พบผลลัพธ์ทั้งหมด 651 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6928/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสืบสิทธิสัญญาเช่าและขอบเขตการอุทธรณ์ค่าเช่า
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากอสังหาริมทรัพย์ตามสัญญาเช่าและเรียกค่าเสียหาย แม้โจทก์จะกล่าวมาในฟ้องว่า หากโจทก์นำไปให้ผู้อื่นเช่าจะได้ค่าเช่าเดือนละ 10,000 บาท และโจทก์ใช้เป็นเกณฑ์คำนวณในการเรียกร้องค่าเสียหายตามอัตรานั้นเดือนละ 10,000 บาท ก็ตาม ก็ยังถือไม่ได้ว่าเป็นค่าเช่าของที่ดินพิพาทในขณะยื่นคำฟ้อง เพราะเป็นแต่อาจให้เช่าได้ในอัตราดังกล่าวเท่านั้น
ข้อเท็จจริงตามที่โจทก์จำเลยแถลงรับกันได้ความว่าสัญญาเช่าที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์และ ค.ผู้เช่าเดิมตกลงอัตราค่าเช่าปีละ 10,000 บาทและศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยว่า จำเลยเป็นทายาทผู้รับมรดกตามพินัยกรรมของ ค.สัญญาเช่ามีข้อตกลงให้ผูกพันถึงทายาทผู้รับมรดกตามพินัยกรรม และสัญญาเช่าระหว่างโจทก์และ ค.เป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาจึงเป็นสิทธิในทรัพย์สินย่อมตกเป็นมรดกแก่จำเลยในฐานะผู้รับมรดกตามพินัยกรรมของ ค. ดังนี้ ถือว่าจำเลยเป็นผู้สืบสิทธิการเช่าจาก ค. และต้องฟังว่าที่ดินพิพาทมีค่าเช่าในขณะยื่นคำฟ้องปีละ 10,000 บาท จึงไม่เกินเดือนละ 4,000 บาท ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224 วรรคสอง
การที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ข้อเท็จจริงของโจทก์ที่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์เป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์หามีผลบังคับแก่คดีไม่ การที่ฎีกาจำเลยฎีกาต่อมาในข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยมาว่าสัญญาเช่าระหว่างโจทก์และ ค.เป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาหรือไม่ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย และพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยให้บังคับคดีตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นและยกฎีกาจำเลย
ข้อเท็จจริงตามที่โจทก์จำเลยแถลงรับกันได้ความว่าสัญญาเช่าที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์และ ค.ผู้เช่าเดิมตกลงอัตราค่าเช่าปีละ 10,000 บาทและศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยว่า จำเลยเป็นทายาทผู้รับมรดกตามพินัยกรรมของ ค.สัญญาเช่ามีข้อตกลงให้ผูกพันถึงทายาทผู้รับมรดกตามพินัยกรรม และสัญญาเช่าระหว่างโจทก์และ ค.เป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาจึงเป็นสิทธิในทรัพย์สินย่อมตกเป็นมรดกแก่จำเลยในฐานะผู้รับมรดกตามพินัยกรรมของ ค. ดังนี้ ถือว่าจำเลยเป็นผู้สืบสิทธิการเช่าจาก ค. และต้องฟังว่าที่ดินพิพาทมีค่าเช่าในขณะยื่นคำฟ้องปีละ 10,000 บาท จึงไม่เกินเดือนละ 4,000 บาท ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224 วรรคสอง
การที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ข้อเท็จจริงของโจทก์ที่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์เป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์หามีผลบังคับแก่คดีไม่ การที่ฎีกาจำเลยฎีกาต่อมาในข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยมาว่าสัญญาเช่าระหว่างโจทก์และ ค.เป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาหรือไม่ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย และพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยให้บังคับคดีตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นและยกฎีกาจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6183/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการวางท่อประปาผ่านที่ดินของผู้อื่น และขอบเขตการบังคับคดีเกินคำขอ
เมื่อการวางท่อประปาผ่านที่ดินของจำเลยมีระยะทางใกล้ที่สุด และโจทก์ได้เสนอค่าทดแทนให้แก่จำเลยตามสมควรแล้ว โจทก์ย่อมใช้สิทธิขอวางท่อประปาผ่านที่ดินของจำเลยซึ่ง อยู่ติดกับที่ดินของโจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1352 ฟ้องโจทก์เพียงขอให้บังคับจำเลยยอมให้โจทก์วางท่อประปา ผ่านที่ดินของจำเลยตามแนวในแผนที่ท้ายฟ้อง หากจำเลยไม่ยอม ให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย การที่ศาล พิพากษาว่าหากไม่สามารถวางท่อประปาผ่านที่ดินของจำเลยตาม แนวในแผ่นที่ได้ ให้จำเลยยอมให้โจทก์ต่อท่อจากท่อประปา ของจำเลยที่จำเลยวางไปยังทาวน์เฮาส์ที่จำเลยก่อสร้างได้ ซึ่งโจทก์ไม่มีสิทธิอันใดที่จะไปต่อจากท่อนั้นได้ จึงเป็น การพิพากษาเกินคำขอ ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5220/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตระเบียบการลาศึกษาต่อ: การฝึกอบรมหลักสูตรเทคนิคอลไม่ผูกพันการชดใช้
ระเบียบของโจทก์ที่กำหนดว่า พนักงานที่ลาไปศึกษาเมื่อได้ศึกษาสำเร็จแล้วจะต้องกลับมาปฏิบัติงานกับโจทก์เป็นเวลาไม่น้อยกว่าห้าเท่าของเวลาที่ได้ลาไป มิฉะนั้นต้องชดใช้เงินที่โจทก์ได้จ่ายให้และค่าความเสียหายในระหว่างหรือเนื่องจากการลานั้น หมายถึง กรณีที่พนักงานลาไปศึกษาเพื่อเพิ่มพูนความรู้ด้วยการเรียนต่อให้ได้ปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพซึ่งสูงกว่าขั้นปริญญาตรีเท่านั้นแต่กรณีจำเลยเป็นการไปรับการฝึกอบรมในหลักสูตรเทคนิคอล เพาเวอร์ดิสตริบิวชั่น ออฟ อีเลคทริค เพาเวอร์ เนทเวิร์ค ที่ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐ-เยอรมัน โดยได้รับทุนจากรัฐบาลประเทศดังกล่าวเป็นค่าใช้จ่ายบางส่วนและโจทก์จ่ายสมทบให้อีกบางส่วน โดยจำเลยไม่ได้ทำสัญญาผูกพันกับโจทก์ว่าจำเลยจะกลับมาปฏิบัติงานกับโจทก์หรือชดใช้เงินจำนวนใด ๆ ให้แก่โจทก์ การไปฝึกอบรมของจำเลยจึงไม่ใช่เพื่อให้ได้ปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพซึ่งสูงกว่าขั้นปริญญาตรี อันจะเป็นเหตุให้จำเลยมีความผูกพันต้องกลับมาปฏิบัติงานกับโจทก์หรือชดใช้เงินหรือค่าเสียหายให้แก่โจทก์ตามระเบียบดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4981/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำให้การไม่ชัดเจนเรื่องเจ้าของกรรมสิทธิ์, ภาระจำยอมโดยอายุความ, และขอบเขตทางภาระจำยอม
จำเลยให้การว่า โจทก์จะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดพิพาทตามฟ้องหรือไม่อย่างไร จำเลยที่ 1 ไม่ทราบและไม่รับรอง เป็นคำให้การที่ไม่ได้แสดงโดยแจ้งชัดว่าปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือแต่บางส่วน ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 177 วรรคสอง ถือไม่ได้ว่าเป็นคำให้การปฏิเสธว่าโจทก์ไม่ได้เป็นเจ้าของที่ดินตามฟ้อง จึงไม่มีประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์เพราะเหตุไม่ได้เป็นเจ้าของที่ดินตามฟ้องหรือไม่ แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้ก็เป็นการไม่ชอบ ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
