คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ข้อตกลง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,178 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5067/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเข้าไปในบ้านหลังมีข้อตกลงคืนบ้าน ไม่ถือเป็นความผิดฐานบุกรุก
จำเลยทั้งสองเข้าไปในบ้านพิพาทตามที่ได้นัดหมายกับโจทก์ร่วมไว้ และได้รับความยินยอมจากโจทก์ร่วมด้วย จึงไม่เป็นความผิดฐานบุกรุก เมื่อการที่จำเลยทั้งสองเข้าไปในตัวบ้านพิพาทโดยนัดหมายกับโจทก์ร่วมไว้ไม่เป็นการบุกรุกแม้จะได้ความว่ามีการตัดกระแสไฟฟ้าและถอดมิเตอร์ประปา กรณีก็ขาดองค์ประกอบของความผิด ตาม ป.อ.มาตรา 362 ซึ่งบัญญัติว่า "ฯลฯ หรือเข้าไปกระทำการใด ๆอันเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของเขาโดยปกติสุข ฯลฯ" จำเลยทั้งสองจึงไม่มีความผิดฐานบุกรุก
โจทก์ร่วมเช่าบ้านจำเลยทั้งสองเพื่ออยู่อาศัย ต่อมาโจทก์ร่วมตกลงคืนบ้านพิพาทให้แก่จำเลยทั้งสองแล้วตั้งแต่วันที่ 28 สิงหาคม 2538 เหตุที่โจทก์ร่วมยังไม่ได้ขนย้ายทรัพย์สินออกไปจากบ้านพิพาททั้งหมดก็เนื่องจากจำเลยที่ 1ยังไม่ได้คืนเงินมัดจำให้แก่โจทก์ร่วม การกระทำของจำเลยทั้งสองที่บุกรุกเข้าไปในบ้านพิพาทในวันที่ 29 สิงหาคม 2538 จึงไม่เป็นความผิดฐานบุกรุกตามฟ้อง โดยไม่จำต้องวินิจฉัยในข้อที่ว่าจำเลยที่ 1 ได้ใช้กำลังประทุษร้ายผลักอกผู้เสียหายหรือไม่เพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4816/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงท้าตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อที่ไม่สมบูรณ์ ส่งผลต่อการสืบพยานเพิ่มเติม
ผู้ร้องกับผู้คีดค้านตกลงท้ากันให้ส่งพินัยกรรมและเอกสารหมาย ค.2 ค.3 ค.5 ค.16 ถึง ค.19 ไปให้ผู้เชี่ยวชาญของกองพิสูจน์หลักฐานกรมตำรวจ เพื่อตรวจพิสูจน์ว่าลายมือชื่อในช่องลงชื่อ "ผู้ทำพินัยกรรม" (ส.ผู้ตาย)ตามเอกสารหมาย ร.11 และ ร.12 กับตัวอย่างลายมือชื่อของ ส.ผู้ตายในเอกสารหมาย ค.2 ค.3 ค.5 และ ค.16 ถึง ค.19 ว่าจะเป็นลายมือชื่อของบุคคลคนเดียวกันหรือไม่ โดยให้กองพิสูจน์หลักฐานตั้งคณะกรรมการผู้ตรวจพิสูจน์หรือผู้เชี่ยวชาญขึ้น5 คน และถือความเห็นของเสียงส่วนใหญ่เกินกึ่งหนึ่งเป็นความเห็นของคณะกรรมการถ้าคณะกรรมการมีความเห็นว่าเป็นลายมือชื่อของบุคคลคนเดียวกันให้ถือว่าผู้คัดค้านยอมรับข้อเท็จจริงตามคำร้องขอของผู้ร้อง ผู้คัดค้านยอมแพ้คดี แต่หากคณะกรรมการมีความเห็นว่าไม่ใช่ลายมือชื่อของบุคคลคนเดียวกันให้ถือว่าผู้ร้องยอมรับข้อเท็จจริงตามคำร้องคัดค้าน ผู้ร้องยอมแพ้คดีศาลชั้นต้นอนุญาตให้ดำเนินการตามคำท้าแล้วตามคำท้าดังกล่าวมีความหมายว่า ผู้เชี่ยวชาญสามารถตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อในช่องผู้ทำพินัยกรรมเอกสารหมาย ร.11 และ ร.12 เปรียบเทียบกับลายมือชื่อ ของ ส.