คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สิทธิเรียกร้อง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,733 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15467/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าล่วงเวลาที่ระงับสิ้นไปแล้ว ไม่อาจนำมาฟ้องร้องได้อีก
อ. ลูกจ้างโจทก์เคยใช้สิทธิเรียกร้องค่าล่วงเวลาที่พิพาทจากโจทก์พร้อมเงินอื่น เนื่องจากถูกโจทก์เลิกจ้างในคดีหมายเลขแดงที่ รย.310/2551 ของศาลแรงงานภาค 2 ซึ่งระหว่างการพิจารณาในคดีดังกล่าว อ. กับโจทก์ตกลงกันได้และ อ. ได้สละสิทธิเรียกร้องในเงินค่าล่วงเวลาดังกล่าวแล้ว สิทธิเรียกร้องในค่าล่วงเวลาดังกล่าวนั้นจึงระงับสิ้นไป อ. จึงไม่อาจนำเอาสิทธิเรียกร้องค่าล่วงเวลาที่ระงับไปแล้วไปยื่นคำร้องต่อจำเลยเพื่อให้พิจารณาและมีคำสั่งได้อีก ดังนั้น อ. จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาจากโจทก์ คำสั่งของจำเลยที่ 78/2551 ลงวันที่ 28 สิงหาคม 2551 ที่ให้โจทก์จ่ายค่าล่วงเวลาแก่ อ. จึงไม่ชอบ ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15022/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องเฉพาะตัวจากการบังคับคดีแรงงาน การอายัดเงินและเฉลี่ยหนี้ต้องเป็นไปตามสิทธิของเจ้าหนี้แต่ละราย
แม้ศาลจะมีคำสั่งรวมการพิจารณาพิพากษาคดีระหว่างโจทก์ที่ 1 ที่ 2 ที่ 5 ที่ 6 และที่ 15 กับโจทก์ที่ 3 ที่ 4 ที่ 7 ที่ 8 ที่ 13 และที่ 16 เข้าด้วยกัน ทั้งออกคำบังคับและออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีฉบับเดียวกันก็ตาม แต่สิทธิเรียกร้องของโจทก์แต่ละรายเป็นสิทธิที่เกิดจากสัญญาจ้างแรงงานของโจทก์แต่ละคน จึงเป็นสิทธิเฉพาะตัว โจทก์ทั้งหมดมิได้เป็นเจ้าหนี้ร่วมกัน การที่โจทก์ที่ 1 ที่ 2 ที่ 5 ที่ 6 และที่ 15 ขออายัดเงินต่อสิทธิเรียกร้องจากบุคคลภายนอก และแจ้งแก่เจ้าพนักงานบังคับคดีว่ายินดีรับเงินตามจำนวนที่บุคคลภายนอกแจ้งมา เป็นการบังคับคดีเฉพาะตัว เมื่อโจทก์ที่ 3 ที่ 4 ที่ 7 ที่ 8 ที่ 13 และที่ 16 มิได้ยื่นคำร้องขอเฉลี่ยหนี้ของตนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 290 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 โจทก์ที่ 3 ที่ 4 ที่ 7 ที่ 8 ที่ 13 และที่ 16 จึงไม่มีสิทธิที่จะได้รับส่วนเฉลี่ยจากเงินจำนวนดังกล่าว การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีทำบัญชีและจ่ายเงินแก่โจทก์ที่ 1 ที่ 2 ที่ 5 ที่ 6 และที่ 15 จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1423/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงประกันการชำระหนี้เฉพาะทรัพย์สินจำนอง: สิทธิเรียกร้องขยายไปยังทรัพย์สินอื่นไม่ได้
สัญญาต่อท้ายหนังสือสัญญาจำนองที่ดินข้อ 6 ระบุว่า "เมื่อมีการบังคับจำนองเอาทรัพย์สินซึ่งจำนองออกขายทอดตลาดได้เงินจำนวนสุทธิน้อยกว่าจำนวนเงินที่ค้างชำระกับหนี้อุปกรณ์ต่าง ๆ ดังกล่าวมาแล้วก็ดี... เงินยังขาดจำนวนเท่าใด ผู้จำนองและลูกหนี้ยอมรับผิดใช้เงินที่ขาดจำนวนนั้นให้แก่ผู้รับจำนองจนครบ" เป็นเพียงข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ซึ่งมีผลผูกพันและบังคับได้แต่เฉพาะระหว่างคู่สัญญาในลักษณะบุคคลสิทธิ มิใช่เป็นทรัพยสิทธิที่จะตกติดไปกับตัวทรัพย์สินซึ่งจำนอง จำเลยที่ 3 เป็นเพียงผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนองจากจำเลยที่ 2 มิได้มีนิติสัมพันธ์อันก่อให้เกิดสิทธิหรือหน้าที่อันใดกับโจทก์อย่างในฐานะผู้เป็นลูกหนี้ชั้นต้นหรือลูกหนี้ร่วมในหนี้ตามคำพิพากษา ความรับผิดของจำเลยที่ 3 ที่มีอยู่แก่โจทก์ย่อมมีอยู่เพียงที่ทรัพย์สินซึ่งจำนองที่ตนรับโอนมาซึ่งตราเป็นประกันการชำระหนี้แก่โจทก์เท่านั้น โจทก์จึงไม่อาจอ้างข้อตกลงตามสัญญาต่อท้ายหนังสือสัญญาจำนองระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ดังกล่าวมาเพื่อบังคับชำระหนี้เอาแก่ทรัพย์สินอื่นของจำเลยที่ 3 ตามคำพิพากษานอกเหนือไปจากทรัพย์สินซึ่งจำนองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14208/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาเกินคำฟ้องในคดีเช่าซื้อ: สัญญาเป็นโมฆะ ไม่สามารถเรียกคืนทรัพย์ตามสัญญาได้
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนแก่โจทก์เพราะเหตุที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาตามสัญญาเช่าซื้อ เมื่อสัญญาเช่าซื้อเป็นโมฆะ โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดตามสัญญาเช่าซื้อได้ คดีจึงไม่มีประเด็นว่า จำเลยที่ 1 ต้องส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนแก่โจทก์ในเรื่องลาภมิควรได้หรือไม่เพราะโจทก์ไม่ได้กล่าวมาในคำฟ้อง แม้สัญญาเช่าซื้อเป็นโมฆะ จำเลยที่ 1 อาจจะไม่มีสิทธิยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อไว้ก็ตาม แต่เป็นเรื่องที่จะต้องพิจารณาตามลักษณะลาภมิควรได้ ซึ่งต้องไปว่ากล่าวกันอีกต่างหาก ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 วินิจฉัยว่า เมื่อสัญญาเช่าซื้อเป็นโมฆะ จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อไว้ต่อไป โจทก์ย่อมอาศัยอำนาจแห่งกรรมสิทธิ์ติดตามเอารถยนต์ที่เช่าซื้อคืนจากจำเลยที่ 1 ได้ โดยถือว่าจำเลยที่ 1 ตกอยู่ในฐานะทุจริตนับแต่เวลาที่โจทก์เรียกรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนตาม ป.พ.พ. มาตรา 415 วรรคสอง แล้วพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนโจทก์ในสภาพเรียบร้อยใช้การได้ดีหากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคารถแทนนั้น จึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องโจทก์ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14122/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดี: การดำเนินการตามขั้นตอนที่ครบถ้วนภายใน 10 ปี เพื่อรักษาสิทธิเรียกร้อง
หนี้ตามคำพิพากษาเป็นหนี้เงิน เมื่อจำเลยทั้งสองไม่ชำระหนี้ตามคำบังคับ เป็นกรณีที่ต้องตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดียึดหรืออายัดทรัพย์สินของจำเลยทั้งสองออกขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์ เมื่อพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 275 และมาตรา 278 จะเห็นได้ว่า การร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาต้องดำเนินการตามขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนแรกเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาต้องขอให้ศาลออกหมายบังคับคดี ขั้นตอนต่อไปต้องให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบว่าศาลได้ออกหมายบังคับคดี และขั้นตอนสุดท้ายเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาต้องแถลงต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาไว้ คดีนี้ผู้แทนโจทก์นำเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการยึดมายื่นไม่ครบจึงไม่สามารถยึดที่ดินของจำเลยที่ 1 ได้ เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงมีหนังสือแจ้งผู้แทนโจทก์ให้ไปพบเพื่อแถลงว่ายังประสงค์จะดำเนินคดีต่อไปหรือไม่ และให้มาแถลงยึดทรัพย์ แต่ก็ไม่มีการติดต่อเพื่อดำเนินการใดๆ จนถึงปัจจุบันก็ยังไม่มีการยึดที่ดินทั้ง 11 แปลง ดังกล่าว และสำนวนบังคับคดีดังกล่าวอยู่ระหว่างรอปลดเผา เช่นนี้จึงยังฟังไม่ได้ว่าโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้ดำเนินการต่างๆ ตามขั้นตอนครบถ้วนภายในกำหนด 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษา กรณีย่อมถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้ร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาภายใน 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินของจำเลยที่ 1 และเจ้าพนักงานบังคับคดีก็ไม่มีสิทธิยึดต้นฉบับหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินทั้ง 11 แปลงไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13708/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ และสิทธิในการสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ต้องเป็นการโอนจากคู่ความเดิม
