คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
กรรมสิทธิ์รวม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 202 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 59/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าของรวมมีอำนาจฟ้องคดีเกี่ยวกับทรัพย์สินที่ตนมีกรรมสิทธิ์รวมได้เอง ไม่ถือเป็นการนำสืบนอกฟ้อง
ฟ้องว่าเป็นเจ้าของที่ดินฟ้องขับไล่ผู้เช่า นำสืบได้ความว่าโจทก์เป็นเจ้าของรวมก็มีอำนาจฟ้องเองได้ ไม่นอกฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2074/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินกรรมสิทธิ์รวมโดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาล และการเพิกถอนนิติกรรมกรณีผู้รับซื้อรู้ข้อเท็จจริงทำให้เสียเปรียบ
จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบิดาผู้แทนโดยชอบธรรมของจำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาจะขายที่พิพาทซึ่งจำเลยทั้งสองมีกรรมสิทธิ์ร่วมกันทั้งส่วนของตนและส่วนของจำเลยที่ 2 ให้แก่โจทก์ โดยไม่ได้ขออนุญาตศาลขายส่วนของจำเลยที่ 2 สัญญาจะซื้อขายดังกล่าวไม่ผูกพันจำเลยที่ 2 คงผูกพันเฉพาะจำเลยที่ 1 ต่อมาเมื่อจำเลยที่ 2บรรลุนิติภาวะแล้ว จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้โอนขายที่พิพาทให้จำเลยที่ 3 ซึ่งรับซื้อไว้โดยรู้ข้อความจริงที่ทำให้โจทก์ผู้ทำสัญญาจะซื้อขายไว้ก่อนเสียเปรียบ โจทก์ย่อมขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมระหว่างจำเลยที่ 1 กับที่ 3 เสียได้
เมื่อจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่พิพาทส่วนของจำเลยที่ 2 ให้แก่โจทก์โดยไม่มีอำนาจที่จะทำได้และโจทก์ไม่อาจบังคับตามสัญญาให้จำเลยขายที่พิพาทส่วนของจำเลยที่ 2 ได้ จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดใช้ ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์
เรื่องค่าเสียหายนี้แม้จำเลยจะมิได้ฎีกาคัดค้าน แต่เมื่อโจทก์จะได้รับ โอนที่พิพาทครึ่งแปลง ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจลดค่าเสียหายลงได้ตามส่วน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1523/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์รวมสินบริคณห์หลังหย่า: สิทธิเจ้าของรวมหลังจดทะเบียนหย่า
สามีภริยาหย่ากันโดยคำพิพากษาและจดทะเบียนหย่าแล้วสินบริคณห์สิ้นสภาพ แม้ยังมิได้แบ่งก็เป็นแต่กรรมสิทธิ์รวมธรรมดา หญิงถูกยึดทรัพย์ ชายร้องขัดทรัพย์ไม่ได้ ได้แต่ขอกันส่วนในฐานะเจ้าของรวมเท่านั้น ไม่ต้องร้องขอแยกสินบริคณห์เป็นส่วนของสามีและภริยาก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1450/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในการฟ้องแบ่งทรัพย์สิน แม้ผู้เยาว์เป็นทายาท
โจทก์ จำเลยที่ 2 และ ส. ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างและได้ครอบครองร่วมกันตลอดมาจนกระทั่งส.ถึงแก่ความตาย ดังนี้ แม้ทายาทของ ส.ยังเป็นผู้เยาว์อยู่ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของรวมคนหนึ่งก็มีสิทธิฟ้องผู้จัดการมรดกของ ส. และจำเลยที่ 2 ให้แบ่งที่ดินและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวได้ มิใช่เป็นการเรียกให้แบ่งทรัพย์สิน ในเวลาที่ไม่เป็นโอกาสอันควรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1363 วรรค 3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 635/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำในกรรมสิทธิ์รวม: การฟ้องขับไล่ผู้บุกรุกโดยเจ้าของรวมคนหนึ่ง ย่อมผูกพันกรรมสิทธิ์รวมทั้งหมด
การที่เจ้าของรวมคนหนึ่งฟ้องขับไล่ผู้บุกรุกที่ดินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์รวมถือได้ว่าเป็นการใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมดเพื่อต่อสู้บุคคลภายนอกย่อมมีอำนาจทำได้โดยลำพัง
เมื่อเจ้าของรวมคนหนึ่งเคยฟ้องขับไล่จำเลยหาว่าบุกรุกที่ดินกรรมสิทธิ์รวมมาแล้ว และได้มีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน ซึ่งศาลได้พิพากษาตามยอมคดีถึงที่สุดไปแล้ว โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของรวมคนหนึ่งจะกลับมาฟ้องว่าจำเลยบุกรุก ขอให้ขับไล่อีก ย่อมเป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันแม้ในคดีก่อนเจ้าของรวมนั้นจะไม่ได้รับมอบฉันทะให้ฟ้องแทนโจทก์หรือไม่ได้บรรยายฟ้องว่าฟ้องแทนโจทก์ ฟ้องของโจทก์ในคดีหลังนี้ก็เป็นฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 617/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์รวมและการแบ่งทรัพย์สินมรดก: สิทธิครอบครองเดิมสำคัญกว่าชื่อในตราจอง
