พบผลลัพธ์ทั้งหมด 541 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8444/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอุทธรณ์ข้อเท็จจริงในคดีทรัพย์มรดก: การคิดมูลค่าคดีตามส่วนแบ่ง และข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันในศาลอุทธรณ์
โจทก์ทั้งห้าฟ้องว่าที่ดินพิพาทราคา 200,000 บาท เป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายตกได้แก่โจทก์ทั้งห้าและจำเลยคนละส่วน ขอให้แบ่งที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งห้าตามส่วนและขอให้แบ่งค่าเช่าที่ดินพิพาทจำนวน 1,500 บาท ให้แก่โจทก์ทั้งห้าด้วย จำเลยให้การว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ทรัพย์มรดกแต่เป็นทรัพย์ที่ผู้ตายยกให้แก่จำเลยตั้งแต่ผู้ตายยังมีชีวิตอยู่ จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ต้องคิดตามส่วนแบ่งของโจทก์แต่ละคนจะได้รับแยกต่างหากจากกัน ไม่ใช่ถือราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่ฟ้องรวมกันมา เมื่อราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่โจทก์แต่ละคนอุทธรณ์ไม่เกิน 50,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้โจทก์ทั้งห้าอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224 วรรคหนึ่ง คดีนี้ศาลชั้นต้นฟังว่าผู้ตายยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลย ที่ดินพิพาทจึงไม่ใช่ทรัพย์มรดก โจทก์ทั้งห้าอุทธรณ์ว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกจึงเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาล เป็นข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวแม้ศาลอุทธรณ์จะรับวินิจฉัยให้ก็เป็นการไม่ชอบ จำเลยฎีกาในปัญหาดังกล่าวถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8266/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินมีข้อจำกัดการโอนสิทธิ: สิทธิครอบครองยังไม่สมบูรณ์ ทำให้การซื้อขายและการครอบครองเพื่อตนเองไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3)ที่มีข้อกำหนดห้ามโอนภายใน 10 ปี ตาม ป.ที่ดิน มาตรา 31 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 334 (พ.ศ.2515) ข้อ 6 ที่บังคับใช้ในกรณีนี้ในระยะเวลาที่ห้ามโอนนั้นถือได้ว่ารัฐยังไม่ได้มอบสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่บิดาโจทก์ บิดาโจทก์และโจทก์คงมีสิทธิเพียงทำประโยชน์ในที่ดินดังกล่าวเท่านั้นเมื่อบิดาโจทก์และโจทก์ไม่มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท จึงไม่อาจสละหรือโอนสิทธิครอบครองที่ดินตาม ป.พ.พ. มาตรา 1377, 1378 ให้แก่ผู้อื่นได้ แม้จะรับฟังว่าบิดาโจทก์ขายที่ดินพิพาทและมอบการครอบครองที่ดินให้แก่จำเลย ก็ไม่มีผลตามกฎหมายจำเลยไม่มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท
การเปลี่ยนเจตนายึดถือหรือครอบครองที่ดินตาม ป.พ.พ.มาตรา1381 จะต้องเป็นกรณีที่ครอบครองที่ดินแทนผู้อื่น แต่เมื่อไม่ถือว่าจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทแทนโจทก์แล้ว จึงไม่มีกรณีที่จำเลยจะอ้างได้ว่าจำเลยเปลี่ยนเจตนาครอบครองหรือเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือที่ดินพิพาทแทนโจทก์เป็นครอบครองหรือยึดถือเพื่อตนเอง จำเลยจึงไม่ได้สิทธิในที่ดินพิพาทโดยการครอบครอง
การเปลี่ยนเจตนายึดถือหรือครอบครองที่ดินตาม ป.พ.พ.มาตรา1381 จะต้องเป็นกรณีที่ครอบครองที่ดินแทนผู้อื่น แต่เมื่อไม่ถือว่าจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทแทนโจทก์แล้ว จึงไม่มีกรณีที่จำเลยจะอ้างได้ว่าจำเลยเปลี่ยนเจตนาครอบครองหรือเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือที่ดินพิพาทแทนโจทก์เป็นครอบครองหรือยึดถือเพื่อตนเอง จำเลยจึงไม่ได้สิทธิในที่ดินพิพาทโดยการครอบครอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7481/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ฎีกาในคดีขับไล่: ข้อจำกัดการโต้แย้งดุลพินิจ และอำนาจศาลในการงดบังคับคดี
แม้เป็นชั้นบังคับคดี แต่เป็นคดีฟ้องขับไล่จำเลยและบริวารออกจากที่ดินของโจทก์อันอาจให้ผู้อื่นเช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องเพียงเดือนละ1,000 บาท ไม่มีการต่อสู้เรื่องกรรมสิทธิ์ อุทธรณ์ฎีกาของจำเลยเป็นการโต้แย้งดุลพินิจของศาลชั้นต้นถึงพฤติการณ์แห่งคดีว่ามีเหตุให้งดการบังคับคดีไว้ได้หรือไม่เพียงใด จึงเป็นอุทธรณ์ฎีกาในข้อเท็จจริง ซึ่งในชั้นอุทธรณ์ต้องห้ามตามป.วิ.พ.มาตรา 224 วรรคสอง จำเลยไม่มีสิทธิอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้จึงไม่ชอบ ถือว่าข้อเท็จจริงเป็นอันยุติตามคำวินิจฉัยในคำสั่งของศาลชั้นต้นแล้ว จำเลยไม่มีสิทธิฎีกา
การออกคำสั่งอนุญาตตามคำขอหรือให้งดการบังคับคดีตามป.วิ.พ. มาตรา 293 หรือไม่ ไม่มีกฎหมายบัญญัติให้ศาลจะต้องทำการไต่สวนเสียก่อน ดังนั้นแม้ ป.วิ.พ. มาตรา 21 (4) จะให้อำนาจศาลทำการไต่สวนตามที่เห็นสมควรก่อนมีคำสั่งได้ แต่กรณีตามคำร้องของจำเลยดังกล่าวไม่มีเหตุที่ศาลจะมีคำสั่งให้งดการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 293 ได้ จึงไม่มีเหตุสมควรที่ศาลจะทำการไต่สวน
การออกคำสั่งอนุญาตตามคำขอหรือให้งดการบังคับคดีตามป.วิ.พ. มาตรา 293 หรือไม่ ไม่มีกฎหมายบัญญัติให้ศาลจะต้องทำการไต่สวนเสียก่อน ดังนั้นแม้ ป.วิ.พ. มาตรา 21 (4) จะให้อำนาจศาลทำการไต่สวนตามที่เห็นสมควรก่อนมีคำสั่งได้ แต่กรณีตามคำร้องของจำเลยดังกล่าวไม่มีเหตุที่ศาลจะมีคำสั่งให้งดการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 293 ได้ จึงไม่มีเหตุสมควรที่ศาลจะทำการไต่สวน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7347/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาเรื่องจำนวนทุนทรัพย์ – ศาลอุทธรณ์ลดจำนวนเงินที่พิพาท ทำให้ไม่สามารถฎีกาได้
โจทก์ฟ้อง ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง และโจทก์อุทธรณ์ขอให้บังคับจำเลยทั้งสามคืนไม้แปรรูป หากคืนไม่ได้ให้จำเลยทั้งสามใช้ราคาเป็นเงิน248,700 บาท แก่โจทก์ ซึ่งราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นศาลชั้นต้นและชั้นอุทธรณ์เกินกว่า 200,000 บาท แต่ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้จำเลยทั้งสามคืนไม้แปรรูปตามฟ้องแก่โจทก์ ถ้าไม่สามารถคืนได้ให้ใช้ราคาเป็นเงิน128,340 บาท แก่โจทก์แทน เมื่อจำเลยทั้งสามฎีกาขอให้ยกฟ้องโจทก์ ดังนี้ ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจึงไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7325/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการก่อสร้างอาคารชิดเขตที่ดิน: ตึกแถวต้องมีทางเดินหลัง
ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคารพ.ศ.2522 ข้อ 75 มีความว่า อาคารที่ปลูกชิดเขตที่ดินต่างผู้ครอบครอง อนุญาตให้เฉพาะฝาหรือผนังทึบไม่มีประตูหน้าต่างและช่องระบายอากาศอยู่ชิดเขตได้พอดีแม้อาคารที่จำเลยครอบครองจะไม่มีลักษณะต้องห้ามตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2522 ข้อ 75 ดังกล่าว แต่อาคารที่จำเลยครอบครองเป็นตึกแถวจึงอยู่ในบังคับของข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2522 ข้อ 76 ซึ่งมีความว่า อาคารประเภทต่าง ๆจะต้องมีที่ว่างอันปราศจากหลังคาหรือสิ่งปกคลุมไม่น้อยกว่าส่วนที่กำหนดไว้ดังต่อไปนี้...(4) ห้องแถว ตึกแถว...จะต้องมีที่ว่างโดยปราศจากสิ่งปกคลุมเป็นทางเดินหลังอาคารได้ถึงกันกว้างไม่น้อยกว่า 2.00 เมตร อาคารที่จำเลยครอบครองจึงไม่อาจสร้างให้ด้านหลังชิดเขตที่ดินติดต่อได้ตามข้อบัญญัติกรุงเทพ-มหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2522 ข้อ 76 (4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7169/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์และการเปลี่ยนแปลงลักษณะการยึดถือ: ประเด็นการนำสืบพยานและข้อจำกัดในการฎีกา
ที่จำเลยฎีกาว่า ตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์ยอมรับว่าต.ครอบครองที่ดินพิพาทเมื่อประมาณ 20 ปีมาแล้ว ต้องฟังว่า ต.ครอบครองที่ดินพิพาทเกินกว่า 1 ปีแล้วนั้น ตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์ได้ความเพียงแต่ว่าเมื่อ 20 ปีมาแล้ว ต.เคยมาขออนุญาตมารดาโจทก์ปลูกตะไคร้ กล้วย เท่านั้นซึ่งเท่ากับว่า ต.เคยครอบครองที่ดินพิพาทในนามของมารดาโจทก์เท่านั้น ไม่ใช่ครอบครองเพื่อตนเองเกินกว่า 1 ปี
ที่จำเลยฎีกาว่าควรนำข้อเท็จจริงที่โจทก์ยอมรับว่าจำเลยเป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทมาเป็นเวลา 10 กว่าปีแล้ว ตามรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีที่จำเลยขอให้ศาลมีคำสั่งเรียกมาวินิจฉัยด้วยนั้น แม้จะมีการส่งเอกสารดังกล่าวเข้าสู่สำนวนแล้ว แต่จำเลยก็มิได้นำสืบอ้างถึงเพื่อให้เข้าสู่กระบวนการพิจารณาของศาล อีกทั้งจำเลยมิได้เสียค่าอ้างเอกสารดังกล่าวด้วย จึงไม่อาจนำข้อความในเอกสารดังกล่าวมาประกอบการวินิจฉัยได้
จำเลยให้การว่าเดิมที่ดินพิพาทเป็นของบิดามารดาจำเลยเมื่อบิดามารดาตาย จำเลยก็ได้ครอบครองต่อมาโดยมิได้ให้การต่อสู้ว่าจำเลยแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทจากโจทก์ จึงไม่มีประเด็นเรื่องเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือตาม ป.พ.พ.มาตรา 1381 จำเลยไม่อาจอ้างสิทธิตามมาตรา 1375 ได้แม้ศาลชั้นต้นจะวินิจฉัยให้ก็ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
ที่จำเลยฎีกาว่าควรนำข้อเท็จจริงที่โจทก์ยอมรับว่าจำเลยเป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทมาเป็นเวลา 10 กว่าปีแล้ว ตามรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีที่จำเลยขอให้ศาลมีคำสั่งเรียกมาวินิจฉัยด้วยนั้น แม้จะมีการส่งเอกสารดังกล่าวเข้าสู่สำนวนแล้ว แต่จำเลยก็มิได้นำสืบอ้างถึงเพื่อให้เข้าสู่กระบวนการพิจารณาของศาล อีกทั้งจำเลยมิได้เสียค่าอ้างเอกสารดังกล่าวด้วย จึงไม่อาจนำข้อความในเอกสารดังกล่าวมาประกอบการวินิจฉัยได้
จำเลยให้การว่าเดิมที่ดินพิพาทเป็นของบิดามารดาจำเลยเมื่อบิดามารดาตาย จำเลยก็ได้ครอบครองต่อมาโดยมิได้ให้การต่อสู้ว่าจำเลยแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทจากโจทก์ จึงไม่มีประเด็นเรื่องเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือตาม ป.พ.พ.มาตรา 1381 จำเลยไม่อาจอ้างสิทธิตามมาตรา 1375 ได้แม้ศาลชั้นต้นจะวินิจฉัยให้ก็ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6745/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการรับโอนที่ดิน: เหตุทางออกที่ดินไม่ใช่ประเด็นหากไม่ได้กล่าวอ้างในฟ้อง
ตามคำฟ้องมิได้อ้างเหตุที่ดินพิพาทไม่มีทางออก ทำให้ธนาคารไม่ยอมอาวัลตั๋วเป็นเหตุขัดข้องในการรับโอนที่ดิน จึงไม่มีประเด็นว่าที่ดินพิพาทที่จะขายจะต้องเป็นที่ดินมีทางออกหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6526/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริงและข้อห้ามการนำสืบพยานเพิ่มเติม
แม้โจทก์จะฟ้องขับไล่จำเลยที่ 1 ออกจากอสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าในขณะยื่นฟ้องเกินเดือนละหนึ่งหมื่นบาท แต่ประเด็นข้อพิพาทในเรื่องขับไล่ได้ยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้ว คงพิพาทกันในชั้นอุทธรณ์และฎีกาเฉพาะค่าเช่าเท่านั้น เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
ที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า จำเลยที่ 1 มีสิทธินำสืบว่า โจทก์ไม่จัดการแก้ไขปรับปรุงเครื่องปรับอากาศภายในอาคารพิพาท และไม่ขับไล่แผงลอยหน้าอาคารตามข้อตกลงขณะทำสัญญาได้นั้น เมื่อข้อตกลงเรื่องจัดการซ่อมแซมเครื่องปรับอากาศและจัดการเรื่องแผงลอยไม่มีระบุในสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์การที่จำเลยที่ 1 นำสืบพยานบุคคลว่ามีข้อตกลงดังกล่าวจึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 94 (ข) เพราะเป็นการนำสืบเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสาร
ที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า จำเลยที่ 1 มีสิทธินำสืบว่า โจทก์ไม่จัดการแก้ไขปรับปรุงเครื่องปรับอากาศภายในอาคารพิพาท และไม่ขับไล่แผงลอยหน้าอาคารตามข้อตกลงขณะทำสัญญาได้นั้น เมื่อข้อตกลงเรื่องจัดการซ่อมแซมเครื่องปรับอากาศและจัดการเรื่องแผงลอยไม่มีระบุในสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์การที่จำเลยที่ 1 นำสืบพยานบุคคลว่ามีข้อตกลงดังกล่าวจึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 94 (ข) เพราะเป็นการนำสืบเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสาร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6526/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาเรื่องทุนทรัพย์ และการนำสืบพยานนอกเหนือจากสัญญาเช่า
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากอสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่า ในขณะยื่นฟ้องเกินเดือนละหนึ่งบาท แต่ประเด็นข้อพิพาท ในเรื่องขับไล่ได้ยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้วคงพิพาทกันในชั้นอุทธรณ์และฎีกาเฉพาะค่าเช่าเท่านั้นเมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาในส่วนของค่าเช่าไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ข้อตกลงเรื่องจัดการซ่อมแซมเครื่องปรับอากาศและจัดการขับไล่แผงลอยหน้าอาคารที่เช่าไม่มีระบุในสัญญาเช่าอาคารซึ่งเป็นสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์ ฉะนั้น การที่จำเลยนำสืบพยานบุคคลว่ามีข้อตกลงดังกล่าวจึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข) เพราะเป็นการนำสืบเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสาร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6526/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาเรื่องทุนทรัพย์และข้อห้ามนำสืบพยานเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงสัญญา
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากอสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าในขณะยื่นฟ้องเกินเดือนละหนึ่งหมื่นบาทแต่ประเด็นข้อพิพาทในเรื่องขับไล่ได้ยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้วคงพิพาทกันในชั้นอุทธรณ์และฎีกาเฉพาะค่าเช่าเท่านั้นเมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาในส่วนของค่าเช่าไม่เกินสองแสนบาทจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่ง ข้อตกลงเรื่องจัดการซ่อมแซมเครื่องปรับอากาศและจัดการขับไล่แผงลอยหน้าอาคารที่เช่าไม่มีระบุในสัญญาเช่าอาคารซึ่งเป็นสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์ฉะนั้นการที่จำเลยนำสืบพยานบุคคลว่ามีข้อตกลงดังกล่าวจึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา94(ข)เพราะเป็นการนำสืบเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสาร