พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,733 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4205/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องชำระหนี้ค่าหุ้นค้างชำระ การให้การปฏิเสธฟ้องที่ไม่ชัดเจน และการใช้สิทธิเรียกร้องแทนลูกหนี้
คำให้การจำเลยและจำเลยร่วมที่ว่า นอกจากจำเลยจะให้การไว้โดยชัดแจ้งแล้ว จำเลยขอให้การปฏิเสธฟ้องของโจทก์ทั้งสิ้น เป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้งว่าปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ส่วนใด ด้วยเหตุผลอย่างใด ย่อมถือไม่ได้ว่าจำเลยและจำเลยร่วมให้การปฏิเสธข้ออ้างตามคำฟ้องของโจทก์เกี่ยวกับการที่จำเลยชำระค่าหุ้นที่ค้างชำระแล้วหรือไม่ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระค่าหุ้นค้างชำระแก่จำเลยร่วม จำเลยมิได้ต่อสู้ว่า จำเลยชำระค่าหุ้นค้างชำระแก่จำเลยร่วมแล้ว คดีจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยชำระค่าหุ้นแก่จำเลยร่วมครบถ้วนแล้วหรือไม่ ไม่เป็นประเด็นที่จำเลยและจำเลยร่วมต้องนำสืบ แม้จำเลยจะนำสืบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการนำเงินของจำเลยชำระหนี้แก่ธนาคารว่าเป็นการนำเงินค่าหุ้นค้างชำระของจำเลยไปชำระ ก็เป็นข้อเท็จจริงที่ไม่เกี่ยวกับประเด็นข้อพิพาทที่คู่ความจะต้องนำสืบ ต้องห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานหลักฐานดังกล่าวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87 (1)
จำเลยยังไม่ชำระค่าหุ้นตามฟ้องแก่จำเลยร่วมและจำเลยร่วมไม่มีทรัพย์สินพอชำระหนี้แก่โจทก์ และผู้ชำระบัญชีของจำเลยร่วมขัดขืนไม่ยอมใช้สิทธิเรียกร้องหรือเพิกเฉยเสียไม่ใช้สิทธิเรียกร้อง เป็นเหตุให้เจ้าหนี้คือโจทก์เสียเปรียบ โจทก์จะใช้สิทธิเรียกร้องนั้นในนามของตนเองแทนลูกหนี้เพื่อป้องกันสิทธิของตนในมูลหนี้นั้นก็ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 233
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระค่าหุ้นค้างชำระแก่จำเลยร่วม จำเลยมิได้ต่อสู้ว่า จำเลยชำระค่าหุ้นค้างชำระแก่จำเลยร่วมแล้ว คดีจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยชำระค่าหุ้นแก่จำเลยร่วมครบถ้วนแล้วหรือไม่ ไม่เป็นประเด็นที่จำเลยและจำเลยร่วมต้องนำสืบ แม้จำเลยจะนำสืบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการนำเงินของจำเลยชำระหนี้แก่ธนาคารว่าเป็นการนำเงินค่าหุ้นค้างชำระของจำเลยไปชำระ ก็เป็นข้อเท็จจริงที่ไม่เกี่ยวกับประเด็นข้อพิพาทที่คู่ความจะต้องนำสืบ ต้องห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานหลักฐานดังกล่าวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87 (1)
จำเลยยังไม่ชำระค่าหุ้นตามฟ้องแก่จำเลยร่วมและจำเลยร่วมไม่มีทรัพย์สินพอชำระหนี้แก่โจทก์ และผู้ชำระบัญชีของจำเลยร่วมขัดขืนไม่ยอมใช้สิทธิเรียกร้องหรือเพิกเฉยเสียไม่ใช้สิทธิเรียกร้อง เป็นเหตุให้เจ้าหนี้คือโจทก์เสียเปรียบ โจทก์จะใช้สิทธิเรียกร้องนั้นในนามของตนเองแทนลูกหนี้เพื่อป้องกันสิทธิของตนในมูลหนี้นั้นก็ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 233
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2417/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายสิทธิเรียกร้องในคดีล้มละลาย การโอนสิทธิและอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายจากสัญญาเช่าซื้อ
