พบผลลัพธ์ทั้งหมด 369 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3819/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิซื้อขายโดยไม่สุจริตของผู้ขายที่ปล่อยให้ผู้ซื้อค้างชำระนานปี และรู้เห็นเป็นใจกับการกระทำผิดของผู้ซื้อ
แม้กรรมสิทธิ์ในรถยนต์ของกลางยังเป็นของผู้ร้องตามข้อสัญญา เพราะผู้ซื้อยังค้างชำระราคาอยู่ แต่ผู้ร้องปล่อยให้ผู้ซื้อค้างชำระราคาอยู่จนถึงวันเกิดเหตุเป็นเวลา 4 ปีเศษแล้ว มิได้บังคับตามสัญญาซื้อขายแก่ผู้ซื้อโดยการบอกเลิกสัญญาและเรียกเอาทรัพย์ที่ขายคืนอย่างใดคงปล่อยเนิ่นนานมาจนกระทั่งจำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างของผู้ซื้อนำรถยนต์ของกลางไปกระทำความผิดแล้วผู้ร้องก็มอบอำนาจให้ผู้ซื้อนั้นเองมายื่นคำร้องขอคืนรถยนต์ของกลาง ทั้งตามสัญญาซื้อขายผู้ซื้อต้องรับผิดใช้ราคาที่ซื้อจนครบแม้รถยนต์ของกลางจะถูกริบ ดังนี้ การร้องขอคืนรถยนต์ของกลางของผู้ร้อง เป็นการทำเพื่อประโยชน์ของผู้ซื้อ เพื่อให้ผู้ซื้อได้รับรถยนต์ของกลางคืนไปในภายหลังหาใช่เพื่อประโยชน์ของผู้ร้องเองไม่ จากพฤติการณ์แห่งคดีที่จำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างของผู้ซื้อใช้รถยนต์ของกลางบรรทุกทรายเกินน้ำหนักในทางการค้าของผู้ซื้อ น่าเชื่อว่ากระทำไปตามคำสั่งของผู้ซื้อ ผู้ซื้อจึงเป็นผู้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด เมื่อผู้ร้องขอคืนรถยนต์ของกลางเพื่อประโยชน์ของผู้ซื้อ จึงถือได้ว่าเป็นการรู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดคดีนี้ เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ผู้ร้องไม่มีสิทธิขอคืนรถยนต์ของกลาง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3724/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปลูกสร้างโรงเรือนในที่ดินผู้อื่นโดยไม่สุจริต: โรงเรือนยังเป็นของผู้ปลูกสร้าง
โจทก์ปลูกสร้างโรงเรือนในที่ดินที่จำเลยเพียงแต่อนุญาตให้โจทก์อยู่อาศัยเป็นการชั่วคราว จึงมิใช่กรณีสร้างโรงเรือนในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริตอันเป็นเหตุให้เจ้าของที่ดินเป็นเจ้าของโรงเรือนและต้องใช้ค่าแห่งที่ดินที่เพิ่มขึ้นเพราะการสร้างโรงเรือนนั้น แต่เป็นกรณีที่โรงเรือนนั้นไม่ตกเป็นส่วนควบกับที่ดินของจำเลยโดยยังเป็นของโจทก์อยู่ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 109
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3454/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อขายมีผลผูกพันเมื่อชำระราคาแล้ว การซื้อขายโดยไม่สุจริตกระทบต่อสิทธิโจทก์
จำเลยที่ 1 ได้ตกลงขายที่พิพาทให้โจทก์โดยชำระราคาที่ดินกันเรียบร้อยและจะไปจดทะเบียนโอนให้โจทก์ภายหลัง ซึ่งเป็นลักษณะของสัญญาจะซื้อขาย ไม่ใช่สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด เมื่อได้ชำระราคากันแล้วก็ย่อมมีผลบังคับได้โดยไม่จำต้องทำสัญญาเป็นหนังสือ จำเลยที่ 2 ได้รู้เรื่องการจะซื้อขายที่พิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 แล้วก่อนที่จะจดทะเบียนซื้อขายที่พิพาทระหว่างจำเลยทั้งสอง อันเป็นการไม่สุจริต ทำให้โจทก์เสียเปรียบ โจทก์จึงขอให้เพิกถอนสัญญาซื้อขายที่พิพาทระหว่างจำเลยทั้งสองได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2478/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินโดยไม่สุจริต แม้เสียค่าตอบแทนและครอบครองนาน ก็ไม่ผูกพันเจ้าของที่แท้จริง
จำเลยที่ 1 นำเอาที่พิพาทของโจทก์ไปขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เป็นชื่อของตน และโอนขายที่พิพาทไป 2 แปลงแก่จำเลยที่ 2 โดยโจทก์มิได้รู้เห็นยินยอม ที่จำเลยที่ 2 ซื้อที่พิพาทดังกล่าวเท่ากับซื้อไปจากผู้ที่ไม่มีสิทธิจะขาย แม้จำลยที่ 2 จะซื้อด้วยความสุจริตเสียค่าตอบแทนและครอบครองที่พิพาทไว้ ก็ไม่ผูกพันโจทก์ผู้เป็นเจ้าของแท้จริงและจะครอบครองไว้นานสักเพียงใด ก็เป็นการครอบครองแทนโจทก์ผู้เป็นเจ้าของอยู่ตราบนั้น จำเลยที่ 2 ไม่มีสิทธิในที่พิพาทดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2432/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาทุจริตในการเรียกร้องเช็คพิพาทโดยไม่สุจริต ถือเป็นเหตุไม่ต้องรับผิดตามเช็ค