ผู้ตาย ในเอกสารหมาย ค.2 ค.3 ค.5 และ ค.16 ถึง ค.19 ได้ทุกลายมือชื่อว่าเป็นของบุคคลคนเดียวกันหรือไม่ แต่ปรากฏตามรายงานการตรวจพิสูจน์ว่า ลายมือชื่อส.ในเอกสารหมาย ค.2 ค.3 ค.5 และ ค.16 ถึง ค.19 บางส่วนสามารถตรวจพิสูจน์ได้ โดยมีความเห็นว่า มีคุณสมบัติของการเขียน รูปร่างลักษณะของตัวอักษรแตกต่างกันแต่เนื่องจากตัวอย่างลายมือชื่อมีลักษณะการเขียนไม่คงที่ ในกรณีนี้จึงลงความเห็นว่าน่าจะไม่ใช่ลายมือชื่อของบุคคลคนเดียวกัน กับลายมือชื่ออีกบางส่วนในเอกสารหมาย ค.2 ค.3 ค.5 และ ค.16 ถึง ค.19 ไม่สามารถตรวจพิสูจน์โดยมีความเห็นว่า มีลักษณะการเขียนรูปร่างลักษณะของตัวอักษรคล้ายกัน แต่เนื่องจากมีตัวอักษรบางตัวเขียนเป็นคนละแบบ ประกอบกับตัวอย่างลายมือชื่อในกลุ่มนี้มีลักษณะการเขียนเป็นหลายแบบและไม่คงที่ ในกรณีนี้จึงไม่อาจลงความเห็นยืนยันให้เป็นหลักฐานได้ ดังนี้ ผลการตรวจพิสูจน์จึงไม่เป็นไปตามคำท้า เพราะไม่สามารถตรวจพิสูจน์ได้ทุกลายมือชื่อ จึงชอบที่ศาลจะต้องรับฟังพยานหลักฐานของผู้ร้องและผู้คัดค้านต่อไป
คดีนี้ได้สืบพยานผู้ร้องเสร็จสิ้นแล้ว ส่วนผู้คัดค้านสืบพยานได้2 ปาก ต่อมาได้แถลงงดสืบพยานที่เหลือภายหลังจากที่ทราบผลการตรวจพิสูจน์แล้วตามที่คู่ความตกลงท้ากัน อันเป็นการแถลงเนื่องจากเข้าใจว่าผลการตรวจพิสูจน์ตรงตามคำท้า เมื่อปรากฏว่าผลการตรวจพิสูจน์ไม่เป็นไปตามคำท้า จะถือว่าผู้คัดค้านไม่ติดใจสืบพยานที่เหลือหาได้ไม่ จึงเห็นสมควรให้สืบพยานผู้คัดค้านที่เหลือต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4343/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยอมความไม่สมบูรณ์ในคดีเช็ค – ยังไม่ระงับสิทธิฟ้องอาญา หากจำเลยยังไม่ชำระหนี้ตามข้อตกลง
โจทก์ฟ้องคดีนี้ขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4 และฟ้องเรียกเงินทางแพ่งเป็นอีกคดีหนึ่งด้วย คดีนี้จำเลยให้การปฏิเสธ แต่ในระหว่างพิจารณาคดีโจทก์และจำเลยได้เจรจาตกลงกันโดยจำเลยขอถอนคำให้การเดิมที่ปฏิเสธและให้การใหม่ยอมรับสารภาพตามฟ้อง และโจทก์ยอมให้เวลาแก่จำเลยเพื่อให้จำเลยหาเงินมาชำระหนี้โดยยอมลดจำนวนเงินลง โดยให้จำเลยชำระหนี้ภายในกำหนด และโจทก์จะถอนฟ้องคดีแพ่งด้วย เมื่อกรณีเป็นเรื่องที่โจทก์ยอมลดหนี้และให้โอกาสแก่จำเลย โดยโจทก์จำเลยยังมิได้มีเจตนาที่จะยุติข้อพิพาทในทางอาญาจนกว่าจำเลยได้ชำระเงินตามข้อตกลงแก่โจทก์แล้ว จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์จำเลยได้ยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมายตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39 (2) สิทธินำคดีอาญามาฟ้องจึงยังไม่ระงับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4023/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงในสัญญากู้ยืมเงิน: ค่าใช้จ่ายในการติดตามหนี้, อัตราดอกเบี้ย, และค่าทนายความที่เกินกว่าที่กฎหมายกำหนด
