คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
โอนที่ดิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 328 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1218/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดิน การครอบครองประโยชน์ใช้สอย และการโอนที่ดินโดยเอกสาร น.ส.3ก. ศาลรับฟังเอกสารที่เจ้าพนักงานรับรองได้
เมื่อจำเลยที่ 1 ทำสัญญาขายที่ดินให้แก่โจทก์แล้วได้มอบที่ดินดังกล่าวให้โจทก์เข้าครอบครองทำประโยชน์ตลอดมา แม้ต่อมาจำเลยที่ 1 จะได้ขายที่ดินแปลงนี้ให้แก่จำเลยที่ 2 แต่จำเลยที่ 2 ก็ได้จัดการขอเปลี่ยน น.ส.3 เป็น น.ส.3ก. และโอนให้โจทก์ไป อันถือได้ว่าโจทก์ได้รับโอนที่ดินที่ซื้อจากจำเลยที่ 1 ตามสัญญาแล้ว จึงไม่มีเหตุที่โจทก์จะขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ดินระหว่างจำเลยทั้งสอง และให้จำเลยที่ 1 โอนที่ดินดังกล่าวให้โจทก์อีก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4997/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองแทนกัน-มรดก: การครอบครองที่ดินโดยเจตนาเป็นเจ้าของร่วมกัน และสิทธิในมรดก, การโอนที่ดิน
การครอบครองที่ดินพิพาทของจำเลยที่ 1 นับแต่ ค. ผู้เป็นบิดาถึงแก่ความตายตลอดมาจนถึงการขอออกโฉนด เป็นชื่อ ของจำเลยที่ 1และทำการแบ่งมรดกกันเป็นการเจตนาครอบครองแทนผู้อื่น ในฐานะที่เป็นเจ้าของร่วมกันระหว่างโจทก์ที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 กับจำเลยที่ 1หาใช่เป็นการยึดถือครอบครองไว้ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของแต่ผู้เดียวไม่แม้จะครอบครองมานานกว่า 10 ปี ก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1382 ส่วนที่จำเลยที่ 2 เข้ามาอยู่ในที่พิพาทเป็นการอาศัยสิทธิ์ของจำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ได้กรรมสิทธิ์ที่พิพาทจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้รับโอนก็หาได้กรรมสิทธิ์ไม่ และการที่โจทก์ทั้งสามฟ้องขอแบ่งมรดกที่ดินจากจำเลยที่ 2 จึงเป็นเรื่องโจทก์ขอแบ่งกรรมสิทธิ์รวมมิใช่เป็นการฟ้องเรียกให้แบ่งมรดก จำเลยที่ 2ย่อมไม่อาจยกเอาเรื่องอายุความมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754มาปรับแก่คดีได้ ตามมาตรา 60 วรรคหนึ่ง แห่ง ป. ที่ดิน ที่บัญญัติว่า เมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดสั่งประการใดแล้วให้แจ้งคู่กรณีทราบและให้ฝ่ายที่ไม่พอใจไปดำเนินการฟ้องหรือร้องต่อศาลภายในกำหนด60 วันนั้น เป็นเรื่องการให้ฝ่ายที่ไม่พอใจต้องไปดำเนินการทางศาลถ้า พ้นกำหนด 60 วันแล้วเจ้าพนักงานที่ดินก็มีอำนาจปฏิบัติตามคำสั่งของผู้ว่าราชการได้ดัง ที่กล่าวไว้ในวรรคสามของมาตรานี้หาใช่เป็นการจำกัดอำนาจการฟ้องแต่อย่างใดไม่ คดีก่อนแม้โจทก์จะฟ้องว่าที่ดินพิพาทเป็นมรดกของ ค.ให้บังคับจำเลยที่ 1 ที่ 2 ร่วมกันแบ่งให้แก่โจทก์ แต่คดีนั้นศาลยกฟ้องเพราะปรากฏในวันชี้สองสถานว่าจำเลยที่ 1 โอนที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 2 ไปแล้ว สภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้บังคับตามคำขอได้ซึ่งเท่ากับการยกฟ้องเพราะฟ้องโจทก์บกพร่องโดยมิได้วินิจฉัยในประเด็นแห่งคดี ฟ้องโจทก์ที่ขอแบ่งกรรมสิทธิ์รวมในคดีนี้จึงมิได้เป็นการฟ้องซ้ำ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3893/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิจำนองและการโอนที่ดิน ผู้รับจำนองมีสิทธิบังคับจำนองได้แม้มีการโอนกรรมสิทธิ์
