คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
โฉนดที่ดิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 206 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2067/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอใบแทนโฉนดที่ดินหลังศาลมีคำพิพากษาบังคับคดี ผู้ร้องต้องดำเนินการบังคับคดีให้เสร็จสิ้นก่อน จึงจะถือว่าโฉนดสูญหาย
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอว่า ผู้ร้องได้ให้ บ. ยืมโฉนดที่ดินไป ต่อมา บ. หลบหน้าไม่คืนโฉนดให้ ผู้ร้องจำเป็นต้องใช้โฉนดที่ดินในการแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวม จึงได้ยื่นฟ้องบ. ศาลพิพากษาให้ บ. คืนโฉนดที่ดินและออกคำบังคับให้บ. ส่งโฉนดคืน ผู้ร้องได้ยื่นคำขอให้ออกใบแทนโฉนดที่ดินแล้ว แต่เจ้าพนักงานที่ดินแจ้งว่า การบังคับคดีทางศาลยังไม่ปรากฏเป็นประการใดให้ผู้ร้องดำเนินการทางศาลเสียก่อน ผู้ร้องจึงขอให้นัดไต่สวนและมีคำสั่งว่า โฉนดที่ดินของผู้ร้องเป็นอันตราย ชำรุด เสียหาย เพื่อให้เจ้าพนักงานที่ดินออกใบแทนโฉนดที่ดินให้ผู้ร้องตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 63 ดังนี้ กรณีมิใช่เป็นเรื่องที่ผู้ร้องจะใช้สิทธิทางศาลโดยดำเนินคดีอย่างคดีที่ไม่มีข้อพิพาทได้ เพราะในกรณีที่โฉนดที่ดินสูญหายนั้น มาตรา 63 แห่งประมวลกฎหมายที่ดินให้เจ้าของที่ดินไปขอรับใบแทนโฉนดจากเจ้าพนักงานที่ดิน มิใช่มาร้องขอต่อศาล และในพฤติการณ์ดังกล่าวจะถือว่าโฉนดที่ดินสูญหายได้ก็ต่อเมื่อปรากฏแจ้งชัดในคดีที่ผู้ร้องฟ้อง บ. ว่าไม่มีช่องทางที่จะบังคับคดีเอากับ บ.ด้วยประการใดๆ แล้วเท่านั้น ต่อเมื่อปรากฏว่าโฉนดที่ดินสูญหายจริง และเจ้าพนักงานที่ดินไม่ยินยอมออกใบแทนโฉนดที่ดินให้ผู้ร้องตามมาตรา 63 จึงจะถือว่าผู้ร้องถูกโต้แย้งสิทธิในทางแพ่งในอันที่จะดำเนินคดีกับเจ้าพนักงานที่ดินเป็นอีกคดีหนึ่งได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3026/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับระยะเวลาตามหนังสือแจ้งให้ส่งโฉนดที่ดิน: เริ่มนับวันถัดจากวันที่ได้รับหนังสือ และวันหยุดราชการ
จำเลยได้รับหนังสือของเจ้าพนักงานที่ดินเมื่อวันที่ 8 ธันวาคมให้จำเลยส่งโฉนดที่ดินภายในกำหนด 15 วัน การนับระยะเวลา ในกรณีนี้ ต้องนับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 158 ซึ่งห้ามมิให้นับวันแรกแห่งระยะเวลานั้นรวมคำนวณเข้าด้วย เว้นแต่จะเริ่มทำการในวันนั้นเองตั้งแต่เวลาอันเป็นกำหนดเริ่มทำการงานกันตามประเพณี เมื่อไม่มีประเพณีเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้กำหนด 15 วันจึงต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 9 ธันวาคมและครบกำหนดในวันที่ 23 ธันวาคม ซึ่งตรงกับวันอาทิตย์ จำเลยจึงยังมีสิทธินำส่งในวันที่ 24 ธันวาคม อันเป็นวันเริ่มทำงานใหม่ได้อีกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา161 ดังนี้ จำเลยจึงมิได้กระทำผิดในวันที่ 23 ธันวาคม ดังที่โจทก์ฟ้อง เพราะยังไม่ล่วงพ้นระยะเวลาที่พนักงานเจ้าหน้าที่กำหนดให้จำเลยส่ง (อ้างฎีกาที่ 235/2505)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1933/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินป่าช้าสาธารณะ แม้เลิกใช้แล้วก็ยังเป็นสมบัติของแผ่นดิน ไม่ออกโฉนดให้เอกชนได้
ที่พิพาทเป็นส่วนหนึ่งของป่าช้าซึ่งสาธารณชนใช้เผาและฝังศพมานานหลายสิบปีแล้ว จึงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ราษฎรใช้ประโยชน์ร่วมกัน แม้ต่อมาทางการจะไม่ให้เผาและฝังศพอีก ได้มีการล้างป่าช้าและสร้างสำนักงานราชการขึ้นแต่ก็ไม่ปรากฏว่าได้มีการออกพระราชกฤษฎีกาให้ถอนสภาพที่ดินจากป่าช้าสาธารณะสำหรับสาธารณชนใช้ร่วมกันตามมาตรา 8 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ดังนั้น แม้สาธารณชนจะเลิกใช้บริเวณที่พิพาทเป็นป่าช้าที่พิพาทก็ยังคงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304 ทางราชการจะออกโฉนดหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์สำหรับที่พิพาทให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นเอกชนหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1479/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเพิกถอนโฉนดที่ดินต้องมีข้อโต้แย้งสิทธิระหว่างโจทก์จำเลย การบรรยายถึงการกระทำของบุคคลอื่นไม่ถือเป็นข้อโต้แย้ง
ฟ้องโจทก์ได้ความแต่เพียงว่า เขตที่ดินตามโฉนดที่1498 ของจำเลยไม่ถึงหลักเขตที่ปรากฏอยู่ และไม่ถึงเขตสุขาภิบาลใช้เป็นจุดวัดทางสาธารณะ การใช้จุดวัดดังกล่าวนี้ไม่ถูกต้องเป็นเหตุให้การรังวัดจากหลักเขตดังกล่าวรุกล้ำเข้าไปในทางสาธารณะ ทำให้ทางสาธารณะที่คั่นอยู่ระหว่างที่ดินโจทก์จำเลยร่นเข้าไปอยู่ในที่ดินของโจทก์ ทำให้โจทก์เสียหาย คำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวเป็นการบรรยายถึงการกระทำของบุคคลอื่นอันมีผลให้กระทบกระเทือนถึงที่ดินของโจทก์ หาได้มีข้อความที่เกี่ยวกับจำเลยว่าได้กระทำการอันใดที่ทำให้ทางสาธารณะเข้าไปอยู่ในเขตที่ดินของโจทก์ หรือทำให้โจทก์เสียหายไม่ ต้องถือว่ายังไม่มีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นระหว่างโจทก์จำเลย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 55

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2720/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: การฟ้องเรียกโฉนดที่ดินซ้ำเมื่อศาลเคยวินิจฉัยแล้วว่าโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้อง
ในคดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยขอให้นำโฉนดที่ดินแปลงหนึ่งมาวางศาล เพื่อให้โจทก์รับไปจดทะเบียนกรรมสิทธิ์เฉพาะส่วนศาลชั้นต้นวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีแล้วว่าโจทก์จำเลยไม่มีนิติสัมพันธ์ต่อกัน ทั้งโจทก์ยังไม่มีสิทธิในโฉนดคงมีแต่สิทธิเรียกร้องบังคับเอาจากผู้ขายที่ดินให้แก่โจทก์เท่านั้น จึงพิพากษายกฟ้องโจทก์และคดีถึงที่สุดแล้ว การที่โจทก์ได้ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้อีกเพื่อให้ส่งโฉนดฉบับเดียวกันด้วยความประสงค์อย่างเดิม จึงเป็นกรณีที่คู่ความเดียวกันรื้อร้องฟ้องกันอีก และประเด็นวินิจฉัยก็อาศัยเหตุอย่างเดียวกันคือโจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยผู้ครองเอกสารส่งโฉนดให้แก่โจทก์ได้หรือไม่ ซึ่งศาลได้วินิจฉัยเนื้อหาแห่งคดีในคดีก่อนไว้บริบูรณ์แล้ว ส่วนการบอกกล่าวก่อนฟ้องก็ดี