คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ของกลาง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 300 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2437/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบของกลางเมื่อจำเลยไม่มีความผิด การริบต้องเป็นไปตามโทษที่จำเลยได้รับ
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกับพวกร่วมกันใช้ไม้ตีทำร้ายผู้เสียหายขอให้ลงโทษและริบไม้ของกลาง เมื่อการริบทรัพย์สินเป็นโทษอย่างหนึ่งและคดีฟังไม่ได้ว่าจำเลยนี้กระทำความผิด แม้ไม้ของกลางจะเป็นทรัพย์สินที่ผู้อื่นใช้ในการกระทำผิด ก็จะพิพากษาให้ริบในคดีนี้ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1263/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการขอคืนของกลาง: แม้โจทก์ไม่คัดค้านคำร้อง แต่ศาลต้องเปิดโอกาสให้โจทก์สืบพยานหักล้างได้เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
ในกรณีผู้เป็นเจ้าของทรัพย์ที่ถูกศาลสั่งให้ริบยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอให้คืนทรัพย์ที่ริบเพราะมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำผิด แม้โจทก์ได้รับสำเนาคำร้องแล้วมิได้คัดค้านก็ตาม จะถือว่าโจทก์ยอมรับว่าทรัพย์ของกลางนั้นเป็นของผู้ร้องรวมตลอดทั้งเหตุผลที่อ้างในการขอคืนทรัพย์ในคำร้องนั้นด้วยยังไม่ได้ และการที่โจทก์มายื่นบัญชีอ้างพยานเมื่อฝ่ายผู้ร้องสืบพยานเสร็จ ศาลก็มีอำนาจอนุญาตให้โจทก์สืบพยานได้ หากศาลเห็นสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 898/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ระยะเวลาการขอคืนของกลาง: นับจากวันอ่านคำสั่งศาลฎีกาถึงที่สุด ไม่ใช่วันพิพากษาเดิม
ศาลได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้จำเลยฟังเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2509 วันที่ 12 เมษายน 2509 จำเลยยื่นฎีกา ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับฎีกาอ้างว่าเป็นฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้ฎีกา จำเลยฎีกา ศาลฎีกาสั่งว่าข้อกฎหมายตามฎีกาของจำเลยไม่เป็นสาระแก่คดีให้ยกเสีย และศาลชั้นต้นอ่านคำสั่งศาลฎีกาให้คู่ความฟังเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2509 วันที่ 13 มิถุนายน 2510 ผู้ร้องยื่นคำร้องขอคืนของกลาง ศาลฎีกาโดยที่ประชุมใหญ่เห็นว่า คดีถึงที่สุดเมื่อได้อ่านคำสั่งศาลฎีกาให้จำเลยฟัง การนับระยะเวลา 1 ปี เพื่อยื่นคำร้องขอคืนของกลาง นับต่อจากวันนั้นเป็นต้นไป การที่ผู้ร้องร้องขอคืนของกลางเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2510 จึงเป็นการร้องต่อศาลภายใน 1 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 10/2512)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1673/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดของกลางทางศุลกากรและการเรียกร้องคืนเมื่อมีคดีอาญา: ศาลใช้ประมวลกฎหมายอาญา
ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 24 ซึ่งได้แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2497 มาตรา 3 บัญญัติว่า "สิ่งใด ๆ อันจะพึงต้องริบตามพระราชบัญญัตินี้พนักงานศุลกากร พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจมีอำนาจยึดในเวลาใด ๆ และ ณ สถานที่ใด ๆ ก็ได้
สิ่งที่ยึดไว้นั้น ถ้าเจ้าของหรือผู้มีสิทธิไม่มายื่นคำร้องเรียกเอาภายในกำหนดหกสิบวันสำหรับยานพาหนะที่ใช้ในการกระทำผิด สามสิบวันสำหรับสิ่งอื่นนับแต่วันยึด ให้ถือว่าเป็นสิ่งของที่ไม่มีเจ้าของ และให้ตกเป็นของแผ่นดิน" นั้น ใช้บังคับเฉพาะกรณีการร้องขอคืนของกลางที่ถูกยึดโดยไม่มีการฟ้องคดีอาญาต่อศาลเท่านั้น หากพระราชบัญญัติศุลกากรฯ ประสงค์จะใช้บังคับแก่กรณีที่ได้มีการฟ้องคดีอาญาต่อศาลด้วย ก็คงจะได้บัญญัติกำหนดระยะเวลาเรียกร้องคืนของกลาง "นับแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุด" ไว้ดังเช่นที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1327 วรรคแรก หากถือว่าของกลางตกเป็นของแผ่นดินแล้วพนักงานอัยการโจทก์ก็ไม่จำต้องร้องขอให้ศาลพิพากษาริบของกลางที่ตกเป็นของแผ่นดินแล้ว ให้ตกเป็นของแผ่นดินอีก
มาตรา 17 แห่งประมวลกฎหมายอาญาได้บัญญัติให้ใช้บทบัญญัติอันเป็นหลักทั่วไปตามที่บัญญัติไว้ในภาค 1 ของประมวลกฎหมายอาญานี้ ในกรณีแห่งความผิดตามกฎหมายอื่นด้วย เว้นแต่กฎหมายนั้นจะได้บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น ส่วนพระราชบัญญัติศุลกากรฯ ดังกล่าวก็มิได้บัญญัติเกี่ยวกับการร้องขอคืนของกลางไว้เป็นอย่างอื่น ส่วนพระราชบัญญัติศุลกากรฯ ดังกล่าวก็มิได้บัญญัติเกี่ยวกับการร้องขอคืนของกลางที่มีตัวผู้ต้องหาและมีการฟ้องคดีอาญาต่อศาลไว้ด้วย ฉะนั้นในคดีที่ได้มีการฟ้องคดีอาญาต่อศาล และศาลพิพากษาสั่งริบเรือของกลางที่ใช้ในการกระทำผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 32 ต้องถือว่าเป็นการริบทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 วรรคแรก ผู้มีสิทธิเรียกร้องเอาเรือของกลางคืนได้ตามประมวลกฎหมาอาญา มาตรา 36
ประมวลกฎหมาอาญา มาตรา 36 ไม่ขัดกันกับพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 24 ซึ่งแก้ไขโดยพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2497 มาตรา 3 เพราะใช้บังคับต่างกรณีกัน ดังนี้จะนำพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 120 ซึ่งบัญญัติไว้ใจความว่า เมื่อใดพระราชบัญญัติศุลกากรแตกต่างกับบทกฎหมายอื่นให้ยกเอาบัญญัติในพระราชบัญญัติศุลกากรขึ้นใช้บังคับในกรณีที่มีการฟ้องคดีอาญาต่อศาลไม่ได้
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 22/2512)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1277/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนของกลางที่โรงรับจำนำรับจำนำโดยรู้หรือควรรู้ว่าได้มาจากการกระทำผิด ศาลฎีกาตัดสินให้คืนเจ้าของ
ตามฟ้องเดิมโจทก์ขอให้ริบของกลางซึ่งศาลชั้นต้นได้พิพากษาริบแล้วตามขอ.โจทก์จะฎีกาขอให้คืนของกลางอันเป็นคำขอเข้ามาใหม่ไม่ได้.