ข้อสันนิษฐานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1357 นั้นยอมสืบหักล้างได้ว่าความจริงมีอยู่อย่างไร มารดาแบ่งที่นามือเปล่าให้บุตร 2 คนครอบครองกันเป็นส่วนสัด เป็นเนื้อที่ไม่เท่ากัน แล้วมารดาขอออกตราจองที่นาแปลงนั้นเป็นฉบับเดียวกันการออกตราจองนี้ถือว่ามารดามิได้มีเจตนาจะถือว่าที่ดินเป็นของตน เพราะได้สละการครอบครองให้บุตรไปแล้ว เมื่อออกตราจองแล้วมารดาก็โอนกรรมสิทธิ์ให้บุตรทั้งสองนั้น โดยมิได้ระบุว่าส่วนของคนไหนมีเนื้อที่เท่าใด ดังนี้ เมื่อบุตรจะขอแยกตราจอง ต่างก็ได้ที่ดินในส่วนที่ตนครอบครองกันอยู่ตลอดมานั้น มิใช่จะได้คนละส่วนเท่ากัน และเรื่องนี้ก็เป็นปัญหาเรื่องกรรมสิทธิ์รวม ไม่ใช่เรื่องการครอบครองที่ของผู้อื่นโดยทางปรปักษ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 617/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์รวม การแบ่งแยกที่ดิน และผลของการครอบครองก่อนรับตราจอง
ข้อสันนิษฐานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1357 นั้นยอมสืบหักล้างได้ว่าความจริงมีอยู่อย่างไร มารดาแบ่งที่นามือเปล่าให้บุตร 2 คนครอบครองกันเป็นส่วนสัด เป็นเนื้อที่ไม่เท่ากัน แล้วมารดาขอออกตราจองที่นาแปลงนั้นเป็นฉบับเดียวกันการออกตราจองนี้ถือว่ามารดามิได้มีเจตนาจะถือว่าที่ดินเป็นของตน เพราะได้สละการครอบครองให้บุตรไปแล้ว เมื่อออกตราจองแล้วมารดาก็โอนกรรมสิทธิ์ให้บุตรทั้งสองนั้น.โดยมิได้ระบุว่าส่วนของคนไหนมีเนื้อที่เท่าใด ดังนี้ เมื่อบุตรจะขอแยกตราจอง ต่างก็ได้ที่ดินในส่วนที่ตนครอบครองกันอยู่ตลอดมานั้น มิใช่จะได้คนละส่วนเท่ากัน และเรื่องนี้ก็เป็นปัญหาเรื่องกรรมสิทธิ์รวม ไม่ใช่เรื่องการครอบครองที่ของผู้อื่นโดยทางปรปักษ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1168/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์รวมและการรังวัดแบ่งแยกที่ดิน: สิทธิของเจ้าของรวมและการครอบครองโดยไม่สุจริต
โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินร่วมกับผู้อื่น แม้จะปรากฏว่าเจ้าของรวม ต่างแบ่งกันครอบครองก็เป็นเพียงการเข้าใช้ประโยชน์ในที่ดินเท่านั้น ยังไม่ได้กำหนดเขตที่ดินเป็นส่วนสัด ต้องบังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยกรรมสิทธิ์รวม เมื่อโจทก์ขอรังวัดแบ่งแยกที่ดินนี้ จำเลยคัดค้านว่ารังวัดรุกล้ำแนวเขตที่ดินของจำเลย โจทก์มีอำนาจฟ้องได้
จำเลยครอบครองที่ดินที่พิพาท โดยสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ ถึงวันฟ้องยังไม่ครบ 10 ปี ไม่มีทางได้กรรมสิทธิ์ที่พิพาทไม่มีสิทธิคัดค้านโจทก์ในการรังวัดแบ่งแยกที่พิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1168/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์รวมและการรังวัดแบ่งแยกที่ดิน: สิทธิของเจ้าของรวมและการครอบครองปรปักษ์
โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินร่วมกับผู้อื่น แม้จะปรากฏว่าเจ้าของรวมต่างแบ่งกันครอบครองก็เป็นเพียงการเข้าใช้ประโยชน์ในที่ดินเท่านั้น ยังไม่ได้กำหนดเขตที่ดินเป็นส่วนสัด ต้องบังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยกรรมสิทธิ์รวม เมื่อโจทก์ขอรังวัดแบ่งแยกที่ดินนี้ จำเลยคัดค้านว่ารังวัดรุกล้ำแนวเขตที่ดินของจำเลย โจทก์มีอำนาจฟ้องได้
จำเลยครอบครองที่ดินที่พิพาท โดยสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ ถึงวันฟ้องยังไม่ครบ 10 ปี ไม่มีทางได้กรรมสิทธิ์ที่พิพาทไม่มีสิทธิคัดค้านโจทก์ในการรังวัดแบ่งแยกที่พิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1165/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องตามสัญญาประนีประนอมยอมความของผู้รับมรดก แม้กรรมสิทธิ์ในที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์รวม
ฟ้องโจทก์ตั้งประเด็นว่า น. ผู้ตายเคยทำสัญญาประนีประนอมยอมความยกที่ดินให้โจทก์ แต่จำเลยที่ 1 กลับไปขอรับมรดกที่ดินรายนี้แล้วโอนให้จำเลยที่ 2 จำเลยให้การต่อสู้โดยมิได้ยกข้อต่อสู้ว่า สัญญาประนีประนอมที่ น. ทำไว้ใช้ไม่ได้ เพราะเจ้าของที่ดินโฉนดพิพาทมีคนอื่น นอกจาก น. เป็นเจ้าของด้วย การที่ศาลอุทธรณ์ยกข้อนี้ขึ้นวินิจฉัยจึงเป็นเรื่องนอกประเด็นเพราะจำเลยเพิ่งยกขึ้นในตอนที่จำเลยอุทธรณ์
จำเลยเป็นผู้รับมรดกสืบสิทธิจาก น. ต้องผูกพันตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่ น. ทำไว้กับโจทก์ด้วย โจทก์มีสิทธิฟ้องจำเลยขอแบ่งแยกที่ดินให้ตามสัญญานั้น
of 21