พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,377 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3543/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: ศาลมีอำนาจเพิกถอนคำสั่งที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย โดยพิจารณาจากลักษณะเฉพาะของเครื่องหมาย
การดำเนินการเกี่ยวกับการรับจดทะเบียนหรือไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าอยู่ในกรอบอำนาจหน้าที่และการควบคุมของกรมทรัพย์สินทางปัญญา จำเลยที่ 1 ตามพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ มาตรา 3 และมาตรา 5 จำเลยที่ 1 ไม่อาจกล่าวอ้างได้ว่าอำนาจในการพิจารณาและมีคำสั่งเกี่ยวกับ การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเป็นอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า โดยเฉพาะ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้แทนกรมจำเลยที่ 1 ขอให้เพิกถอนคำสั่งของ นายทะเบียนและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าที่ไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ได้
คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าที่จะเป็นที่สุดตามมาตรา 18 วรรคหนึ่งนั้น จะต้องเป็นคำวินิจฉัยที่ถูกต้องตามกฎหมายหรือชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น โจทก์บรรยายฟ้องสรุปได้ว่า เครื่องหมายการค้าคำว่า TRUSTY เป็นคำที่ไม่เล็งถึงลักษณะและคุณสมบัติของสินค้าโดยตรง แต่เป็นเครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะบ่งเฉพาะอันพึงได้รับการจดทะเบียนและโจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวไว้ในหลายประเทศ คำสั่งของ นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าาที่ไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ให้โจทก์ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ดังนี้ คำฟ้องของโจทก์เท่ากับโจทก์โต้แย้งคำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้า และคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าดังกล่าวไม่ถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าจึงยังไม่ถึงที่สุดแม้คำว่า TRUSTY จะมีความหมายว่า ไว้วางใจ เชื่อถือได้ แต่เมื่อนำไปใช้กับสินค้าจำพวกที่ 31 ได้แก่ อาหารสัตว์ คำดังกล่าวก็หาได้มีความหมายที่บ่งบอกถึงลักษณะของอาหารสัตว์ว่าเป็นอาหารชนิดใด หรือบ่งบอกถึงคุณสมบัติของอาหารสัตว์ชนิดนั้นว่าเป็นสินค้าที่ดีทำให้สัตว์ แข็งแรง สมบูรณ์ สุขภาพดี น่าไว้วางใจที่จะนำมาเป็นอาหารสัตว์ได้โดยปลอดภัยแต่อย่างใดไม่แต่เป็นคำที่มีลักษณะไปในทางโน้มน้าวให้บุคคลทั่วไปที่ประสงค์จะซื้ออาหารสัตว์เกิดความสนใจในสินค้าชนิดนั้นมากกว่าคำว่า TRUSTY จึงเป็นคำที่ไม่ได้เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าอาหารสัตว์โดยตรงแต่เป็นคำที่มีลักษณะบ่งเฉพาะเมื่อนำไปใช้เป็นเครื่องหมายการค้าสำหรับสินค้าดังกล่าว ตามมาตรา 7 วรรคสอง (2) แห่ง พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า เครื่องหมายการค้าคำว่า TRUSTY จึงมีลักษณะอันพึงรับจดทะเบียนได้ตามมาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว โจทก์ย่อมฟ้องคดีนี้ต่อศาลได้
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 167 กำหนดให้ศาลต้องมีคำสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมเสมอ ไม่ว่าคู่ความจะมีคำขอหรือไม่ ดังนั้นที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ทั้ง ๆ ที่โจทก์ไม่ได้มีคำขอดังกล่าว โดยกำหนดค่าทนายความ 3,000 บาท ทั้ง ๆ ที่โจทก์ไม่ได้มีคำขอดังกล่าว จึงชอบแล้ว
คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าที่จะเป็นที่สุดตามมาตรา 18 วรรคหนึ่งนั้น จะต้องเป็นคำวินิจฉัยที่ถูกต้องตามกฎหมายหรือชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น โจทก์บรรยายฟ้องสรุปได้ว่า เครื่องหมายการค้าคำว่า TRUSTY เป็นคำที่ไม่เล็งถึงลักษณะและคุณสมบัติของสินค้าโดยตรง แต่เป็นเครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะบ่งเฉพาะอันพึงได้รับการจดทะเบียนและโจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวไว้ในหลายประเทศ คำสั่งของ นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าาที่ไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ให้โจทก์ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ดังนี้ คำฟ้องของโจทก์เท่ากับโจทก์โต้แย้งคำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้า และคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าดังกล่าวไม่ถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าจึงยังไม่ถึงที่สุดแม้คำว่า TRUSTY จะมีความหมายว่า ไว้วางใจ เชื่อถือได้ แต่เมื่อนำไปใช้กับสินค้าจำพวกที่ 31 ได้แก่ อาหารสัตว์ คำดังกล่าวก็หาได้มีความหมายที่บ่งบอกถึงลักษณะของอาหารสัตว์ว่าเป็นอาหารชนิดใด หรือบ่งบอกถึงคุณสมบัติของอาหารสัตว์ชนิดนั้นว่าเป็นสินค้าที่ดีทำให้สัตว์ แข็งแรง สมบูรณ์ สุขภาพดี น่าไว้วางใจที่จะนำมาเป็นอาหารสัตว์ได้โดยปลอดภัยแต่อย่างใดไม่แต่เป็นคำที่มีลักษณะไปในทางโน้มน้าวให้บุคคลทั่วไปที่ประสงค์จะซื้ออาหารสัตว์เกิดความสนใจในสินค้าชนิดนั้นมากกว่าคำว่า TRUSTY จึงเป็นคำที่ไม่ได้เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าอาหารสัตว์โดยตรงแต่เป็นคำที่มีลักษณะบ่งเฉพาะเมื่อนำไปใช้เป็นเครื่องหมายการค้าสำหรับสินค้าดังกล่าว ตามมาตรา 7 วรรคสอง (2) แห่ง พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า เครื่องหมายการค้าคำว่า TRUSTY จึงมีลักษณะอันพึงรับจดทะเบียนได้ตามมาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว โจทก์ย่อมฟ้องคดีนี้ต่อศาลได้
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 167 กำหนดให้ศาลต้องมีคำสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมเสมอ ไม่ว่าคู่ความจะมีคำขอหรือไม่ ดังนั้นที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ทั้ง ๆ ที่โจทก์ไม่ได้มีคำขอดังกล่าว โดยกำหนดค่าทนายความ 3,000 บาท ทั้ง ๆ ที่โจทก์ไม่ได้มีคำขอดังกล่าว จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3540/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลดหย่อนเงินสมทบประกันสังคม พิจารณาจากสวัสดิการที่นายจ้างจัดให้เทียบกับประโยชน์ทดแทนตามกฎหมาย
ศาลแรงงานกลางพิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 1 ไปแล้ว อุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นการโต้แย้งคำพิพากษาของศาลแรงงานกลาง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ตามประกาศคณะกรรมการประกันสังคม เรื่อง หลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขการลดส่วนอัตราเงินสมทบเกี่ยวกับประโยชน์ทดแทนกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บปวด กรณีทุพพลภาพ กรณีคลอดบุตร และกรณีตาย พ.ศ. 2534 กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการขอลดส่วนและการพิจารณาหักส่วนลดอัตราเงินสมทบที่รัฐบาล นายจ้าง และลูกจ้างจะต้องส่งเข้ากองทุนประกันสังคมโดยให้พิจารณาเปรียบเทียบระหว่างสวัสดิการที่นายจ้างจัดให้แก่ลูกจ้างกับประโยชน์ทดแทนตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 และตามประกาศคณะกรรมการประกันสังคมดังกล่าวได้ระบุเกี่ยวกับหลักเกณฑ์หรือปัจจัยที่ใช้พิจารณาให้คะแนนในเรื่องสวัสดิการกรณีเจ็บป่วย แบ่งเป็น 9 หัวข้อ โจทก์ได้คะแนนรวมเท่ากับ 0 ใน 8 หัวข้อ อีก 1 หัวข้อ คือ ระยะเวลาที่จ่ายค่ารักษาพยาบาลปรากฏว่า ประกาศสำนักงานประกันสังคมมีข้อจำกัดเกี่ยวกับจำนวนครั้งในกรณีฉุกเฉิน แต่ไม่มีข้อจำกัดเกี่ยวกับระยะเวลาการรักษาพยาบาล ส่วนระเบียบของโจทก์ไม่มีข้อจำกัดเกี่ยวกับจำนวนครั้งแต่มีข้อจำกัดเกี่ยวกับระยะเวลาการรักษาพยาบาลถือได้ว่าสวัสดิการเกี่ยวกับระยะเวลาที่จ่ายค่ารักษาพยาบาลที่โจทก์จัดให้อยู่ในระดับเดียวกับประโยชน์ทดแทนตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ได้คะแนน0 คิดเป็นคะแนนรวมทั้งสิ้นเท่ากับ 0 จึงต้องถือว่าสวัสดิการที่โจทก์จัดให้พนักงานอยู่ในระดับเดียวกับประโยชน์ทดแทนตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 โจทก์จึงไม่ได้รับการลดส่วนอัตราเงินสมทบ
ตามประกาศคณะกรรมการประกันสังคม เรื่อง หลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขการลดส่วนอัตราเงินสมทบเกี่ยวกับประโยชน์ทดแทนกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บปวด กรณีทุพพลภาพ กรณีคลอดบุตร และกรณีตาย พ.ศ. 2534 กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการขอลดส่วนและการพิจารณาหักส่วนลดอัตราเงินสมทบที่รัฐบาล นายจ้าง และลูกจ้างจะต้องส่งเข้ากองทุนประกันสังคมโดยให้พิจารณาเปรียบเทียบระหว่างสวัสดิการที่นายจ้างจัดให้แก่ลูกจ้างกับประโยชน์ทดแทนตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 และตามประกาศคณะกรรมการประกันสังคมดังกล่าวได้ระบุเกี่ยวกับหลักเกณฑ์หรือปัจจัยที่ใช้พิจารณาให้คะแนนในเรื่องสวัสดิการกรณีเจ็บป่วย แบ่งเป็น 9 หัวข้อ โจทก์ได้คะแนนรวมเท่ากับ 0 ใน 8 หัวข้อ อีก 1 หัวข้อ คือ ระยะเวลาที่จ่ายค่ารักษาพยาบาลปรากฏว่า ประกาศสำนักงานประกันสังคมมีข้อจำกัดเกี่ยวกับจำนวนครั้งในกรณีฉุกเฉิน แต่ไม่มีข้อจำกัดเกี่ยวกับระยะเวลาการรักษาพยาบาล ส่วนระเบียบของโจทก์ไม่มีข้อจำกัดเกี่ยวกับจำนวนครั้งแต่มีข้อจำกัดเกี่ยวกับระยะเวลาการรักษาพยาบาลถือได้ว่าสวัสดิการเกี่ยวกับระยะเวลาที่จ่ายค่ารักษาพยาบาลที่โจทก์จัดให้อยู่ในระดับเดียวกับประโยชน์ทดแทนตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ได้คะแนน0 คิดเป็นคะแนนรวมทั้งสิ้นเท่ากับ 0 จึงต้องถือว่าสวัสดิการที่โจทก์จัดให้พนักงานอยู่ในระดับเดียวกับประโยชน์ทดแทนตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 โจทก์จึงไม่ได้รับการลดส่วนอัตราเงินสมทบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3283/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการอนุญาตเครื่องกระสุนปืน: ชนิด, ขนาด, และเจตนาการใช้งานตามกฎหมายอาวุธปืน
ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 11(พ.ศ. 2522) ข้อ 3 เครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ได้ต้องเป็นเครื่องกระสุนปืนที่ใช้กับอาวุธปืนที่นายทะเบียนออกใบอนุญาตให้ได้ตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง ฉบับที่ 11(พ.ศ. 2522) ข้อ 2 แต่เครื่องกระสุนปืนนั้นแม้จะเป็นเครื่องกระสุนปืนขนาดที่ใช้กับอาวุธปืนที่นายทะเบียนออกใบอนุญาตให้ได้ก็ตาม หากเป็นเครื่องกระสุนปืนชนิดเจาะเกราะหรือชนิดกระสุนเพลิงแล้ว ก็เป็นเครื่องกระสุนปืนชนิดที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ไม่ได้
เครื่องกระสุนปืนขนาด 7.62 มม. เป็นเครื่องกระสุนปืนที่ใช้กับอาวุธปืนที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ได้ จึงเป็นเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนออกใบอนุญาตให้ได้เช่นกันเว้นแต่จะเป็นเครื่องกระสุนปืนชนิดเจาะเกราะหรือชนิดกระสุนเพลิงจึงจะเป็นเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนออกใบอนุญาตให้ไม่ได้ ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 11(พ.ศ. 2522) ข้อ 3 ตอนท้าย ดังนั้น แม้เครื่องกระสุนปืนดังกล่าวจะเป็นเครื่องกระสุนปืนที่ผลิตขึ้นมาใช้กับอาวุธปืนสงครามของทหารกองทัพนาโต้เป็นการเฉพาะ แต่เมื่อโจทก์ไม่ได้นำสืบว่าเป็นเครื่องกระสุนปืนชนิดเจาะเกราะหรือชนิดกระสุนเพลิง จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานมีเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ไม่ได้ตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 มาตรา 55,78
เครื่องกระสุนปืนขนาด 7.62 มม. เป็นเครื่องกระสุนปืนที่ใช้กับอาวุธปืนที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ได้ จึงเป็นเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนออกใบอนุญาตให้ได้เช่นกันเว้นแต่จะเป็นเครื่องกระสุนปืนชนิดเจาะเกราะหรือชนิดกระสุนเพลิงจึงจะเป็นเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนออกใบอนุญาตให้ไม่ได้ ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 11(พ.ศ. 2522) ข้อ 3 ตอนท้าย ดังนั้น แม้เครื่องกระสุนปืนดังกล่าวจะเป็นเครื่องกระสุนปืนที่ผลิตขึ้นมาใช้กับอาวุธปืนสงครามของทหารกองทัพนาโต้เป็นการเฉพาะ แต่เมื่อโจทก์ไม่ได้นำสืบว่าเป็นเครื่องกระสุนปืนชนิดเจาะเกราะหรือชนิดกระสุนเพลิง จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานมีเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ไม่ได้ตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 มาตรา 55,78
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3123/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีใหม่ในคดีไม่มีข้อยุ่งยาก และกระบวนการพิจารณาที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
คำขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลยบรรยายแต่เหตุที่จำเลยมิได้จงใจขาดนัดยื่นคำให้การ และมีเฉพาะข้อความในช่วงท้ายเท่านั้นที่ระบุว่า หากจำเลยต่อสู้คดีเชื่อว่ายอดหนี้ที่กล่าวในคำบังคับต้องลดน้อยลงอย่างแน่นอน เพราะหากตรวจสอบอย่างดีแล้วจะพบดอกเบี้ยที่โจทก์คิดคำนวณไว้โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ได้อ้างหรือแสดงเหตุโดยละเอียดชัดแจ้งว่า คำพิพากษาของศาลชั้นต้นไม่ชอบหรือไม่ถูกต้องในส่วนใด อย่างไรที่จะแสดงให้เห็นว่าศาลได้พิจารณาคดีใหม่จำเลยอาจเป็นฝ่ายชนะคดี คำขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลยจึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 199 จัตวา วรรคสอง
ศาลชั้นต้นให้ดำเนินคดีอย่างคดีไม่มีข้อยุ่งยาก ซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 196 วรรคสอง(3) ได้บัญญัติไว้ว่าจำเลยได้รับหมายเรียกของศาลแล้วไม่มาศาลตามกำหนดนัด ให้ศาลมีคำสั่งโดยไม่ชักช้าว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาแล้วให้ศาลพิจารณาคดีไปฝ่ายเดียว อันเป็นวิธีพิจารณาวิสามัญในศาลชั้นต้นที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้วว่าให้ศาลมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาในกรณีที่จำเลยไม่มาศาล กระบวนพิจารณาต่อจากนั้น จึงจะใช้ดุลพินิจให้โจทก์ส่งเอกสารแทนการสืบพยานตามมาตรา 198 ทวิ วรรคสาม(1) โดยอาศัยมาตรา 204 และมาตรา 206 วรรคสอง มาใช้บังคับโดยอนุโลมได้ ดังนั้น การที่จำเลยไม่มาศาลและศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ และให้โจทก์ส่งเอกสารแทนการสืบพยานตามมาตรา 198 ทวิ วรรคสาม(1) ไปเลย โดยไม่ได้มีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาจึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ
ศาลชั้นต้นให้ดำเนินคดีอย่างคดีไม่มีข้อยุ่งยาก ซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 196 วรรคสอง(3) ได้บัญญัติไว้ว่าจำเลยได้รับหมายเรียกของศาลแล้วไม่มาศาลตามกำหนดนัด ให้ศาลมีคำสั่งโดยไม่ชักช้าว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาแล้วให้ศาลพิจารณาคดีไปฝ่ายเดียว อันเป็นวิธีพิจารณาวิสามัญในศาลชั้นต้นที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้วว่าให้ศาลมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาในกรณีที่จำเลยไม่มาศาล กระบวนพิจารณาต่อจากนั้น จึงจะใช้ดุลพินิจให้โจทก์ส่งเอกสารแทนการสืบพยานตามมาตรา 198 ทวิ วรรคสาม(1) โดยอาศัยมาตรา 204 และมาตรา 206 วรรคสอง มาใช้บังคับโดยอนุโลมได้ ดังนั้น การที่จำเลยไม่มาศาลและศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ และให้โจทก์ส่งเอกสารแทนการสืบพยานตามมาตรา 198 ทวิ วรรคสาม(1) ไปเลย โดยไม่ได้มีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาจึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3034/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเรียกเก็บเงินประกันความเสียหายจากการทำงานของลูกจ้าง: หลักเกณฑ์และขอบเขตตามกฎหมาย
อ. เป็นผู้จัดการสถานีมีหน้าที่รับผิดชอบควบคุมทรัพย์สินภายในร้านสะดวกซื้อของโจทก์ จึงเข้าลักษณะงานที่โจทก์จะเรียกเงินประกันความเสียหายในการทำงานจากลูกจ้างได้
การที่ อ. ได้รับค่าจ้างเฉลี่ยรายวันวันละ 233.33 บาท ขณะที่โจทก์ได้รับเงินประกันซึ่งโจทก์สามารถเรียกได้ไม่เกิน 30 เท่าของอัตราค่าจ้างรายวันโดยเฉลี่ยที่ลูกจ้างได้รับอยู่ในวันที่นายจ้างรับเงินประกันคิดเป็นเงิน 13,999.80 บาท โจทก์หักค่าจ้างของอ. ไว้เป็นเงินประกันจำนวน 9,415 บาท จึงเป็นจำนวนเงินที่โจทก์สามารถเรียกได้และโจทก์ได้นำเงินประกันดังกล่าวไปฝากไว้กับบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ก. อันเป็นสถาบันการเงินในนามของ อ. จึงเป็นการปฏิบัติที่ชอบด้วยบทบัญญัติมาตรา 10 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ แม้โจทก์จะไม่ได้แจ้งชื่อสถาบันการเงิน ชื่อบัญชี และเลขที่บัญชีให้ อ. ทราบก็ไม่มีผลกระทบต่อการเรียกเก็บเงินประกันความเสียหายในการทำงานที่โจทก์เรียกเก็บจาก อ. โดยชอบแล้ว โจทก์จึงมีสิทธินำเงินประกันดังกล่าวมาหักจากค่าเสียหายที่ อ. ก่อให้เกิดขึ้นแก่โจทก์ในการทำงานได้และไม่จำต้องคืนเงินประกันดังกล่าวแก่ อ. ด้วย
การที่ อ. ได้รับค่าจ้างเฉลี่ยรายวันวันละ 233.33 บาท ขณะที่โจทก์ได้รับเงินประกันซึ่งโจทก์สามารถเรียกได้ไม่เกิน 30 เท่าของอัตราค่าจ้างรายวันโดยเฉลี่ยที่ลูกจ้างได้รับอยู่ในวันที่นายจ้างรับเงินประกันคิดเป็นเงิน 13,999.80 บาท โจทก์หักค่าจ้างของอ. ไว้เป็นเงินประกันจำนวน 9,415 บาท จึงเป็นจำนวนเงินที่โจทก์สามารถเรียกได้และโจทก์ได้นำเงินประกันดังกล่าวไปฝากไว้กับบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ก. อันเป็นสถาบันการเงินในนามของ อ. จึงเป็นการปฏิบัติที่ชอบด้วยบทบัญญัติมาตรา 10 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ แม้โจทก์จะไม่ได้แจ้งชื่อสถาบันการเงิน ชื่อบัญชี และเลขที่บัญชีให้ อ. ทราบก็ไม่มีผลกระทบต่อการเรียกเก็บเงินประกันความเสียหายในการทำงานที่โจทก์เรียกเก็บจาก อ. โดยชอบแล้ว โจทก์จึงมีสิทธินำเงินประกันดังกล่าวมาหักจากค่าเสียหายที่ อ. ก่อให้เกิดขึ้นแก่โจทก์ในการทำงานได้และไม่จำต้องคืนเงินประกันดังกล่าวแก่ อ. ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2989/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมายทำให้ผู้เสียหายตกเป็นผู้กระทำผิด จึงขาดอำนาจฟ้องคดีเช็ค
จำเลยกู้เงินจากผู้เสียหายเพียง 50,000 บาท แต่ในสัญญากู้เงินระบุว่าจำเลยกู้ไป 60,000 บาท แสดงว่าเงิน 10,000 บาท ที่เกินมาคือดอกเบี้ยที่ผู้เสียหายคิดจากจำเลย ปรากฏว่าในสัญญากำหนดเวลาใช้เงินกู้คืนภายใน 1 เดือน จึงเท่ากับเป็นการคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 20 ต่อเดือน เกินกว่าอัตราตามกฎหมาย ย่อมเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯ มาตรา 3(ก) การที่ผู้เสียหายรับเช็คพิพาทจากจำเลยเพื่อชำระหนี้เงินกู้ยืมซึ่งมีดอกเบี้ยที่ผู้เสียหายเรียกเกินอัตราตามกฎหมายรวมอยู่ด้วย ถือว่าผู้เสียหายเป็นผู้กระทำผิดในส่วนของดอกเบี้ยที่คิดเกินอัตรา แม้ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คดังกล่าวก็จะถือว่าผู้เสียหายเป็นผู้เสียหายไม่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4)
แม้ผู้เสียหายที่เป็นผู้กระทำผิดจะร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนและพนักงานสอบสวนทำการสอบสวนดำเนินคดีแก่จำเลยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 4 ก็ตาม ก็ถือไม่ได้ว่ามีการร้องทุกข์และสอบสวนโดยชอบตามกฎหมายแล้ว พนักงานอัยการโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 120 และ 121
แม้ผู้เสียหายที่เป็นผู้กระทำผิดจะร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนและพนักงานสอบสวนทำการสอบสวนดำเนินคดีแก่จำเลยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 4 ก็ตาม ก็ถือไม่ได้ว่ามีการร้องทุกข์และสอบสวนโดยชอบตามกฎหมายแล้ว พนักงานอัยการโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 120 และ 121
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2981/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลาอุทธรณ์: การนับระยะเวลาตามกฎหมายและการพิจารณาวันหยุดทำการ
คดีครบกำหนดยื่นอุทธรณ์ภายใน 1 เดือน คือวันที่ 5 ธันวาคม 2541 เมื่อจำเลยทั้งสองยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไปอีก 20 วัน นับแต่วันครบอุทธรณ์และศาลชั้นต้นอนุญาตตามขอ จึงต้องนับต่อจากวันครบกำหนดระยะเวลาเดิมคือต่อจากวันที่ 5 โดยเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 6 ธันวาคม 2541 เป็นต้นไป โดยไม่ต้องคำนึงว่าวันที่ 6 , 7 และ 8 ธันวาคม 2541 จะตรงกับวันหยุดทำการหรือไม่ เพราะวันเวลาดังกล่าวไม่ใช่วันสุดท้ายตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/8
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2703-2713/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รัฐวิสาหกิจกำหนดคุณสมบัติและเหตุพ้นตำแหน่งพนักงานได้ หากไม่ขัด พ.ร.บ.คุณสมบัติมาตรฐาน
จำเลยซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจสามารถกำหนดคุณสมบัติ ลักษณะต้องห้ามและการพ้นจากตำแหน่งของพนักงานของจำเลยเองได้เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับที่กำหนดไว้ในมาตรา 9 (1) ถึง (7) และมาตรา 11 (1) ถึง (3) แห่ง พ.ร.บ. คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518
พ.ร.บ.คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 มาตรา 9 (2) บัญญัติถึง คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามเรื่องอายุของพนักงานรัฐวิสาหกิจไว้ว่ามีอายุไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์ เป็นการกำหนด อายุขั้นสูงของผู้มีคุณสมบัติเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจไว้เท่านั้น มิได้ห้ามรัฐวิสาหกิจไม่ให้กำหนดให้ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 60 ปีบริบูรณ์ พ้นจากการเป็นพนักงาน ข้อบังคับของจำเลยที่กำหนดให้พนักงานหญิงของจำเลยพ้นจากการเป็นพนักงาน เนื่องจากเกษียณอายุเมื่อมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ จึงไม่ขัดต่อบทบัญญัติดังกล่าว
พ.ร.บ.คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 มาตรา 9 (2) บัญญัติถึง คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามเรื่องอายุของพนักงานรัฐวิสาหกิจไว้ว่ามีอายุไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์ เป็นการกำหนด อายุขั้นสูงของผู้มีคุณสมบัติเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจไว้เท่านั้น มิได้ห้ามรัฐวิสาหกิจไม่ให้กำหนดให้ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 60 ปีบริบูรณ์ พ้นจากการเป็นพนักงาน ข้อบังคับของจำเลยที่กำหนดให้พนักงานหญิงของจำเลยพ้นจากการเป็นพนักงาน เนื่องจากเกษียณอายุเมื่อมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ จึงไม่ขัดต่อบทบัญญัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2703-2713/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รัฐวิสาหกิจกำหนดเกณฑ์เกษียณอายุพนักงานหญิงได้ หากไม่ขัดกับกฎหมายคุณสมบัติมาตรฐานพนักงานรัฐวิสาหกิจ
จำเลยซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจสามารถกำหนดคุณสมบัติ ลักษณะต้องห้ามและการพ้นจากตำแหน่งของพนักงานของจำเลยเองได้ เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจพ.ศ. 2518 มาตรา 9(1) ถึง (7) และมาตรา 11(1) ถึง (3) จำเลยจึงสามารถกำหนดให้พนักงานหญิงของจำเลยพ้นจากการเป็นพนักงานเนื่องจากเกษียณอายุเมื่อมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ ได้ โจทก์จึงต้องพ้นจากตำแหน่งเนื่องจากเกษียณอายุเมื่ออายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ ตามข้อบังคับของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2631/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อเลิกได้ทันทีหากผิดนัดชำระ ตามข้อตกลง แม้ขัดกับบทบัญญัติกฎหมาย แต่ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย
ข้อสัญญาระบุว่า กรณีผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้องวดหนึ่งงวดใดให้ถือว่าสัญญาเช่าซื้อเลิกกันทันทีโดยโจทก์ไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า ซึ่งข้อสัญญาดังกล่าวแม้จะมีข้อความแตกต่างจากบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 574 วรรคแรก แต่กฎหมายบทนี้มิใช่กฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงใช้บังคับได้
ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องและพิพากษายกฟ้องโจทก์ โดยยังไม่ได้วินิจฉัยว่าจำเลยจะต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่ เพียงใด และคดีนี้ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันมีเพียง 32,345 บาท การวินิจฉัยข้อเท็จจริงของศาลชั้นต้นอาจมีผลทำให้คดีต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ศาลฎีกาจึงเห็นควรย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาในประเด็นดังกล่าวจากพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบก่อน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243 (1) ประกอบมาตรา 247
ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องและพิพากษายกฟ้องโจทก์ โดยยังไม่ได้วินิจฉัยว่าจำเลยจะต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่ เพียงใด และคดีนี้ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันมีเพียง 32,345 บาท การวินิจฉัยข้อเท็จจริงของศาลชั้นต้นอาจมีผลทำให้คดีต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ศาลฎีกาจึงเห็นควรย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาในประเด็นดังกล่าวจากพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบก่อน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243 (1) ประกอบมาตรา 247