คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 632 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 466/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจับกุมและการคุมขังโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย: สิทธิในชีวิตและร่างกายที่รัฐธรรมนูญคุ้มครอง
สิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกายบุคคลนั้นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ได้บัญญัติรับรองและคุ้มครองไว้อย่างชัดแจ้งโดยเฉพาะในมาตรา 31 วรรคหนึ่งที่ว่า บุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกายและวรรคสามว่า การจับ คุมขัง ตรวจค้นตัวบุคคล หรือกระทำการใดอันกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทำมิได้เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย และมาตรา 26ที่บัญญัติว่า การใช้อำนาจโดยองค์กรของรัฐทุกองค์กรต้องคำนึงถึงสิทธิและเสรีภาพตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ดังนั้น การปฏิบัติตามมาตรา 240 ตลอดจนประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 90 อันเป็นบทบัญญัติให้ศาลตรวจสอบว่ามีการคุมขังโดยมิชอบด้วยกฎหมายหรือไม่เพื่อคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของบุคคลดังกล่าว จึงต้องคำนึงถึงสิทธิและเสรีภาพของผู้ถูกคุมขังเป็นสำคัญเมื่อมีเหตุอันควรเชื่อว่าอาจมีการคุมขังโดยมิชอบด้วยกฎหมายแล้ว ก็ถือว่ามีมูลที่ศาลจะดำเนินการตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯ มาตรา 240 ผู้เสียหายมอบอำนาจให้ บ. ไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนว่าระหว่างวันที่ 2 ตุลาคม 2540 ถึงวันที่ 12 พฤศจิกายน 2540ส.กับพวกคือพ.ร. และ น. ได้ร่วมกันบุกรุกในเวลากลางคืน ทำให้เสียทรัพย์และลักทรัพย์ แต่เจ้าพนักงานตำรวจทำการจับ อ. ตั้งแต่วันที่ 24 พฤศจิกายน 2540และควบคุมตัว อ. ตลอดมาจนถึงวันที่ 26 พฤศจิกายน 2540จึงขอฝากขังครั้งที่ 1 ศาลชั้นต้นอนุญาต ต่อมาวันที่28 พฤศจิกายน 2540 ผู้ร้องซึ่งเป็นทนายความของ อ.ยื่นคำร้องอ้างว่าการจับและคุมขังระหว่างสอบสวนดังกล่าวมิชอบด้วยกฎหมาย เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าไม่มีการออกหมายจับอ. และปรากฏตามข้อมูลเบื้องต้นเพียงว่าผู้ถูกร้องทุกข์กล่าวหาว่ากระทำความผิดมีเพียง 4 คน ไม่ปรากฏชัดว่ามีเหตุตามสมควรว่าควรนำตัว อ. มาสอบสวนดำเนินคดีด้วยแต่อย่างใดหรือไม่ ไม่ปรากฏว่า อ. ตกเป็นผู้ต้องหาซึ่งถูกสงสัยโดยมีเหตุอันสมควรที่จะออกหมายจับได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 66(2) ไม่ปรากฏว่าการจับ อ. เป็นการจับเพราะกระทำความผิดซึ่งหน้าหรือพบอ.กำลังพยายามกระทำความผิดหรือพบอ. โดยมีพฤติการณ์อันควรสงสัยว่า อ. จะกระทำความผิดโดยมีเครื่องมือ อาวุธหรือวัตถุอย่างอื่นอันสามารถใช้ในการกระทำความผิดหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่า อ. ได้กระทำความผิดมาแล้วและจะหลบหนี จึงไม่ใช่กรณีที่เจ้าพนักงานตำรวจจะจับได้โดยไม่ต้องมีหมายจับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 78(1)(2) และ (3) ทั้งผู้เสียหายก็ไม่ได้ร้องทุกข์ว่าอ.ร่วมกับส. กระทำความผิด พฤติการณ์ดังกล่าวจึงมีข้อสงสัยตามสมควรว่าเจ้าพนักงานตำรวจจับและควบคุม อ.โดยถูกต้องตามที่กฎหมายบัญญัติไว้หรือไม่ ทั้งหากการจับ อ.ไม่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว พนักงานสอบสวนก็ไม่มีอำนาจที่จะควบคุมอ. ต่อเนื่องจากการจับที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือยื่นคำร้องขอให้ศาลออกหมายขังในระหว่างสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 87 ได้ ซึ่งหากศาลสั่งให้ผู้คุมขังหรือผู้ก่อให้เกิดการคุมขังนำตัว อ.มาเพื่อให้บุคคลดังกล่าวแสดงข้อมูลหรือพยานหลักฐานจะทำให้ปรากฏแน่ชัดว่ามีการจับหรือคุมขังโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่และศาลก็สามารถพิจารณาถึงเหตุในการจับและคุมขังตลอดจนพฤติการณ์และขั้นตอนในการคุมขังให้ถูกต้องตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ได้อย่างสมบูรณ์สมตามเจตนารมณ์ของกฎหมายที่จะคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของบุคคลดังกล่าวแล้ว ดังนี้ ถือได้ว่าคำร้องของผู้ร้องมีมูลที่ศาลจะดำเนินการต่อไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯ มาตรา 240

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4209/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์ผิดเลขที่ แต่เป็นทรัพย์ที่ถูกต้องตามกฎหมาย ไม่ถือเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
แม้โจทก์จะตั้งเรื่องว่าขอนำยึดบ้านเลขที่ 59/4 แต่บ้านที่โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดจริงคือบ้านพิพาทเลขที่ 66/5 ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์รวมระหว่างผู้ร้องกับจำเลย โจทก์จึงยึดเพื่อขายชำระหนี้ได้ เมื่อกรณีเป็นเรื่องตัวทรัพย์ที่ยึดไม่ผิดตัว เพียงแต่เลขที่ประจำตัวทรัพย์ผิดไปจากที่โจทก์แจ้งต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีเท่านั้น ย่อมไม่ทำให้การยึดบ้านพิพาทของเจ้าพนักงานบังคับคดีกลายเป็นการกระทำที่มิชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3869/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปิดหมายที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายทำให้จำเลยไม่ทราบถึงการฟ้องคดี ส่งผลให้กระบวนการพิจารณาไม่เป็นไปตามกฎหมาย
ป.วิ.พ.มาตรา 79 บัญญัติเรื่องการปิดหมายไว้ว่า ให้ปิดคำคู่ความไว้ในที่แลเห็นได้ง่าย ณ สำนักทำการงานของคู่ความนั้น การที่โจทก์ระบุที่อยู่ของจำเลยอย่างกว้าง ๆ ทั้งที่สำนักทำการงานของจำเลยมีหน่วยงานในสังกัดหลายหน่วยงานกับมีพนักงานจำนวนมากจนพนักงานเดินหมายไม่สามารถสืบหาได้ว่าจำเลยทำงาน ณ หน่วยงานใดของการไฟฟ้านครหลวงเขตคลองเตย ทำให้จำเลยไม่มีโอกาสรู้ว่าถูกโจทก์ฟ้องและไม่อยู่ในวิสัยที่จำเลยจะรู้ได้ การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยโดยวิธีปิดหมายเช่นนี้จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 79ทำให้กระบวนพิจารณาหลังจากนั้นต่อมาเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายด้วย ปัญหาเรื่องการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยโดยไม่ชอบนั้นเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมชอบที่จะต้องเพิกถอนเสียตาม ป.วิ.พ.มาตรา 27 ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ คำสั่งศาลชั้นต้น และคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ตั้งแต่การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยแล้วมีคำพิพากษาหรือคำสั่งใหม่ตามรูปคดีต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3869/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายเรียกที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ทำให้กระบวนการพิจารณาคดีไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 79 บัญญัติเรื่องการปิดหมายไว้ว่า ให้ปิดคำคู่ความไว้ในที่แลเห็นได้ง่ายณ สำนักทำการงานของคู่ความนั้น การที่โจทก์ระบุที่อยู่ของจำเลยอย่างกว้าง ๆ ทั้งที่สำนักทำการงานของจำเลยมีหน่วยงานในสังกัดหลายหน่วยงานกับมีพนักงานจำนวนมากจนพนักงานเดินหมายไม่สามารถ สืบหาได้ว่าจำเลยทำงาน ณ หน่วยงานใดของการไฟฟ้านครหลวง เขตคลองเตย ทำให้จำเลยไม่มีโอกาสรู้ว่าถูกโจทก์ฟ้องและไม่อยู่ในวิสัยที่จำเลยจะรู้ได้ การส่งหมายเรียกและสำเนา คำฟ้องให้แก่จำเลยโดยวิธีปิดหมายเช่นนี้จึงไม่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 79 ทำให้ กระบวนพิจารณาหลังจากนั้นต่อมาเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย ปัญหา เรื่องการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยโดยไม่ชอบนั้น เป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมชอบที่จะต้องเพิกถอนเสียตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ คำสั่ง ศาลชั้นต้นและคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ตั้งแต่การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยแล้วมีคำพิพากษาหรือคำสั่งใหม่ตามรูปคดีต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3758/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายนัดและแจ้งคำพิพากษาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากจำเลยไม่ได้มีภูมิลำเนาตามที่ระบุ
เมื่อปรากฏว่าจำเลยทั้งสองไม่เคยได้รับหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์ตลอดจนหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ เนื่องจากจำเลยทั้งสองใช้บ้านเลขที่ตามฟ้องเป็นสถานที่สำหรับเก็บยางรถยนต์เก่าเท่านั้น โดยไม่มีผู้ใดพักอาศัยอยู่เลย แม้จำเลยที่ 2 ผู้เป็นสามีจะมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านตามฟ้อง แต่จำเลยที่ 2ก็ได้อยู่กินฉันสามีภริยากับจำเลยที่ 1 ที่บ้านเลขที่ 355/17 - 18 จังหวัดปทุมธานีจำเลยที่ 2 ไม่ได้ใช้บ้านเลขที่ตามฟ้องเป็นสถานที่อยู่อันเป็นแหล่งสำคัญอีกแห่งหนึ่งด้วย กรณีเช่นนี้ต้องถือว่าจำเลยทั้งสองมีภูมิลำเนาอยู่ที่บ้านเลขที่ 355/17 - 18การที่ศาลชั้นต้นส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้แก่จำเลยทั้งสองที่บ้านเลขที่ตามฟ้อง และคดีมีเหตุผลเชื่อได้ว่าจำเลยทั้งสองยังไม่ทราบนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ เมื่อจำเลยทั้งสองไม่มาศาลย่อมไม่อาจถือได้ว่าจำเลยทั้งสองได้ทราบคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ และถือไม่ได้ว่าศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้จำเลยทั้งสองฟังโดยชอบแล้ว ศาลฎีกาชอบที่จะเพิกถอนเสียตาม ป.วิ.พ.มาตรา 27โดยให้เพิกถอนการอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เฉพาะส่วนที่ถือว่าอ่านให้จำเลยทั้งสองฟังแล้ว ให้ศาลชั้นต้นนัดจำเลยทั้งสองมาฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ใหม่แล้วดำเนินการต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3758/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายทำให้จำเลยไม่ทราบถึงการพิจารณาคดี ศาลฎีกาเพิกถอนการอ่านคำพิพากษา
จำเลยทั้งสองไม่เคยได้รับหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์ตลอดจนหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ เนื่องจากบ้านเลขที่ตามฟ้องจำเลยทั้งสองใช้เป็นสถานที่สำหรับเก็บยางรถยนต์เก่าเท่านั้น ไม่มีผู้ใดพักอาศัยอยู่เลย แม้จำเลยที่ 2จะมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านตามฟ้อง แต่จำเลยที่ 2ก็ได้อยู่กินฉันสามีภริยากับจำเลยที่ 1 ที่บ้านเลขที่355/17-18 แสดงว่าจำเลยที่ 2 ไม่ได้ใช้บ้านเลขที่ตามฟ้องเป็นสถานที่อยู่อันเป็นแหล่งสำคัญอีกแห่งหนึ่ง กรณีเช่นนี้ต้องถือว่าจำเลยทั้งสองมีภูมิลำเนาอยู่ที่บ้านเลขที่355/17-18 การที่ศาลชั้นต้นส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้แก่จำเลยทั้งสองที่บ้านเลขที่ตามฟ้องจึงมีเหตุผลเชื่อได้ว่าจำเลยทั้งสองยังไม่ทราบนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เมื่อจำเลยทั้งสองไม่มาศาลย่อมไม่อาจถือได้ว่าจำเลยทั้งสองได้ทราบคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ และถือไม่ได้ว่าศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้จำเลยทั้งสองฟังโดยชอบแล้วศาลฎีกาชอบที่จะเพิกถอนการอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เสียตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3758/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายแจ้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากจำเลยไม่ได้อาศัยอยู่ที่ภูมิลำเนาตามที่ระบุในฟ้อง
