คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
กฎหมายอาญา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 392 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1303/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดโทษจำคุกสำหรับความผิดเจ้าพนักงานปลอมหนังสือ และการห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงที่ขัดกับข้อเท็จจริงที่ปรากฏ
ในความผิดฐานเจ้าพนักงานปลอมหนังสือแม้กฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 229 และ 230 กำหนดโทษจำคุก ตั้งแต่ 5 ปี ขึ้นไปจนถึง 10 ปีก็จริง แต่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 161 กำหนดโทษว่า ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี ซึ่งไม่กำหนดอัตราโทษอย่างต่ำไว้ เมื่อกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะศาลทำการพิจารณาเป็นเช่นนี้ ในการวินิจฉัยกรณีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 176 จึงต้องถือเอาตามนั้น แม้จะไม่ได้ระบุว่า มาตรา ใดตรงกับมาตรา ของกฎหมายเดิมมาตราไหน แต่ก็อาจเห็นจากบทบัญญัติของกฎหมายเก่า และใหม่ได้อยู่ในตัวแล้ว เมื่อจำเลยรับสารภาพตามฟ้อง ศาลจึงสั่งไม่ให้สืบพยาน เช่นนี้ ย่อมเป็นการชอบแล้ว เพราะการที่ศาลจะต้องฟังพยานโจทก์หรือไม่ เป็นเรื่องเกี่ยวกับกฎหมายวิธีพิจารณา (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 22/2503)
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุกจำเลย 4 ปี จำเลยจะฎีกาว่า จำเลยมีเหตุบรรเทาโทษตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 โดยบิดาจำเลยได้นำเงินส่วนตัวมอบให้ผู้เสียหายหมดสิ้นแล้ว และว่าการที่ศาลมิให้จำเลยสืบพยาน ทำให้ศาลไม่ทราบถึงข้อควรคำนึงตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 ดังนี้ หาได้ไม่ เพราะการฎีกาดังกล่าวขัดกับที่ปรากฏในรายงานพิจารณาที่ว่า จำเลยแถลงว่าจำเลยไม่สามารถหาเงินมาชำระแก่เจ้าทุกข์ ได้ จำเลยขอให้ศาลพิพากษาไป การที่จำเลยบิดเบือนข้อเท็จจริงให้เป็นปัญหาข้อกฎหมายจึงเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้าม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 700/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับบทกฎหมายอาญาเพื่อประโยชน์จำเลย: เลือกบทที่มีโทษเบากว่าได้
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 162 มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูง 7 ปี ไม่มีขั้นต่ำ ย่อมเป็นกฎหมายที่มีส่วนเป็นคุณแก่จำเลยมากกว่า กฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 230 ซึ่งมีอัตราโทษอย่างสูง 10 ปี และคั่นต่ำ 5 ปี
การที่ศาลจะใช้ดุลยพินิจกำหนดโทษจำเลยมากน้อยเท่าใด ก็ชอบที่จะปรับบทเสียก่อนว่า ควรต้องลดโทษจำเลยด้วยบทมาตราใด ปรับบทตามกฎหมายแล้วจึงใช้ดุลยพินิจกำหนดโทษได้ภายในอัตราโทษที่บัญญัติไว้ในบทมาตรานั้น
การใช้กฎหมายที่มีส่วนเป็นคุณแก่จำเลย อันเป็นเหตุในส่วนลักษณะคดี ย่อมเป็นผลถึงจำเลยซึ่งไม่ได้อุทธรณ์ฎีกาด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 700/2502

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับบทกฎหมายอาญาเพื่อประโยชน์แก่จำเลย: เลือกใช้บทที่มีอัตราโทษเบากว่า