ตามสัญญาซื้อขายสิทธิเรียกร้อง ข้อ 1 ระบุว่า โจทก์ได้ซื้อสิทธิเรียกร้องของผู้ล้มละลายทั้งกลุ่มประเภทหนี้ตามมูลหนี้สัญญาเช่าซื้อจำนวนลูกหนี้แห่งสิทธิเรียกร้อง 942 ราย (กลุ่ม จ) ตามประกาศของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ และข้อ 5 ระบุว่า เมื่อได้ชำระราคาครบถ้วนแล้วจึงจะถือว่าสัญญาฉบับนี้เป็นหลักฐานการโอนสิทธิเรียกร้องและถือว่าการโอนสิทธิเรียกร้องบริบูรณ์ โจทก์จะได้รับโอนสิทธิเรียกร้องเท่ากับสิทธิเรียกร้องที่ผู้ล้มละลายมีอยู่ในขณะที่การโอนสิทธิเรียกร้องบริบูรณ์โดยไม่มีเงื่อนไขหรือข้อจำกัดเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องตามมูลหนี้ที่ซื้อขาย ย่อมแสดงว่าการซื้อขายสิทธิเรียกร้องรายนี้ คู่สัญญาประสงค์ที่จะซื้อขายสิทธิเรียกร้องที่ผู้ล้มละลายมีต่อลูกหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกันทั้งสัญญา หากสิทธิเรียกร้องของผู้ล้มละลายต่อจำเลยที่ 1 และ ห. ผู้ค้ำประกัน ตามสัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกันมีอยู่เพียงใด โจทก์ซึ่งซื้อสิทธิเรียกร้องดังกล่าวมาก็ย่อมรับโอนมาทั้งสิทธิและหน้าที่เท่าที่สิทธิและหน้าที่ของผู้ล้มละลายมีอยู่เพียงนั้น
สัญญาเช่าซื้อข้อ 6 กำหนดว่า เมื่อผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อสองงวดติด ๆ กัน เมื่อปรากฏหลักฐานเป็นหนังสือบอกกล่าวของเจ้าของแล้ว แต่ผู้เช่าซื้อละเลยหรือเพิกเฉยเสีย และไม่ปฏิบัติตามภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือนั้น เจ้าของมีสิทธิโดยชอบด้วยกฎหมายที่จะบอกเลิกการเช่าซื้อ แสดงว่าเมื่อผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อสองงวดติด ๆ กัน ต้องปรากฏหลักฐานเป็นหนังสือบอกกล่าวของผู้ให้เช่าซื้อให้ชำระค่าเช่าซื้อเสียก่อนถ้าไม่ชำระภายใน 30 วัน ผู้ให้เช่าซื้อจึงจะมีสิทธิบอกเลิกการเช่าซื้อ และเมื่อผู้ให้เช่าซื้อบอกเลิกการเช่าซื้อแล้ว สัญญาเช่าซื้อจึงจะสิ้นสุดลง มิใช่ว่าเมื่อผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อสองงวดติด ๆ กันแล้ว สัญญาเช่าซื้อสิ้นสุดลงโดยไม่ต้องปรากฏหลักฐานการบอกกล่าวเป็นหนังสือและการบอกเลิกสัญญาดังกล่าวก่อน การที่ผู้ให้เช่าซื้อไม่ดำเนินการตามขั้นตอนการบอกกล่าวทวงถามและการบอกเลิกสัญญา แต่ได้ไปยึดรถยนต์ที่ให้เช่าซื้อคืนโดยไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้โต้แย้งคัดค้าน ถือว่าคู่สัญญาสมัครใจเลิกสัญญากันโดยปริยาย และการที่จำเลยที่ 1 ได้ใช้รถยนต์ที่เช่าซื้อก่อนเลิกสัญญาโดยไม่ได้ชำระค่าเช่าซื้อนั้น จำเลยที่ 1 จำต้องใช้เงินเป็นค่าใช้ทรัพย์ให้แก่ผู้ให้เช่าซื้อตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคท้าย พร้อมดอกเบี้ย ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษาให้จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดใช้ค่าขาดราคานั้นไม่ถูกต้อง จำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิดใช้ค่าขาดราคาซึ่งเป็นค่าเสียหายที่โจทก์อาจเรียกร้องได้ในกรณีที่มีการผิดสัญญาและบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อโดยชอบ ปัญหาว่าโจทก์มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายเรื่องใดได้หรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
สัญญาเช่าซื้อข้อ 6 กำหนดว่า เมื่อผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อสองงวดติด ๆ กัน เมื่อปรากฏหลักฐานเป็นหนังสือบอกกล่าวของเจ้าของแล้ว แต่ผู้เช่าซื้อละเลยหรือเพิกเฉยเสีย และไม่ปฏิบัติตามภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือนั้น เจ้าของมีสิทธิโดยชอบด้วยกฎหมายที่จะบอกเลิกการเช่าซื้อ แสดงว่าเมื่อผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อสองงวดติด ๆ กัน ต้องปรากฏหลักฐานเป็นหนังสือบอกกล่าวของผู้ให้เช่าซื้อให้ชำระค่าเช่าซื้อเสียก่อนถ้าไม่ชำระภายใน 30 วัน ผู้ให้เช่าซื้อจึงจะมีสิทธิบอกเลิกการเช่าซื้อ และเมื่อผู้ให้เช่าซื้อบอกเลิกการเช่าซื้อแล้ว สัญญาเช่าซื้อจึงจะสิ้นสุดลง มิใช่ว่าเมื่อผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อสองงวดติด ๆ กันแล้ว สัญญาเช่าซื้อสิ้นสุดลงโดยไม่ต้องปรากฏหลักฐานการบอกกล่าวเป็นหนังสือและการบอกเลิกสัญญาดังกล่าวก่อน การที่ผู้ให้เช่าซื้อไม่ดำเนินการตามขั้นตอนการบอกกล่าวทวงถามและการบอกเลิกสัญญา แต่ได้ไปยึดรถยนต์ที่ให้เช่าซื้อคืนโดยไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้โต้แย้งคัดค้าน ถือว่าคู่สัญญาสมัครใจเลิกสัญญากันโดยปริยาย และการที่จำเลยที่ 1 ได้ใช้รถยนต์ที่เช่าซื้อก่อนเลิกสัญญาโดยไม่ได้ชำระค่าเช่าซื้อนั้น จำเลยที่ 1 จำต้องใช้เงินเป็นค่าใช้ทรัพย์ให้แก่ผู้ให้เช่าซื้อตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคท้าย พร้อมดอกเบี้ย ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษาให้จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดใช้ค่าขาดราคานั้นไม่ถูกต้อง จำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิดใช้ค่าขาดราคาซึ่งเป็นค่าเสียหายที่โจทก์อาจเรียกร้องได้ในกรณีที่มีการผิดสัญญาและบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อโดยชอบ ปัญหาว่าโจทก์มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายเรื่องใดได้หรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 19692/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของพนักงานอัยการ และอายุความของสิทธิเรียกร้องค่าก๊าซและเบี้ยปรับ
โจทก์มีสภาพเป็นรัฐวิสาหกิจตาม พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ พ.ศ.2502 ถือว่าโจทก์เป็นหน่วยงานของรัฐตาม พ.ร.บ.ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ.2545 มาตรา 46 (9) และ พ.ร.ฎ.แบ่งส่วนราชการสำนักงานอัยการสูงสุด พ.ศ.2540 มาตรา 4 กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุดเข้าว่าต่างและแก้ต่างคดีแทนโจทก์ได้ และพนักงานอัยการเป็นผู้ปฏิบัติราชการให้สำนักงานอัยการสูงสุด โดยอำนาจและหน้าที่ตาม พ.ร.บ.พนักงานอัยการ พ.ศ.2498 (เดิม) มาตรา 11 กำหนด เมื่อโจทก์แต่งตั้งพนักงานอัยการให้ทำหน้าที่ทนายความ พนักงานอัยการจึงมีอำนาจฟ้องและดำเนินคดีแทนโจทก์ได้ตาม พ.ร.บ.พนักงานอัยการ พ.ศ.2498 มาตรา 11 (2)
จำเลยประกอบกิจการอุตสาหกรรมการผลิตและจำหน่ายกระดาษ จำเลยซื้อก๊าซจากโจทก์เพื่อนำไปใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าและความร้อนภายในโรงงานของจำเลยเพื่อผลิตกระดาษอันเป็นกิจการของจำเลย จึงเป็นกรณีโจทก์ ผู้ประกอบการค้าเรียกเอาค่าของที่ได้ส่งมอบให้จำเลยทำเพื่อกิจการของฝ่ายจำเลยนั้นเอง สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในเงินค่าก๊าซที่จำเลยค้างชำระแก่โจทก์ จึงมีกำหนดอายุความ 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (5)
แม้พฤติการณ์ที่โจทก์ปิดวาล์วก๊าซ ถือว่าโจทก์ในฐานะคู่สัญญาได้ใช้สิทธิเลิกสัญญาซื้อขายก๊าซแล้วคู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคหนึ่ง แต่กรณีก็เป็นการเลิกสัญญาเพราะจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระเบี้ยปรับซึ่งเป็นค่าเสียหายจากการผิดสัญญาซื้อขายก๊าซของจำเลย ซึ่งได้เกิดขึ้นและยังมีอยู่ตลอดไปจนกว่าโจทก์จะได้รับชำระหนี้จากจำเลยโดยสิ้นเชิง การเลิกสัญญาดังกล่าวหาได้ทำให้สิทธิเรียกร้องเอาเบี้ยปรับจากจำเลยระงับไปไม่ ดังนั้น โจทก์จึงมีสิทธิเรียกเอาเบี้ยปรับตามที่กำหนดไว้ในสัญญาซื้อขายก๊าซจากจำเลยได้