ผู้จำนองมีสิทธิโอนที่ดินที่จำนองแก่บุคคลภายนอกได้ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 ซึ่งผู้รับจำนองอาจใช้สิทธิบังคับจำนองแก่ผู้รับโอนที่ดินได้ การโอนที่ดินของผู้จำนองมิใช่เป็นการก่อภาระติดพันแก่ทรัพย์จำนองแต่อย่างใดทั้งผู้รับจำนองก็ยังคงมีสิทธิอยู่ตามสัญญาจำนอง ซึ่งหากบังคับจำนองได้เงินไม่พอชำระหนี้ ผู้จำนองก็ต้องรับผิดตามสัญญา หาใช่จะพ้นความรับผิดไปไม่ ดังนั้น จำเลยผู้รับจำนองจึงต้องส่งมอบโฉนดที่ดินซึ่งจำเลยครอบครองเพื่อให้โจทก์ผู้จำนองดำเนินการทำนิติกรรมโอนขายแก่บุคคลภายนอกตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3711/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาสละสิทธิในสัญญา, สัญญาต่างตอบแทน, การแก้ไขสัญญา, การชำระหนี้, สิทธิในการโอนที่ดิน
แม้ตามสัญญาจะมีข้อสัญญาว่า หากจำเลยไม่สามารถชำระเงินงวดที่สองแก่โจทก์ภายในกำหนด ยอมให้ริบเงินที่ได้ชำระไปแล้วทั้งหมดได้และสัญญาเป็นอันยกเลิกแต่ต่อมาจำเลยได้นำเงินงวดที่สองไปชำระแก่โจทก์จนครบถ้วน ทั้งยังให้โจทก์จดทะเบียนทางภารจำยอมให้จำเลยพร้อมกับ บันทึกกันไว้ด้านหลังสัญญาว่า ให้เลื่อนการโอนที่ดินของจำเลยไปก่อนและตราบใดที่จำเลยไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินของจำเลยให้แก่โจทก์ตามข้อตกลง ให้โจทก์มีสิทธิปิดทางภารจำยอมได้ หาได้มีการกำหนดให้มีการเลิกสัญญากันได้ให้เหมือนกับที่เคยทำกันไว้ไม่ พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์และจำเลยว่าไม่ประสงค์จะให้นำเอาข้อสัญญาเดิม มาใช้บังคับกันอีกต่อไป เท่ากับเป็นการสละประโยชน์แห่งเงื่อนไขในการเลิกสัญญา จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะเอาประโยชน์จากข้อสัญญาดังกล่าวที่จำเลยได้สละไปแล้วเมื่อสัญญาระหว่างโจทก์และจำเลยเป็นสัญญาต่างตอบแทนและโจทก์ได้ปฏิบัติการชำระหนี้ให้จำเลยแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิที่จะให้จำเลยโอนที่ดินตามสัญญาเป็นการชำระหนี้ตอบแทนให้แก่โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1228/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินซื้อระหว่างสมรส: การโอนที่ดินให้มารดาจำเลยไม่ทำให้ที่ดินนั้นพ้นจากความเป็นสินสมรส
จำเลยยื่นความจำนง ขอซื้อ ที่ดิน พิพาทจากกองทัพอากาศ และจำเลยยอมให้กองทัพอากาศหัก เงินเดือน ของจำเลยทุกเดือนเป็นการผ่อนชำระราคาที่ดิน เมื่อผ่อนชำระครบถ้วนแล้ว ผู้ขายได้ จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยในระหว่างสมรส ดังนี้ ที่ดินพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์จำเลย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1096/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนที่ดินโดยเจตนาลวงและผลกระทบต่อบุคคลภายนอกผู้รับโอนกรรมสิทธิ์
โจทก์โอนที่พิพาทให้จำเลยที่ 1 โดย แสดงเจตนาลวงด้วย สมรู้กับจำเลยที่ 1 จึงเป็นโมฆะ จำเลยที่ 1 โอนที่พิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 โดย เสน่หาไม่มีค่าตอบแทนและโอนให้หลังจากที่โจทก์เรียกให้จำเลยที่ 1 โอนที่พิพาทคืนให้แก่โจทก์ ซึ่ง จำเลยที่ 2 ทราบเรื่องนี้ดี แสดงว่าจำเลยที่ 2 ไม่สุจริต โจทก์จึงยกขึ้นมาต่อสู้จำเลยที่ 2 ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 118 วรรคหนึ่ง ดังนี้โจทก์ยังคงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่พิพาท.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3641/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อที่ดิน: สิทธิซื้อคืน, การปฏิเสธซื้อ, และผลของการโอนที่ดินให้ผู้อื่น
โจทก์ขอให้บังคับจำเลยให้โอนที่ดินของจำเลยมาเป็นของโจทก์ราคาที่ดินย่อมเป็นทุนทรัพย์ที่โจทก์เรียกเอาจากจำเลย จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ โจทก์ต้องเสียค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาท โจทก์จำเลยมิได้พิพาทกันเกี่ยวกับเรื่องค่าเช่าตามสัญญาเช่าจำเลยนำสืบสัญญาเช่าเป็นการสนับสนุนข้อต่อสู้ของจำเลยเท่านั้นการที่จำเลยนำพยานบุคคลมาสืบแก้ไขข้อความในสัญญาเช่าเกี่ยวกับค่าเช่า จึงไม่เป็นการฝ่าฝืนประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 สัญญาเช่าระบุว่าหลังจาก 1 ปี นับแต่วันทำสัญญาผู้ให้เช่าสัญญาว่าจะขายที่ดินพร้อมอาคารและทรัพย์ตามสัญญานี้แก่ผู้เช่าเว้นแต่ผู้เช่าจะไม่รับซื้อ เมื่อการเช่าครบ 1 ปี และผู้ให้เช่าถามผู้เช่าแล้ว ผู้เช่าปฏิเสธไม่รับซื้อ ผู้ให้เช่าจึงสิ้นความผูกพันที่จะขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่เช่าให้ผู้เช่าตามคำเสนอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2993/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคุ้มครองสัญญาเช่าเกษตรกรรมเลี้ยงสัตว์น้ำภายใต้ พ.ร.บ.เช่าที่ดินฯ การสิ้นสุดภาระหนี้เมื่อมีการโอนที่ดิน
คู่ความท้ากันว่า ถ้าจำเลยไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 จำเลยยอมแพ้ข้อต่อสู้อื่น ๆ จำเลยสละทั้งหมดถ้าจำเลยได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติดังกล่าว โจทก์ยอมแพ้ สำหรับค่าเสียหายหากโจทก์ชนะคดี จำเลยยอมให้เป็นไปตามฟ้อง ปรากฏว่ามาตรา 63วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติฉบับนี้บัญญัติว่า ในกรณีที่มีการเช่าที่ดินเพื่อประกอบเกษตรกรรมประเภทใดนอกจากการเช่านาเป็นช่องทางให้เกิดการเอาเปรียบเกษตรกรผู้เช่าโดยไม่เป็นธรรมจนเกิดความเดือดร้อนและเสียหายต่อเศรษฐกิจของประเทศ เมื่อรัฐบาลเห็นสมควรกำหนดให้การเช่าที่ดินเพื่อประกอบเกษตรกรรมประเภทนั้นมีการควบคุมตามพระราชบัญญัตินี้เพื่อขจัดปัญหาดังกล่าว ก็ให้มีอำนาจกระทำโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกาแต่ไม่ปรากฏว่าตั้งแต่ได้ตราพระราชบัญญัติดังกล่าวไว้จนบัดนี้ได้มีการตราพระราชกฤษฎีกาออกมาใช้บังคับให้มีการควบคุมการประกอบเกษตรกรรมประเภทใดแสดงว่ากฎหมายดังกล่าวยังไม่ประสงค์ให้มีการควบคุมคุ้มครองการเช่าที่ดินเพื่อเลี้ยงสัตว์น้ำ (ปลา) เหมือนกับการเช่านาเพื่อทำนาปลูกข้าวหรือพืชไร่ตามที่ระบุไว้ในมาตรา 22 และมาตรา 26 จำเลยจึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 จำเลยต้องแพ้คดีตามคำท้า และแม้โจทก์ได้โอนที่พิพาทให้แก่จำเลยกับบุตรแล้วในขณะที่คดีนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์จำเลยก็ยังต้องใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์นับแต่จำเลยไม่ยอมออกจากที่พิพาทจนถึงวันที่โจทก์โอนที่พิพาทดังกล่าว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2256/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนที่ดินโดยฉ้อฉลเพื่อเสียเปรียบเจ้าของที่ดินข้างเคียง และการบังคับให้จดทะเบียนภารจำยอม