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 162 มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูง7 ปี ไม่มีขั้นต่ำ ย่อมเป็นกฎหมายที่มีส่วนเป็นคุณแก่จำเลยมากกว่ากฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 230 ซึ่งมีอัตราโทษอย่างสูง 10 ปีและชั้นต่ำ 5 ปี
การที่ศาลจะใช้ดุลพินิจกำหนดโทษจำเลยมากน้อยเท่าใดก็ชอบที่จะปรับบทเสียก่อนว่า ควรต้องลดโทษจำเลยด้วยบทมาตราใด ปรับบทตามกฎหมายแล้วจึงใช้ดุลพินิจกำหนดโทษได้ภายในอัตราโทษที่บัญญัติไว้ในบทมาตรานั้น
การใช้กฎหมายที่มีส่วนเป็นคุณแก่จำเลย อันเป็นเหตุในส่วนลักษณะคดี ย่อมเป็นผลถึงจำเลยซึ่งไม่ได้อุทธรณ์ฎีกาด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 602/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาโทษยักยอกทรัพย์: เกณฑ์อัตราโทษต่ำสุด 5 ปีตาม ป.วิ.อ. และการใช้บทบัญญัติที่กฎหมายอาญา
ป.วิ.อ. มาตรา 176 เดิมบัญญัติถึงกรณีที่จะต้องสืบพยานประกอบคำรับสารภาพของจำเลยให้ถือเกณฑ์อัตราโทษจำคุกอย่างสูงตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป แต่ที่แก้ไขใหม่ได้เปลี่ยนหลักเดิมเป็นถือเกณฑ์อัตราโทษอย่างต่ำจำคุกตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป หรือโทษสถานที่หนักกว่านั้น แม้ตามกฎหมายลักษณะอาญา ม. 131 ที่แก้ไข มีโทษขั้นสูงจำคุกตลอดชีวิตหรือ 20 ปี แต่ก็มีอัตราโทษอย่างต่ำจำคุกตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป เมื่อจำเลยรับสารภาพก็ไม่ต้องสืบพยานประกอบ
โจทก์ฟ้องและอ้างประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2499 ย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่าหมายความถึงประมวลกฎหมายอาญาซึ่งประกาศใช้โดย พ.ร.บ. ให้ใช้ประมวลกฎหมาย อาญา พ.ศ. 2499 นั่นเอง
ประมวลกฎหมายอาญา ม. 147 เป็นคุณแก่ผู้กระทำผิดกว่ากฎหมายลักษณะอาญา ม. 131 ที่แก้ไข (เฉพาะข้อนี้โดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 4/2502 ควรเทียบดูกับฎีกาที่ 1292/2500 ซึ่งวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่และฎีกาที่ 1814/2500)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 566/2502

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษทางอาญาสำหรับแพทย์ที่รีดลูกโดยเห็นแก่สินจ้างรางวัล: การใช้กฎหมายที่เปลี่ยนแปลง
จำเลยเป็นนายแพทย์ทำการรีดลูกโดยเห็นแก่สินจ้างรางวัลเหตุเกิดขณะใช้กฎหมายลักษณะอาญา แต่ขณะศาลพิพากษานั้นประมวลกฎหมายอาญาใช้แล้ว จำเลยจึงมีผิดเพียงตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 261 ส่วนที่โจทก์ขอให้ลงโทษทวีขึ้นอีก 1 ใน 3 ตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 262 โดยจำเลยเป็นแพทย์และทำโดยเห็นแก่สินจ้างรางวัลนั้น กฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดคือ ประมวลกฎหมายอาญา ไม่มีบัญญัติให้ลงโทษผู้กระทำผิดฐานรีดลูกซึ่งเป็นแพทย์หรือเป็นคนทำโดยเห็นแก่สินจ้างรางวัลทวีขึ้นดังที่บัญญัติในกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 262 จึงต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยตามความใน มาตรา 3 แห่งประมวลกฎหมายอาญาไม่ลงโทษจำเลยทวีขึ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 51/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาโทษอาญา: ก.ม.ลักษณะอาญา vs. ประมวล ก.ม.อาญา – เลือกบทลงโทษที่เบากว่า
ก.ม. ลักษณะอาญาม. 136 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2484 ม.3 วางอัตราโทษให้จำคุกตลอดชีวิต หรือตั้งแต่ 1 ปีถึง 20 ปี และปรับตั้งแต่ 500 - 10,000 บาท ส่วนประมวล ก.ม. อาญาม.148 มีระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี และปรับไม่เกิน 20,000 บาท ดังนี้ จะเห็นว่าทั้งอัตราโทษจำคุกคั่นสูงและคั่นต่ำของประมวล ก.ม. อาญา ม.148เป็นกฎหมายที่มีส่วนเป็นคุณแก่จำเลยเพราะอัตราโทษจำคุกเบากว่า ก.ม. ลักษณะอาญา ม.136.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 36/2502

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลดโทษอาญาตามคำรับสารภาพและการใช้กฎหมายในขณะกระทำผิด รวมถึงการริบของกลาง
การลดโทษ เพราะรับสารภาพชั้นสอบสวน ควรใช้กฎหมายในขณะกระทำผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1233/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คคือหนังสือสำคัญทางกฎหมายอาญา การปลอมแปลงเช็คเป็นความผิด
เช็คเป็นตั๋วเงินชนิดหนึ่ง สั่งให้ธนาคารจ่ายเงิน จึงเป็นหนังสือซึ่งเป็นสำคัญแก่การตั้งหนี้สิน หรือเป็นหลักฐานแก่การเปลี่ยนแก้ เลิกล้างหรือโอนหนี้สิน เพราะเช็คนั้น ในเบื้องต้นย่อมเป็นหนังสือตราสารซึ่งผู้สั่งจ่ายสั่งธนาคารให้ใช้เงินแก่ผู้ทรง และผู้สั่งจ่ายก็จะใช้เงินแก่ผู้ทรง และในเบื้องปลาย เมื่อธนาคารได้จ่ายเงินตามคำสั่งของผู้ออกเช็คแล้ว ก็ย่อมเป็นหนังสือหลักฐานแสดงหนี้สินผูกพัน ระหว่างผู้ออกเช็คและธนาคารซึ่งผู้ออกเช็คต้องยอมให้ธนาคารหักเงินที่สั่งจ่ายนั้นจากบัญชีเงินฝากของตน หรือถ้าธนาคารจ่ายเงินตามเช็คเกินบัญชีเงินฝากของผู้ออกเช็คไป ธนาคารก็ย่อมเรียกร้องเอาจากผู้ออกเช็คได้ เช็คจึงเป็นหนังสือสำคัญตามความหมายของกฎหมายลักษณะอาญาโดยแท้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 311/2501

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมคบกันเพื่อป้องกันการยึดทรัพย์และการเปลี่ยนแปลงข้อกฎหมายอาญา
จำเลยถูกฟ้องว่าสมคบกันทำผิด กฎหมายลักษณะอาญา มาตรา308,309 แต่ปรากฏว่าขณะรับฟ้องแล้วกฎหมายลักษณะอาญาถูกยกเลิกไปตาม พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ.2499แต่ถ้าหากการกระทำที่จำเลยถูกฟ้องอาจเป็นผิดตามประมวลกฎหมายอาญา(มาตรา350)แล้วศาลก็ชอบที่จะดำเนินการพิจารณาไปแล้วสั่งหรือพิพากษาไปตามรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1251/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์เจตนาฆ่าตามกฎหมายลักษณะอาญา: ความพยายามด้วยความพยาบาทมาดหมาย vs. ไตร่ตรองไว้ก่อน
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยฆ่าผู้ตายโดยพยายามด้วยความพยาบาทมาดหมายตาม ก.ม.ลักษณะอาญา ม.250 ซึ่งต่างกับประมวลกฎหมายอาญา ม.289 ข้อ 4 ที่ว่า ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ตาม ก.ม.ลักษณะอาญา ม.250 จึงเป็นกฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลย เพราะจะต้องให้ได้ความว่า เป็นการฆ่าคนโดยพยายามด้วยความพยาบาทมาดหมายจึงจะมีความผิดตามกฎหมายลักษณะอาญาม.250 ที่โจทก์อ้าง
(หมายเหตุ ตาม ก.ม.ลักษณะอาญา ม.250 และตาม ประมวล ก.ม.อาญา ม.289 มีโทษสถานเดียวเท่ากันคือประหารชีวิต)
of 40