พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,733 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1993/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของเจ้าของรวมในเงินกองทุนหมู่บ้านที่ถูกจำเลยยักยอก และการใช้สิทธิเรียกร้องทรัพย์สิน
การที่องค์การนานาชาติแพนเพื่อร่วมกันพัฒนาประเทศไทยได้มอบเงินให้เปล่าแก่ชาวบ้านหมู่บ้านป่าดู่ผ่านกองทุนหมู่บ้านป่าดู่ โดยให้คณะกรรมการหมู่บ้านบริหาร โจทก์ที่ 8 เป็นชาวบ้านหมู่บ้านป่าดู่จึงมีส่วนเป็นเจ้าของเงินด้วย เมื่อจำเลยทั้งสี่ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้จัดสรรเงินกู้ยืมและติดตามเงินกู้ยืมคืนจากชาวบ้าน แต่จำเลยทั้งสี่ไม่นำเงินที่ชาวบ้านชำระหนี้เงินกู้ยืมเข้าบัญชี โดยนำไปใช้จ่ายส่วนตัว โจทก์ที่ 8 ย่อมได้รับความเสียหายและถือว่าถูกโต้แย้งสิทธิตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 โจทก์ที่ 8 จึงมีอำนาจฟ้อง
กองทุนหมู่บ้านป่าดู่มิได้เป็นนิติบุคคลจึงไม่จำต้องมีผู้กระทำการแทนนิติบุคคลตามบทบัญญัติของกฎหมาย และไม่ปรากฏว่ามีข้อบังคับใด ๆ ของกองทุนหมู่บ้านป่าดู่ที่กำหนดให้คณะกรรมการกองทุนทั้ง 11 คน ต้องกระทำการร่วมกันในการใช้สิทธิฟ้องร้องเรียกเงินกองทุนคืนจากจำเลยทั้งสี่แต่อย่างใด เมื่อโจทก์ที่ 8 มีส่วนเป็นเจ้าของเงินกองทุนอยู่ด้วย โจทก์ที่ 8 ย่อมใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมดได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1359 รวมทั้งการใช้สิทธิทางศาลด้วย โจทก์ที่ 8 แต่ผู้เดียวย่อมมีอำนาจฟ้องเรียกเงินกองทุนที่จำเลยทั้งสี่นำไปใช้จ่ายส่วนตัวและยังไม่ชำระคืนโดยไม่จำต้องได้รับมอบอำนาจให้ฟ้องคดีจากเจ้าของรวมคนอื่น
กองทุนหมู่บ้านป่าดู่มิได้เป็นนิติบุคคลจึงไม่จำต้องมีผู้กระทำการแทนนิติบุคคลตามบทบัญญัติของกฎหมาย และไม่ปรากฏว่ามีข้อบังคับใด ๆ ของกองทุนหมู่บ้านป่าดู่ที่กำหนดให้คณะกรรมการกองทุนทั้ง 11 คน ต้องกระทำการร่วมกันในการใช้สิทธิฟ้องร้องเรียกเงินกองทุนคืนจากจำเลยทั้งสี่แต่อย่างใด เมื่อโจทก์ที่ 8 มีส่วนเป็นเจ้าของเงินกองทุนอยู่ด้วย โจทก์ที่ 8 ย่อมใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมดได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1359 รวมทั้งการใช้สิทธิทางศาลด้วย โจทก์ที่ 8 แต่ผู้เดียวย่อมมีอำนาจฟ้องเรียกเงินกองทุนที่จำเลยทั้งสี่นำไปใช้จ่ายส่วนตัวและยังไม่ชำระคืนโดยไม่จำต้องได้รับมอบอำนาจให้ฟ้องคดีจากเจ้าของรวมคนอื่น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18431/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องตามสัญญาขนส่งทางทะเล: โจทก์ในฐานะตัวแทนไม่มีสิทธิเรียกร้องโดยตรงจากผู้ขนส่ง
โจทก์เป็นเพียงผู้รับจัดการขนส่งสินค้าให้แก่บริษัท ว. โดยโจทก์ได้ติดต่อว่าจ้างจำเลยให้เป็นผู้ขนส่งสินค้าให้บริษัท ว. จำเลยได้รับขนส่งสินค้าโดยออกใบตราส่งระบุว่าบริษัท ว. เป็นผู้ส่งของบริษัท ม. เป็นผู้รับตราส่ง แสดงว่าจำเลยในฐานะผู้ขนส่งทำสัญญารับขนของทางทะเลกับบริษัท ว. ผู้ส่งของ โดยโจทก์เป็นตัวแทนเข้าจัดการว่าจ้างจำเลยเป็นผู้ขนส่ง อันเป็นการทำสัญญาในฐานะตัวแทนของบริษัท ว. ผู้เป็นตัวการ บริษัท ว. ในฐานะผู้ส่งของย่อมเป็นคู่สัญญารับขนของทางทะเลกับจำเลยโดยตรง โจทก์ไม่ใช่คู่สัญญาและไม่ใช่ผู้มีสิทธิรับสินค้า ส่วนตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 28 ที่บัญญัติให้ผู้รับตราส่งจะเรียกให้ส่งมอบของได้ต่อเมื่อเวนคืนใบตราส่งแก่ผู้ขนส่งนั้น หากผู้ขนส่งมอบสินค้าไปโดยไม่ได้รับเวนคืนใบตราส่ง แม้จะเป็นการปฏิบัติผิดหน้าที่ผู้ขนส่งก็เป็นกรณีที่ผู้ขนส่งต้องรับผิดตามสัญญาขนส่ง เมื่อโจทก์มิใช่ผู้ส่งของและมิใช่ผู้รับตราส่งหรือผู้มีสิทธิรับสินค้าจากผู้ขนส่ง โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยรับผิดตามสัญญาต่อโจทก์ ส่วนกรณีที่หากบริษัท ว. ผิดสัญญาไม่ชำระหนี้แก่โจทก์ก็เป็นเรื่องที่โจทก์มีสิทธิเรียกร้องตามสัญญาว่าจ้างให้โจทก์เป็นผู้รับจัดการขนส่งและเป็นตัวแทนตามหลักกฎหมายตัวแทนต่างหาก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14640/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าปรับอาคารชุด, การชำระหนี้แทนกัน, ละเมิดจากการไม่ดูแลรักษา, สิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย
ข้อบังคับของจำเลยที่ 1 ออกตามความในมาตรา 32 (เดิม) แห่งพ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 ที่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ในขณะจดทะเบียนนิติบุคคลอาคารชุดจำเลยที่ 1 อันมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการและดูแลรักษาทรัพย์ส่วนกลาง และให้มีอำนาจกระทำการใด ๆ เพื่อประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ดังกล่าว และในมาตรา 18 วรรคหนึ่ง (เดิม) เจ้าของร่วมต้องร่วมกันออกค่าใช้จ่ายที่เกิดจากบริการส่วนรวม เครื่องใช้ที่มีไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกันและที่เกิดจากเครื่องมือ ตามส่วนแห่งประโยชน์ที่มีต่อห้องชุด ทั้งนี้ตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของเจ้าของร่วมที่จะต้องชำระค่าใช้จ่ายส่วนกลางแก่จำเลยที่ 1 เพื่อนำไปใช้จัดการและดูแลรักษาทรัพย์ส่วนกลางเพื่อประโยชน์แก่เจ้าของร่วมทุกคน เมื่อตามข้อบังคับของจำเลยที่ 1 ในข้อ 17 กำหนดให้เจ้าของร่วมต้องชำระค่าใช้จ่ายส่วนกลางภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับรายการแจ้งจากผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดฯ ณ สำนักงานนิติบุคคลฯ ในกรณีชำระหลังจากที่กำหนดหรือนิติบุคคลอาคารชุดฯ ไม่สามารถเรียกเก็บเงินได้ตามเช็ค เจ้าของห้องชุดจะต้องชำระค่าปรับในอัตราร้อยละ 10 ต่อเดือน ของจำนวนที่ค้างชำระ และหากค้างชำระเกินกว่า 3 เดือน นิติบุคคลอาคารชุดมีอำนาจงดการให้บริการสาธารณูปโภคในห้องชุดได้นั้น เมื่อไม่ปรากฏว่า พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 (เดิม) ได้กำหนดอัตราของค่าปรับไว้แต่อย่างใด จึงยังถือไม่ได้ว่าข้อบังคับข้อ 17 ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัติดังกล่าว ดังนั้น ข้อบังคับข้อ 17 ที่กำหนดอัตราค่าปรับไว้ด้วย จึงมิได้เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนอันจะตกเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 150
ค่าปรับอันเกิดจากค่าใช้จ่ายส่วนกลางเป็นหนี้เงินที่จำเลยที่ 1 จะเรียกเก็บได้ต่อเมื่อเจ้าของร่วมมิได้ชำระหนี้ภายในเวลาที่กำหนดไว้อันมีลักษณะเป็นการกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าและเป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 379
ที่โจทก์ชำระค่าปรับเพราะต้องการใบปลอดหนี้ไปใช้ในการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดแม้ค่าปรับดังกล่าวจะเป็นหนี้ที่เจ้าของห้องชุดเดิมต้องรับผิดก็ตาม แต่การที่โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกซื้อห้องชุดได้จากการขายทอดตลาดจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียกับห้องชุดดังกล่าวโดยตรงยินยอมเข้าชำระหนี้ดังกล่าวแทนเจ้าของห้องชุดเดิมลูกหนี้นั้น ก็ไม่ปรากฏว่าเป็นการชำระหนี้โดยขืนใจลูกหนี้จึงถือได้ว่าเป็นการชำระหนี้โดยสมบูรณ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 314 โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกเงินค่าปรับที่ชำระไปคืนจากจำเลยทั้งสอง
ค่าปรับอันเกิดจากค่าใช้จ่ายส่วนกลางเป็นหนี้เงินที่จำเลยที่ 1 จะเรียกเก็บได้ต่อเมื่อเจ้าของร่วมมิได้ชำระหนี้ภายในเวลาที่กำหนดไว้อันมีลักษณะเป็นการกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าและเป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 379
ที่โจทก์ชำระค่าปรับเพราะต้องการใบปลอดหนี้ไปใช้ในการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดแม้ค่าปรับดังกล่าวจะเป็นหนี้ที่เจ้าของห้องชุดเดิมต้องรับผิดก็ตาม แต่การที่โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกซื้อห้องชุดได้จากการขายทอดตลาดจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียกับห้องชุดดังกล่าวโดยตรงยินยอมเข้าชำระหนี้ดังกล่าวแทนเจ้าของห้องชุดเดิมลูกหนี้นั้น ก็ไม่ปรากฏว่าเป็นการชำระหนี้โดยขืนใจลูกหนี้จึงถือได้ว่าเป็นการชำระหนี้โดยสมบูรณ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 314 โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกเงินค่าปรับที่ชำระไปคืนจากจำเลยทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11786/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายและฟ้องขับไล่หลังโอนกรรมสิทธิ์ กรณีมีข้อตกลงเงื่อนไขผูกพันในการขาย
ปัญหาว่าโจทก์มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยหลังจากที่โจทก์จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมตึกแถวพิพาทให้แก่บุคคลอื่นไปแล้วได้หรือไม่และปัญหาว่าโจทก์มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยหรือไม่ แม้ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น ทนายจำเลยได้แถลงสละประเด็นปัญหาดังกล่าวไปแล้วก็ตาม แต่เมื่อปัญหาดังกล่าวเป็นเรื่องอำนาจฟ้องซึ่งเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย จำเลยจึงมีสิทธิยกขึ้นอุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคสอง ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้จึงไม่ชอบ
แม้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพร้อมตึกแถวพิพาทจะตกเป็นของผู้ซื้อนับแต่วันที่โจทก์จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้ซื้อไปแล้ว แต่เมื่อการขายที่ดินพร้อมตึกแถวดังกล่าวมีเงื่อนไขว่าโจทก์ต้องดำเนินการให้จำเลยขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกจากตึกแถวพิพาท ผู้ซื้อจึงจะชำระราคาส่วนที่เหลือให้แก่โจทก์ การครอบครองที่ดินและตึกแถวพิพาทจึงยังอยู่กับโจทก์ในส่วนที่เป็นหน้าที่ที่จะต้องดำเนินการให้ผู้ที่อยู่อาศัยในตึกแถวพิพาทย้ายออกไปตามข้อตกลง เมื่อโจทก์แจ้งให้จำเลยขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกจากตึกแถวพิพาทแล้ว แต่จำเลยเพิกเฉย จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากจำเลยหลังจากที่โจทก์จดทะเบียนโอนที่ดินพร้อมตึกแถวพิพาทให้แก่บุคคลอื่นไปแล้วได้ จนกว่าจำเลยจะออกไปจากตึกแถวพิพาท
แม้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพร้อมตึกแถวพิพาทจะตกเป็นของผู้ซื้อนับแต่วันที่โจทก์จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้ซื้อไปแล้ว แต่เมื่อการขายที่ดินพร้อมตึกแถวดังกล่าวมีเงื่อนไขว่าโจทก์ต้องดำเนินการให้จำเลยขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกจากตึกแถวพิพาท ผู้ซื้อจึงจะชำระราคาส่วนที่เหลือให้แก่โจทก์ การครอบครองที่ดินและตึกแถวพิพาทจึงยังอยู่กับโจทก์ในส่วนที่เป็นหน้าที่ที่จะต้องดำเนินการให้ผู้ที่อยู่อาศัยในตึกแถวพิพาทย้ายออกไปตามข้อตกลง เมื่อโจทก์แจ้งให้จำเลยขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกจากตึกแถวพิพาทแล้ว แต่จำเลยเพิกเฉย จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากจำเลยหลังจากที่โจทก์จดทะเบียนโอนที่ดินพร้อมตึกแถวพิพาทให้แก่บุคคลอื่นไปแล้วได้ จนกว่าจำเลยจะออกไปจากตึกแถวพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11294/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสิทธิเรียกร้องจากการซื้อขายต้นกล้ายางพารา: เกษตรกร, การเพาะเลี้ยง, และระยะเวลาตามกฎหมาย
โจทก์กับจำเลยต่างอยู่ในฐานะผู้ประกอบเกษตรกรรมตามความหมายของ ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (2) แต่เนื่องจากลักษณะการดำเนินการระหว่างกันเป็นเรื่องที่โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ได้ส่งมอบต้นตอยางพาราและวัสดุแก่จำเลยผู้เป็นลูกหนี้ เพื่อให้จำเลยนำไปเพาะเลี้ยงให้เป็นต้นกล้ายางพาราชำถุงแล้วนำมาขายคืนแก่โจทก์ โดยหักราคาค่าต้นตอยางพารากับค่าวัสดุที่รับไปก่อนนั้นกับต้นกล้ายางพาราที่นำมาส่งมอบ ต้นตอยางพาราที่จำเลยรับไปจากโจทก์เพื่อให้จำเลยเพาะเลี้ยงแล้วนำมาขายคืนแก่โจทก์นั้นเป็นการที่ได้ทำเพื่อกิจการของจำเลยผู้เป็นลูกหนี้นั้นเอง สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงไม่ตกอยู่ในบังคับอายุความ 2 ปี ตามบทกฎหมายดังกล่าว แต่ตกอยู่ในบังคับอายุความ 5 ปี ตามมาตรา 193/33 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11249/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของการฟื้นฟูกิจการต่อความรับผิดของผู้ค้ำประกัน: สิทธิเรียกร้องหนี้ยังคงอยู่ แม้มีการเห็นชอบแผนฟื้นฟู
คำสั่งของศาลที่เห็นชอบด้วยแผนฟื้นฟูกิจการย่อมมีผลเฉพาะตัวลูกหนี้เท่านั้นที่จะหลุดพ้นจากหนี้ที่มีอยู่ก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนแล้วมาผูกพันตามหนี้ที่กำหนดไว้ในแผนฟื้นฟูกิจการ ส่วนบุคคลภายนอกซึ่งต้องร่วมรับผิดกับลูกหนี้ อันได้แก่ บุคคลซึ่งเป็นหุ้นส่วนกับลูกหนี้ หรือผู้รับผิดร่วมกับลูกหนี้ หรือผู้ค้ำประกัน หรือผู้อยู่ในลักษณะอย่างผู้ค้ำประกันของลูกหนี้ นั้น คำสั่งของศาลที่เห็นชอบด้วยแผนฟื้นฟูกิจการไม่มีผลเปลี่ยนแปลงความรับผิดชอบบุคคลเหล่านั้นที่มีอยู่ก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผน ความรับผิดของบุคคลดังกล่าวจะต้องรับผิดอีกเช่นไรต้องเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยความรับผิดของบุคคลในทางแพ่ง ดังนั้น การที่แผนฟื้นฟูกิจการกำหนดให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นความรับผิดไปเสียทีเดียวย่อมขัดต่อ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/60 วรรคสอง อันเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ข้อตกลงตามที่กำหนดตามแผนดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150
แม้โจทก์จะยื่นคำขอรับชำระหนี้ไว้เต็มจำนวน แต่ก็เป็นการยื่นคำขอรับชำระหนี้ก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนฟื้นฟูกิจการ ทำให้โจทก์ได้รับการชำระหนี้จากลูกหนี้น้อยลงและจะเรียกร้องหนี้ส่วนที่เหลือจากลูกหนี้อีกไม่ได้ แต่ในส่วนจำเลยทั้งสองผู้ค้ำประกันก็ยังคงต้องรับผิดชำระหนี้ส่วนที่ยังไม่ระงับทั้งหมดอยู่ โจทก์จึงฟ้องจำเลยทั้งสองได้ ไม่ถือเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
แม้โจทก์จะยื่นคำขอรับชำระหนี้ไว้เต็มจำนวน แต่ก็เป็นการยื่นคำขอรับชำระหนี้ก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนฟื้นฟูกิจการ ทำให้โจทก์ได้รับการชำระหนี้จากลูกหนี้น้อยลงและจะเรียกร้องหนี้ส่วนที่เหลือจากลูกหนี้อีกไม่ได้ แต่ในส่วนจำเลยทั้งสองผู้ค้ำประกันก็ยังคงต้องรับผิดชำระหนี้ส่วนที่ยังไม่ระงับทั้งหมดอยู่ โจทก์จึงฟ้องจำเลยทั้งสองได้ ไม่ถือเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9823/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาไม่มีรูปแบบ, ผิดสัญญา, อายุความ 10 ปี, การชดเชยค่าขนส่ง, สิทธิเรียกร้อง
การเข้าร่วมโครงการของจำเลยทั้งสองเป็นการเข้าทำสัญญาระหว่างโจทก์ทั้งสองกับจำเลยทั้งสองในลักษณะสัญญาไม่มีรูปแบบซึ่งเงื่อนไขในสัญญาดังกล่าวกำหนดให้จำเลยทั้งสองมีหน้าที่ขนส่งมันสำปะหลังไปยังผู้ส่งออกตามที่ได้ขึ้นทะเบียนผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังรับอนุญาตปี 2540 เท่านั้น ซึ่งถือว่าเป็นเงื่อนไขของสัญญาที่เป็นสาระสำคัญ การที่จำเลยทั้งสองขนส่งมันสำปะหลังไปยังบริษัท อ. ซึ่งมิใช่ผู้ส่งออกตามทะเบียนผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังรับอนุญาตปี 2540 กรณีถือว่าจำเลยทั้งสองกระทำผิดสัญญาเพราะการกระทำของจำเลยที่ 1 ที่นำมันสำปะหลังอัดเม็ดไปส่งให้บริษัทที่มิใช่ผู้ส่งออกตามทะเบียนผู้ส่งออก ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังรับอนุญาตปี 2540 ทำให้ปริมาณมันสำปะหลังยังคงหมุนเวียนอยู่ในตลาดภายในประเทศทำให้ราคาขายมันสำปะหลังไม่เพิ่มสูงขึ้นตามวัตถุประสงค์ของรัฐบาลและการที่จำเลยทั้งสองรับเงินชดเชยค่าขนส่งจากโจทก์ทั้งสองทั้งสองครั้งไปโดยไม่ถูกต้องนั้น จำเลยทั้งสองไม่มีสิทธิรับเงินชดเชยค่าขนส่งดังกล่าวจากโจทก์ทั้งสอง จำเลยทั้งสองจึงมีหน้าที่ต้องคืนเงินที่รับไปจากโจทก์ทั้งสองพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันผิดนัด กรณีการฟ้องเรียกเงินคืนของโจทก์ทั้งสองมิใช่การเรียกคืนในฐานะลาภมิควรได้แต่เป็นการฟ้องบังคับตามสัญญาซึ่งไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยอายุความบัญญัติไว้เป็นกรณีพิเศษจึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 ดังนั้นอายุความในคดีนี้จึงมีระยะเวลา 10 ปี นับแต่วันที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ตามสัญญา เมื่อโจทก์ที่ 2 มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยที่ 1 นำเงินดังกล่าวมาคืน และจำเลยที่ 1 ได้รับหนังสือดังกล่าวในวันที่ 29 เมษายน 2541 โจทก์ทั้งสองนำคดีมาฟ้องจำเลยทั้งสองเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2546 จึงเป็นระยะเวลาไม่เกิน 10 ปี ฟ้องของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 880/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนของบริษัทประกันภัย: ไม่ใช่เจ้าหนี้ในคดีอาญา
ผู้ร้องมิใช่ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์โดยตรง เพียงแต่อ้างสิทธิในฐานะผู้รับประกันภัยรถยนต์ที่ถูกจำเลยลักไปซึ่งได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เสียหายที่ 2 ผู้รับประโยชน์ตามสัญญาประกันภัยและมาใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาจากจำเลยเท่านั้น ความเสียหายของผู้ร้องที่อ้างว่าได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนไปนั้นจึงเกิดขึ้นจากความรับผิดตามสัญญาประกันภัย มิใช่เกิดจากการกระทำผิดฐานลักทรัพย์ซึ่งเป็นการกระทำละเมิดของจำเลย สิทธิเรียกร้องความเสียหายของผู้ร้องจึงมิใช่เป็นการเรียกร้องในมูลหนี้ละเมิดเช่นเดียวกันกับผู้เสียหายทั้งสอง จึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยใช้ราคาที่ผู้ร้องได้ชดใช้ไปตามสัญญาประกันภัยได้
ผู้เสียหายในคดีอาญา หมายถึงบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำผิดฐานใดฐานหนึ่ง ซึ่งคดีนี้ผู้เสียหายในความผิดฐานลักทรัพย์รถยนต์คือผู้เสียหายทั้งสอง และพนักงานอัยการโจทก์มีคำขอท้ายฟ้องเรียกให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาแทนแก่ผู้เสียหายทั้งสองเท่านั้น โดยเป็นการเรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนผู้เสียหายตามที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะตามมาตรา 43 และเมื่อพิจารณาประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 แล้ว ยิ่งเห็นได้ชัดเจนว่า สิทธิของผู้เสียหายที่จะเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนตามมาตราดังกล่าวเป็นสิทธิเฉพาะตัวโดยแท้ของผู้เสียหายหรือผู้มีอำนาจจัดการแทนตาม มาตรา 4, 5 และ 6 เท่านั้น ผู้เสียหายที่จะถือว่าเป็นเจ้าหนี้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 50 จึงหมายถึงผู้เสียหายในคดีอาญาเท่านั้น
ผู้เสียหายในคดีอาญา หมายถึงบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำผิดฐานใดฐานหนึ่ง ซึ่งคดีนี้ผู้เสียหายในความผิดฐานลักทรัพย์รถยนต์คือผู้เสียหายทั้งสอง และพนักงานอัยการโจทก์มีคำขอท้ายฟ้องเรียกให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาแทนแก่ผู้เสียหายทั้งสองเท่านั้น โดยเป็นการเรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนผู้เสียหายตามที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะตามมาตรา 43 และเมื่อพิจารณาประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 แล้ว ยิ่งเห็นได้ชัดเจนว่า สิทธิของผู้เสียหายที่จะเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนตามมาตราดังกล่าวเป็นสิทธิเฉพาะตัวโดยแท้ของผู้เสียหายหรือผู้มีอำนาจจัดการแทนตาม มาตรา 4, 5 และ 6 เท่านั้น ผู้เสียหายที่จะถือว่าเป็นเจ้าหนี้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 50 จึงหมายถึงผู้เสียหายในคดีอาญาเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7053/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้เสียหายเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนในคดีอาญา และการพิจารณาคดีแพ่งควบคู่กับคดีอาญา
ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้สิทธิแก่ผู้เสียหายที่จะเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนเพราะเหตุได้รับอันตรายแก่ชีวิต ร่างกาย จิตใจ หรือได้รับความเสื่อมเสียต่อเสรีภาพในร่างกาย ชื่อเสียง หรือได้รับความเสียหายในทางทรัพย์สินอันเนื่องมาจากการกระทำความผิดของจำเลย และในวรรคสอง บัญญัติให้ถือว่าคำร้องดังกล่าวเป็นคำฟ้องตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง และผู้เสียหายอยู่ในฐานะโจทก์ในคดีส่วนแพ่ง เมื่อผู้เสียหายยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ตนก่อนศาลชั้นต้นวินิจฉัยชี้ขาดคดี แต่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาลงโทษจำเลยเฉพาะคดีส่วนอาญา โดยมิได้มีคำพิพากษาคดีส่วนแพ่งด้วย ผู้เสียหายในฐานะโจทก์ในคดีส่วนแพ่งย่อมมีสิทธิอุทธรณ์คัดค้านเพื่อให้มีการดำเนินกระบวนพิจารณาและมีคำพิพากษาในคดีส่วนแพ่งได้
คดีส่วนอาญาเป็นคดีความผิดที่กฎหมายกำหนดอัตราโทษอย่างต่ำไว้ให้จำคุกไม่ถึงห้าปี เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลจะพิพากษาโดยไม่สืบพยานหลักฐานต่อไปได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นในคดีส่วนอาญาชอบด้วยกฎหมายแล้ว ส่วนที่ศาลชั้นต้นมิได้ดำเนินกระบวนพิจารณาและมีคำวินิจฉัยชี้ขาดในคดีส่วนแพ่ง ถือเป็นความผิดพลาดบกพร่องเฉพาะในคดีส่วนแพ่งและมิได้มีผลกระทบใดๆ ต่อคดีส่วนอาญา ทั้งศาลมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีส่วนอาญาไปก่อนแล้วพิจารณาพิพากษาคดีส่วนแพ่งในภายหลังได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 44/2 วรรคหนึ่ง จึงชอบที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาและมีคำพิพากษาเฉพาะส่วนแพ่งต่อไปเท่านั้น
คดีส่วนอาญาเป็นคดีความผิดที่กฎหมายกำหนดอัตราโทษอย่างต่ำไว้ให้จำคุกไม่ถึงห้าปี เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลจะพิพากษาโดยไม่สืบพยานหลักฐานต่อไปได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นในคดีส่วนอาญาชอบด้วยกฎหมายแล้ว ส่วนที่ศาลชั้นต้นมิได้ดำเนินกระบวนพิจารณาและมีคำวินิจฉัยชี้ขาดในคดีส่วนแพ่ง ถือเป็นความผิดพลาดบกพร่องเฉพาะในคดีส่วนแพ่งและมิได้มีผลกระทบใดๆ ต่อคดีส่วนอาญา ทั้งศาลมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีส่วนอาญาไปก่อนแล้วพิจารณาพิพากษาคดีส่วนแพ่งในภายหลังได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 44/2 วรรคหนึ่ง จึงชอบที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาและมีคำพิพากษาเฉพาะส่วนแพ่งต่อไปเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6395/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับเงินค่าขึ้นศาลล่าช้าเกิน 5 ปี ศาลไม่ถือว่าสิทธิเรียกร้องขาดอายุตามมาตรา 323 ป.วิ.พ.
ป.วิ.พ. มาตรา 323 หมายถึงให้คู่ความหรือผู้มีสิทธิได้รับเงินจากศาลดำเนินการขอรับเงินให้เสร็จสิ้นภายในห้าปี หากไม่ดำเนินการขอรับไปภายในห้าปีนับแต่วันที่ศาลสั่งอนุญาตให้รับไป เงินดังกล่าวยังคงค้างอยู่ก็ให้ตกเป็นของแผ่นดิน ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการจัดทำระบบบัญชีการเงินต่างๆ ของศาลและการนำเงินส่งเป็นรายได้ของแผ่นดินต่อไป โจทก์ฎีกาว่า โจทก์เรียกร้องเอาเงินค่าขึ้นศาลที่ศาลสั่งคืนภายในห้าปีและศาลมีคำสั่งอนุญาตแล้ว แม้โจทก์จะมาขอรับเมื่อเลยระยะเวลาห้าปี นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งอนุญาต บทบัญญัติดังกล่าวก็หามีผลบังคับถึงกรณีของโจทก์ไม่ หากนับระยะเวลาดังที่โจทก์อ้าง กล่าวคือ เมื่อขออนุญาตรับและศาลอนุญาตแล้วจะมารับเมื่อใดก็ได้ จะทำให้ระยะเวลาการรับเงินยืดเยื้อออกไปไม่สิ้นสุด ซึ่งมิใช่เจตนารมณ์ของบทบัญญัติมาตรานี้