โจทก์ที่ 1 ถึง ที่ 4 และจำเลยที่ 1 ต่างลงชื่อในบันทึกข้อตกลงว่าเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันในที่ดินแปลงใหญ่ และได้มาจดทะเบียนแบ่งกรรมสิทธิ์รวมออกจากกันเป็นคนละ 1 แปลง แต่ยังไม่ได้จดภารจำยอมทางเดินเข้าออกเนื่องจากยังไม่มีโฉนด ทุกคนทราบว่าทางเดินกว้าง 6 เมตร และจะมาจดภารจำยอมเรื่องทางเดินผ่านเมื่อได้รับโฉนด ที่แบ่งแยกใหม่แล้ว ดังนี้ เมื่อทุกคนต่างได้รับโฉนดที่แบ่งแยกใหม่แล้ว จึงมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามข้อตกลง แม้โจทก์ที่ 1 และที่ 2 จะขายที่ดินแปลงของตนให้โจทก์ที่ 5 และที่ 6 และโจทก์ที่ 4 จะยกที่ดินแปลงของตนให้โจทก์ที่ 7 ซึ่งเป็นเจ้าของที่แท้จริงไปแล้วก่อนฟ้อง โจทก์ทั้งเจ็ดโดยอาศัยสิทธิซึ่งกันและกันก็มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ให้ปฏิบัติตาม ข้อตกลงได้
การที่จำเลยที่ 1 ยกที่ดินแปลงของตนให้แก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ซึ่งเป็นบุตรของตน และอาศัยอยู่กับตนโดยเสน่หา ทั้งจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ได้ทราบว่า จำเลยที่ 1 ต้องจดทะเบียนทางภารจำยอมมาตั้งแต่แรก โดยไม่ปรากฏว่ามีเหตุจำเป็นที่ต้อง รีบโอนให้จำเลยที่ 2 ถึง ที่ 4 ก่อนจดทะเบียนภารจำยอมเป็นพฤติการณ์ที่แสดงว่า ทั้งผู้ยกให้และผู้รับยกให้ต่างทราบดีว่าเป็นทางให้โจทก์เจ้าของที่ดินแปลงข้างในเสียเปรียบ เป็นการฉ้อฉลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการยกให้ได้
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการให้เพื่อให้ได้มาซึ่งทางภารจำยอมเท่านั้น มิใช่ให้โอนที่ดินพิพาทมาเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ การบังคับให้เพิกถอนการให้จึงไม่จำเป็นแก่การบังคับเพื่อประโยชน์ของโจทก์ ทั้งโจทก์ก็มีคำขอให้จำเลยที่ 1 ผู้ยกให้หรือจำเลยที่ 2 ถึง ที่ 4 ผู้รับการยกให้ที่ดินพิพาทไปจดทะเบียนภารจำยอมมาด้วย ศาลจึงพิพากษาให้เฉพาะจำเลยที่ 2 ถึง ที่ 4 ไปจดทะเบียนทางภารจำยอมในที่ดินของตนได้โดยไม่จำต้องเพิกถอนการให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4452/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาซื้อขายที่ดิน: การปฏิบัติตามสัญญาไม่ใช่เงื่อนไขบอกเลิก และการโอนที่ดินโดยไม่สุจริต
การบอกเลิกสัญญาโดยบทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 387 เป็นเรื่องที่คู่สัญญาอีกฝ่ายไม่ปฏิบัติการชำระหนี้แต่การที่จำเลยมีหนังสือสอบถามโจทก์ซึ่งเป็นคู่สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินว่า ถ้าประสงค์จะปฏิบัติตามสัญญาก็ให้ติดต่อจำเลยภายใน 15 วันนั้น ไม่ใช่ให้โจทก์ชำระหนี้ตามข้อตกลงในสัญญา ดังนั้น แม้โจทก์จะมิได้ติดต่อจำเลยมาตามกำหนด จำเลยก็จะถือเอาเหตุนี้มาใช้บอกเลิกสัญญาไม่ได้
of 33