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ตามสัญญากู้ยืมเงินฉบับพิพาทระบุว่า "ถ้าผู้กู้ยืมผิดข้อตกลงในข้อหนึ่งข้อใดแห่งสัญญานี้ ผู้กู้ยืมยอมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายทั้งสิ้นบรรดาที่ผู้ให้กู้ยืมจะพึงได้รับอันเนื่องมาจากความผิดข้อตกลงของผู้กู้ยืม รวมทั้งค่าใช้จ่ายในการเตือน เรียกร้อง ทวงถาม ดำเนินคดี และบังคับการชำระหนี้ด้วยจนเต็มจำนวนทุกอย่างทุกประการ" ดังนี้ เมื่อตามข้อสัญญาดังกล่าวแล้วมิได้กำหนดจำนวนเงินไว้แน่นอนในกรณีจำเลยผู้กู้ผิดสัญญากู้ยืมเงิน โจทก์จึงมีหน้าที่นำสืบถึงค่าใช้จ่ายในการติดตามทวงถาม การที่โจทก์ฎีกาว่า โจทก์มีค่าใช้จ่ายในการติดตาม ทวงถามหนี้รายนี้เป็นเงินจำนวนหนึ่ง ฎีกาข้อนี้ของโจทก์จึงเป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ อันเป็นปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อคดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248วรรคหนึ่ง
ตามข้อสัญญาที่กำหนดให้โจทก์ผู้ให้กู้ยืมสามารถเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมอัตราดอกเบี้ยไม่เกินจำนวนที่ประกาศกระทรวงการคลังกำหนดไว้ได้เมื่อมิใช่เบี้ยปรับ เพราะตามสัญญากู้ยืมเงินรายนี้กำหนดให้โจทก์ผู้ให้กู้มีสิทธิขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้แม้จำเลยผู้เป็นลูกหนี้จะมิได้ผิดนัดชำระหนี้ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยสำหรับต้นเงินที่ค้างชำระและต้นเงินค่าเบี้ยประกันภัยในอัตราดอกเบี้ยไม่เกินจำนวนที่ประกาศกระทรวงการคลังกำหนดไว้ได้
ค่าทนายความเป็นค่าฤชาธรรมเนียมอย่างหนึ่งซึ่งศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจกำหนดจำนวนตามกฎหมายและสั่งในคำพิพากษาให้ฝ่ายใดชดใช้แก่ฝ่ายใดหรือให้เป็นพับกันไปก็ได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 161, 167 และตาราง 6 ท้ายป.วิ.พ. แต่ตามสัญญากู้ยืมเงินฉบับพิพาทระบุว่า ให้ผู้กู้ยืมที่ผิดนัดชำระหนี้ดังกล่าวไม่ว่างวดหนึ่งงวดใดผู้กู้ยืมยอมให้ถือว่าผิดนัดในหนี้ทั้งหมดและยอมให้ผู้ให้กู้ยืมฟ้องร้องเรียกต้นเงินและดอกเบี้ยที่ค้างชำระทั้งหมดตลอดจนค่าใช้จ่าย ค่าธรรมเนียมและค่าเสียหายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากการผิดนัดผิดสัญญานี้จากผู้กู้ยืมจนครบถ้วนได้ทันที" และถ้าผู้กู้ยืมผิดข้อตกลงในข้อหนึ่งข้อใดแห่งสัญญานี้ผู้กู้ยืมยอมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายทั้งสิ้นบรรดาที่ผู้ให้กู้ยืมจะพึงได้รับอันเนื่องมาจากความผิดข้อตกลงของผู้กู้ยืม รวมทั้งค่าใช้จ่ายในการเตือน เรียกร้อง ทวงถาม ดำเนินคดีและบังคับการชำระหนี้ด้วยจนเต็มจำนวนทุกอย่างทุกประการ" ซึ่งเป็นการตกลงให้จำเลยผู้กู้ต้องชดใช้ค่าทนายความแก่โจทก์ผิดแผกแตกต่างไปจากบทบัญญัติของ ป.วิ.พ.อันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนจึงใช้บังคับมิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3996/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเดินเผชิญสืบที่ดินตามข้อตกลงคู่ความ ศาลมีอำนาจวินิจฉัยตามรูปคดี
คู่ความตกลงกันให้ศาลชั้นต้นเดินเผชิญสืบที่ดินพิพาทแล้ววินิจฉัยไปตามรูปคดีโดยไม่ติดใจสืบพยานอื่นใดอีกต่อไป และตามข้อตกลงของคู่ความมีลักษณะให้อยู่ในดุลพินิจของศาลชั้นต้นว่าศาลชั้นต้นประสงค์จะหาข้อเท็จจริงเพียงใดจากการเดินเผชิญสืบก็ได้ และข้อตกลงดังกล่าวไม่มีลักษณะบังคับให้ศาลชั้นต้นต้องไปสอบถามข้อเท็จจริงต่าง ๆ จากบุคคลที่อยู่ใกล้เคียงที่ดินพิพาท และไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติว่าการเดินเผชิญสืบจะต้องไปสอบถามข้อเท็จจริงต่าง ๆ จากบุคคลที่อยู่ใกล้เคียงที่ดินพิพาทดังนี้ การที่ศาลชั้นต้นได้ไปเดินเผชิญสืบที่ดินพิพาทพร้อมกับทำบันทึกรายละเอียดเกี่ยวกับอาณาเขตของที่ดินพิพาท ลักษณะของลำรางพิพาทว่าเป็นอย่างไร และมีอยู่อย่างไรแล้ววินิจฉัยคดีไปโดยไม่สอบถามพยานบุคคลหรือตรวจสอบพยานเอกสารอื่นอีกถือได้ว่าศาลชั้นต้นเดินเผชิญสืบอันเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาไปตามข้อตกลงของคู่ความแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3996/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงเดินเผชิญสืบ: ดุลพินิจศาลในการแสวงหาข้อเท็จจริง
คู่ความตอกลงกันให้ศาลชั้นต้นเดินเผชิญสืบที่ดินพิพาทแล้ววินิจฉัยไปตามรูปคดีโดยไม่ติดใจสืบพยานอื่นใดอีกต่อไปและตามข้อตกลงของคู่ความมีลักษณะให้อยู่ในดุลพินิจของศาลชั้นต้นว่าศาลชั้นต้นประสงค์จะหาข้อเท็จจริงเพียงใดจากการเดินเผชิญสืบก็ได้ และข้อตกลงดังกล่าวไม่มีลักษณะบังคับให้ศาลชั้นต้นต้องไปสอบถามข้อเท็จจริงต่าง ๆจากบุคคลที่อยู่ใกล้เคียงที่ดินพิพาท และไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติว่าการเดินเผชิญสืบจะต้องไปสอบถามข้อเท็จจริงต่าง ๆจากบุคคลที่อยู่ใกล้เคียงที่ดินพิพาทดังนี้ การที่ศาลชั้นต้นได้ไปเดินเผชิญสืบที่ดินพิพาทพร้อมกับทำบันทึกรายละเอียดเกี่ยวกับอาณาเขตของที่ดินพิพาท ลักษณะของลำรางพิพาทว่าเป็นอย่างไร และมีอยู่อย่างไรแล้ววินิจฉัยคดีไปโดยไม่สอบถามพยานบุคคลหรือตรวจสอบพยานเอกสารอื่นอีกถือได้ว่าศาลชั้นต้นเดินเผชิญสืบอันเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาไปตามข้อตกลงของคู่ความแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3859/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการขายทอดตลาด: ราคาต่ำกว่าราคาจริง & ข้อตกลงงดขายที่ไม่ผูกพันเจ้าพนักงานบังคับคดี