เมื่อปรากฏว่าจำเลยทั้งสองไม่เคยได้รับหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์ตลอดจนหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เนื่องจากจำเลยทั้งสองใช้บ้านเลขที่ตามฟ้องเป็นสถานที่สำหรับเก็บยางรถยนต์เก่าเท่านั้น โดยไม่มีผู้ใดพักอาศัยอยู่เลย แม้จำเลยที่ 2 ผู้เป็นสามีจะมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านตามฟ้อง แต่จำเลยที่ 2 ก็ได้อยู่กินฉันสามีภริยากับจำเลยที่ 1ที่บ้านเลขที่ 3558/17-18 จังหวัดปทุมธานี จำเลยที่ 2ไม่ได้ใช้บ้านเลขที่ตามฟ้องเป็นสถานที่อยู่อันเป็นแหล่งสำคัญอีกแห่งหนึ่งด้วย กรณีเช่นนี้ต้องถือว่าจำเลยทั้งสองมีภูมิลำเนาอยู่ที่บ้านเลขที่ 355/17-18 การที่ศาลชั้นต้นส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้แก่จำเลยทั้งสองที่บ้านเลขที่ตามฟ้อง และคดีมีเหตุผลเชื่อได้ว่าจำเลยทั้งสองยังไม่ทราบนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ เมื่อจำเลยทั้งสองไม่มาศาลย่อมไม่อาจถือได้ว่าจำเลยทั้งสองได้ทราบคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และถือไม่ได้ว่าศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้จำเลยทั้งสองฟังโดยชอบแล้ว ศาลฎีกาชอบที่จะ เพิกถอนเสียตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 โดยให้เพิกถอนการอ่านคำพิพากษา ศาลอุทธรณ์เฉพาะส่วน ที่ถือว่าอ่านให้จำเลยทั้งสองฟังแล้ว ให้ศาลชั้นต้นนัด จำเลยทั้งสองมาฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ใหม่แล้ว ดำเนินการต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2700/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาที่ไม่ชอบตามกฎหมาย ทำให้จำเลยไม่ทราบคำพิพากษา ศาลฎีกามีอำนาจเพิกถอนการอ่านคำพิพากษาได้
ถ้าการส่งคำคู่ความหรือเอกสารหากไม่สามารถจะทำได้ดั่งที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 78 ศาลอาจสั่งให้ส่งโดยวิธีอื่นแทนได้ กล่าวคือปิดคำคู่ความหรือเอกสารไว้ในที่แลเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของคู่ความตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 79 วรรคหนึ่ง ดังนั้นเมื่อปรากฏว่าการส่งคำคู่ความหรือเอกสารไม่สามารถจะทำได้ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 78 ศาลจะต้องสั่งให้เป็นกิจจะลักษณะเสียก่อนว่าให้ส่งโดยวิธีปิดคำคู่ความหรือเอกสารได้ เมื่อไม่ปรากฏว่า การส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไม่สามารถจะทำได้ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 78 และไม่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ปิดหมายนัดเป็นกิจจะลักษณะ เพราะในหมายนัดก็มีข้อความที่พิมพ์แต่เพียงว่า"หมายศาล - ปิดหมาย" เท่านั้น ทั้งเจ้าหน้าที่ส่งหมายก็รายงานว่า บริษัทจำเลยย้ายกิจการออกไปนานแล้ว แม้การปิดหมาย ณ สถานที่ดังกล่าวในชั้นส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง จำเลยสามารถยื่นคำให้การได้ก็ตามแต่เวลาก็ล่วงเลยมานานถึงสามปีเศษแล้ว และเมื่อปรากฏว่าขณะปิดหมายนัดสถานที่ที่ปิดหมายดังกล่าวไม่ใช่ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของจำเลย การปิดหมายจึงไม่ชอบตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าวข้างต้น การที่จำเลยไม่มาศาลย่อมไม่อาจถือได้ว่าจำเลยได้ทราบคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในวันดังกล่าว และถือไม่ได้ว่าศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้จำเลยฟังโดยชอบแล้ว ศาลฎีกาชอบที่จะเพิกถอนการอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เฉพาะในส่วนที่อ่านให้จำเลยฟัง