คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ไม่อุทธรณ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 159 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 300/2473

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขโทษจำคุกโดยศาลอุทธรณ์: โทษเบาลงไม่ถือเป็นการแก้ไขเล็กน้อยจนไม่อุทธรณ์ได้
พ.ร.บ.ฎีกาอุทธรณ์ ม.3 แก้น้อย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 164/2473

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขบทลงโทษโดยศาลอุทธรณ์และการไม่อุทธรณ์ฎีกาโทษไม่เกิน 5 ปี
ศาลเดิมวางบท 225 ให้จำคุกจำเลย 3 ปี ศาลอุทธรณ์แก้วางบท 229 ให้จำคุกจำเลย 5 ปี ดังนี้ เปนการแก้ไขเล็กน้อย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4439/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาล: การจำกัดสิทธิเฉพาะผู้ได้รับผลกระทบโดยตรง และผลของการไม่อุทธรณ์ตามกฎหมาย
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว ศาลอุทธรณ์ภาค 2 มีคำสั่งยืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ คำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 2 จึงเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 236 วรรคหนึ่ง ต้องห้ามมิให้ฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12751/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินอากรศุลกากร การไม่อุทธรณ์ถือเป็นการยอมรับ และฟ้องซ้ำซ้อนที่ไม่เป็นผล
ตามคำฟ้องคดีอาญาหมายเลขดำที่ 716/2553 ของศาลอาญากรุงเทพใต้ โจทก์ในคดีดังกล่าวฟ้องขอให้จำเลยในคดีนี้รับผิดข้อหาร่วมกันนำหรือพาสินค้าหลบหนีภาษีอากรเข้ามาในราชอาณาจักรโดยสำแดงเท็จเพื่อหลีกเลี่ยงภาษีศุลกากรตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27 ซึ่งมีปัญหาว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ สำหรับคดีนี้มีปัญหาว่า จำเลยต้องรับผิดชำระค่าอากร เงินเพิ่มอากร ภาษีมูลค่าเพิ่ม เบี้ยปรับ และเงินเพิ่มหรือไม่เพียงใด จะเห็นได้ว่า คำพิพากษาในคดีอาญาหมายเลขดำที่ 716/2553 ของศาลอาญากรุงเทพใต้ ย่อมมีผลเฉพาะในส่วนอาญาที่ขอให้ลงโทษจำเลยเท่านั้น ศาลในคดีอาญาไม่อาจพิพากษาบังคับให้จำเลยชำระค่าอากร เงินเพิ่มอากร ภาษีมูลค่าเพิ่ม เบี้ยปรับและเงินเพิ่มได้ มูลคดีของโจทก์ทั้งสองในคดีนี้เป็นเรื่องทางแพ่งโดยเฉพาะ มิใช่เรื่องเดียวกับคดีอาญาในความหมายที่บัญญัติไว้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) ฟ้องโจทก์ทั้งสองคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้อน
ตามมาตรา 112 ฉ แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 บัญญัติว่า ผู้นำของเข้ามีสิทธิอุทธรณ์การประเมินอากรของพนักงานเจ้าหน้าที่ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามแบบที่อธิบดีกรมศุลกากรกำหนด ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน กฎหมายให้สิทธิผู้นำของเข้าอุทธรณ์การประเมินเช่นนี้ หากผู้นำของเข้าไม่อุทธรณ์ก็ถือว่าผู้นำของเข้าพอใจการประเมิน การประเมินนั้นเป็นที่ยุติ ผู้นำของเข้าจะนำคดีมาฟ้องเพื่อให้เพิกถอนการประเมินหรือต่อสู้คดีในศาลว่าการประเมินนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่ได้ จำเลยซึ่งเป็นผู้นำของเข้ามิได้อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ จำเลยจึงไม่มีสิทธิต่อสู้ว่าการประเมินไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากจำเลยมิได้สำแดงราคาสินค้าเป็นเท็จ จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องชำระค่าอากรตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1574/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บัญชีส่วนเฉลี่ยบังคับคดี: คำสั่งศาลชั้นต้นยกคำร้องคัดค้านถือเป็นที่สุด ไม่อุทธรณ์ฎีกาได้
เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีจัดทำบัญชีแสดงรายการรับ - จ่าย อันเป็นบัญชีส่วนเฉลี่ยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 319 แล้ว ผู้ร้องยื่นคำแถลงคัดค้านบัญชีส่วนเฉลี่ยดังกล่าวต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี เจ้าพนักงานบังคับคดีมีคำสั่งยืนยันตามบัญชีส่วนเฉลี่ยดังกล่าว ผู้ร้องยื่นคำร้องคัดค้านคำสั่งนั้นต่อศาลชั้นต้น ซึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 320 วรรคสี่ ในตอนท้ายบัญญัติให้คำสั่งของศาลที่ออกตามความในวรรคนี้ให้เป็นที่สุดนั้น ย่อมหมายถึงคำสั่งของศาลชั้นต้นที่เกี่ยวด้วยคำร้องคัดค้านของผู้ร้องที่ยื่นไว้ตามบทบัญญัติในวรรคสี่นั่นเอง มิใช่ถึงที่สุดแต่เพียงคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องเพราะเห็นว่าเจ้าหนี้ไม่ไปตามหมายเรียกของเจ้าพนักงานบังคับคดีตามที่ผู้ร้องฎีกาเท่านั้น ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องคัดค้านคำสั่งของผู้ร้อง คดีของผู้ร้องที่คัดค้านคำสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดีจึงถึงที่สุดและต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 479/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจออกหมายจับของผู้พิพากษาคนเดียวและการไม่อุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.อ.
การออกหมายจับผู้ต้องหาตามคำร้องของพนักงานสอบสวนเป็นอำนาจของผู้พิพากษาคนเดียวในศาลชั้นต้น เป็นอำนาจพิเศษที่กฎหมายบัญญัติให้ผู้พิพากษาคนเดียวในศาลชั้นต้นมีอำนาจออกหมายจับผู้ต้องหาตามคำร้องของพนักงานสอบสวนได้ ภายใต้บทบัญญัติแห่ง ป.วิ.อ. มาตรา 66 และมาตรา 59/1 โดยเฉพาะ จึงไม่ใช่เรื่องที่กฎหมายมีความประสงค์จะให้ผู้ต้องหายื่นอุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12053/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งแต่งตั้งผู้แทนเฉพาะคดีผู้เยาว์เป็นดุลยพินิจศาล เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาไม่อุทธรณ์ได้จนกว่ามีคำพิพากษา
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ตั้งผู้ร้องเป็นผู้แทนเฉพาะคดีของโจทก์ผู้เยาว์นี้เป็นคำสั่งในคดีที่ผู้เยาว์ขอให้แบ่งทรัพย์มรดก หาใช่เป็นอีกคดีหนึ่งไม่ และเป็นดุลยพินิจของศาลที่จะพิจารณาว่าผู้ใดเป็นผู้ที่สมควรเป็นผู้แทนเฉพาะคดีของโจทก์ผู้เยาว์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 56 ทั้งเป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่มิใช่การวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมาย อีกทั้งมิใช่คำสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 227 หรือมาตรา 228 แต่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์จนกว่าศาลชั้นต้นจะได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11411/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งออกหมายจับ/ค้นในชั้นสอบสวน ไม่เปิดอุทธรณ์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ผู้ต้องหาใช้สิทธิฟ้องดำเนินคดีกับผู้ร้องได้
การออกหมายจับและหมายค้นในชั้นสอบสวน เป็นเพียงขั้นตอนหนึ่งเพื่อให้การสอบสวนดำเนินไปได้ แม้พนักงานสอบสวนจะต้องมาร้องขอต่อศาลชั้นต้นเพื่อขอให้ออกหมายจับและหมายค้น แต่ก็ยังไม่ใช่เรื่องที่ฟ้องเป็นคดีมาถึงศาล เมื่อศาลชั้นต้นเห็นสมควรสั่งประการใดแล้ว ก็ไม่ใช่เรื่องที่กฎหมายประสงค์จะให้อุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 หากผู้ร้องอ้างข้อมูลอันเป็นเท็จ ผู้ต้องหาก็มีสิทธิ์ที่จะดำเนินการแก่ผู้ร้องตามที่เห็นสมควรเป็นกรณีต่างหากได้ ผู้ต้องหาจึงไม่อาจอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องของผู้ต้องหาที่ให้เพิกถอนหมายจับและหมายค้นในชั้นสอบสวน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4829/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งศาลที่ไม่ไต่สวนคำร้องขอปล่อยชั่วคราวเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ไม่อุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 196
คำร้องขอให้ไต่สวนคำร้องเพื่อประกอบการพิจารณาขอให้ปล่อยชั่วคราวจำเลยที่ 2 เป็นเรื่องระหว่างศาลกับจำเลยที่ 2 เกี่ยวกับดุลพินิจของศาลที่จะมีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวระหว่างพิจารณาหรือไม่ แต่การที่ศาลชั้นต้นไม่ไต่สวนคำร้องของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวสืบเนื่องมาจากศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นดุลพินิจของศาลชั้นต้นที่พิจารณาโดยอาศัยหลักเกณฑ์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 108 เพื่อให้การดำเนินกระบวนพิจารณาเป็นไปโดยไม่เกิดความเสียหายแก่คดีในระหว่างพิจารณา คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่ไต่สวนคำร้องของจำเลยที่ 2 จึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาที่ไม่ทำให้คดีเสร็จสำนวน จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งนั้นในระหว่างพิจารณาตามมาตรา 196

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13063/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้วมาขอแก้ไขบทลงโทษในภายหลัง เป็นการขัดต่อหลักวิธีพิจารณาความอาญา
เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยแล้ว หากจำเลยเห็นว่าศาลชั้นต้นปรับบทลงโทษจำเลยไม่ถูกต้องหรือจำเลยมีเมทแอมเฟตามีนจำนวนน้อยกว่าที่ศาลชั้นต้นพิพากษาไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำเลยชอบที่จะใช้สิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 9 ในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันอ่านคำพิพากษา ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 และมาตรา 198 แต่จำเลยมิได้ใช้สิทธิดังกล่าวกลับมายื่นคำร้องขอให้ศาลแก้ไขปรับบทลงโทษและกำหนดโทษจำเลยใหม่ โดยเลี่ยงอ้างว่าเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ดังนี้ หากศาลฟังตามที่จำเลยอ้างแล้ววินิจฉัยให้ใหม่ ย่อมมีผลเป็นการแก้ไข คำพิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งขัดต่อ ป.วิ.อ. มาตรา 190 ที่บัญญัติห้ามมิให้แก้ไขคำพิพากษาหรือคำสั่งซึ่งอ่านแล้ว นอกจากแก้ถ้อยคำที่เขียนหรือพิมพ์ผิดพลาด
of 16