ก่อนวันขายทอดตลาด 1 วัน จำเลยนำเงินไปชำระหนี้ตาคำพิพากษาบางส่วนแก่ น. ภริยาโจทก์ที่บ้าน และ น. ตกลงกับจำเลยว่าจะงดการขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยที่ยึดไว้ซึ่งกำหนดจะขายในวันรุ่งขึ้น แม้โจทก์มิได้ขอให้งดการขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยดังกล่าวก็ตาม แต่เมื่อข้อตกลงระหว่างจำเลยกับ น. ดังกล่าว ไม่เกี่ยวกับการขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยที่ถูกยึดกรณีจึงเป็นเรื่องที่ น. ผิดข้อตกลงกับจำเลย ย่อมไม่กระทบกระเทือนถึงการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีซึ่งได้ขายทอดตลาดตามวันเวลาที่ได้กำหนดไว้ตามที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ประกาศให้ทราบทั่วกันล่วงหน้าก่อนแล้วการขายทอดตลาดดังกล่าวของเจ้าพนักงานบังคับคดี จึงมิเสียไป
จำเลยยื่นคำร้องว่า ที่ดินและบ้าน 2 ชั้น ของจำเลยที่ถูกยึดมีราคาจริงถึง1,500,000 บาท แต่เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์ดังกล่าวให้แก่ ธ.ผู้ซื้อในราคาเพียง 500,000 บาท ต่ำกว่าราคาจริงหลายเท่าเจ้าพนักงานบังคับคดีจึงชอบที่จะถอนทรัพย์สินจากการขายทอดตลาดนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 513 หากเป็นความจริงก็อาจถือได้ว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีปฏิบัติฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 308 ที่บังคับให้การขายทอดตลาดต้องดำเนินไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยการขายทอดตลาด จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาจึงชอบที่จะยื่นคำร้องต่อศาลขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสอง การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องของจำเลยโดยยังมิได้ทำการไต่สวนคำร้องของจำเลยจึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3843/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงห้ามตั้งครรภ์กับลูกจ้างหญิง: นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย แม้มีข้อตกลง
แม้จำเลยกับโจทก์จะมีข้อตกลงกันไว้ว่านักแสดงหญิงจะตั้งครรภ์ไม่ได้ หากตั้งครรภ์จะต้องถูกเลิกจ้างก็ตามแต่การที่โจทก์ตั้งครรภ์นั้นมิใช่เป็นการกระทำความผิดอาญาแก่นายจ้าง การทุจริตต่อหน้าที่ จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายหรือเข้าข้อยกเว้นอื่น ๆ ที่นายจ้างไม่จำต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3025/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงเช่าและสิทธิครอบครอง: การยึดคืนทรัพย์สินหลังผิดสัญญา
โจทก์เป็นผู้เช่าตึกแถวที่เกิดเหตุจากเจ้าของเดิมเมื่อครบกำหนดแล้วโจทก์ไม่ออกไปจากตึกแถวและไม่ชำระค่าเช่า แก่เจ้าของเดิม บุตรสาวโจทก์ได้ทำบันทึกข้อตกลงยอมชำระ ค่าเช่าที่ค้างชำระนั้น และจะชำระค่าเช่าเป็นรายเดือนต่อ ๆ ไป ถ้าผิดข้อตกลงยอมให้เจ้าของเดิมเข้าครอบครองตึกแถว ที่เกิดเหตุได้ ซึ่งไม่ปรากฏว่าโจทก์คัดค้านโต้แย้งข้อตกลงนี้ ข้อตกลงดังกล่าวจึงผูกพันโจทก์โดยมิพักต้องคำนึงว่ามี หนังสือมอบอำนาจจากโจทก์ให้บุตรสาวโจทก์ทำบันทึกข้อตกลงนั้น หรือไม่ และข้อตกลงนี้ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรม อันดีของประชาชนจึงใช้บังคับได้ ต่อมาบุตรสาวโจทก์และโจทก์ ผิดข้อตกลง จำเลยทั้งสองยังให้โอกาสแก่ฝ่ายโจทก์ ขอเวลาขนย้ายทรัพย์สินโดยไม่ติดใจเรียกร้องเอาค่าเช่าที่ค้างชำระแต่อย่างใด แต่โจทก์และครอบครัวก็มิได้ขนย้ายออกไป การที่ จำเลยทั้งสองเปิดกุญแจตึกแถวที่เกิดเหตุ หลังจากนั้นจึงใช้ กุญแจของจำเลยปิดตึกแถวที่เกิดเหตุไว้ย่อมเป็นอำนาจของ จำเลยทั้งสองที่จะกระทำได้และถือว่าจำเลยทั้งสองได้ใช้สิทธิ เข้ายึดถือครอบครองตึกแถวที่เกิดเหตุแล้วโดยชอบตามที่ได้ ตกลงกันไว้ การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงหาเป็นความผิดฐาน ทำให้เสียทรัพย์หรือฐานบุกรุกไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2867/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงยกเว้นความรับผิดในสัญญาจำนำไม่ขัดกฎหมาย หากไม่ได้ระบุถึงกลฉ้อฉลหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง
ความตกลงที่ทำไว้ล่วงหน้าจะเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 373 ต้องเป็นข้อยกเว้นมิให้ลูกหนี้ต้องรับผิดเพื่อกลฉ้อฉล หรือเพื่อความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของตน แต่ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ที่ว่า หากสินค้าที่ธนาคารโจทก์ รับจำนำเกิดความชำรุด บุบสลาย เสียหาย สูญหายหรือเสื่อมโทรมไม่ว่าจะโดยเหตุใด ๆ โจทก์ย่อมไม่ต้องรับผิดไม่มีข้อตกลงชัดเจนยกเว้นมิให้โจทก์รับผิดเพื่อกลฉ้อฉลหรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของโจทก์ข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือขัดต่อกฎหมายสามารถใช้บังคับได้ จำเลยที่ 1 เป็นผู้เช่าโกดังเก็บน้ำตาล ไม่ปรากฏว่าน้ำตาลที่จำนำไว้สูญหายไปเพราะโจทก์เป็นผู้เอาไป หรือโจทก์เป็นผู้กระทำ หรือมีส่วนกระทำ หรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงเป็นเหตุให้น้ำตาลสูญหายไป ทั้งตามข้อตกลงในการจำนำ โจทก์ไม่ต้องรับผิดในความชำรุดบุบสลายเสียหาย สูญหายหรือเสื่อมโทรมของน้ำตาล ที่จำนำ โจทก์จึงไม่ต้องรับผิดในความเสียหาย สูญหาย หรือเสื่อมโทรมของน้ำตาลที่จำนำ
of 118