ชาวบ้านซึ่งรวมถึงผู้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่โจทก์ และโจทก์ได้ใช้ซอยพิพาทในที่ดินของจำเลยเป็นทางเข้าออกโดยเจตนาให้ซอยพิพาทเป็นทางภาระจำยอม และระยะเวลาที่ใช้รวมกันมาเกินกว่า 10 ปีแล้ว ที่ดินของจำเลยจึงตกเป็นภาระจำยอมโดยอายุความ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1401 ประกอบด้วยมาตรา 1382
ทางภาระจำยอมในส่วนที่อยู่ในที่ดินของจำเลยมีความกว้าง3 เมตร และจำเลยได้สร้างรั้วปิดกั้นทางภาระจำยอมส่วนนี้ การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าทางภาระจำยอมตามแผนที่ท้ายฟ้องกว้าง 6 เมตร มีความยาวเท่ากับความยาวของที่ดินตามโฉนดของจำเลยที่ 1 นั้น เมื่อไม่ชัดแจ้งว่าที่ดินของจำเลยตกอยู่เป็นทางภาระจำยอมกว้างเท่าใด เพราะตามแผนที่ท้ายฟ้องระบุว่าทางภาระจำยอมอยู่ในที่ดินของจำเลยกว้าง 3 เมตร และอยู่ในที่ดินของจำเลยที่ 2และที่ 3 กว้าง 3 เมตร อันเป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 ฎีกาว่าศาลอุทธรณ์พิพากษาเกินคำขอท้ายฟ้อง ศาลฎีกาจึงแก้ในส่วนนี้ให้ชัดเจน
ศาลชั้นต้นยกฟ้องโจทก์ทั้งแปด โจทก์ที่ 5 มิได้อุทธรณ์ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนภาระจำยอมให้แก่โจทก์ที่ 5ซึ่งมิได้อุทธรณ์ด้วยจึงไม่ชอบ
ชาวบ้านซึ่งรวมถึงผู้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่โจทก์ และโจทก์ได้ใช้ซอยพิพาทในที่ดินของจำเลยเป็นทางเข้าออกโดยเจตนาให้ซอยพิพาทเป็นทางภาระจำยอม และระยะเวลาที่ใช้รวมกันมาเกินกว่า 10 ปีแล้ว ที่ดินของจำเลยจึงตกเป็นภาระจำยอมโดยอายุความ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1401 ประกอบด้วยมาตรา 1382
ทางภาระจำยอมในส่วนที่อยู่ในที่ดินของจำเลยมีความกว้าง3 เมตร และจำเลยได้สร้างรั้วปิดกั้นทางภาระจำยอมส่วนนี้ การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าทางภาระจำยอมตามแผนที่ท้ายฟ้องกว้าง 6 เมตร มีความยาวเท่ากับความยาวของที่ดินตามโฉนดของจำเลยที่ 1 นั้น เมื่อไม่ชัดแจ้งว่าที่ดินของจำเลยตกอยู่เป็นทางภาระจำยอมกว้างเท่าใด เพราะตามแผนที่ท้ายฟ้องระบุว่าทางภาระจำยอมอยู่ในที่ดินของจำเลยกว้าง 3 เมตร และอยู่ในที่ดินของจำเลยที่ 2และที่ 3 กว้าง 3 เมตร อันเป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 ฎีกาว่าศาลอุทธรณ์พิพากษาเกินคำขอท้ายฟ้อง ศาลฎีกาจึงแก้ในส่วนนี้ให้ชัดเจน
ศาลชั้นต้นยกฟ้องโจทก์ทั้งแปด โจทก์ที่ 5 มิได้อุทธรณ์ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนภาระจำยอมให้แก่โจทก์ที่ 5ซึ่งมิได้อุทธรณ์ด้วยจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4763/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของเทศบาลต่อการทุจริตของเจ้าหน้าที่
หนังสือกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดในทางแพ่งของเทศบาล สุขาภิบาล และเมืองพัทยา เป็นเรื่องที่กระทรวง-มหาดไทยได้กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับความรับผิดในทางแพ่งเพื่อให้เทศบาล สุขาภิบาลและเมืองพัทยาถือเป็นแนวปฏิบัติเท่านั้น มิใช่กฎหมาย ดังนั้น จะถือว่าผู้บังคับบัญชาทุกชั้นจะต้องร่วมรับผิดเมื่อผู้ใต้บังคับบัญชากระทำทุจริตโดยเด็ดขาดไม่ได้ จะต้องรับผิดเมื่อกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3226/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนและแต่งตั้งผู้จัดการมรดก: ข้อจำกัดในการฎีกาประเด็นที่มิได้อุทธรณ์ และขอบเขตคำขอ
ผู้คัดค้านมิได้อุทธรณ์ในประเด็นที่ว่าสมควรเพิกถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายหรือไม่ ประเด็นนี้จึงยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นและถึงที่สุดไปแล้วจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคหนึ่ง ผู้คัดค้านเพียงแต่ขอให้ศาลมีคำสั่งถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายเท่านั้น หาได้ขอให้ตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายไม่ ศาลจึงไม่อาจมีคำสั่งหรือคำพิพากษาตั้งให้ผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้เพราะเกินคำขอต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3146/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการแก้ไขโทษในชั้นอุทธรณ์-ฎีกา กรณีจำเลยต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน
จำเลยต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานโดยมีหรือใช้อาวุธปืนการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 138วรรคสอง, 140 วรรคหนึ่งและวรรคสาม
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานโดยไม่ได้ระบุมาตราและวรรค โจทก์มิได้อุทธรณ์ในความผิดข้อหานี้ ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาก็ไม่อาจพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยได้ แต่ปรับบทลงโทษจำเลยในข้อหานี้ใหม่ให้ถูกต้องได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานโดยไม่ได้ระบุมาตราและวรรค โจทก์มิได้อุทธรณ์ในความผิดข้อหานี้ ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาก็ไม่อาจพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยได้ แต่ปรับบทลงโทษจำเลยในข้อหานี้ใหม่ให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 294/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการใช้บทบัญญัติเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ระหว่างบุตรบุญธรรมและผู้รับบุตรบุญธรรม
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1598/28 ที่บัญญัติว่าบุตรบุญธรรมย่อมมีฐานะอย่างเดียวกับบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้รับบุตรบุญธรรม...และในวรรคที่ 2 ที่บัญญัติว่า ให้นำบทบัญญัติในลักษณะ 2 หมวด 2 แห่งบรรพนี้(ตั้งแต่มาตรา 1561 ถึงมาตรา 1584/1) มาใช้บังคับโดยอนุโลมนั้น หมายความเพียงว่า ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของบิดามารดาและบุตรมาใช้บังคับแก่บุตรบุญธรรมโดยอนุโลมเท่านั้น ไม่ได้บังคับว่าจะต้องนำทุกมาตรามาใช้บังคับทั้งหมดส่วนบทบัญญัติในมาตรา 1562 ที่บัญญัติว่า ผู้ใดจะฟ้องบุพการีของตนเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญามิได้ นั้น เป็นบทบัญญัติจำกัดสิทธิของบุคคล จึงต้องตีความโดยเคร่งครัด
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 29 เดิม (มาตรา28 ที่แก้ไขใหม่) ให้ความหมายของคำว่า ผู้บุพการีไว้ว่าหมายถึงบิดามารดา ปู่ย่าตายาย ทวด และผู้สืบสายโลหิตกันโดยตรงขึ้นไปตามความเป็นจริง จำเลยเป็นเพียงผู้รับโจทก์เป็นบุตรบุญธรรมไม่ใช่บิดาโจทก์ จึงไม่ใช่ผู้บุพการีของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1562
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 29 เดิม (มาตรา28 ที่แก้ไขใหม่) ให้ความหมายของคำว่า ผู้บุพการีไว้ว่าหมายถึงบิดามารดา ปู่ย่าตายาย ทวด และผู้สืบสายโลหิตกันโดยตรงขึ้นไปตามความเป็นจริง จำเลยเป็นเพียงผู้รับโจทก์เป็นบุตรบุญธรรมไม่ใช่บิดาโจทก์ จึงไม่ใช่ผู้บุพการีของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1562
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1995/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตระเบียบข้อบังคับการทำงาน การเลิกจ้างลูกจ้าง การทะเลาะวิวาทนอกเวลางาน
ผู้คัดค้านซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างทะเลาะวิวาทตบตีกับพนักงานด้วยกันตรงประตูทางเข้าออกโรงงานนอกบริเวณโรงงานเมื่อเวลา 17.02 นาฬิกา ซึ่งเป็นเวลานอกเหนือจากเวลาทำงานตามปกติ ดังนี้ แม้การกระทำของผู้คัดค้านจะเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของผู้ร้องก็ตามแต่พฤติการณ์เพียงเท่านี้ยังไม่มีเหตุผลอันสมควรที่จะอนุญาตให้ผู้ร้องเลิกจ้างผู้คัดค้านได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1793/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตบังคับคดีตามสัญญาประนีประนอมยอมความ และผลของการส่งมอบเอกสารไม่ครบถ้วน/พ้นวิสัย
สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์และจำเลยทั้งสองคดีนี้มีใจความเพียงว่า จำเลยทั้งสองยอมโอนใบอนุญาตโรงเรียนและเอกสารเกี่ยวกับกิจการโรงเรียนให้แก่โจทก์กับยอมออกจากทรัพย์มรดกภายใน 15 วัน หากจำเลยทั้งสองไม่ปฏิบัติตาม ยอมให้บังคับคดีได้ทันที และหากไม่ยอมโอนใบอนุญาตและเอกสารต่าง ๆ เกี่ยวกับกิจการโรงเรียน ให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลเป็นการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสอง หรือให้ศาลมีคำสั่งบังคับให้เป็นไปตามข้อตกลง หาได้มีข้อความว่า ถ้าจำเลยทั้งสองส่งมอบเอกสารให้โจทก์ไม่ครบถ้วนจำเลยทั้งสองต้องชำระเงินจำนวน 3,000,000 บาท แก่โจทก์ เป็นการชดใช้ค่าเสียหายด้วยเลยเช่นนี้ หากโจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยทั้งสองส่งมอบเอกสารให้แก่โจทก์ไม่ครบถ้วนอันเป็นการผิดสัญญาประนีประนอมยอมความแล้ว โจทก์ก็ชอบที่จะขอให้บังคับคดีแก่จำเลยทั้งสองเพื่อให้จำเลยทั้งสองส่งมอบเอกสารให้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความเท่านั้น หามีสิทธิขอให้บังคับจำเลยทั้งสองนำเงินจำนวน 3,000,000 บาท มาวางศาลเพื่อชดใช้เป็นค่าเสียหายแก่โจทก์ด้วยไม่ เพราะเพราะตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะขอให้บังคับคดีนอกเหนือจากที่ปรากฏในคำพิพากษาหรือคำสั่งหาได้ไม่
เอกสารเกี่ยวกับกิจการโรงเรียนที่จำเลยทั้งสองจะต้องส่งมอบให้แก่โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความสูญหายไป การส่งมอบเอกสารพิพาทจึงกลายเป็นพ้นวิสัย ศาลย่อมไม่อาจบังคับให้จำเลยทั้งสองปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความให้ส่งเอกสารพิพาทนั้นได้
เอกสารเกี่ยวกับกิจการโรงเรียนที่จำเลยทั้งสองจะต้องส่งมอบให้แก่โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความสูญหายไป การส่งมอบเอกสารพิพาทจึงกลายเป็นพ้นวิสัย ศาลย่อมไม่อาจบังคับให้จำเลยทั้งสองปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความให้ส่งเอกสารพิพาทนั้นได้