พบผลลัพธ์ทั้งหมด 635 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1219/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเช่าจากผู้ไม่มีสิทธิ: การอยู่โดยละเมิดและการฟ้องขับไล่
โจทก์เป็นเจ้าของตึกพิพาทจำเลยที่3เข้าอยู่ในตึก พิพาทโดยเช่าจาก ส.ซึ่งมีเพียงสิทธิจัดหาคนมาทำสัญญาเช่าตึก พิพาทกับ ม. เจ้าของเดิมเท่านั้น จึงเป็นการเช่าจากผู้ไม่มีสิทธิให้เช่า การอยู่ในตึก พิพาทของจำเลยที่ 3 จึงปราศจากเหตุอันจะอ้างได้โดยชอบด้วยกฎหมาย เป็นการอยู่โดยละเมิดต่อโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยที่ 3 ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1219/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเช่าจากผู้ไม่มีสิทธิ & การฟ้องขับไล่ผู้เช่าที่ไม่มีสิทธิในที่ดิน
จำเลยเข้าอยู่ในตึกพิพาทโดยเช่าจากส.แต่ไม่ปรากฏว่าส.มีสิทธินำตึกพิพาทไปให้เช่า คงมีสิทธิแต่เพียงจัดหาคนมาทำสัญญาเช่าตึกพิพาทจาก ม. เจ้าของเดิมเท่านั้น การเช่าของจำเลยจึงเป็นการเช่าจากผู้ไม่มีสิทธิให้เช่า ไม่ผูกพันโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก ผู้ซื้อตึกพิพาทมาจาก ม. เจ้าของเดิม และจำเลยมิได้เช่าจากเจ้าของเดิมอันจะมีผลผูกพันถึงโจทก์ การอยู่ในตึกพิพาทของจำเลยจึงปราศจากเหตุจะอ้างได้โดยชอบด้วยกฎหมาย เป็นการอยู่โดยละเมิด โจทก์ฟ้องขับไล่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1214/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีขับไล่ผู้เช่า: ทุนทรัพย์ไม่เกิน 50,000 บาท และการต่อสู้กรรมสิทธิ์ทำให้ฎีกาไม่รับ
จำเลยเช่าที่พิพาทมีค่าเช่าตามสัญญาในขณะยื่นฟ้องไม่เกินเดือนละห้าพันบาท แม้โจทก์กล่าวในฟ้องว่าหากให้ผู้อื่นเช่าจะได้ค่าเช่าไม่ต่ำกว่าเดือนละ 15,000 บาท เงินจำนวนดังกล่าวไม่ใช่ค่าเช่าของอสังหาริมทรัพย์ในขณะยื่นฟ้อง เมื่อจำนวนทุนทรัพย์ที่เรียกร้องไม่เกิน 50,000 บาท จำเลยมิได้กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ และศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคแรก และวรรคสอง อันเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะที่จำเลยยื่นฎีกา.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 880/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องขับไล่ที่เช่าซึ่งมีค่าเช่าไม่เกิน 5,000 บาท และจำเลยไม่ได้โต้แย้งเรื่องกรรมสิทธิ์หรือสัญญา ทำให้ฎีกาต้องห้าม
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่พิพาทซึ่งขณะยื่นฟ้องมีค่าเช่า ไม่เกินเดือนละห้าพันบาท และจำเลยมิได้กล่าวแก้ เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์หรือมิได้ยกข้อโต้เถียงในเรื่องแปลความหมายแห่งข้อความในสัญญาที่ก่อให้เกิดสิทธิอยู่บนที่พิพาท ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ขับไล่จำเลยจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 ที่จำเลยฎีกาเรื่องอำนาจฟ้องว่าเจ้าของที่ดินมิได้ต่อสัญญาเช่าแก่โจทก์โจทก์อยู่ในที่ดินอย่างละเมิดเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่ต้องอาศัยข้อเท็จจริงเพื่อการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายการเถียงข้อเท็จจริงซึ่งเป็นที่ยุติและต้องห้ามฎีกาเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย มีผลอย่างเดียวกับการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ฎีกาของจำเลยจึงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5889/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีขับไล่: คดีละเมิดอสังหาริมทรัพย์ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ตามมาตรา 224 วรรคสอง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ปลูกบ้านให้จำเลยที่ 2 อยู่ในที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของโจทก์โดยไม่มีอำนาจ ขอให้ขับไล่ จำเลยทั้งสองต่อสู้ว่าไม่ใช่ที่ดินของโจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ดังนี้เป็นคดีฟ้องขับไล่ผู้ละเมิดออกจากอสังหาริมทรัพย์อันเป็นคดีเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์มิใช่ฟ้องขับไล่ผู้เช่าหรือผู้อาศัย จึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224 วรรคสอง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5803/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่อุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริงหลังศาลชั้นต้นพิพากษาขับไล่ และการใช้ดุลพินิจศาลในการไม่รอฟังผลคดีอื่น
คดีที่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่ให้รอฟังผลคดีอื่นให้ถึงที่สุดก่อน ซึ่งเป็นดุลพินิจของศาลที่จะสั่งตามที่เห็นสมควรตาม ป.วิ.พ. มาตรา 39 จำเลยอุทธรณ์โต้แย้งการใช้ดุลพินิจของศาลชั้นต้นเกี่ยวกับการสั่งไม่รอฟังผลคดีอื่น จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามมาตรา 224.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 392/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องขับไล่หลังสัญญาประนีประนอมยอมความ & การครอบครองปรปักษ์: ไม่ถือเป็นการแย่งการครอบครอง
จำเลยทั้งสองเคยถูกพนักงานอัยการฟ้องข้อหาบุกรุกที่ดินพิพาทของโจทก์ ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องโดยฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตกลงยอมความกันให้จำเลยที่ 1 อยู่ในที่ดินต่อไปจนกว่าจะเก็บพืชผลเสร็จ และผู้ดูแลที่พิพาทของโจทก์อนุญาตให้จำเลยที่ 2 อาศัยอยู่ได้ การที่จำเลยทั้งสองอยู่ในที่ดินต่อมาจึงไม่เป็นความผิดฐานบุกรุก ต่อมาโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยที่ 1 ออกจากที่พิพาทอีก ศาลพิพากษายกฟ้องว่าโจทก์ฟ้องภายหลัง 1 ปีนับแต่ถูกแย่งการครอบครอง โดยมิได้วินิจฉัยถึงสิทธิหน้าที่ของโจทก์จำเลยที่ 1 ตามสัญญาประนีประนอมยอมความโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยที่ 1 เป็นคดีนี้โดยอ้างข้อตกลงตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ประเด็นที่ศาลยกฟ้องในคดีที่สองกับประเด็นคดีนี้แตกต่างกัน ฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำตาม มาตรา 148 โจทก์ฟ้องคดีนี้ให้จำเลยที่ 1 ออกไปจากที่พิพาทโดยอาศัยสัญญาประนีประนอมยอมความและให้จำเลยที่ 2 ออกไปจากที่พิพาทที่จำเลยที่ 2 อาศัยอยู่ตามที่ศาลฎีกาได้ฟังข้อเท็จจริงไว้ ฟ้องของโจทก์จึงไม่ใช่กรณีถูกแย่งการครอบครองแล้วฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครอง ไม่อยู่ในบังคับให้ฟ้องภายใน 1 ปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 วรรคสอง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 392/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องไม่ซ้ำ: สัญญาประนีประนอมยอมความเป็นเหตุฟ้องขับไล่ได้ แม้มีข้อพิพาทเรื่องการครอบครองก่อนหน้า
ปัญหาว่าฟ้องของโจทก์เป็นฟ้องซ้ำหรือไม่ แม้คู่ความมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาในชั้นฎีกา แต่ก็เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัยเอง คดีก่อนโจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 บุกรุกที่ดินตาม น.ส.3 ของโจทก์และได้ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ในชั้นพนักงานสอบสวนว่าจะไม่เกี่ยวข้องกับที่ดินของโจทก์ แต่ต่อมาจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาขอให้ขับไล่และใช้ค่าเสียหาย ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นว่าโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ภายหลังเวลา 1 ปี นับแต่ถูกแย่งการครอบครอง ไม่มีอำนาจฟ้อง พิพากษายกฟ้อง คดีถึงที่สุด ทั้งนี้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยถึงสิทธิและหน้าที่ของโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตามสัญญาประนีประนอมยอมความแต่อย่างใด ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 โดยยืนยันว่าจำเลยที่ 1 ได้ตกลงยอมความไว้กับโจทก์แล้วไม่ปฏิบัติตามยอมโดยไม่ยอมออกไปจากที่ดินของโจทก์ขอให้ขับไล่ออกไป ดังนี้ ประเด็นตามฟ้องในคดีหลังจึงมีว่าข้อตกลงยอมความกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 นั้นเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความที่ให้สิทธิโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยที่ 1ออกจากที่ดินของโจทก์ได้หรือไม่ จึงเห็นได้ว่าประเด็นที่ศาลยกขึ้นวินิจฉัยเป็นเหตุยกฟ้องในคดีก่อนกับที่โจทก์กล่าวอ้างเป็นประเด็นให้วินิจฉัยในคดีหลังนี้แตกต่างกัน ฟ้องของโจทก์ในคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ ฟ้องของโจทก์เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 เป็นการขอให้บังคับตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 นั้น เป็นการขอบังคับผู้อาศัยให้ออกไปจากที่ดินของโจทก์ซึ่งจำเลยที่ 2 เข้ามาอาศัยอยู่ ฟ้องของโจทก์ทั้งที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 และที่ 2จึงมิใช่กรณีถูกแย่งการครอบครองแล้วฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครองไม่อยู่ในบังคับของบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1375 วรรคสอง ที่บังคับให้ฟ้องภายใน 1 ปี นับแต่ถูกแย่งการครอบครอง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3324/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องขับไล่ของผู้ให้เช่า แม้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจะเปลี่ยนไป สัญญาเช่ายังใช้บังคับได้
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากห้องเช่าพิพาทและเรียกค่าเสียหายโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาเช่าที่จำเลยทำไว้กับโจทก์ ดังนี้ เมื่อจำเลยทำสัญญาเช่าห้องพิพาทจากโจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิและหน้าที่ในฐานะเป็นผู้ให้เช่า เมื่อครบกำหนดเวลาตามสัญญาเช่าและสัญญาเช่าระงับสิ้นไปแล้ว โจทก์ซึ่งเป็นผู้ให้เช่าย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้ จำเลยจะโต้เถียง ว่าโจทก์ไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ให้เช่าจึงไม่มีอำนาจฟ้องหาได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 265/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินร่วมกันและอำนาจฟ้องขับไล่: การฟ้องขับไล่ต้องคำนึงถึงสิทธิครอบครองร่วมกันของผู้ถูกฟ้อง
โจทก์และจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของที่ดินร่วมกัน โดยยังไม่มีการแบ่งแยกการครอบครองออกเป็นสัดส่วน แม้จำเลยที่ 1 ยกที่ดินส่วนของตนให้จำเลยที่ 2 แล้วจำเลยที่ 2 ไปยื่นคำขอออก น.ส.3 ก.ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการแบ่งแยกการครอบครองออกเป็นสัดส่วน การที่โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยที่ 1 ออกจากที่ดินทั้งแปลงย่อมเป็นการลบล้างสิทธิครอบครองของจำเลยที่ 1 ที่มีอยู่ด้วย และแม้จำเลยที่ 1 จะเช่าที่ดินส่วนของโจทก์และสัญญาเช่าสิ้นสุดลงแล้วโจทก์ไม่อาจอาศัยสิทธิตามสัญญาเช่าฟ้องขับไล่จำเลยที่ 1 ได้เพราะเป็นการขับไล่จำเลยที่ 1 ออกจากที่ดินของจำเลยที่ 1 เองด้วยโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง การที่ศาลพิพากษายกฟ้องเกี่ยวกับอำนาจฟ้องโดยมิได้วินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทที่โจทก์ยกขึ้นอ้างอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าที่อยู่จริงหรือไม่เพียงใด สมควรไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148(3)