การขอให้เจ้าพนักงานที่ดินเรียกโฉนดจากจำเลยก็ดี หาได้ก่อให้เกิดสิทธิใด ๆ แก่โจทก์ในอันที่จะเรียกร้องเอาโฉนดจากจำเลยได้ไม่ ทั้งมิใช่ข้อสำคัญแห่งคดี และเป็นเพียงส่วนหนึ่งในประเด็นที่ว่าโจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยส่งโฉนดให้แก่โจทก์หรือไม่นั่นเองฟ้องของโจทก์จึงเป็นฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2056/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานที่ดินเกี่ยวกับทายาทและพินัยกรรม ทำให้เจ้าพนักงานออกโฉนดที่ดินผิดพลาด เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 267
การที่จำเลยระบุชื่อคนอื่น ๆ ว่าเป็นทายาทต่อเจ้าพนักงานที่ดินแต่ไม่ได้ระบุชื่อโจทก์ว่าเป็นทายาททั้ง ๆ ที่จำเลยทราบว่าโจทก์เป็นทายาทและจำเลยได้รับรองบัญชีเครือญาติ ซึ่งจำเลยได้แจ้งไว้ (โดยที่ไม่มีชื่อโจทก์เป็นทายาท) ทั้งแจ้งว่าเจ้ามรดกไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ซึ่งความจริงมีพินัยกรรมเป็นเหตุให้เจ้าพนักงานที่ดินประกาศโฆษณาไปตามที่จำเลยแจ้งนั้น แล้วลงชื่อบุคคลที่จำเลยแจ้งเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินมรดก แม้ที่ดินโฉนดดังกล่าวนั้นตามพินัยกรรมจะมิได้ตกแก่ทายาทอื่น นอกจากผู้ที่จำเลยระบุชื่อก็ตาม แต่ก็ไม่ตรงกับความเป็นจริง ถือได้ว่าอยู่ในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชนได้ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 267

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1240/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนโฉนดที่ดินที่ออกใหม่โดยไม่ชอบ คณะกรรมการฯ ไม่มีอำนาจชี้ขาด กรรมสิทธิ์ยังคงอยู่กับเจ้าของเดิม
เมื่อศาลฎีกาได้วินิจฉัยไว้เป็นบรรทัดฐานในขณะที่ไม่มีคณะตุลาการรัฐธรรมนูญว่า พระราชบัญญัติว่าด้วยการสำรวจการออกโฉนดที่ดิน พ.ศ. 2496 ในส่วนที่เกี่ยวกับการตั้งคณะกรรมการสำรวจการออกโฉนดที่ดินเพื่อให้มีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดข้อโต้เถียงเรื่องกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้น ขัดต่อรัฐธรรมนูญ อันเป็นคำวินิจฉัยของศาลที่มีอำนาจชี้ขาดได้ชี้ขาดไปแล้วโดยชอบก็ต้องถือว่า บทบัญญัติแห่งกฎหมายในส่วนที่เกี่ยวกับการตั้งคณะกรรมการสำรวจการออกโฉนดที่ดินไม่มีผลใช้บังคับมาตั้งแต่ขณะนั้นจนบัดนี้ไม่อาจกลับรื้อฟื้นให้มีผลใช้บังคับขึ้นได้อีก
(คำพิพากษาฎีกาคดีนี้พิพากษาเมื่อมีรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันประกาศใช้แล้ว)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1918-1926/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าของที่ดินตามโฉนดฯ เหนือกว่าการครอบครองปรปักษ์ แม้ผู้ซื้อยังมิได้เข้าครอบครอง