และให้ศาลชั้นต้นนัดจำเลยมาฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ใหม่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 27 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1965/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีโรงแรมจากรายได้เหมาจ่าย การแยกรายได้เพื่อเสียภาษีไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ตามหนังสือรับรองของหอทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครในหัวข้อวัตถุที่ประสงค์ข้อ 2 ระบุว่า โจทก์มีวัตถุที่ประสงค์ในการเตรียมและจัดการโครงการของการลงทุน และจัดการธุรกิจท่องเที่ยว โรงแรม ถือได้ว่าโจทก์มีวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการโรงแรม คำขอจดทะเบียนการค้าของโจทก์ได้ขอจดทะเบียนการค้า ประเภทการค้า 7(ข) โรงแรมและกรมสรรพากรออกใบทะเบียนการค้าให้ ระบุว่าโจทก์ประกอบการค้าประเภทการค้า 4 รับจ้างทำของชนิด 1(ฉ)ประเภทการค้า 7 โรงแรมและภัตตาคาร (ข) นอกจากนี้ตามพระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ. 2470 มาตรา 3 ให้นิยาม คำว่าโรงแรม ไว้ หมายความว่า บรรดาสถานที่ทุกชนิดที่จัดตั้งขึ้นเพื่อรับสินจ้างสำหรับคนเดินทางหรือบุคคลที่ประสงค์หาที่อยู่หรือที่พักชั่วคราว เมื่อโจทก์ได้จัดให้มีห้องพักสำหรับผู้ที่เดินทางมาท่องเที่ยวหรือมาพักผ่อนเป็นการชั่วคราว โดยโจทก์เรียกสินจ้างหรือค่าบริการ กิจการของโจทก์ย่อมเป็นโรงแรมตามความหมายที่กฎหมายบัญญัติ แม้ห้องพักของโจทก์ไม่มีความหรูหราผู้เข้าพัก 2 คน ซึ่งไม่รู้จักกันก็พักอยู่ในห้องใหญ่เดียวกันต้องใช้ห้องน้ำ สุขา และระเบียงร่วมกัน หรือโจทก์จัดให้ผู้เข้าพักได้เข้าร่วมทำกิจกรรม หรือสันทนาการกับผู้ที่เข้าพักด้วยกันรวมทั้งจัดหาอาหารให้แก่ผู้เข้าพักด้วย ก็หาได้ทำให้กิจการของโจทก์ไม่ได้เป็นโรงแรมไม่ เมื่อลูกค้าที่ซื้อบริการของโจทก์ไม่ว่าที่ซื้อบริการผ่านบริษัทฮ.และบริษัทว. หรือซื้อจากโจทก์เอง ไม่สามารถซื้อในอัตราที่ต่ำกว่าวันละ 800 บาท ต่อคนต่อวัน ดังนั้น การที่โจทก์กำหนดค่าบริการในอัตราที่ต่ำกว่า 800 บาท ต่อคนต่อวันจึงเป็นค่าบริการที่ต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีเหตุอันสมควรเจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจประเมินค่าบริการตามราคาตลาดได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ(4) และ 87 ทวิ(6) ตามคำฟ้องของโจทก์บรรยายว่า เหตุที่ยอดรายรับของโจทก์ต่ำกว่าที่เจ้าพนักงานประเมินตรวจพบ เพราะรายรับจากกิจกรรมกีฬาที่โรงแรมจัดให้แก่ผู้ใช้บริการไม่ต้องเสียภาษีการค้าและโจทก์ออกใบเสร็จรับเงินโดยแยกรายการไว้ต่างหากจากห้องพักและอาหาร จำเลยให้การว่าที่โจทก์นำรายรับจากการให้เช่าห้องพักไปแยกชำระภาษีการค้า โดยนำเอารายรับร้อยละ 24 ไปเสียภาษีการค้าประเภทการค้า 7(ข) โรงแรมรายรับร้อยละ 30 ไปเสียภาษีการค้าประเภทการค้า 7(ข) ภัตตาคารส่วนอีกร้อยละ 46 ของรายรับไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีการค้าไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะอัตราค่าเช่าห้องพักเป็นการเหมาจ่ายต้องนำค่าเช่าห้องพักทั้งจำนวนไปเสียภาษีการค้า ประเภทการค้า7(ข) โรงแรมคดีจึงมีประเด็นว่า การที่โจทก์นำรายรับจากการบริการ ไปแยกเสียภาษีชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ดังนั้นประเด็นข้อพิพาทที่ศาลภาษีอากรกลางกำหนดว่า การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ จึงครอบคลุมประเด็นดังกล่าวแล้ว โจทก์ขายบริการเป็นชุด ลูกค้าที่จ่ายค่าบริการหรือสินจ้างแก่โจทก์ในราคาเป็นชุดก็โดยมีความประสงค์จะใช้บริการของโจทก์ทั้งห้องพัก อาหารและกิจกรรมต่าง ๆ ที่โจทก์จัดไว้เป็นการจ่ายเหมา แม้ใช้บริการที่จัดไว้ไม่ครบทุกอย่าง โจทก์ก็มิได้คืนเงินส่วนที่ไม่ใช้บริการให้ ทั้งใบเสร็จที่โจทก์ออกให้แก่ลูกค้าก็มิได้แยกว่าเป็นค่าห้องพัก ค่าอาหาร ค่ากิจกรรมอย่างละเท่าใด เมื่อกิจการของโจทก์เป็นกิจการโรงแรมรายรับจากการขายบริการเป็นชุดหรือขายในรูปเหมาจ่ายจึงเป็นรายรับหรือสินจ้างที่โจทก์ได้รับมาในกิจการโรงแรมทั้งจำนวนการที่โจทก์นำรายรับจากการขายบริการเป็นชุด ไปแยกเสียภาษีบางจำนวนและไม่เสียภาษีบางจำนวนจึงเป็นการ ไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1786/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลือกตั้ง ส.ส. ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ไม่อาจสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ได้เนื่องจากข้อจำกัดของรัฐธรรมนูญ
(คำสั่งศาลฎีกาที่ 1786/2541) ตามคำร้องคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและตามทางไต่สวนของผู้ร้องกับการเปิดหีบบัตรเลือกตั้งและนับบัตรเลือกตั้งใหม่ของหน่วยเลือกตั้งบางหน่วยในเขตเลือกตั้งที่ 1 ได้ความว่าเจ้าพนักงานตำรวจตรวจยึดบัตรเลือกตั้งที่กาบัตรลงคะแนนให้แก่ผู้คัดค้านทั้งสามซึ่งเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งได้ ณ หน่วยเลือกตั้งที่ 4 ของหมู่ที่ 5 และหมู่ที่ 6 ตำบลท้ายบ้านใหม่ จำนวน 199 บัตรและ 300 บัตรตามลำดับ และผลการตรวจนับบัตรเลือกตั้งปรากฏว่าได้จำนวนบัตรเลือกตั้งมากกว่าผู้เลือกตั้งที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งจริงอันส่อแสดงว่าเจ้าพนักงานผู้ดำเนินการเลือกตั้งกรรมการตรวจคะแนนหรือเจ้าหน้าที่คะแนนอาจเป็นผู้กาบัตรเลือกตั้งลงคะแนนให้แก่ผู้คัดค้านทั้งสามจนเป็นเหตุให้จำนวนบัตรเลือกตั้งมีมากกว่าจำนวนผู้เลือกตั้งที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ทำให้การเลือกตั้งเป็นไปโดยมิชอบและศาลฎีกาอาจมีคำสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ ตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 มาตรา 79(1)อันเป็นผลให้สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของผู้คัดค้านทั้งสามสิ้นสุดลงตั้งแต่วันที่ศาลฎีกามีคำสั่งตามมาตรา 80 วรรคสอง แต่ผู้คัดค้านทั้งสามเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปัจจุบัน มาตรา 315 วรรคสองบัญญัติให้ความเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของผู้คัดค้านทั้งสามยังคงมีอยู่ต่อไปจนกว่า (1) ครบอายุของสภาผู้แทนราษฎร หรือ(2) เมื่อมีการยุบสภา หรือ (3) เมื่อสมาชิกภาพสิ้นสุดลงเนื่องจากรัฐสภาไม่อาจดำเนินการพิจารณาและให้ความเห็นชอบร่างสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ประกอบรัฐธรรมนูญสำคัญ 3 ฉบับให้เสร็จสิ้นลงได้ภายในกำหนดตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 323 และ จนกระทั่งปัจจุบันอายุของสภาผู้แทนราษฎรยังไม่ครบกำหนดไม่มีการยุบสภา และยังอยู่ในกำหนดระยะเวลาที่รัฐสภาจะพิจารณา และให้ความเห็นชอบร่างสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประกอบรัฐธรรมนูญ ทั้ง 3 ฉบับ ดังกล่าวได้อยู่ ความเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของผู้คัดค้านทั้งสามจึงยังมีอยู่ต่อไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ในกรณีที่ตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรว่างลงไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปัจจุบันมาตรา 315 วรรคสอง ก็บัญญัติให้สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเท่าที่มีอยู่เท่านั้น จึงไม่อาจจัดให้มีการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรคนใหม่แทนตำแหน่งที่ว่างลงได้แม้การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสมุทรปราการในเขตการเลือกตั้งที่ 1 อาจเป็นไปโดยไม่ชอบ ศาลฎีกาก็ไม่อาจ มีคำสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ตามคำขอของผู้ร้องทั้งสาม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาตรา 79 ได้ ศาลฎีกาจึงต้องยกคำร้องของผู้ร้องเสีย
of 64