จำเลยออกเช็คพิพาทเพื่อให้โจทก์นำไปเปลี่ยนเช็คเดิมจากเจ้าหนี้ด้วยเจตนาชำระหนี้ให้เจ้าหนี้ตามคำลวงของโจทก์ ทั้ง ๆ ที่ได้มีการชำระเงินตามเช็คเดิมแล้ว เช็คพิพาทย่อมไม่มีมูลหนี้ โจทก์จึงเป็นผู้ถือเช็คพิพาทไว้โดยไม่สุจริต จะถือว่าโจทก์ซึ่งใช้อุบายให้จำเลยออกเช็คพิพาทเป็นผู้ทรงโดยชอบหรือเป็นผู้รับโอนเช็คพิพาทมาจากเจ้าหนี้หาได้ไม่ จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดตามเช็คพิพาทต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1063/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บุคคลมีหนี้สินล้นพ้นตัว แม้เป็นข้าราชการก็ถูกพิทักษ์ทรัพย์ได้ หากมีพฤติการณ์ไม่สุจริตและไม่พยายามชำระหนี้
จำเลยและสามีต่าง รับราชการมีเงินเดือนซึ่ง ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 286(2) โจทก์ย่อมไม่ สามารถบังคับในคดีแพ่งให้จำเลยชำระหนี้ด้วย เงินเดือนได้ จำเลยจึงมีทรัพย์สินไม่พอชำระหนี้และไม่ปรากฏว่าจำเลยมีทรัพย์สินอื่นใด อีกถือ ได้ ว่าจำเลยเป็นบุคคลมีหนี้สินล้นพ้นตัว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 467/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนเช็คโดยไม่สุจริตต้องเกิดขึ้นขณะรับโอน หากเกิดภายหลังไม่ถือว่าผู้ทรงคบคิดฉ้อฉล
การคบคิดกันฉ้อฉลหรือความไม่สุจริตอันจะทำให้ผู้สั่งจ่ายยกความเกี่ยวพันระหว่างตนกับผู้ทรงคนก่อนขึ้นต่อสู้ผู้ทรงได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 916 นั้น จะต้องเกิดขึ้นขณะที่ผู้ทรงรับโอนเช็ค
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3398/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องที่ไม่สุจริตเพื่อปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องและฟ้องใหม่ ทำให้จำเลยเสียเปรียบ ศาลไม่อนุญาต
โจทก์ขอถอนฟ้องเพราะเห็นว่าดวงตราที่ประทับในหนังสือมอบอำนาจและในสัญญาประนีประนอมยอมความไม่ถูกต้องตามที่จำเลยให้การต่อสู้คดีไว้ การขอถอนฟ้องจึงมิได้เป็นไปโดยสุจริตแต่เพื่อฉวยโอกาสปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องในการดำเนินคดีที่ทำไปแล้วและนำคดีมาฟ้องจำเลยใหม่อีก ซึ่งย่อมจะทำให้จำเลยเสียเปรียบชอบที่ศาลจะไม่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 175 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3398/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องที่ไม่สุจริตเพื่อปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องและฟ้องใหม่ ศาลไม่อนุญาตตามมาตรา 175 วรรคสอง
โจทก์ขอถอนฟ้องเพราะเห็นว่าดวงตราที่ประทับในหนังสือมอบอำนาจและในสัญญาประนีประนอมยอมความไม่ถูกต้องตามที่จำเลยให้การต่อสู้คดีไว้ การขอถอนฟ้องจึงมิได้เป็นไปโดยสุจริตแต่เพื่อฉวยโอกาสปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องในการดำเนินคดีที่ทำไปแล้วและนำคดีมาฟ้องจำเลยใหม่อีก ซึ่งย่อมจะทำให้จำเลยเสียเปรียบชอบที่ศาลจะไม่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 175 วรรคสอง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1083/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องในคดีละเมิด: จำเป็นต้องระบุการกระทำโดยไม่สุจริตและรายละเอียดการไม่ชอบด้วยกฎหมายของคำสั่ง
โจทก์ฟ้องว่า คำสั่งของจำเลยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์ เป็นการฟ้องโดยอ้างมูลละเมิดเป็นหลักแห่งข้อหา แต่โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยมีคำสั่งโดยไม่สุจริต ทั้งตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์ก็ไม่ได้ความว่า จำเลยมีคำสั่งโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างไร คำสั่งของจำเลยฝ่าฝืนต่อบทกฎหมายใด ถือไม่ได้ว่าคำสั่งของจำเลยไม่ชอบด้วยกฎหมาย การกระทำของจำเลยตามคำฟ้องจึงไม่เป็นการละเมิด และโต้แย้งสิทธิของโจทก์โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง