก์จริง จึงต้องถือว่าในชั้นพิจารณาจำเลยที่ 2 ได้ยอมรับข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 2 เป็นลูกหนี้โจทก์ตามฟ้องและยอมชดใช้หนี้แก่โจทก์เป็นเงิน 2,000,000 บาทเศษ ตามที่ระบุไว้ในเอกสารจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 84 (1) โจทก์จึงไม่ต้องนำสืบพยานหลักฐานสนับสนุนคำฟ้องของตนในส่วนนี้ และเอกสารดังกล่าวมีผลผูกพันจำเลยที่ 2
แม้ศาลชั้นต้นจะพิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ชั้นต้น เพราะโจทก์ไม่ได้ยื่นบัญชีระบุพยาน จึงไม่มีสิทธินำพยานเข้าสืบสนับสนุนคำฟ้องของตนซึ่งไม่ใช่เหตุที่จะทำให้หนี้ของจำเลยที่ 1 ระงับสิ้นไปตามกฎหมาย ดังนี้จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันจึงไม่หลุดพ้นจากความรับผิดในหนี้ของจำเลยที่ 1 ไปด้วยตาม ป.พ.พ.มาตรา 698

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4225-4226/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินพิพาท: พยานหลักฐานฝ่ายจำเลยมีน้ำหนักกว่าโจทก์แม้พยานโจทก์เบิกความไม่ตรงกัน
การที่ อ. พยานโจทก์เบิกความไม่ตรงกับที่โจทก์และพยานโจทก์ปากอื่นเบิกความ แต่คำเบิกความของ อ. กลับเจือสมกับที่จำเลยให้การ ทำให้ข้อต่อสู้และพยานหลักฐานที่จำเลยที่ 2 นำสืบว่าที่พิพาทเป็นของจำเลยที่ 2 มีน้ำหนักมากกว่าพยานหลักฐานโจทก์นั้น หากโจทก์เห็นว่า อ. ซึ่งเป็นพยานที่ฝ่ายโจทก์อ้างมาเบิกความเป็นปรปักษ์แก่โจทก์เอง โจทก์ก็อาจขออนุญาตต่อศาลเพื่อซักถาม อ. เสมือนหนึ่งเป็นพยานซึ่งคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งอ้างมา ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 117 วรรคหก แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ขออนุญาตต่อศาลเพื่อซักถาม อ. พยานโจทก์เสมือนหนึ่งเป็นพยานที่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งอ้างมา ดังนี้จะถือว่า อ. เบิกความเป็นปรปักษ์ต่อโจทก์ยังไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4070/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องอาญา: การร้องทุกข์ไม่ชัดเจนถึงความเสียหายของโจทก์ ทำให้ฟ้องขาดอายุความ
โจทก์ได้บรรยายฟ้องว่า ห้างหุ้นส่วนจำกัดโจทก์ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนกองปราบปรามสามยอดตามรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีเอกสารหมายเลข 9 ท้ายฟ้อง ซึ่งมีข้อความสำคัญว่าส. ผู้แจ้งได้มาพบพนักงานสอบสวนแจ้งว่าผู้แจ้งประกอบอาชีพค้าขาย ฯลฯ และมาร้องทุกข์มอบคดีต่อพนักงานสอบสวนเพื่อให้ดำเนินคดีกับจำเลยที่ 2 โดยกล่าวหาว่า ฯลฯ เป็นเหตุให้ผู้แจ้งได้รับความเสียหาย ผู้แจ้งจึงได้มาร้องทุกข์มอบคดีต่อพนักงานสอบสวนเพื่อให้ดำเนินคดีกับจำเลยที่ 2 เมื่อข้อความในบันทึกคำร้องทุกข์ดังกล่าวระบุชัดเจนว่าการกระทำของจำเลยที่ 2 ได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ ส. โดยไม่มีข้อความตอนใดระบุว่าห้างหุ้นส่วนจำกัดโจทก์ได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลยดังนี้ต้องถือว่า ส. หุ้นส่วนผู้จัดการโจทก์ได้ร้องทุกข์ในฐานะห้างหุ้นส่วนจำกัดเป็นผู้เสียหายในนามตนเองเมื่อคำร้องทุกข์ของ ส. ไม่ได้ระบุว่าโจทก์ได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลยและ ส. หุ้นส่วนผู้จัดการนิติบุคคลโจทก์ได้มาร้องทุกข์แทนโจทก์ กรณีจึงไม่อาจฟังได้ว่า ส.ได้กระทำแทนโจทก์และเมื่อคดีนี้เป็นความผิดอันยอมความได้โจทก์ผู้เสียหายฟ้องคดีเองโดยมิได้ร้องทุกข์ไว้โดยชอบภายในกำหนดเวลา 3 เดือน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3990/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อัตราโทษจำคุกต่ำกว่าขั้นต่ำตามกฎหมาย ศาลฎีกาไม่อาจเพิ่มโทษได้หากโจทก์มิได้อุทธรณ์
ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยต่ำกว่าอัตราโทษขั้นต่ำตามที่กฎหมายกำหนดไว้จึงเป็นคำพิพากษาไม่ชอบ แต่เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์หรือฎีกา ศาลฎีกาก็ไม่อาจจะแก้ไขให้ลงโทษจำคุกจำเลยตามอัตราโทษขั้นต่ำตามที่กฎหมายกำหนดไว้ได้ เพราะจะเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลยอันขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225
of 104