จำเลยประกอบกิจการอุตสาหกรรมการผลิตและจำหน่ายกระดาษ จำเลยซื้อก๊าซจากโจทก์เพื่อนำไปใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าและความร้อนภายในโรงงานของจำเลยเพื่อผลิตกระดาษอันเป็นกิจการของจำเลย จึงเป็นกรณีโจทก์ ผู้ประกอบการค้าเรียกเอาค่าของที่ได้ส่งมอบให้จำเลยทำเพื่อกิจการของฝ่ายจำเลยนั้นเอง สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในเงินค่าก๊าซที่จำเลยค้างชำระแก่โจทก์ จึงมีกำหนดอายุความ 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (5)
แม้พฤติการณ์ที่โจทก์ปิดวาล์วก๊าซ ถือว่าโจทก์ในฐานะคู่สัญญาได้ใช้สิทธิเลิกสัญญาซื้อขายก๊าซแล้วคู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคหนึ่ง แต่กรณีก็เป็นการเลิกสัญญาเพราะจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระเบี้ยปรับซึ่งเป็นค่าเสียหายจากการผิดสัญญาซื้อขายก๊าซของจำเลย ซึ่งได้เกิดขึ้นและยังมีอยู่ตลอดไปจนกว่าโจทก์จะได้รับชำระหนี้จากจำเลยโดยสิ้นเชิง การเลิกสัญญาดังกล่าวหาได้ทำให้สิทธิเรียกร้องเอาเบี้ยปรับจากจำเลยระงับไปไม่ ดังนั้น โจทก์จึงมีสิทธิเรียกเอาเบี้ยปรับตามที่กำหนดไว้ในสัญญาซื้อขายก๊าซจากจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 19416/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อนในคดีแรงงาน: สิทธิเรียกร้องต่างมูลหนี้จากการเลิกจ้างและการทำงาน
คดีก่อนโจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมและมีคำขอเรียกเงินที่เกี่ยวเนื่องจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมอันเป็นค่าเสียหายที่มีมูลหนี้หรือสิทธิเรียกร้องเกี่ยวกับการเลิกจ้าง คดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าตอบแทนที่โจทก์ทำงานในตำแหน่งเลขานุการผู้อำนวยการโรงเรียนและค่าเสียหายที่จำเลยทำละเมิดต่อโจทก์ อันเป็นค่าเสียหายที่โจทก์มีสิทธิเรียกร้องเมื่อโจทก์ปฏิบัติงานให้แก่จำเลย จึงเป็นสิทธิเรียกร้องในมูลหนี้ต่างรายกัน คำฟ้องคดีนี้จึงไม่ใช่ฟ้องซ้อนคดีก่อน ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15977/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีประกันภัย: นับแต่วันที่ผู้เอาประกันภัยรู้ตัวผู้ละเมิด ไม่ใช่วันที่ผู้รับประกันภัยรู้
สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยรถยนต์ที่เสียหาย ที่ได้จ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้รับประโยชน์และอยู่ในฐานะผู้เข้ารับช่วงสิทธิจากผู้เอาประกันภัยที่มีอยู่ในมูลหนี้ต่อบุคคลภายนอก ตาม ป.พ.พ. มาตรา 880 ประกอบ 226 วรรคหนึ่งนั้น ในการนับอายุความของโจทก์ดังกล่าว ต้องนับตามสิทธิของผู้เอาประกันภัย คดีนี้เมื่อสิทธิของผู้เอาประกันภัยที่จะฟ้องมีอายุความ 1 ปี นับแต่วันที่รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคหนึ่ง โจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยที่เข้ารับช่วงสิทธิ ก็ย่อมมีสิทธิเช่นเดียวกับผู้เอาประกันภัย คือ ต้องฟ้องภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ผู้เอาประกันภัยหรือตัวแทนของผู้เอาประกันได้รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้ที่จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวเช่นกัน หาใช่นับอายุความ ตั้งแต่วันที่โจทก์รู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทนไม่ เมื่อได้ความว่า ผู้ขับรถคันที่โจทก์รับประกัน ซึ่งถือเป็นตัวแทนของผู้เอาประกันภัยได้รู้ตัวผู้ขับรถยนต์อีกฝ่ายว่าเป็นผู้ใดในวันที่ 3 เมษายน 2546 ซึ่งเป็นวันที่พนักงานสอบสวนนัดผู้ขับรถของผู้เอาประกันมาตกลงกับจำเลยที่ 1 และเป็นวันที่ผู้ขับรถของผู้เอาประกันภัยพบกับพนักงานตรวจสอบอุบัติเหตุของโจทก์เป็นครั้งแรก ฉะนั้น เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 8 ธันวาคม 2548 จึงเกินกว่า 1 ปี เมื่อนับแต่วันที่ 3 เมษายน 2546 ดังกล่าว คดีโจทก์จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14919/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายทางแพ่งในคดีอาญา: จำเป็นต้องให้ผู้เสียหายสืบพยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์ความเสียหาย