ที่ที่จำเลยตั้งพิพาทอยู่ในเขตโฉนดของโจทก์. การที่จำเลยอ้างว่าจำเลยเป็นเจ้าของที่ดินตรงนั้นเพราะได้ครอบครองมาช้านาน จึงย่อมใช้ยันกับโจทก์ผู้ซื้อที่ดินมาโดยสุจริตและได้จดทะเบียนสิทธิโดยชอบแล้วไม่ได้. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1299 วรรคสอง. แม้โจทก์ยังมิได้เคยเข้าครอบครองที่พิพาทที่ซื้อมา สิทธิของโจทก์ที่ได้มาโดยทางทะเบียนก็มิได้เสียไป. กรณีมิใช่เรื่องที่จะเอาหลักเรื่องผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอนมาใช้ได้. ข้อที่ว่าโจทก์ซื้อโดยสุจริตหรือไม่นั้น ก็ได้มีข้อสันนิษฐานของกฎหมายยอมรับรู้ไว้ก่อนแล้ว. ทั้งจำเลยไม่ได้โต้แย้งไว้ในคำให้การว่า โจทก์ได้ซื้อโดยไม่สุจริตแต่อย่างไร. จึงมากล่าวอ้างในชั้นฎีกาไม่ได้. และการสุจริตหรือไม่สุจริตในที่นี้ ก็ดูได้จากตัวโจทก์ มิใช่ดูจากฝ่ายผู้ขายที่ดินให้โจทก์. ฉะนั้น ถ้าผู้ขายที่ดินทางทะเบียนให้กับโจทก์จะรู้ว่าที่ดินขาดตกเป็นสิทธิของจำเลยเพราะการครอบครองปรปักษ์ไปแล้วหรือไม่. จึงไม่สำคัญ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 996-997/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โฉนดที่ดินออกทับที่ดินเดิม เจ้าของเดิมมีสิทธิ แม้ไม่ได้จดทะเบียน
คำให้การสู้คดีของจำเลยได้ตั้งประเด็นข้อต่อสู้ไว้ว่า โฉนดที่ 2884 ของโจทก์ออกทับที่ดินพิพาทซึ่งจำเลยครอบครองเป็นเจ้าของมาก่อน โฉนดที่ 2884 จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายผู้ขอออกโฉนดจึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินตามโฉนดนั้น ดังนี้ การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโฉนดที่ 2884 ของโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงไม่เป็นการนอกประเด็น
ผู้โอนขอออกโฉนดที่ดินทับที่ดินของผู้อื่น และเจ้าพนักงานที่ดินได้ออกโฉนดให้โดยไม่มีอำนาจ โฉนดที่ออกมาจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้โอนจึงไม่มีกรรมสิทธิ์ตามโฉนดที่ เจ้าพนักงานที่ดินออกให้ การที่ผู้โอนได้โอนโฉนดดังกล่าวให้ผู้อื่นต่อไปจึงเป็นการโอนสิ่งซึ่งตนไม่มีกรรมสิทธิ์ และหาก่อให้เกิดกรรมสิทธิ์แก่ผู้รับโอนไม่ (อ้างฎีกาที่ 897/2477)
เมื่อโฉนดซึ่งเป็นหลักฐานทางทะเบียนออกมาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้ได้กรรมสิทธิ์ทางทะเบียน จะนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรค 2 มาใช้ยันแก่เจ้าของที่ดินมาตั้งแต่เดิมไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 197/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขโฉนดที่ดินก่อนการส่งมอบไม่เป็นความผิดฐานปลอมเอกสาร หากอยู่ในอำนาจแก้ไขของเจ้าหน้าที่
โจทก์ขอออกโฉนดที่ดิน เจ้าพนักงานได้ทำเสร็จเรียบร้อย และประกาศแจกโฉนดให้ราษฎรแล้วโจทก์มาขอรับ เซ็นชื่อรับและเสียค่าธรรมเนียมต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว แต่พนักงานเจ้าหน้าที่ยังไม่ได้มอบโฉนดให้โจทก์ไป ต่อมามีผู้มาขออายัดการออกโฉนด จำเลยจึงไม่แจกโฉนดและลบวันเดือนปีและลายเซ็นชื่อซึ่งจำเลยได้เซ็นในฐานะเจ้าพนักงานที่ดินเสียเพราะเกรงว่าจะเป็นโฉนดที่สมบูรณ์การที่จำเลยลบวันเดือนปีและลายเซ็นชื่อของตนเองเช่นนี้ไม่เป็นการปลอมเอกสาร เพราะว่าเมื่อยังไม่ได้ส่งมอบโฉนดให้โจทก์ถือไม่ได้ว่าที่ดินรายนี้ได้ออกโฉนดแล้ว และโฉนดรายนี้ยังเป็นเอกสารที่อยู่ในความยึดถือหรือในความรับผิดของพนักงานเจ้าหน้าที่ และถือได้ว่ายังอยู่ในระหว่างดำเนินการของเจ้าหน้าที่ เมื่อมีเหตุเปลี่ยนแปลงจำเลยซึ่งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการออกโฉนด ย่อมมีอำนาจที่จะแก้ไขเสียได้
of 21