พบผลลัพธ์ทั้งหมด 616 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1174/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่ยื่นบัญชีระบุพยานทำให้จำเลยไม่มีสิทธิสาบานตนเบิกความได้ แม้จะอ้างเหตุขาดนัดยื่นคำให้การ
การที่จำเลยไม่ยื่นบัญชีระบุพยานจำเลยไม่มีสิทธิสาบานตนให้การเป็นพยานได้เพราะมีกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา85และ87บัญญัติเรื่องการไม่ยื่นบัญชีระบุพยานไว้โดยชัดแจ้งอยู่แล้วจึงไม่จำเป็นต้องนำเรื่องขาดนัดยื่นคำให้การอันเป็นบทกฎหมายใกล้เคียงอย่างยิ่งมาปรับบังคับใช้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6935/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลื่อนคดีและการขาดนัดพิจารณา: ศาลต้องพิจารณาคำร้องเลื่อนคดีก่อนมีคำสั่งขาดนัด
คดีนี้ศาลนัดสืบพยานสองนัดติดต่อกัน โดยนัดแรกนัดสืบพยานจำเลยซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อน นัดต่อมานัดสืบพยานโจทก์ ก่อนถึงวันนัดสืบพยานจำเลยโจทก์ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดี เมื่อถึงวันนัดสืบพยานจำเลย โจทก์ไม่มาศาล ศาลไม่อนุญาตให้โจทก์เลื่อนคดีและมีคำสั่งว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาเช่นนี้ ไม่ชอบด้วยบทบัญญัติป.วิ.พ. มาตรา 197 วรรคสอง เพราะโจทก์ได้มีการร้องขอเลื่อนคดีหรือแจ้งเหตุขัดข้องที่มาศาลไม่ได้ให้ศาลทราบก่อนลงมือสืบพยานแล้ว ไม่ใช่กรณีที่โจทก์ไม่มาศาลและไม่แจ้งเหตุขัดข้องอันจะถือว่าเป็นการขาดนัดพิจารณา การที่ศาลไม่อนุญาตให้โจทก์เลื่อนคดีและมีคำสั่งว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ การพิจารณาคดีนี้จึงมิใช่การพิจารณาโดยขาดนัด การที่โจทก์ไม่มาศาลในนัดแรกจึงไม่ทำให้โจทก์เสียสิทธิที่จะสืบพยาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6273/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดพิจารณาคดีและคำร้องขอพิจารณาใหม่ โดยมีเหตุผลจากความผิดพลาดเรื่องเวลา
วันนัดสืบพยานโจทก์ โจทก์ไม่ไปศาลโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้องหรือขอเลื่อนคดี ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาและให้เลื่อนไปนัดสืบ-พยานจำเลย ในวันเดียวกันโจทก์ยื่นคำร้องว่าไม่ได้จงใจขาดนัดพิจารณา ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วมีคำสั่งให้พิจารณาใหม่
จำเลยอุทธรณ์คำสั่งว่า จำเลยไม่เห็นด้วยกับข้อวินิจฉัยของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้พิจารณาคดีโจทก์ใหม่ เพราะโจทก์จงใจขาดนัดและต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 201 แม้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวจะไม่มีผลเป็นอุทธรณ์เพราะต้องห้ามตามกฎหมาย แต่ก็มีผลเป็นการโต้แย้งคำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 (1) แล้ว จำเลยจึงอุทธรณ์ในปัญหาข้อนี้ได้
ศาลนัดสืบพยานโจทก์เวลา 9.00 นาฬิกา แต่โจทก์และทนายโจทก์มาศาลในวันนัดเวลาประมาณ 12.30 นาฬิกา เนื่องจากเสมียนทนาย-โจทก์บอกเวลานัดของศาลแก่ทนายโจทก์ผิดไปเป็นเวลา 13.30 นาฬิกา ทั้งตามคำร้องขอพิจารณาใหม่ โจทก์และทนายโจทก์ได้ลงชื่อในคำร้องที่ยื่นต่อศาลในวันเดียวกัน แสดงว่าโจทก์และทนายโจทก์ไปศาลในวันนัดจริง แต่ไปไม่ตรงตามเวลาเพราะเสมียนทนายบอกเวลานัดพิจารณาคลาดเคลื่อน โจทก์จึงมิได้จงใจขาดนัดพิจารณาและเมื่อศาลชั้นต้นไม่ได้มีคำสั่งจำหน่ายคดี จึงไม่ต้องห้ามที่โจทก์จะขอให้พิจารณาใหม่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 201
ประเด็นข้อพิพาทมีว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์กับเจ้าของรวมหรือเป็นของจำเลยเท่านั้น ศาลจึงไม่ต้องรับฟังเอกสารสำเนาภาพถ่ายโฉนดที่ดินของโจทก์กับเจ้าของรวม และหนังสือให้ความยินยอมของเจ้าของรวมให้โจทก์ฟ้องคดี ส่วนแผนที่พิพาทซึ่งเจ้าพนักงานที่ดินเป็นผู้ทำขึ้นตามคำสั่งศาล มิใช่เอกสารที่โจทก์เป็นฝ่ายอ้าง โจทก์จึงไม่ต้องเสียค่าอ้างเอกสารตามตาราง 2 ท้าย ป.วิ.พ.
จำเลยอุทธรณ์คำสั่งว่า จำเลยไม่เห็นด้วยกับข้อวินิจฉัยของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้พิจารณาคดีโจทก์ใหม่ เพราะโจทก์จงใจขาดนัดและต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 201 แม้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวจะไม่มีผลเป็นอุทธรณ์เพราะต้องห้ามตามกฎหมาย แต่ก็มีผลเป็นการโต้แย้งคำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 (1) แล้ว จำเลยจึงอุทธรณ์ในปัญหาข้อนี้ได้
ศาลนัดสืบพยานโจทก์เวลา 9.00 นาฬิกา แต่โจทก์และทนายโจทก์มาศาลในวันนัดเวลาประมาณ 12.30 นาฬิกา เนื่องจากเสมียนทนาย-โจทก์บอกเวลานัดของศาลแก่ทนายโจทก์ผิดไปเป็นเวลา 13.30 นาฬิกา ทั้งตามคำร้องขอพิจารณาใหม่ โจทก์และทนายโจทก์ได้ลงชื่อในคำร้องที่ยื่นต่อศาลในวันเดียวกัน แสดงว่าโจทก์และทนายโจทก์ไปศาลในวันนัดจริง แต่ไปไม่ตรงตามเวลาเพราะเสมียนทนายบอกเวลานัดพิจารณาคลาดเคลื่อน โจทก์จึงมิได้จงใจขาดนัดพิจารณาและเมื่อศาลชั้นต้นไม่ได้มีคำสั่งจำหน่ายคดี จึงไม่ต้องห้ามที่โจทก์จะขอให้พิจารณาใหม่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 201
ประเด็นข้อพิพาทมีว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์กับเจ้าของรวมหรือเป็นของจำเลยเท่านั้น ศาลจึงไม่ต้องรับฟังเอกสารสำเนาภาพถ่ายโฉนดที่ดินของโจทก์กับเจ้าของรวม และหนังสือให้ความยินยอมของเจ้าของรวมให้โจทก์ฟ้องคดี ส่วนแผนที่พิพาทซึ่งเจ้าพนักงานที่ดินเป็นผู้ทำขึ้นตามคำสั่งศาล มิใช่เอกสารที่โจทก์เป็นฝ่ายอ้าง โจทก์จึงไม่ต้องเสียค่าอ้างเอกสารตามตาราง 2 ท้าย ป.วิ.พ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6273/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดพิจารณาคดีและการพิจารณาใหม่: ศาลอนุญาตให้พิจารณาใหม่ได้หากโจทก์ไม่ได้จงใจขาดนัดและมีเหตุผลสมควร
วันนัดสืบพยานโจทก์ โจทก์ไม่ไปศาลโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้องหรือขอเลื่อนคดี ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาและให้เลื่อนไปนัดสืบพยานจำเลย ในวันเดียวกันโจทก์ยื่นคำร้องว่าไม่ได้จงใจขาดนัดพิจารณา ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วมีคำสั่งให้พิจารณาใหม่ จำเลยอุทธรณ์คำสั่งว่า จำเลยไม่เห็นด้วยกับข้อวินิจฉัยของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้พิจารณาคดีโจทก์ใหม่ เพราะโจทก์จงใจขาดนัดและต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 201 แม้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวจะไม่มีผลเป็นอุทธรณ์เพราะต้องห้ามตามกฎหมาย แต่ก็มีผลเป็นการโต้แย้งคำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(1) แล้วจำเลยจึงอุทธรณ์ในปัญหาข้อนี้ได้ ศาลนัดสืบพยานโจทก์เวลา 9.00 นาฬิกา แต่โจทก์และทนายโจทก์มาศาลในวันนัดเวลาประมาณ 12.30 นาฬิกา เนื่องจากเสมียนทนายโจทก์บอกเวลานัดของศาลแก่ทนายโจทก์ผิดไปเป็นเวลา 13.30 นาฬิกา ทั้งตามคำร้องขอพิจารณาใหม่ โจทก์และทนายโจทก์ได้ลงชื่อในคำร้องที่ยื่นต่อศาลในวันเดียวกันแสดงว่าโจทก์และทนายโจทก์ไปศาลในวันนัดจริง แต่ไปไม่ตรงตามเวลาเพราะเสมียนทนายบอกเวลานัดพิจารณาคลาดเคลื่อนโจทก์จึงมิได้จงใจขาดนัดพิจารณาและเมื่อศาลชั้นต้นไม่ได้มีคำสั่งจำหน่ายคดี จึงไม่ต้องห้ามที่โจทก์จะขอให้พิจารณาใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 201 ประเด็นข้อพิพาทมีว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์กับเจ้าของรวมหรือเป็นของจำเลยเท่านั้น ศาลจึงไม่ต้องรับฟังเอกสารสำเนาภาพถ่ายโฉนดที่ดินของโจทก์กับเจ้าของรวม และหนังสือให้ความยินยอมของเจ้าของรวมให้โจทก์ฟ้องคดี ส่วนแผนที่พิพาทซึ่งเจ้าพนักงานที่ดินเป็นผู้ทำขึ้นตามคำสั่งศาล มิใช่เอกสารที่โจทก์เป็นฝ่ายอ้าง โจทก์จึงไม่ต้องเสีย ค่าอ้างเอกสารตามตาราง 2 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6127/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลสั่งจำหน่ายคดีและการขาดนัดยื่นคำให้การ: การพิจารณาเหตุผลความจงใจ
บทบัญญัติใน ป.วิ.พ. มาตรา 198 มิได้บังคับให้ศาลจำต้องสั่งจำหน่ายคดีเสมอไป เพียงแต่ให้ศาลมีอำนาจที่จะสั่งจำหน่ายคดีเมื่อพ้น 15 วันได้ฉะนั้น ในกรณีที่ศาลยังมิได้มีคำสั่งจำหน่ายคดี แม้โจทก์จะยื่นคำขอเมื่อพ้น 15 วันศาลก็มีอำนาจที่จะสั่งว่าจำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การและดำเนินการพิจารณาคดีโจทก์ต่อไปได้
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การแล้วได้สั่งให้ไต่สวนคำร้องขอยื่นคำให้การของจำเลยทั้งสองด้วย หากผลการไต่สวนปรากฏว่าการขาดนัดของจำเลยทั้งสองมิได้เป็นไปโดยจงใจหรือมีเหตุอันสมควรประการอื่น ศาลก็อาจมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยทั้งสองยื่นคำให้การภายในกำหนดเวลาที่เห็นสมควรได้ แต่ผลการไต่สวนปรากฏหลักฐานชัดแจ้งว่าการขาดนัดนั้นเป็นไปโดยจงใจและไม่มีเหตุอันสมควร การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การจึงเป็นการปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมถูกต้องแล้ว หาใช่นำมาใช้บังคับให้เป็นโทษแก่จำเลยทั้งสองฝ่ายเดียวไม่
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การแล้วได้สั่งให้ไต่สวนคำร้องขอยื่นคำให้การของจำเลยทั้งสองด้วย หากผลการไต่สวนปรากฏว่าการขาดนัดของจำเลยทั้งสองมิได้เป็นไปโดยจงใจหรือมีเหตุอันสมควรประการอื่น ศาลก็อาจมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยทั้งสองยื่นคำให้การภายในกำหนดเวลาที่เห็นสมควรได้ แต่ผลการไต่สวนปรากฏหลักฐานชัดแจ้งว่าการขาดนัดนั้นเป็นไปโดยจงใจและไม่มีเหตุอันสมควร การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การจึงเป็นการปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมถูกต้องแล้ว หาใช่นำมาใช้บังคับให้เป็นโทษแก่จำเลยทั้งสองฝ่ายเดียวไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6127/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลสั่งจำหน่ายคดีและผลของการขาดนัดยื่นคำให้การ: ศาลมีอำนาจพิจารณาคดีต่อไปได้แม้โจทก์ยื่นคำขอจำหน่ายคดีหลัง 15 วัน
บทบัญญัติในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 198มิได้บังคับให้ศาลจำต้องสั่งจำหน่ายคดีเสมอไป เพียงแต่ให้ศาลมีอำนาจที่จะสั่งจำหน่ายคดีเมื่อพ้น 15 วันได้ ฉะนั้น ในกรณีที่ศาลยังมิได้มีคำสั่งจำหน่ายคดี แม้โจทก์จะยื่นคำขอเมื่อพ้น 15 วัน ศาลก็มีอำนาจที่จะสั่งว่าจำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การและดำเนินการพิจารณาคดีโจทก์ต่อไปได้ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การแล้วได้สั่งให้ไต่สวนคำร้องขอยื่นคำให้การของจำเลยทั้งสองด้วยหากผลการไต่สวนปรากฏว่าการขาดนัดของจำเลยทั้งสองมิได้เป็นไปโดยจงใจหรือมีเหตุอันสมควรประการอื่น ศาลก็อาจมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยทั้งสองยื่นคำให้การภายในกำหนดเวลาที่เห็นสมควรได้ แต่ผลการไต่สวนปรากฏหลักฐานชัดแจ้งว่าการขาดนัดนั้นเป็นไปโดยจงใจและไม่มีเหตุอันสมควร การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การจึงเป็นการปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมถูกต้องแล้ว หาใช่นำมาใช้บังคับให้เป็นโทษแก่จำเลยทั้งสองฝ่ายเดียวไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6050/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามในข้อเท็จจริงเนื่องจากราคาทรัพย์สินไม่เกิน 200,000 บาท และประเด็นข้อพิพาทเกี่ยวกับขาดนัด
คดีที่ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาท คู่ความต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง คดีมีประเด็นตามฎีกาของจำเลยเพียงว่า จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาโดยจงใจหรือไม่มีเหตุอันสมควรหรือไม่ ที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยไม่ทราบว่าถูกโจทก์ฟ้อง ไม่เคยได้รับหมายเรียกสำเนาคำฟ้องและหมายนัดสืบพยานโจทก์ เพราะจำเลยพักรักษาตัวอยู่ที่อื่น ไม่ได้อยู่ที่บ้านตามที่เจ้าพนักงานศาลนำหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไปปิดนั้น เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ซึ่งต้องห้ามฎีกาตามบทกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5076/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งเหตุจำเป็นที่ไม่อาจมาศาลได้และการพิจารณาใหม่คดีแรงงาน
ในวันนัดพิจารณาและสืบพยานโจทก์ของศาลแรงงานกลางจำเลยมอบอำนาจให้ พ. มาชี้แจงข้อเท็จจริงแก้ข้อกล่าวหาของโจทก์ แต่ พ. มีความจำเป็นต้องไปตามคำสั่งของเจ้าพนักงานตำรวจจำเลยจึงมอบให้ ส.ถือหนังสือมอบอำนาจและหนังสือของพ.ที่ขอเลื่อนการให้การมายื่นต่อศาลแรงงานกลาง เมื่อจำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่โดยได้แถลงให้ศาลทราบถึงความจำเป็นที่ไม่อาจมาศาลได้ ศาลแรงงานกลางก็ชอบที่ดำเนินการไต่สวนเพื่อจะได้ทราบว่าจำเลยมีเหตุจำเป็นจริงหรือไม่ ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 41
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4774/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีและการขาดนัด: ศาลต้องพิจารณาคำร้องขอเลื่อนคดีก่อนสั่งขาดนัด
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินแก่โจทก์ในวันนัดสืบพยานโจทก์ โจทก์และจำเลยที่ 2 ไม่มาศาล ส่วนจำเลยที่ 1ทนายจำเลยที่ 1 มอบฉันทะให้เสมียนทนายมายื่นคำร้องขอเลื่อนคดีโดยอ้างว่าติดว่าความที่ศาลอื่น ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า ทนายจำเลยที่ 1 มอบฉันทะให้เสมียนทนายยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีแสดงว่าตั้งใจที่จะให้ดำเนินการพิจารณาคดีต่อไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 201 จึงมีคำสั่งว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณา ให้นัดสืบพยานจำเลยที่ 1 ต่อไป และให้จำหน่ายคดีโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ออกจากสารบบความดังนี้ ศาลชั้นต้นยังมิได้พิจารณาคำร้องขอเลื่อนคดีของทนายจำเลยที่ 1 เลยว่าทนายจำเลยที่ 1 มาศาลไม่ได้เพราะติดว่าความที่ศาลอื่นจริงหรือไม่ หากข้อเท็จจริงฟังได้ตามคำร้องก็ถือได้ว่ามีเหตุจำเป็นอันมิอาจก้าวล่วงได้ ชอบที่จะสั่งอนุญาตให้เลื่อนคดีไป และวันดังกล่าวก็มิใช่วันที่ศาลเริ่มต้นทำการสืบพยานอีกต่อไป แม้โจทก์และจำเลยที่ 2 ไม่มาศาลในวันนั้น กรณีก็ไม่ต้องด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยการพิจารณาโดยขาดนัดฉะนั้น คำสั่งของศาลชั้นต้นจึงเป็นการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยการพิจารณาและเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยโดยให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นที่ไม่ชอบนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(2),247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4774/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลมิได้พิจารณาคำร้องขอเลื่อนคดีก่อนสั่งขาดนัด ถือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
ในวันนัดสืบพยานโจทก์วันที่ 23 พฤศจิกายน 2533 ผู้รับมอบฉันทะทนายจำเลยที่ 1 มาศาลและยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีอ้างว่าติดว่าความที่ศาลอื่นซึ่งได้นัดไว้ก่อนแล้ว ส่วนโจทก์และจำเลยที่ 2 ไม่มาการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในคำร้องขอเลื่อนคดีว่า "สั่งในรายงาน"แล้วมีคำสั่งในรายงานกระบวนพิจารณาว่า ทนายจำเลยที่ 1 มอบฉันทะให้เสมียนทนายยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีแสดงว่าตั้งใจที่จะให้ดำเนินการพิจารณาคดีต่อไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 201จึงมีคำสั่งว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณา ให้นัดสืบพยานจำเลยที่ 1 ต่อไปในวันที่ 20 ธันวาคม 2533 เวลา 13.30 นาฬิกา และให้จำหน่ายคดีโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ออกจากสารบบความจึงไม่ถูกต้อง เนื่องจากศาลชั้นต้นยังมิได้พิจารณาคำร้อง ขอเลื่อนคดีของทนายจำเลยที่ 1เลยว่าทนายจำเลยที่ 1 มาศาลไม่ได้เพราะติดว่าความที่ศาลอื่นจริงหรือไม่ หากข้อเท็จจริงฟังได้ตามคำร้องก็ถือได้ว่ามีเหตุจำเป็นอันมิอาจก้าวล่วงได้ชอบที่จะสั่งอนุญาตให้เลื่อนคดีไว้ และวันที่23 พฤศจิกายน 2533 ก็มิใช่วันที่ศาลเริ่มต้นทำการสืบพยานอีกต่อไปแม้โจทก์และจำเลยที่ 2 ไม่มาศาลในวันดังกล่าว กรณีก็ไม่ต้องด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยการพิจารณาโดยขาดนัด การที่ศาลชั้นต้นมิได้พิจารณาสั่งคำร้องขอเลื่อนคดีของทนายจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 40แต่กลับก้าวล่วงไปสั่งว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาและให้จำหน่ายคดีโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ออกจากสารบบความ เป็นการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยการพิจารณา ซึ่งปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยโดยให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นที่ไม่ชอบนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(2),247 ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานแล้วพิพากษาใหม่โดยไม่ถูกต้อง เนื่องจากศาลชั้นต้นยังมิได้มีคำพิพากษา ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้