โจทก์ร่วมยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าปลงศพ ค่าใช้จ่ายในการจัดการศพ และค่าขาดไร้อุปการะ โจทก์ร่วมจึงมีภาระการพิสูจน์ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับค่าสินไหมทดแทนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 84/1 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 40 แต่ปรากฏตามรายงานกระบวนพิจารณาว่าศาลชั้นต้นไม่ได้ให้โจทก์ร่วมนำพยานเข้าสืบในคดีส่วนแพ่งและโจทก์ร่วมก็ไม่ได้แถลงว่าไม่ติดใจสืบพยานในคดีส่วนแพ่ง แม้ ป.วิ.อ. มาตรา 44/2 บัญญัติว่า "...และเมื่อพนักงานอัยการสืบพยานเสร็จ ศาลจะอนุญาตให้ผู้เสียหายนำพยานเข้าสืบถึงค่าสินไหมทดแทนได้เท่าที่จำเป็น..." ซึ่งกำหนดให้เป็นดุลพินิจของศาลชั้นต้นที่จะอนุญาตให้โจทก์ร่วมนำพยานเข้าสืบถึงค่าสินไหมทดแทนเพิ่มเติมได้เท่าที่จำเป็นก็ตาม แต่กรณีดังกล่าวต้องเป็นกรณีที่พนักงานอัยการโจทก์นำสืบเกี่ยวกับการกระทำความผิดของจำเลยและความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่โจทก์แล้ว เมื่อคดีนี้พนักงานอัยการโจทก์ไม่ได้นำพยานเข้าสืบเกี่ยวกับการกระทำความผิดของจำเลย เนื่องจากจำเลยให้การรับสารภาพและไม่ใช่คดีที่กฎหมายกำหนดอัตราโทษอย่างต่ำไว้ให้จำคุกตั้งแต่ห้าปีตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง เช่นนี้ ศาลชั้นต้นต้องให้โจทก์ร่วมนำพยานเข้าสืบถึงค่าสินไหมทดแทนตามคำร้องของโจทก์ร่วม เมื่อศาลชั้นต้นไม่ดำเนินการดังกล่าวแล้วกำหนดค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ร่วมโดยวินิจฉัยตามสมควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 438 วรรคหนึ่ง จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาคดีไปโดยไม่ชอบ จึงต้องยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 6 ในคดีส่วนแพ่ง แล้วย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานโจทก์ร่วมและจำเลยแล้วพิพากษาในคดีส่วนแพ่งใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14174/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความมรดกและการใช้สิทธิของทายาทโดยธรรมในการยกอายุความต่อสู้คดี
โจทก์ฟ้องเพิกถอนนิติกรรมระหว่าง อ. กับจำเลย โดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า โจทก์เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของ ก. และ อ. ที่ดินพิพาทเป็นสินสมรสของบิดามารดาโจทก์ เมื่อ ก. บิดาของโจทก์ถึงแก่ความตายที่ดินพิพาทจึงเป็นมรดกตกทอดมายังโจทก์ในฐานะทายาทโดยธรรมของ ก. ด้วย แต่ อ. มารดาโจทก์กลับจดทะเบียนยกที่ดินทั้งแปลงให้แก่จำเลยโดยเสน่หา โดยโจทก์มิได้รู้เห็นยินยอม จำเลยให้การต่อสู้ว่าโจทก์ไม่ใช่บุตรชอบด้วยกฎหมายของ ก. และ อ. จึงไม่มีอำนาจฟ้องและคดีโจทก์ขาดอายุความมรดกแล้ว คดีจึงมีประเด็นพิพาทว่า โจทก์เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของ ก. และเป็นทายาทโดยธรรมมีสิทธิรับมรดกในที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของ ก. หรือไม่ จึงเป็นการฟ้องคดีมรดกตกอยู่ในบังคับแห่งอายุความมรดกซึ่งห้ามมิให้ฟ้องคดีมรดก เมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปี นับแต่เมื่อเจ้ามรดกตาย หรือนับแต่เมื่อทายาทโดยธรรมได้รู้หรือควรรู้ถึงความตายของเจ้ามรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคหนึ่ง อีกทั้งยังอยู่ในบังคับแห่ง มาตรา 1754 วรรคสี่ ที่บัญญัติว่า "ถึงอย่างไรก็ดี สิทธิเรียกร้องตามที่ว่ามาในวรรคก่อน ๆ นั้น มิให้ฟ้องร้องเมื่อพ้นกำหนดสิบปี นับแต่เมื่อเจ้ามรดกตาย" แม้ตามคำฟ้องจะไม่ปรากฏว่า ก. ถึงแก่ความตายเมื่อใด แต่ตามคำฟ้องระบุว่า ก. ถึงแก่ความตายก่อนวันที่ 15 มีนาคม 2517 ที่ อ. ยื่นคำร้องขอรังวัดออกโฉนดที่ดินพิพาท เมื่อคำนวณนับถึงวันฟ้องวันที่ 5 เมษายน 2550 พ้นกำหนดสิบปี นับแต่ ก. ถึงแก่ความตายแล้ว คดีโจทก์จึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคสี่ แม้จำเลยจะมิใช่ทายาทหรือผู้จัดการมรดกของ ก. ก็ตาม แต่ อ. ผู้โอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยเป็นคู่สมรสซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของ ก. ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1635 จำเลยจึงเป็นบุคคลซึ่งชอบที่จะใช้สิทธิของ อ. ทายาทโดยธรรมของ ก. ยกอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1755
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13273/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาแบ่งทรัพย์มรดก: สิทธิเรียกร้องตามบันทึกข้อตกลงไม่ใช่คดีมรดก อายุความ 10 ปี
แม้ จ. จะทำพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองยกที่ดินตามโฉนดที่ดินเลขที่ 1407 ให้จำเลยคนเดียวก็ตาม แต่ในขณะที่ จ. ยังมีชีวิตอยู่พินัยกรรมยังไม่มีผลบังคับ จ. ผู้ทำพินัยกรรมสามารถทำนิติกรรมผูกพันทรัพย์ที่ระบุไว้ในพินัยกรรมได้ เมื่อโจทก์ทั้งสอง จำเลย และ จ. ได้ร่วมกันทำบันทึกข้อตกลงขึ้นโดยมีสาระสำคัญให้ จ. ขายที่ดินตามโฉนดที่ดินเลขที่ 1391 และ 1407 แล้วนำเงินมาแบ่งกันคนละหนึ่งส่วนเท่า ๆ กัน บันทึกข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นสัญญาที่ผูกพันผู้ร่วมทำบันทึกข้อตกลงทุกคนให้ต้องปฏิบัติตาม จ. จึงมีหน้าที่ต้องขายที่ดินตามโฉนดที่ดินเลขที่ 1407 แล้วนำเงินมาแบ่งกันระหว่างโจทก์ทั้งสองและจำเลย
จ. ถึงแก่ความตาย โจทก์ทั้งสองและจำเลยในฐานะคู่สัญญาก็ยังต้องผูกพันปฏิบัติตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าว การที่จำเลยไปรับโอนที่ดินตามโฉนดที่ดินเลขที่ 1407 เป็นของตนแต่เพียงผู้เดียวจึงเป็นการฝ่าฝืนบันทึกข้อตกลง โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีนี้เป็นการฟ้องให้ปฏิบัติตามบันทึกข้อตกลงจึงไม่ใช่คดีมรดก จำเลยไม่อาจยกเรื่องอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 มาตัดฟ้องได้ เพราะโจทก์ทั้งสองมิได้ฟ้องเรียกทรัพย์จากจำเลยในฐานะที่จำเลยเป็นทายาทของ จ. แต่เป็นการฟ้องให้ปฏิบัติตามบันทึกข้อตกลงซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ สิทธิเรียกร้องตามคำฟ้องของโจทก์จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
จ. ถึงแก่ความตาย โจทก์ทั้งสองและจำเลยในฐานะคู่สัญญาก็ยังต้องผูกพันปฏิบัติตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าว การที่จำเลยไปรับโอนที่ดินตามโฉนดที่ดินเลขที่ 1407 เป็นของตนแต่เพียงผู้เดียวจึงเป็นการฝ่าฝืนบันทึกข้อตกลง โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีนี้เป็นการฟ้องให้ปฏิบัติตามบันทึกข้อตกลงจึงไม่ใช่คดีมรดก จำเลยไม่อาจยกเรื่องอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 มาตัดฟ้องได้ เพราะโจทก์ทั้งสองมิได้ฟ้องเรียกทรัพย์จากจำเลยในฐานะที่จำเลยเป็นทายาทของ จ. แต่เป็นการฟ้องให้ปฏิบัติตามบันทึกข้อตกลงซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ สิทธิเรียกร้องตามคำฟ้องของโจทก์จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1311-1312/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิลูกจ้างในการเรียกร้องค่าจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน: การใช้สิทธิทางศาลหรือพนักงานตรวจแรงงาน
กรณีที่นายจ้างฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเกี่ยวกับสิทธิได้รับเงินตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ลูกจ้างเลือกใช้สิทธิเรียกร้องให้นายจ้างปฏิบัติตามกฎหมายได้ 2 ทาง โดยยื่นฟ้องคดีต่อศาลหรือยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน แต่เมื่อเลือกใช้สิทธิทางใดแล้วก็ต้องดำเนินการในทางนั้นจนสิ้นสุดกระบวนการ ไม่สามารถใช้สิทธิ 2 ทาง พร้อมกันได้
วันที่ 15 พฤศจิกายน 2547 โจทก์ทั้งสองยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน แต่พนักงานตรวจแรงงานไม่ได้มีคำสั่งภายในระยะเวลาตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ฯ มาตรา 124 วรรคหนึ่งและวรรคสอง เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าวแล้วในวันที่ 6 พฤษภาคม 2548 โจทก์ทั้งสองยื่นฟ้องต่อศาลแรงงานภาค 6 ขอให้บังคับจำเลยจ่ายเงินเช่นเดียวกับที่ยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน ต่อมาวันที่ 1 มิถุนายน 2548 พนักงานตรวจแรงงานยุติเรื่องโดยไม่ได้มีคำสั่ง เป็นกรณีที่พนักงานตรวจแรงงานยังไม่มีคำสั่ง โจทก์ทั้งสองจึงไม่อยู่ในบังคับต้องนำคดีไปสู่ศาลภายใน 30 วัน นับแต่วันทราบคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานตามมาตรา 125 วรรคหนึ่ง การที่พนักงานตรวจแรงงานยุติเรื่องทำให้กระบวนพิจารณาในชั้นพนักงานตรวจแรงงานยกเลิกไปทั้งหมด โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีจึงไม่เป็นการใช้สิทธิซ้ำซ้อนกับเรียกร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน โจทก์ทั้งสองจึงมีอำนาจฟ้อง
ขณะโจทก์ทั้งสองฟ้องศาลแรงงานภาค 6 เปิดทำการแล้วแต่ยังไม่มีผู้พิพากษาสมทบ ศาลแรงงานภาค 6 จึงโอนคดีไปยังศาลแรงงานกลาง หลังจากศาลแรงงานกลางเสร็จการพิจารณาและนัดฟังคำพิพากษาปรากฏว่าศาลแรงงานภาค 6 มีผู้พิพากษาสมทบพร้อมปฏิบัติหน้าที่แล้ว ศาลแรงงานภาค 6 จึงขอให้ศาลแรงงานกลางโอนคดีกลับมาพิจารณาพิพากษา เมื่อโอนคดีกลับมาแล้วผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางย่อมหมดอำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีนี้ แม้รัฐธรรมนูญราชอาณาจักรไทย (พ.ศ.2540) มาตรา 236 บัญญัติว่าผู้พิพากษาซึ่งมิได้นั่งพิจารณาคดีใดจะทำคำพิพากษาหรือคำวินิจฉัยคดีนั้นมิได้ แต่มีข้อยกเว้นในกรณีมีเหตุสุดวิสัยหรือเหตุจำเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้ตามที่กฎหมายบัญญัติ ดังนั้นการที่ ช. และ ร. ผู้พิพากษาสมทบของศาลแรงงานภาค 6 ไม่เคยนั่งพิจารณาคดีนี้ถือได้ว่ามีเหตุจำเป็นอื่น อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานภาค 6 ผู้มีอำนาจตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 16 ย่อมมีอำนาจจัดให้ผู้พิพากษาสมทบอื่นเข้าปฏิบัติการแทนได้ตามมาตรา 20 ช. และ ร. ผู้พิพากษาสมทบองค์คณะในคำพิพากษาศาลแรงงานภาค 6 จึงมีอำนาจวินิจฉัยและทำคำพิพากษาได้ ส่วน น. ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลแรงงานภาค 6 ซึ่งนั่งพิจารณาคดีมาโดยตลอดตั้งแต่ต้นก็ได้รับคำสั่งให้ช่วยทำงานชั่วคราวในตำแห่นงผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลแรงงานกลางอีกตำแหน่งหนึ่งก่อนโจทก์ทั้งสองฟ้องคดี น. จึงมีอำนาจวินิจฉัยและทำคำพิพากษาได้