พ.รก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 มาตรา 7 บัญญัติว่า "ในการโอนสินทรัพย์ไปให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ ถ้ามีการฟ้องบังคับสิทธิเรียกร้องเป็นคดีในศาล ให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ดังกล่าวเข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนในคดีดังกล่าว... และในกรณีที่ศาลได้มีคำพิพากษาบังคับตามสิทธิเรียกร้องแล้ว ก็ให้เข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษานั้น" แม้บทบัญญัติดังกล่าวมิได้บัญญัติว่าการโอนสินทรัพย์ไปให้ บริษัทบริหารสินทรัพย์ตามมาตรานี้ต้องเป็นการโอนหรือรับโอนมาจากผู้ใด แต่การที่กฎหมายบัญญัติให้ บริษัทบริหารสินทรัพย์ที่ได้รับโอนสินทรัพย์อันเป็นสิทธิเรียกร้องเข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนหรือเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในคดีที่มีการฟ้องร้องหรือที่ศาลมีคำพิพากษาบังคับตามสิทธิเรียกร้องดังกล่าวได้ ย่อมมีความหมายว่าต้องเป็นการโอนหรือรับโอนสินทรัพย์มาจากผู้โอนซึ่งเป็นคู่ความหรือเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอยู่เดิม หรือเป็นบริษัทบริหารสินทรัพย์ที่มีสิทธิเข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความหรือเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนคู่ความหรือเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเดิมดังกล่าวได้ เมื่อโจทก์ผู้เป็นคู่ความอยู่เดิมมิได้เป็นผู้โอนสินทรัพย์อันเป็นสิทธิเรียกร้องที่ศาลมีคำพิพากษาบังคับตามสิทธิเรียกร้องดังกล่าวแล้วแก่ผู้ร้อง ส่วนบริษัท ร. จำกัด ผู้โอน มิใช่คู่ความอยู่เดิมหรือเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอยู่เดิม หรือเป็นบริษัทบริหารสินทรัพย์ผู้ที่มีสิทธิเข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนหรือเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนโจทก์ ผู้ร้องจึงไม่อาจเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาคดีนี้ตามคำร้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13071/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องประกันภัยกรณีรถหายจากการประมาทของผู้ครอบครอง และการโอนสิทธิการเช่าซื้อที่ไม่สมบูรณ์
โจทก์เป็นผู้เช่าซื้อรถยนต์มาจากบริษัท ง. โจทก์จึงมีเพียงสิทธิครอบครองและใช้ประโยชน์ในรถยนต์ที่เช่าซื้อ การที่โจทก์ทำสัญญาขายรถยนต์คันดังกล่าวให้แก่ บ. โดยมีข้อตกลงให้ บ. ผ่อนชำระค่าเช่าซื้อส่วนที่เหลืออันเป็นการโอนสิทธิการเช่าซื้อโดยบริษัท ง. ไม่ได้ตกลงด้วย จึงเป็นการโอนสิทธิการเช่าซื้อโดยไม่ชอบและไม่มีผลผูกพันบริษัท ง. ผู้ให้เช่าซื้อ ทำให้โจทก์ยังคงต้องรับผิดต่อบริษัท ง. ตามสัญญาเช่าซื้อเช่นเดิม และหากมีการชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วนแล้ว รถยนต์ที่เช่าซื้อก็ตกเป็นสิทธิของโจทก์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 572 ทำให้โจทก์สามารถโอนรถยนต์ทางทะเบียนให้แก่ บ. ต่อไปได้ การที่ บ. ครอบครองรถยนต์ตามสัญญาซื้อขายดังกล่าวจึงเป็นเพียงการครอบครองแทนโจทก์ โจทก์จึงยังเป็นผู้มีส่วนได้เสียในรถยนต์ที่เช่าซื้อในขณะทำสัญญาประกันภัย สัญญาประกันภัยระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงมีผลผูกพันตามกฎหมาย เมื่อรถยนต์ที่เอาประกันภัยไว้สูญหายไป โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากจำเลย
ขณะเกิดเหตุ บ. จอดรถแล้วเดินไปสูบบุหรี่ห่างจากรถประมาณ 40 เมตร และไม่สามารถมองเห็นรถยนต์ได้เพราะมีป่าละเมาะบังสายตาโดยติดเครื่องยนต์และไม่ได้ล็อกประตูรถ พฤติการณ์ดังกล่าวเป็นการจอดรถยนต์ทิ้งไว้ในลักษณะที่ไม่ใส่ใจ และไม่สนใจว่าจะเกิดเหตุร้ายกับรถยนต์หรือไม่ นับเป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง เมื่อรถยนต์ที่เอาประกันภัยไว้สูญหายไปเพราะความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของ บ. ซึ่งเป็นผู้ครอบครองรถยนต์แทนโจทก์ จำเลยในฐานะผู้รับประกันภัยจึงไม่ต้องรับผิดในความสูญหายของรถยนต์ที่รับประกันภัยไว้ต่อโจทก์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 879 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12734/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งทรัพย์สินมรดก: โจทก์ไม่มีส่วนร่วมในการทำมาหากินกับผู้ตาย จึงไม่มีสิทธิเรียกร้อง
แม้ที่ดินและหุ้นจะได้มาในระหว่างโจทก์อยู่กินฉันสามีภริยากับผู้ตาย แต่เมื่อโจทก์กับผู้ตายไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน ที่ดินและหุ้นดังกล่าวจึงไม่ใช่ทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรส อันจะถือเป็นสินสมรส ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1474 (1) แม้ศาลจะมีคำสั่งตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายก็ฟังข้อเท็จจริงเพียงว่า เมื่อโจทก์เป็นภริยาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย โจทก์อาจมีสิทธิเป็นเจ้าของร่วมกันในทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกับผู้ตายจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่จะขอตั้งผู้จัดการมรดกได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1713 เป็นการรับฟังข้อเท็จจริงในเรื่องการมีส่วนได้เสียเพียงเพื่อวินิจฉัยว่า โจทก์มีสิทธิร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกและควรตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายหรือไม่เท่านั้น แต่ไม่มีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่าที่ดินและหุ้นที่โจทก์ฟ้องขอแบ่งในคดีนี้เป็นทรัพย์สินที่โจทก์ร่วมทำมาหาได้กับผู้ตายหรือไม่ คำพิพากษาคดีดังกล่าวจึงไม่ผูกพันคู่ความให้ต้องรับฟังว่าที่ดินและหุ้นที่โจทก์ฟ้องขอแบ่งในคดีนี้เป็นทรัพย์สินที่โจทก์ทำมาหาได้ร่วมกับผู้ตายและโจทก์มีกรรมสิทธิ์ร่วมกึ่งหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12164/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักกลบลบหนี้ในกระบวนการฟื้นฟูกิจการและผลกระทบต่อสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้
ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2543 จำเลยยื่นคำขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการของบริษัท พ. (เจ้าหนี้รายที่ 131) จำนวน 5,067,601,483.97 บาท ผู้ทำแผนของบริษัท พ. โต้แย้งคำขอรับชำระหนี้ดังกล่าว ต่อมาจำเลยขอถอนคำขอรับชำระหนี้บางส่วนคงเหลือหนี้ที่ขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการของบริษัท พ. จำนวน 1,589,191,974.13 บาท ต่อมาวันที่ 5 และ 30 กันยายน 2544 ผู้บริหารแผนของจำเลยมีหนังสือถึงบริษัท พ. เพื่อขอหักกลบลบหนี้ตามคำขอรับชำระหนี้ของบริษัท พ. เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำสั่งยกคำร้อง จำเลยอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าสิทธิเรียกร้องของจำเลยในหนี้ดังกล่าวยังมีข้อต่อสู้อยู่เนื่องจากบริษัท พ. โต้แย้งคำขอรับชำระหนี้ของจำเลยและยังอยู่ในระหว่างการดำเนินการตามขั้นตอนของ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 จึงไม่อาจจะเอามาหักกลบลบหนี้ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 344 ต่อมาเมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำสั่งให้จำเลยได้รับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการของบริษัท พ. ในมูลหนี้ค่าก่อสร้างค้างจ่ายและเงินทดรองจ่ายค้างจ่าย การคืนเงินค้ำประกันและมัดจำต่าง ๆ เงินชดเชยความเสียหายตามสัญญารับจ้างช่วงลงวันที่ 1 ตุลาคม 2552 เป็นเงินทั้งสิ้น 1,389,191,974.13 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 1,388,831,921.18 บาท นับแต่วันถัดจากวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้เป็นต้นไปจนกว่าชำระเสร็จ หนี้ของจำเลยจึงไม่มีข้อต่อสู้แล้ว ดังนั้น เมื่อผู้บริหารแผนของจำเลยมีหนังสือลงวันที่ 16 มีนาคม 2547 ถึงผู้บริหารแผนของบริษัท พ. เพื่อขอหักกลบลบหนี้อีกครั้ง การแสดงเจตนาดังกล่าวจึงมีผลย้อนหลังขึ้นไปจนถึงเวลาซึ่งหนี้ทั้งสองฝ่ายจะอาจหักกลบลบกันได้เป็นครั้งแรก ซึ่งคือ วันที่ 5 และ 30 กันยายน 2544 อันเป็นเวลาก่อนที่ศาลฎีกามีคำพิพากษากลับคำสั่งศาลล้มละลายกลางเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2545 เป็นเห็นชอบด้วยแผนฟื้นฟูกิจการของบริษัท พ. ทั้งสิทธิเรียกร้องของจำเลยและบริษัท พ. ต่างเกิดก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของบริษัท พ. (วันที่ 12 มิถุนายน 2543) ผู้บริหารแผนของจำเลยจึงชอบที่จะใช้สิทธิหักกลบลบหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/33 ได้ ดังนั้น มูลหนี้ของบริษัท พ. จึงหมดสิ้นไปตั้งแต่วันที่แจ้งหักกลบลบหนี้ครั้งแรก เมื่อบริษัท พ. ได้รับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการของจำเลยโดยการหักกลบลบหนี้ไปแล้ว บริษัท พ. จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องตามมูลหนี้ดังกล่าวที่จะทำสัญญาซื้อขายในวันที่ 31 ตุลาคม 2548 และโอนสิทธิเรียกร้องนั้นให้แก่โจทก์ต่อไป การที่จำเลยใช้สิทธิหักกลบลบหนี้ในการชำระหนี้ตามแผนฟื้นฟูกิจการให้แก่บริษัท พ. จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1211/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสิทธิเรียกร้องค่าเช่าเวลาและภาษีมูลค่าเพิ่มจากการให้เช่าเวลาออกอากาศทางวิทยุโทรทัศน์
แม้สถานีวิทยุโทรทัศน์ ก. ซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งของโจทก์ มีกิจการคือการส่งหรือออกอากาศทางวิทยุโทรทัศน์ แต่การที่สถานีวิทยุโทรทัศน์ ก. ให้เอกชนซึ่งเป็นผู้จัดรายการเช่าเวลาเพื่อออกอากาศรายการโดยมีค่าตอบแทนเป็นรายได้จากการเรียกเอาสินจ้างที่เรียกว่าค่าเช่าเวลา และเป็นปกติธุระที่สถานีวิทยุโทรทัศน์ ก. ให้ผู้จัดรายการมากมายหลายรายเช่าเวลา เพื่อออกอากาศรายการที่ผู้จัดรายการแต่ละรายการนำเทปบันทึกรายการที่ตนรับผิดชอบในการผลิตมาส่งให้สถานีวิทยุโทรทัศน์ ก. ออกอากาศให้ โดยสถานีวิทยุโทรทัศน์ ก. เรียกเอาสินจ้างเป็นรายได้ ทั้งเมื่อพิจารณาระเบียบของโจทก์ว่าด้วยวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ.2536 แล้ว ไม่มีข้อห้ามหรือข้อจำกัดว่าสถานีวิทยุโทรทัศน์ ก. ไม่สามารถหารายได้จากการดำเนินการหรือประกอบกิจการตามวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ หรือไม่สามารถให้เอกชนผู้จัดรายการเช่าเวลาที่ออกอากาศ แต่กลับมีข้อที่แสดงให้เห็นว่า สถานีวิทยุโทรทัศน์ ก. สามารถหารายได้ด้วยการเรียกเอาสินจ้างค่าเช่าเวลาจากการให้เอกชนซึ่งเป็นผู้จัดรายการเช่าเวลาเพื่อออกอากาศรายการได้ โดยมีข้อจำกัดเพียงว่าการกำหนดหรือปรับอัตราค่าเช่าเวลาจะต้องทำตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนด ถือได้ว่าสถานีวิทยุโทรทัศน์ ก. เป็นผู้ประกอบธุรกิจในการส่งหรือออกอากาศรายการวิทยุโทรทัศน์ ซึ่ง ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (7) บัญญัติให้สิทธิเรียกเอาสินจ้างที่สถานีวิทยุโทรทัศน์ ก. เรียกว่าค่าเช่าเวลา มีกำหนด 2 ปี โจทก์ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดอายุความแล้ว คดีโจทก์จึงขาดอายุความ ทั้งเมื่อสิทธิเรียกร้องค่าเช่าเวลาและค่าเสียภาษีมูลค่าเพิ่มของโจทก์ซึ่งเป็นส่วนที่เป็นประธานขาดอายุความ สิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยซึ่งเป็นส่วนอุปกรณ์ย่อมขาดอายุความด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/26
of 174