โรงรับจำนำรับจำนำของกลางไว้โดยมีเหตุอันควรจะรู้ว่าของกลางนั้นได้มาโดยการกระทำความผิด. โรงรับจำนำจะต้องคืนเครื่องคิดเลขของกลางให้แก่เจ้าของตามพระราชบัญญัติโรงรับจำนำ พ.ศ.2505 มาตรา 25(2).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 605/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนทรัพย์สินหลังถูกยึดเป็นของกลาง: ผู้ซื้ออ้างการโอนยันเจ้าพนักงานไม่ได้ หากเจ้าของเดิมไม่มีส่วนรู้เห็น
ผู้ซื้อทรัพย์สินที่ถูกเจ้าพนักงานยึดไว้เป็นของกลางในคดีอาญา เพราะเป็นทรัพย์ที่จะพึงริบตามกฎหมาย จะอ้างการโอนนั้นยันเจ้าพนักงานไม่ได้
เมื่อคดีฟังไม่ได้ว่า เจ้าของทรัพย์ไม่รู้เห็นเป็นใจในการกระทำผิดศาลก็ไม่สั่งคืนทรัพย์ที่ริบนั้น (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 25/2509)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 350/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ของกลางไม่ใช่ไพ่ตามกฎหมาย แม้ใช้เล่นพนันได้ จำเลยไม่มีความผิด
ของกลางที่ฎีกาขึ้นมา เมื่อมีลักษณะเป็นของสำหรับเด็กเล่น และปรากฏว่ารูปลักษณะผิดกับไพ่ป๊อก เช่น ไม่มีตัว เอ.คิง.ควีน.แจ๊ค. ไม่แยกเป็นโพดำ โพแดง ข้าวหลามตัด และดอกจิก ดังนี้ จึงไม่เป็นไพ่ตามพระราชบัญญัติไพ่ ส่วนการที่จะนำวัตถุเหล่านี้ไปเล่นพนักกัน โดยสมมุติขึ้นว่าใช้ 1 แทน เอ. ใช้ เอ.บี.ซี แทนแจ๊ค. ควีน. คิง. และอื่น ๆ อีก ดังที่พยานโจทก์เบิกความอธิบายไว้นั้น ก็เป็นเรื่องวิธีการเล่นการพนันโดยใช้วัตถุเหล่านี้เป็นเครื่องมือในการเล่น จึงไม่ทำให้วัตถุของกลางเหล่านี้กลายเป็นไพ่ขึ้นมาได้ พระราชบัญญัติไพ่ได้บัญญัติห้ามมีจำหน่ายเฉพาะไพ่ มิได้บัญญัติถึงสิ่งที่คล้ายคลึงไพ่ ฉะนั้น เมื่อของกลางที่โจทก์ฎีกาขึ้นมาไม่เป็นไพ่ตามพระราชบัญญัติไพ่แล้ว จำเลยก็ย่อมไม่มีความผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1303/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ช้างของกลาง: การริบเฉพาะส่วนของผู้รู้เห็นเป็นใจ
ช้างของกลางเป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้าของสองคน คนละกึ่งหนึ่ง เจ้าของคนหนึ่งรู้เห็นเป็นใจให้จำเลยนำช้างของกลางไปชักลากไม้ที่แปรรูปโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานตามกฎหมาย ดังนี้ ศาลย่อมริบช้างของกลางกึ่งหนึ่งเฉพาะส่วนของเจ้าของคนที่รู้เห็นเป็นใจสำหรับอีกกึ่งหนึ่งให้ตกได้แก่เจ้าของที่ไม่ได้รู้เห็นเป็นใจ จะริบทั้งหมดหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 660/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลสั่งคืนของกลางจำกัดเฉพาะกรณีมีคำเสนอของเจ้าของแท้จริงที่ไม่ได้รู้เห็นการกระทำผิด
คดีนี้กับคดีก่อนเป็นกรณีเดียวกัน ทรัพย์สินของกลางศาลพิพากษาริบแล้วในคดีก่อน โจทก์กล่าวถึงทรัพย์สินนั้นมาในฟ้องคดีนี้ให้บริบูรณ์และมิได้มีคำขออย่างใด ทรัพย์สินนั้นจึงไม่ใช่ของกลางคดีนี้ ดังนี้ ศาลไม่มีอำนาจที่จะพึงสั่งคืนให้จำเลย และจะสั่งคืนได้ก็ต่อเมื่อมีคำเสนอของเจ้าของขอคืนในคดีก่อน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 660/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการสั่งคืนของกลางที่ริบแล้ว: กรณีทรัพย์สินเดียวกันฟ้องหลายคราว จำเป็นต้องมีคำเสนอของเจ้าของ
คดีนี้กับคดีก่อนเป็นกรณีเดียวกันทรัพย์สินของกลางศาลพิพากษาริบแล้วในคดีก่อน โจทก์กล่าวถึงทรัพย์สินนั้นมาในฟ้องคดีนี้ให้บริบูรณ์และมิได้มีคำขออย่างใดทรัพย์สินนั้นจึงไม่ใช่ของกลางคดีนี้ดังนี้ ศาลไม่มีอำนาจที่จะพึงสั่งคืนให้จำเลยและจะสั่งคืนได้ก็ต่อเมื่อมีคำเสนอของเจ้าของขอคืนในคดีก่อนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36
of 30