วันที่ 15 พฤศจิกายน 2547 โจทก์ทั้งสองยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน แต่พนักงานตรวจแรงงานไม่ได้มีคำสั่งภายในระยะเวลาตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ฯ มาตรา 124 วรรคหนึ่งและวรรคสอง เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าวแล้วในวันที่ 6 พฤษภาคม 2548 โจทก์ทั้งสองยื่นฟ้องต่อศาลแรงงานภาค 6 ขอให้บังคับจำเลยจ่ายเงินเช่นเดียวกับที่ยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน ต่อมาวันที่ 1 มิถุนายน 2548 พนักงานตรวจแรงงานยุติเรื่องโดยไม่ได้มีคำสั่ง เป็นกรณีที่พนักงานตรวจแรงงานยังไม่มีคำสั่ง โจทก์ทั้งสองจึงไม่อยู่ในบังคับต้องนำคดีไปสู่ศาลภายใน 30 วัน นับแต่วันทราบคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานตามมาตรา 125 วรรคหนึ่ง การที่พนักงานตรวจแรงงานยุติเรื่องทำให้กระบวนพิจารณาในชั้นพนักงานตรวจแรงงานยกเลิกไปทั้งหมด โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีจึงไม่เป็นการใช้สิทธิซ้ำซ้อนกับเรียกร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน โจทก์ทั้งสองจึงมีอำนาจฟ้อง
ขณะโจทก์ทั้งสองฟ้องศาลแรงงานภาค 6 เปิดทำการแล้วแต่ยังไม่มีผู้พิพากษาสมทบ ศาลแรงงานภาค 6 จึงโอนคดีไปยังศาลแรงงานกลาง หลังจากศาลแรงงานกลางเสร็จการพิจารณาและนัดฟังคำพิพากษาปรากฏว่าศาลแรงงานภาค 6 มีผู้พิพากษาสมทบพร้อมปฏิบัติหน้าที่แล้ว ศาลแรงงานภาค 6 จึงขอให้ศาลแรงงานกลางโอนคดีกลับมาพิจารณาพิพากษา เมื่อโอนคดีกลับมาแล้วผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางย่อมหมดอำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีนี้ แม้รัฐธรรมนูญราชอาณาจักรไทย (พ.ศ.2540) มาตรา 236 บัญญัติว่าผู้พิพากษาซึ่งมิได้นั่งพิจารณาคดีใดจะทำคำพิพากษาหรือคำวินิจฉัยคดีนั้นมิได้ แต่มีข้อยกเว้นในกรณีมีเหตุสุดวิสัยหรือเหตุจำเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้ตามที่กฎหมายบัญญัติ ดังนั้นการที่ ช. และ ร. ผู้พิพากษาสมทบของศาลแรงงานภาค 6 ไม่เคยนั่งพิจารณาคดีนี้ถือได้ว่ามีเหตุจำเป็นอื่น อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานภาค 6 ผู้มีอำนาจตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 16 ย่อมมีอำนาจจัดให้ผู้พิพากษาสมทบอื่นเข้าปฏิบัติการแทนได้ตามมาตรา 20 ช. และ ร. ผู้พิพากษาสมทบองค์คณะในคำพิพากษาศาลแรงงานภาค 6 จึงมีอำนาจวินิจฉัยและทำคำพิพากษาได้ ส่วน น. ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลแรงงานภาค 6 ซึ่งนั่งพิจารณาคดีมาโดยตลอดตั้งแต่ต้นก็ได้รับคำสั่งให้ช่วยทำงานชั่วคราวในตำแห่นงผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลแรงงานกลางอีกตำแหน่งหนึ่งก่อนโจทก์ทั้งสองฟ้องคดี น. จึงมีอำนาจวินิจฉัยและทำคำพิพากษาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13083/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาบริการประกันชีวิตขัดต่อ พ.ร.บ.ประกันชีวิต การจ่ายค่าตอบแทนล่วงหน้าทำให้โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้อง
พ.ร.บ.ประกันชีวิต พ.ศ.2535 มาตรา 33 บัญญัติว่า "ห้ามมิให้บริษัทกระทำการดังกล่าวต่อไปนี้... (7) จ่ายเงินหรือทรัพย์สินอื่นใดล่วงหน้าให้แก่บุคคลใดเป็นค่านายหน้าหรือค่าตอบแทนสำหรับงานที่จะทำให้แก่บริษัท" และมาตรา 93 บัญญัติว่า "บริษัทใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามมาตรา 33 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 500,000 บาท และถ้าเป็นกรณีการกระทำความผิดต่อเนื่องให้ปรับอีกไม่เกินวันละ 20,000 บาท ตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนอยู่" การที่โจทก์ทำสัญญาว่าจ้างจำเลยที่ 1 ให้สรรหาและฝึกอบรมบุคลากรเพื่อทำหน้าที่เป็นตัวแทนหาลูกค้า และทำหน้าที่เป็นผู้บริหารงานขายให้แก่โจทก์ โดยโจทก์จ่ายเงินเป็นค่าจ้างหรือค่าตอบแทนล่วงหน้าให้แก่จำเลยที่ 1 ไปก่อน จึงขัดต่อบทกฎหมายมาตราดังกล่าว ถือได้ว่าโจทก์กระทำการเพื่อชำระหนี้อันเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมาย โจทก์จึงไม่อาจเรียกคืนได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 411