พบผลลัพธ์ทั้งหมด 151 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1056-1057/2472
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สำนวนอาญาไม่ผูกพันจำเลยที่ไม่ใช่คู่ความในคดีแพ่ง การพิสูจน์ความเลินเล่อ
อ้างสำนวนอาญาที่โจทก์ไม่ได้เปนคู่ความมาสืบข้อเท็จจริงยันจำเลยไม่ได้ อาญา ม.90 จะใช้ได้ในคดีแพ่งต่อเมื่อคู่ความคนเดียวกันเทียบฎีกา 1405/62 ฎีกาที่ 1418/62
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10454/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความที่ทำโดยตัวแทนที่ไม่ได้รับการแต่งตั้งจากทายาททุกคน ไม่ผูกพันทายาทที่ไม่ได้ให้ความยินยอม
การที่ ส. นำคดีมาฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่ง 4 คดี และศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้รวมการพิจารณาคดีทั้งหมดเข้าด้วยกัน แม้ ส. แถลงต่อศาลชั้นต้นว่า กระทำในฐานะทายาทเจ้ามรดก และกระทำแทนทายาทอื่นของเจ้ามรดกในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 851 แต่เมื่อไม่ปรากฏหลักฐานเป็นหนังสือว่า ส. ได้รับแต่งตั้งจากทายาทอื่นและโจทก์ให้เป็นผู้กระทำการแทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 798 สัญญาประนีประนอมยอมความที่ ส. ทำกับจำเลยซึ่งมีการตกลงแบ่งที่ดินทรัพย์มรดกรวมทั้งที่ดินพิพาทจึงไม่ผูกพันโจทก์ แม้การตกลงระหว่างบุคคลทั้งสองจะมีข้อตกลงตามสัญญาดังกล่าวเพื่อประโยชน์แก่โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกตาม ป.พ.พ. มาตรา 374 และโจทก์เข้าถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้นแล้ว แต่ก็ไม่มีบทกฎหมายใดห้ามมิให้โจทก์ในฐานะทายาทของเจ้ามรดกใช้สิทธิฟ้องเรียกคืนทรัพย์มรดกจากผู้ที่ได้รับไว้โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14810/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือขอรับข้อเสนอที่มีการแก้ไขภายหลัง ไม่ผูกพันตามกฎหมาย การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
ข้อความตามหนังสือขอรับข้อเสนอที่มีถึงกรรมการผู้จัดการของจำเลยที่ว่าขอรับข้อเสนอของจำเลย ยอมรับเงินค่าบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าชดเชย ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี โดยไม่ติดใจจะเรียกร้องฟ้องร้องหรือค่าตอบแทนอื่นใดจากจำเลยอีกทั้งสิ้น เป็นกรณีทำคำบอกกล่าวสนองไปถึงจำเลยซึ่งเป็นผู้เสนอ เอกสารดังกล่าวจำเลยจัดเตรียมไว้ให้โจทก์ลงลายมือชื่อเป็นคำสนองของโจทก์ โจทก์ลงลายมือชื่อแล้วมีการขีดฆ่าลายมือชื่อของตนออกเสียก่อน มีการลงวันที่ในหนังสือและก่อนนำเสนอต่อกรรมการผู้จัดการของจำเลย จึงไม่มีผลเป็นคำสนองรับคำเสนอของจำเลย คำเสนอของจำเลยจึงเป็นอันสิ้นความผูกพัน ไม่ก่อให้เกิดเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ ไม่ใช่เรื่องการถอนการแสดงเจตนาเลิกสัญญาประนีประนอมยอมความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5181/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ใบเสนอราคาไม่ผูกพันสัญญา หากผู้ซื้อไม่ปฏิบัติตามข้อสาระสำคัญ และไม่มีมูลฟ้อง
จำเลยทำใบเสนอราคาคอนกรีตเทรองพื้นและคอนกรีตโครงสร้างต่อโจทก์มีการระบุถึงรายละเอียดของรายการสินค้าประเภทคอนกรีตเทรองพื้นและคอนกรีตโครงสร้างพร้อมราคาไว้ และจำเลยยังระบุเงื่อนไขเพื่อประกอบการพิจารณาของโจทก์ไว้รวม 9 ข้อ ในใบเสนอราคาดังกล่าว โดยข้อ 4 ระบุถึงการติดตั้งเครื่องผสมคอนกรีต ณ หน้างานก่อสร้าง กำหนดติดตั้งแล้วเสร็จ 30 วัน นับจากวันทำสัญญา และในข้อ 9 ระบุถึงการที่ผู้ซื้อมีเหตุจำเป็นต้องซื้อคอนกรีตจากผู้ขายรายอื่นเนื่องจากเหตุที่ผู้ขายไม่สามารถให้บริการได้ ผู้ขายยินยอมชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้ซื้อในอัตราค่าเสียหายตามความเป็นจริง ซึ่งในข้อ 4 และข้อ 9 นี้เท่านั้นที่ได้กล่าวถึงสัญญาและสัญญาซื้อขายไว้ แม้จะมิได้ระบุว่าสัญญาและสัญญาซื้อขายจะต้องทำเป็นหนังสือกันในภายหลังดังที่โจทก์ฎีกาก็ตาม แต่เมื่อพิจารณาใบเสนอราคาดังกล่าวในข้อ 7 ที่ระบุให้ผู้ซื้อซึ่งหมายถึงโจทก์ต้องออกหนังสือค้ำประกันของธนาคารเท่ากับมูลค่า 2,000,000 บาท โดยผู้ขายเป็นผู้รับผิดชอบค่าธรรมเนียมธนาคารที่เกิดขึ้นด้วย แต่โจทก์กลับมิได้นำสืบให้เห็นว่าโจทก์ได้ปฏิบัติตามใบเสนอราคาในข้อ 7 นี้ โดยขอออกหนังสือค้ำประกันของธนาคารตามวงเงินประกันแต่อย่างใดและแสดงให้เห็นว่า โจทก์เองก็มิได้ตกลงโดยยินยอมที่จะผูกพันและปฏิบัติตามใบเสนอราคาดังกล่าวทั้งหมดทุกข้อ ที่โจทก์ให้จำเลยปฏิบัติตามใบเสนอราคาเฉพาะในข้อ 9 ซึ่งเป็นประโยชน์แก่โจทก์ แต่กลับไม่ยอมปฏิบัติตามใบเสนอราคาในข้อ 7 ซึ่งเป็นข้อสาระสำคัญที่จำเลยได้แสดงไว้โดยชัดแจ้งว่า โจทก์จะต้องตกลงด้วยในข้อนี้ การที่โจทก์ยังมิได้ขอออกหนังสือค้ำประกันของธนาคารตามใบเสนอราคาข้อ 7 นี้ จึงยังถือไม่ได้ว่าโจทก์และจำเลยได้ตกลงตามใบเสนอราคากันทั้งหมดทุกข้อแล้ว ใบเสนอราคาที่จำเลยทำถึงโจทก์เป็นเพียงการทำความเข้าใจกันกับโจทก์ไว้เฉพาะบางสิ่งบางอย่างในเบื้องต้นเท่านั้น ถึงแม้ว่าจะได้ระบุไว้ก็หาเป็นการผูกพันจำเลยไม่ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 366 วรรคหนึ่งและวรรคสอง การที่โจทก์ซื้อคอนกรีตจากจำเลยเรื่อยมา ก็เป็นเพียงการซื้อขายสินค้าเฉพาะสิ่งตามรายการที่มีการส่งมอบให้แก่กันเป็นคราว ๆ ไปเท่านั้น มิได้เป็นคำสนองเข้ารับทำสัญญาตามใบเสนอราคาดังกล่าว
โจทก์ว่าจ้าง ส. เป็นผู้ดำเนินการรื้อถอนและปรับพื้นที่ในส่วนที่จำเลยก่อสร้างขึ้นเพื่อผลิตคอนกรีตส่งให้แก่โจทก์เพื่อส่งมอบพื้นที่ให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเป็นเงิน 70,000 บาท เมื่อตามใบเสนอราคาข้อ 4 ระบุถึงการติดตั้งเครื่องผสมคอนกรีต ณ หน้างานก่อสร้าง กำหนดติดตั้งแล้วเสร็จ 30 วัน นับจากวันทำสัญญา แสดงให้เห็นว่าจำเลยก่อสร้างหรือติดตั้งเครื่องผสมคอนกรีตขึ้นโดยได้รับความยินยอมจากโจทก์ ต่อมาโจทก์ไม่ได้ยินยอมให้จำเลยอยู่บนพื้นที่ที่ก่อสร้างเสร็จแล้ว จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะอยู่และต้องรื้อถอนสิ่งก่อสร้างออกไป แต่โจทก์กลับว่าจ้าง ส. รื้อถอนสิ่งก่อสร้างออกไป โดยจำเลยมิได้ตกลงว่าจะเป็นฝ่ายเสียค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ให้แก่โจทก์ จำเลยจึงไม่มีความรับผิดตามสัญญาที่จะต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ แม้จำเลยจะขาดนัดยื่นคำให้การก็ตาม แต่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 198 ทวิ วรรคหนึ่ง ศาลจะมีคำพิพากษาชี้ขาดให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีโดยจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การมิได้ เว้นแต่ศาลเห็นว่า คำฟ้องของโจทก์มีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมาย ในการนี้ศาลจะยกขึ้นอ้างโดยลำพังซึ่งข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนก็ได้ เมื่อคดีโจทก์ไม่มีมูลให้รับฟังได้ว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยให้รับผิดตามสัญญา ซึ่งปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนที่ศาลยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง
โจทก์ฎีกาขอให้จำเลยคืนหนังสือสัญญาค้ำประกันของธนาคาร 600,000 บาท ที่จำเลยยึดถือไว้คืนแก่โจทก์ ก็ไม่ปรากฏตามคำฟ้องของโจทก์ว่าเป็นหนังสือสัญญาค้ำประกันที่จำเลยได้ยึดถือไว้เกี่ยวด้วยกับใบเสนอราคาหรือไม่อย่างไร จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่าง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
โจทก์ว่าจ้าง ส. เป็นผู้ดำเนินการรื้อถอนและปรับพื้นที่ในส่วนที่จำเลยก่อสร้างขึ้นเพื่อผลิตคอนกรีตส่งให้แก่โจทก์เพื่อส่งมอบพื้นที่ให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเป็นเงิน 70,000 บาท เมื่อตามใบเสนอราคาข้อ 4 ระบุถึงการติดตั้งเครื่องผสมคอนกรีต ณ หน้างานก่อสร้าง กำหนดติดตั้งแล้วเสร็จ 30 วัน นับจากวันทำสัญญา แสดงให้เห็นว่าจำเลยก่อสร้างหรือติดตั้งเครื่องผสมคอนกรีตขึ้นโดยได้รับความยินยอมจากโจทก์ ต่อมาโจทก์ไม่ได้ยินยอมให้จำเลยอยู่บนพื้นที่ที่ก่อสร้างเสร็จแล้ว จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะอยู่และต้องรื้อถอนสิ่งก่อสร้างออกไป แต่โจทก์กลับว่าจ้าง ส. รื้อถอนสิ่งก่อสร้างออกไป โดยจำเลยมิได้ตกลงว่าจะเป็นฝ่ายเสียค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ให้แก่โจทก์ จำเลยจึงไม่มีความรับผิดตามสัญญาที่จะต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ แม้จำเลยจะขาดนัดยื่นคำให้การก็ตาม แต่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 198 ทวิ วรรคหนึ่ง ศาลจะมีคำพิพากษาชี้ขาดให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีโดยจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การมิได้ เว้นแต่ศาลเห็นว่า คำฟ้องของโจทก์มีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมาย ในการนี้ศาลจะยกขึ้นอ้างโดยลำพังซึ่งข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนก็ได้ เมื่อคดีโจทก์ไม่มีมูลให้รับฟังได้ว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยให้รับผิดตามสัญญา ซึ่งปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนที่ศาลยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง
โจทก์ฎีกาขอให้จำเลยคืนหนังสือสัญญาค้ำประกันของธนาคาร 600,000 บาท ที่จำเลยยึดถือไว้คืนแก่โจทก์ ก็ไม่ปรากฏตามคำฟ้องของโจทก์ว่าเป็นหนังสือสัญญาค้ำประกันที่จำเลยได้ยึดถือไว้เกี่ยวด้วยกับใบเสนอราคาหรือไม่อย่างไร จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่าง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4464/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจไม่ตรงกับลายมือชื่อจริง สัญญาจำนองไม่ผูกพันจำเลย
จำเลยให้การปฏิเสธว่า ไม่เคยกู้และรับเงินจากโจทก์ จำเลยไม่เคยมอบอำนาจให้ ว. ไปจดทะเบียนจำนองที่ดินตามฟ้องไว้แก่โจทก์ ลายมือชื่อผู้มอบอำนาจในหนังสือมอบอำนาจไม่ใช่ลายมือชื่อของจำเลย แต่เป็นลายมือชื่อปลอม ภาระการพิสูจน์ในปัญหานี้จึงตกแก่โจทก์ แต่คำเบิกความของพยานโจทก์มีพิรุธหลายประการ เพราะโจทก์ไม่มีสัญญากู้หรือหลักฐานการรับเงินของจำเลยมาแสดงต่อศาล นอกจากนี้โจทก์ไม่ยื่นบัญชีระบุพยานอ้าง ว. หรือผู้ลงชื่อเป็นพยาน 2 คน ในหนังสือมอบอำนาจซึ่งเป็นพยานรู้เห็นโดยตรงเป็นพยานสนับสนุนให้ได้ความตามข้ออ้างของตน ทั้งเมื่อศาลตรวจดูลายมือชื่อในช่องผู้มอบอำนาจเปรียบเทียบกับลายมือชื่อที่แท้จริงของจำเลยที่ลงไว้ในสารบบที่ดิน เห็นว่า ลายมือชื่อผู้มอบอำนาจในหนังสือมอบอำนาจไม่ใช่ลายมือชื่อที่แท้จริงของจำเลย แต่เป็นลายมือชื่อปลอม เพราะคุณสมบัติของการเขียนรูปลักษณะของตัวอักษรแตกต่างกับลายมือชื่อที่แท้จริงของจำเลย พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยมอบอำนาจให้ ว. นำที่ดินตามฟ้องไปจดทะเบียนจำนองเป็นประกันไว้แก่โจทก์ หนังสือสัญญาจำนองจึงไม่ผูกพันจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7685/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์เป็นสิทธิเฉพาะตัวของคู่ความร่วม ย่อมไม่ผูกพันคู่ความอื่น
การที่คู่ความร่วมคนหนึ่งขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ของคู่ความร่วมคนนั้น ไม่มีผลไปถึงคู่ความร่วมคนอื่นที่มิได้ขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ด้วย กรณีมิใช่เรื่องที่จะนำมาตรา 59 (1) แห่ง ป.วิ.พ. มาใช้บังคับได้การที่โจทก์ที่ 1 ขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์เพียงคนเดียว และศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์แก่โจทก์ที่ 1 จึงเป็นประโยชน์แก่โจทก์ที่ 1 แต่เพียงผู้เดียวที่จะยื่นอุทธรณ์ได้ภายในกำหนดเวลาที่ศาลชั้นต้นอนุญาต ดังนั้นที่โจทก์ทั้งสองยื่นอุทธรณ์ฉบับเดียวกันภายในระยะเวลาดังกล่าวโดยโจทก์ที่ 2 มิได้ขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ไว้ ย่อมเป็นอุทธรณ์ที่ยื่นเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งรับอุทธรณ์ในส่วนของโจทก์ที่ 2 ด้วย เป็นการไม่ชอบและที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ที่ 2 จึงเป็นการไม่ชอบเช่นกัน ต้องถือว่าคดีในส่วนของโจทก์ที่ 2 ได้ยุติไปแล้วตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นและไม่ถือว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7631/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ร่วม สัญญาประนีประนอมยอมความไม่ผูกพันคู่สัญญาที่ไม่ร่วมทำสัญญา โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
สามีจำเลยกู้เงินโจทก์ จำเลยลงลายมือชื่อเป็นพยานในสัญญากู้ ถือว่าจำเลยได้ให้สัตยาบันในการทำสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าว หนี้กู้ยืมเงินจึงเป็นหนี้ร่วมของสามีจำเลยและจำเลย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1490 (4) โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ย่อมมีอำนาจฟ้องลูกหนี้ทุกคนพร้อมกันให้ชำระหนี้เป็นส่วนๆ หรือจะฟ้องลูกหนี้ทีละคนจนกว่าจะได้รับชำระหนี้ครบถ้วนก็ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 291 โจทก์ไม่ได้ฟ้องจำเลยคดีนี้เป็นจำเลยในคดีก่อนให้ร่วมกับสามีชำระหนี้เงินกู้แก่โจทก์ด้วย จำเลยคดีนี้จึงถือไม่ได้ว่าเป็นคู่ความเดียวกันกับจำเลยในคดีก่อน ฟ้องของโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คดีก่อนโจทก์นำสัญญากู้ยืมฟ้องสามีจำเลยให้ชำระหนี้เงินกู้ โจทก์กับสามีจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความ ศาลมีคำพิพากษาตามยอม คดีถึงที่สุด ผลของสัญญาประนีประนอมยอมความทำให้สิทธิเรียกร้องตามสัญญากู้ยืมเงินสิ้นสุดไป โจทก์ถือสิทธิใหม่ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 852 การที่สามีจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ จำเลยไม่ได้ร่วมทำสัญญาด้วย จึงไม่มีผลผูกพันจำเลย เมื่อจำเลยไม่ใช่คู่สัญญาในสัญญาประนีประนอมยอมความ จำเลยจึงไม่มีสิทธิและหน้าที่ตามสัญญากับโจทก์ สัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมไม่ผูกพันจำเลยเพราะไม่ใช่คู่ความในคดีดังกล่าว โจทก์ไม่สามารถนำสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวมาฟ้องจำเลยให้รับผิดได้ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจที่จะยกขึ้นได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบ 264 และ 247
คดีก่อนโจทก์นำสัญญากู้ยืมฟ้องสามีจำเลยให้ชำระหนี้เงินกู้ โจทก์กับสามีจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความ ศาลมีคำพิพากษาตามยอม คดีถึงที่สุด ผลของสัญญาประนีประนอมยอมความทำให้สิทธิเรียกร้องตามสัญญากู้ยืมเงินสิ้นสุดไป โจทก์ถือสิทธิใหม่ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 852 การที่สามีจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ จำเลยไม่ได้ร่วมทำสัญญาด้วย จึงไม่มีผลผูกพันจำเลย เมื่อจำเลยไม่ใช่คู่สัญญาในสัญญาประนีประนอมยอมความ จำเลยจึงไม่มีสิทธิและหน้าที่ตามสัญญากับโจทก์ สัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมไม่ผูกพันจำเลยเพราะไม่ใช่คู่ความในคดีดังกล่าว โจทก์ไม่สามารถนำสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวมาฟ้องจำเลยให้รับผิดได้ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจที่จะยกขึ้นได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบ 264 และ 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 454/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าเช่าไม่ผูกพันผู้รับโอนที่ดิน หากไม่มีการยินยอมผูกพัน
สัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาเป็นเพียงบุคคลสิทธิที่ใช้บังคับกันได้เฉพาะแต่ในระหว่างคู่สัญญา ไม่ผูกพันโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้รับโอนที่ดินพิพาท เว้นแต่โจทก์ผู้รับโอนที่ดินพิพาทจะได้ตกลงยินยอมผูกพันที่จะปฏิบัติตามสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาแทนผู้ให้เช่าเดิม ข้อเท็จจริงได้ความว่าโจทก์ไม่ได้ตกลงยินยอมที่จะผูกพันตามสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าการเช่าธรรมดา แม้โจทก์จะทราบว่ามีสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าการเช่าธรรมดาระหว่างจำเลยกับบริษัท ม. ในขณะรับโอนที่ดินพิพาท สัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าการเช่าธรรมดาก็ไม่ผูกพันโจทก์ และไม่ถือว่าโจทก์รับโอนที่ดินพิพาทโดยไม่สุจริต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4009/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีแพ่งไม่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ไม่ผูกพันข้อเท็จจริงจากคดีอาญา
ในคดีอาญาโจทก์ฟ้องจำเลยร่วมและ ป. ในข้อหาปลอมและใช้เอกสารปลอมส่วนในคดีแพ่ง โจทก์ฟ้องเรียกเงินตามสัญญาฝากทรัพย์ แล้วจำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีตาม ป.วิ.พ. ทั้งนี้สิทธิของโจทก์ที่จะฟ้องคดีแพ่งไม่ต้องอาศัยมูลความผิดทางอาญาฐานปลอมและให้เอกสารปลอมแต่อย่างใด จึงมิใช่เป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา เพราะคดีแพ่งเกี่ยวกับคดีอาญานั้น หมายความถึงการที่จำเลยไปกระทำความผิดในทางอาญาและก่อให้เกิดความเสียหายในทางแพ่งเกี่ยวพันโดยตรงขึ้นมา เมื่อมิใช่คดีแพ่งเกี่ยวกับคดีอาญาแล้ว จึงไม่จำต้องฟังข้อเท็จจริงในส่วนอาญามาผูกพันทางแพ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1366/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาหมั้นไม่เป็นผลผูกพันเมื่อคู่หมั้นไม่ได้ตกลงเรื่องจดทะเบียนสมรส และไม่ได้วางแผนชีวิตคู่ร่วมกัน
การที่จำเลยไม่ยอมจดทะเบียนสมรสกับโจทก์โดยที่ทั้งสองฝ่ายไม่มีเรื่องทะเลาะกันทั้งๆ ที่โจทก์กับจำเลยได้จัดงานแต่งงานใหญ่โต มีแขกไปในงานมากมายและโจทก์กับจำเลยก็ได้มีความสัมพันธ์ฉันสามีภริยากันแล้ว ซึ่งการเลิกรากันก็ทำให้เป็นที่อับอายและเสื่อมเสียต่อเกียรติยศชื่อเสียงของฝ่ายจำเลยซึ่งเป็นหญิง ทั้งโจทก์กับจำเลยอยู่กินฉันสามีภริยาเป็นไปโดยไม่ราบรื่น เพราะต่างต้องแยกกันทำงานคนละจังหวัด แทนที่โจทก์จะพยายามทำความเข้าใจกับจำเลยให้ใช้ชีวิตคู่ร่วมกันตามสภาพแต่โจทก์กลับไปแจ้งความว่าจำเลยหลอกลวงโจทก์โดยไม่ยอมจดทะเบียนสมรสด้วยทั้งที่เวลาสู่ขอกันไม่มีการตกลงเช่นนั้น จึงถือไม่ได้ว่ากรณีมีเหตุสำคัญอันเกิดแก่หญิงคู่หมั้น ทำให้โจทก์ไม่สมควรสมรสกับจำเลย เพราะตามพฤติการณ์แสดงว่าต่างมิได้ยึดถือเอาการจดทะเบียนสมรสเป็นเรื่องสำคัญมากกว่าที่จะได้อยู่กินด้วยกันตามประเพณีเท่านั้น จึงไม่อาจกล่าวโทษได้ว่า การที่มิได้ไปจดทะเบียนสมรสเกิดจากความผิดของฝ่ายใด ดังนั้น กรณีถือไม่ได้ว่าเป็นความผิดของจำเลย จำเลยจึงมิได้ผิดสัญญาหมั้น โจทก์ไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาหมั้นและเรียกสินสอดและของหมั้นคืนจากจำเลยได้